เอกลักษณ์ของสุคตวินโย ผ่านแนวคิดนักวิชาการอิสลามกลุ่มหนึ่ง

กระทู้คำถาม
https://www.youtube.com/watch?v=9Y5wbNVag7Q
จากคลิปข้างต้น ผู้สร้างในศาสนาที่มีผู้สร้าง ในนิยามเชิงตรรกะในคลิปข้างต้น ที่ระบุว่า ผู้สร้างมีคุณสมบัติเป็นอินฟินิตี้ ไม่ต้องอาศัยเหตุเกิด มีอยู่ตลอดมาและตลอดไป

ส่วนในทางพุทธ หรือตามสุคตวินโย มีพระสูตร ว่า
**ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น
; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี” ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจาก ความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,...ฯลฯ… …ฯลฯ …๑
_______________________________
๑.การละเปยยาล...ฯลฯ... ...ฯลฯ...เช่นนี้ หมายความว่า ข้อความในข้อ (๒) เป็นต้นไปจนกระทั่งถึงข้อ (๑๐) นี้ ซ้ำกันโดยตลอดกับในข้อ (๑) ต่างกันแต่เพียงปัจจยาการแต่ละปัจจยาการเท่านั้น; สำหรับข้อสุดท้าย คือข้อ (๑๑) จะพิมพ์ไว้เต็มเหมือนข้อ (๑) อีกครั้งหนึ่ง.
------------------------------

ถ้าพิจารณาเฉพาะข้อมูลเท่านี้ ก็อาจเกิดข้อสังเกตได้ว่า กฏที่ว่านี้เป็น เหตุผลสนับสนุนการมีอยู่ของผู้สร้างหรือไม่ เพราะธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) / แต่ต้องไม่ลืมว่า มันก็ถูกล๊อกไว้แล้วจาก "คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา) " และยังมีอีกหลักหนึ่ง คือ ธรรมทั้งปวงต้องเกิดมาแต่เหตุ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่มีข้อยกเว้น แต่ศาสนามีผู้สร้างในคลิป ทุกอย่างต้องมีเหตุเช่นกันก็จริง แต่ยกเว้นให้กับพระเจ้าที่ไม่ต้องอาศัยเหตุเกิด

อาจจะสรุปได้ว่า ข้อหนึ่งที่เป็นข้อแตกต่างกันของสุคตวินโย กับศาสนาที่มีผู้สร้าง ไม่ว่าจะองค์เดียวหรือหลายองค์ก็ตาม คือ ในทางสุคตวินโย ธรรมทั้งปวงต้องเกิดมาแต่เหตุ ไม่มีข้อยกเว้น (ในส่วนสังขตธรรม/โลก) ส่วนในทางศาสานามีผู้สร้างในคลิป สิ่งทั้งปวงต้องเกิดแต่เหตุเช่นกัน แต่ยกเว้นให้สิ่งเดียวคือพระเจ้าหรือผู้สร้าง หรือจะกล่าวอีกอย่างว่า ตามสุคตวินโยไม่มีสิ่งที่เรียกว่าอัตตา ทุกสิ่งในโลกเป็นอนัตตา แต่ศาสนามีผู้สร้างมีสิ่งที่เรียกว่าอัตตาก็คือพระเจ้า ซึ่งเป็นอินฟินิตี้ ไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย มีอยู่ตลอดกาล นั่นเอง

เมื่อแก่นแท้ต่างกันตรงนี้ รายละเอียดปลีกย่อยก็แตกต่างกันไปจากแก่นแท้ที่แตกต่างกัน

มีสุคตวินโย ในพระสูตรว่า
******ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง, แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ
เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน,
บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่ง ทิฏฐุปาทาน,
และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่ง สีลัพพตุปาทาน ;
แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ (อุปาทาน) หนึ่งอันนี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งที่ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ก็หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน, บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน, และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน ; แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ซึ่งอัตตาวาทุปาทาน แล.******

###เป็นเอกลักษณ์ของสุคตวินโยก็ได้ก็คือ การสอนเรื่องการเพิกถอนซึ่ง อัตตวาทุปาทาน###
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่