ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท(ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ)

กระทู้คำถาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น
ธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาทนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้...

ธรรมใด เป็นความพอใจ (ฉนฺโท) เป็นความอาลัย (อาลโย) เป็นความ
ติดตาม (อนุนโย) เป็นความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕
ประการ เหล่านี้, ธรรมนั้น ชื่อว่า เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกฺขสมุทโย).
ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันราคะ (ฉนฺทราควินโย) เป็นความ
ละขาดซึ่งฉันทราคะ (ฉนฺทราคปฺปหานํ) ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการ
เหล่านี้, ธรรมนั้น ชื่อว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรโธ).
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้วดังนี้.

[ : ผู้รักษาควรถือว่า คำกล่าวของพระสารีบุตรใน
ลักษณะเช่นนี้ มีความหมายเท่ากับเป็นพระพุทธภาษิตที่มีอยู่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น
เห็น ตถาคต ; ผู้ใด เห็น ตถาคต ผู้นั้น เห็น ธรรม ” ; ซึ่งเป็นเครดิตแก่
ปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นตัวธรรม ที่มีค่าเท่ากับว่าถ้าเห็นแล้ว เป็นการเห็นตถาคต ในรูป
แห่งธรรม หรือธรรมกาย นั่นเอง. ข้อนี้แสดงว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ควรสน
ใจ กว่าเรื่องอื่นๆ ที่เรียกว่า “ธรรม” ด้วยกัน]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า?
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่
แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง
ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ;
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น
อย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้
เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระคถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่
แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้
เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง
ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ;
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น
อย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้
เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯ ล ฯ …
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ…
…..ฯลฯ …..
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณ หาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …
ฯลฯ …
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพ ราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อม มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่