JJNY : อิ๊งค์ ลั่นสัญญาไว้ทำได้แน่│‘จาตุรนต์’ชี้ ศธ.แก้ปัญหา│ส.นักกฎหมายสิทธิฯ จี้กระบวนการยุติธรรม│นิติรัฐยุคประยุทธ์

อิ๊งค์ ย้ำชาวหนองบัวฯ แบ่งใจไม่ได้ วอนเลือกเพื่อไทยทั้งคนทั้งพรรค ลั่นสัญญาไว้ทำได้แน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3793858

‘เพื่อไทย’ ย้ำ ชาวหนองบัวฯ เลือกทั้งคนทั้งพรรคให้แลนด์สไลด์ แบ่งใจไม่ได้ ‘อิ๊งค์-ชลน่าน’ รุดเยี่ยมศูนย์เด็กเล็ก
  
ภายหลังจากคณะแกนนำ ส.ส.พรรคเพื่อไทย (พท.) ร่วมปราศรัย บนเวทีกลางแจ้ง สนามกีฬากลางจังหวัดเลย เวลา 17.30 น. น.ส.แพทองธาร และคณะ ได้เดินทางไปต่อที่ตลาดนัดเก้าค่ำ ต.กุดดินจี่ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู จุดปราศรัยที่สอง

โดยมีส.ส.ในพื้นที่รอให้การต้อนรับ ทั้งนายไชยา พรหมา นายสยามหัตถสงเคราะห์ รวมถึงนายณพล เชยคำแหง ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. รอให้การต้อนรับ โดยมีประชาชนในพื้นที่มารอรับฟังคำปราศรัยจนเต็มพื้นที่ โดยภาพรวมการปราศรัยเน้นย้ำหากอยากออกจากความทุกข์ยากพรรคเพื่อไทยต้องแลนด์สไลด์ หากไม่แลนด์สไลด์จะได้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี และเน้นย้ำจะเข้ามาแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง
 
โดย น.ส.แพทองธาร ปราศรัยตอนหนึ่งว่า พรรค พท.ไม่เคยสัญญาลมๆ แล้งๆ พูดแล้วต้องทำได้ หากเป็นรัฐบาลบริหารงาน 4 ปี ค่าแรง 600 บาททำได้แน่นอน เราจะไม่เอาเงินไปซื้อเรือดำน้ำแต่จะเอามาแก้ปัญหาให้ประชาชน ขอให้เลือกเพื่อไทยทั้งคนทั้งพรรคให้แลนด์สไลด์ เพื่อมาแก้ปัญหาปากท้องให้ประชาชน เพราะการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้แบ่งใจไม่ได้
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเดินทางมายังเวทีปราศรัย น.ส.แพทองธาร และนพ.ชลน่าน ได้เดินทางไปยัง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู เพื่อไปพบพ่อแม่ญาติพี่น้องผู้ศูนย์เสีย และร่วมแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์เศร้าสลดที่เคยเกิดขึ้น


 
‘จาตุรนต์’ ชี้ ศธ.แก้ปัญหาทรงผมนักเรียนไม่ถูกจุด หวั่น ร.ร.แต่ละแห่งจะเข้มงวด-เพิ่มบทลงโทษแรงขึ้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_3793658
 
‘จาตุรนต์’ ชี้ ศธ.แก้ปัญหาทรงผมนักเรียนไม่ถูกจุด หวั่น ร.ร.แต่ละแห่งจะเข้มงวด-เพิ่มบทลงโทษแรงขึ้น

เมื่อวันที่ 27 มกราคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการยกเลิกกฎระเบียบทรงผมนักเรียนว่า การที่กระทรวงศึกษาฯยกเลิกกฎระเบียบทรงผมนักเรียน แล้วให้สถานศึกษาพิจารณาออกระเบียบกันเอง และจัดรับฟังความเห็นนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและหัวหน้าสถานศึกษานั้น ฟังเผินๆ เหมือนจะดี แต่นี่เป็นการแก้ไม่ถูกจุดและเพิ่มปัญหาแทน เพราะหลายปีมานี้ มีการผ่อนคลายกฎระเบียบตามลำดับ แต่กลับมีการเพิ่มความเข้มงวดเกินกว่าระเบียบหรือการลงโทษที่รุนแรงจนละเมิดต่อร่างกายเด็ก เช่น กล้อนผมหรือเฆี่ยนตีเด็ก ถือเป็นการทำร้ายต่อร่างกายและจิตใจ
 
การยกเลิกระเบียบของกระทรวงแล้วให้สถานศึกษาแต่ละแห่งไปกำหนดกันเอง โดยรับฟังความเห็นหลายๆ ฝ่าย ผลที่ออกมาอาจแตกต่างหลากหลายและอาจจะมีปัญหาที่สถานศึกษาหลายแห่งจะออกระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นหรือมีบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น ถึงขั้นที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำลายความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง จะกลายเป็นส่งผลตรงข้ามกับความตั้งใจและเกิดความเสียหายมากกว่าที่คิดกัน
สิ่งที่กระทรวงศึกษาควรทำคือยังคงมีระเบียบของกระทรวงต่อไป แต่ปรับผ่อนปรนมากขึ้นสำหรับนักเรียน และเข้มงวดต่อผู้บริหารสถานศึกษาและครู เพื่อไม่ให้ทำอะไรที่เป็นการละเมิดสิทธิของเด็ก

อีกอย่างที่ควรทำมากคือการเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทั้งระบบเพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในตัวเอง รับผิดชอบต่อตนเองและรู้ที่เรียนรู้พัฒนาตนเองในโลกแห่งการเรียนรู้แบบใหม่ ไม่ใช่เน้นเรื่องการแต่งกาย ทรงผมเป๊ะ จนไม่ได้สนใจปรับปรุงส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันโลกทันสมัยอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

 


สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ จี้กระบวนการยุติธรรมไม่เลือกปฏิบัติ ยกปม ‘ตะวัน-แบม’ เทียบภรรยาตู้ห่าว
https://www.matichon.co.th/politics/news_3793881

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ จี้กระบวนการยุติธรรมไม่เลือกปฏิบัติ ยกปม ‘ตะวัน-แบม’ เทียบภรรยาตู้ห่าว
 
เมื่อวันที่ 27 มกราคม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เผยแพร่แถลงการณ์เรียกร้องต่อกระบวนการยุติธรรม ความตอนหนึ่ง ดังนี้
  
ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ …ทั้งนี้ ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม
 
แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง

การถูกปฏิบัติ…โดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤตและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก
 
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย คำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และคำนึงถึงอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการในการประสาทความยุติธรรมให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนอย่างไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความคิดเห็นทางการเมือง ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้ง ศาลพึงเป็นสถาบันที่พิจารณาอรรถคดีไปในทางส่งเสริมความเป็นมนุษย์ให้ดำรงอยู่ พัฒนาและงอกเงยขึ้นในสังคม…
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่