“จาตุรนต์” เห็นใจ “ช่อ” ถูกเพิกถอนสิทธิการเมืองตลอดชีวิต ย้ำต้องแก้รัฐธรรมนูญ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2727103
“จาตุรนต์” ให้กำลังใจ “ช่อ พรรณิการ์” ในฐานะเคยถูกเพิกถอนสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน ย้ำ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เป็นประชาธิปไตย
วันที่ 21 กันยายน 2566 นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต จากเรื่องมาตรฐานจริยธรรม เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยและสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต เป็นเรื่องร้ายแรงมากในหลายมิติ ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพลเมือง การบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ
นาย
จาตุรนต์ ระบุต่อไปว่า สิทธิในการเลือกตั้งซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการดำรงตำแหน่งทางการเมืองนี้ เป็นสิทธิที่พึงได้รับการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) การจำกัดสิทธินี้จะต้องมีเหตุผลเพียงพอ แต่ที่ผ่านมาหลังจากการรัฐประหารปี 2549 จนถึงวันนี้ ระบบการบังคับใช้กฎหมายของไทยได้จำกัดสิทธินี้ในหลายกรณีเกินกว่าเหตุและไม่เหมาะสม ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองที่สืบเนื่องจาการยุบพรรคการเมืองต่างๆ
ทั้งนี้ การที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นำเรื่องมาตรฐานจริยธรรมมาใช้กับนักการเมืองกำลังเกิดความลักลั่นคลุมเครือ มีแนวโน้มที่จะเกิดการใช้ดุลพินิจที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม เช่นกรณีที่เป็นความผิดทางอาญาอยู่แล้ว ในบางกรณีก็ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกลงโทษพิสูจน์ตนเองในกระบวนการยุติธรรมปกติว่ากระทำความผิดทางอาญาหรือไม่เสียก่อน แต่กลับมีการลงโทษด้วยการเพิกถอนสิทธิตามมาตรฐานจริยธรรม ที่บางครั้งเป็นการลงโทษที่รุนแรงยิ่งกว่าโทษทางอาญาเสียอีก
“กรณีการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองที่ผ่านมา จนถึงกรณีล่าสุดนี้ ยังมีปัญหาเรื่องความได้สัดส่วนในการลงโทษ การใช้กฎหมายย้อนหลัง และการเลือกปฏิบัติ ในส่วนของการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมฯ ยังมีปัญหาที่ยังไม่มีบรรทัดฐานชัดเจนในเรื่องการนับอายุความว่าจะเริ่มเมื่อใด นับอายุความอย่างไรด้วย”
อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักการเมือง และผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน ขอแสดงความเห็นใจต่อ น.ส
.พรรณิการ์ วานิช และขอให้กำลังใจในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อประชาชนต่อไป.
“ช่อ พรรณิการ์” ยันไม่ท้อ แม้โดนตัดสิทธิตลอดชีวิต
https://tna.mcot.net/politics-1242030
สำนักข่าวไทย 21 ก.ย. – “ช่อ พรรณิการ์” ยืนยันไม่ท้อแม้โดนตัดสิทธิตลอดชีวิต ยังเดินหน้าภารกิจการเมืองนอกสภา เพราะเป้าหมายคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การได้เป็น สส.-รมต. ลั่นหากนักการเมืองจะหมดอนาคต ควรให้ประชาชนตัดสิน ไม่ใช่มาตรฐานจริยธรรม หวังยกร่าง รธน.ใหม่
น.ส.
พรรณิการ์ วานิช อดีต สส.พรรคอนาคตใหม่ ให้สัมภาษณ์ “สำนักข่าวไทย” ถึงกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษา ว่า ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีโพสต์ข้อความพาดพิงสถาบันฯ โดยให้ถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าแม้มีคำตัดสินดังกล่าวออกมา ก็ถือว่าไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากตอนนี้ เพียงแต่ที่เคยคิดว่าจะรออีก 6ปี พอพ้นโทษตัดสิทธิตอนแรกจะกลับมาเป็น สส. และรับตำแหน่งทางการเมืองต่อ ก็คงไม่ต้องรอแล้ว แต่ยืนยันว่าบทบาทของตนที่ผ่านมาตั้งแต่ในยุคพรรคอนาคตใหม่ จนถึงขณะนี้เป็นอย่างไร ก็จะยังเป็นแบบนั้นทุกประการ และขณะนี้ใกล้ถึงการเลือกตั้งสมาชิก อบต. ทั่วประเทศ ก็จะช่วยเตรียมงาน ทำงานลงพื้นที่ ทำนโยบายหาเสียงทั้งสามระดับ และในการเลือกตั้งส.ส.สมัยหน้า หากพรรคก้าวไกลยังใช้ตนอยู่ ก็จะยังเป็นผู้ช่วยหาเสียงให้พรรคต่อไป รวมถึงการวิจารณ์ วิเคราะห์ ให้ความเห็นทางการเมืองใด ๆ ก็จะยังคงทำผ่านยูทูบ Tiktok ต่างๆ ดังนั้นอะไรที่เคยเห็นตนทำอย่างไร ก็ยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง ส่วนเรื่องการลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. ไม่ได้ ก็ไม่ได้มีความหมายอยู่แล้ว เพราะตนเข้ามาทำงานการเมืองไม่ได้หวังเป็นส.ส.และรัฐมนตรีเท่านั้น แต่อยากผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ และยังทำต่อได้นอกสภา
สำหรับสิ่งที่ดำเนินการจะผลัดดันผ่าน สส.พรรคก้าวไกลด้วยหรือไม่นั้น น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวว่า ความจริงก็อยากจะผลักดันผ่าน สส.ทุกพรรค เพราะไม่ใช่มีเฉพาะ สส.พรรคก้าวไกลที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง หากมีเพื่อน สส.พรรคอื่นช่วยทำก็จะสำเร็จไวขึ้น เพราะคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องทางหลักการ จุดยืน ซึ่งแน่นอนว่าพรรคก้าวไกลมีจุดยืนเดียวกับตน เพราะมาจากที่เดียวกันคืออนาคตใหม่เหมือนกัน แต่หลายเรื่องก็มีพรรคการเมืองอื่นเห็นตรงกัน เช่นสมรสเท่าเทียม การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร รวมถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกพรรคก็เห็นตรงกันหมด ดังนั้นการขับเคลื่อนผลักดันนอกสภาคงไม่ได้เจาะจงเฉพาะพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่ในฐานะที่พรรคก้าวไกลช่วยพรรคก้าวไกลหาเสียงมา ก็รู้สึกว่าพรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่ฝากความหวังไว้ได้มากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่ามีพรรคเดียวที่จะทำให้ความฝันในการเปลี่ยนแปลงประเทศของเราเป็นจริงได้
ส่วนเมื่อถามว่า “
ท้อ”หรือไม่ น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวว่า สะกดคำว่าท้อไม่เป็น และไม่ท้อ พร้อมทั้งเห็นว่ากรณีที่นางสาว
ปารีณา ไกรคุปต์ และนาย
สิระ เจนจาคะ ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับตน ซึ่งเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองคนไหน ที่ถูกตัดสิทธิจากมาตรฐานทางจริยธรรม สามารถตัดอนาคตทางการเมืองของนักการเมืองได้ขนาดนั้นจริงหรือ ซึ่งเห็นว่าหากนักการเมืองจะไม่มีอนาคต ควรจะไม่มีจากการที่เขาไม่มีคนเลือก คือประชาชนควรเป็นผู้ตัดสินอนาคตของนักการเมือง ไม่ใช่มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งตีความได้หลากหลาย จึงคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าและเป็นเรื่องที่เราต้องขับเคลื่อนต่อไป จะมาท้อแท้ไม่ได้ และจะกลายเป็นว่าตรงนี้เป็นหนึ่งในการเพิ่มงานมากกว่าว่าจะต้องพูดเรื่องนี้ให้ชัดกับสังคมว่าไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่ยอมรับว่าการมาพูดตอนที่เกิดกับตัวเอง ก็จะต้องระมัดระวัง เพราะตนไม่ถนัดในการเรียกร้องให้ตัวเอง แต่ถนัดในการเรียกร้องในเรื่องหลักการให้คนอื่นมากกว่า พอเป็นเรื่องของตัวเองก็เกรงจะถูกมองว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ว่าเพราะตัวเองโดนหรือไม่ ซึ่งความจริงเรื่องนี้ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ก็ไม่ถูกต้องตามหลักการทั้งนั้น
สำหรับกรณีที่ น.ส.
ปารีณา โพสต์ไม่เห็นด้วยนั้น น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวว่า ความจริงตนกับ น.ส.
ปารีณา ไม่ได้เคยมีประเด็นส่วนตัวอะไรกันเลย แต่เป็นบทบาททางการเมือง ซึ่งตอนที่ น.ส.
ปารีณาโดนตัดสิทธิ ตนก็เป็นคนหนึ่งที่ออกมาพูดไม่เห็นด้วย และเห็นว่าเป็นเรื่องขัดต่อหลักการ ส่วนในโอกาสที่พรรคการเมืองจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและให้มีสสร.มายกร่างใหม่ จะให้แก้ไขในเรื่องโทษทางจริยธรรมหรือไม่นั้น น.ส.
พรรณิการ์ กล่าวว่า ล่าสุดทางพรรคก้าวไกลออกแถลงการณ์ก็พูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่าในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้เช่นกัน จึงเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูปองค์กรศาล และองค์กรอิสระ เรื่องนี้จะได้ถูกแก้ตลอดไป ไม่ใช่มาเรียกร้องกันเพราะคนใดคนหนึ่งโดน และถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่พรรคก้าวไกลได้พูดถึงและตระหนักถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องศาลและองค์กรอิสระ. – สำนักข่าวไทย
เปิดรายชื่อโควตา ประธานกมธ. 35 คณะ พรรคไหนได้ชุดใดบ้าง นัดส่งชื่อ 27 กย.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7878094
เคาะกมธ.รอบ 3 หลังประชุมนานกว่า 2 ชม. ก้าวไกล ยึดกมธ.ติดตามงบประมาณ,การทหาร เพื่อไทยคุมกมธ.ปราบโกง พิเชษฐ์ นัดส่งรายชื่อ 27 ก.ย. ถกครั้งแรก 28 ก.ย.
วันที่ 21 ก.ย.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมตัวแทนพรรคการเมือง เพื่อจัดสรรโควตาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ว่าพรรคใดจะได้ประธาน กมธ.ชุดใด โดยมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม และตัวแทนจากพรรคต่างๆ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพักการประชุมห้องใหญ่ แล้วไปประชุมกันห้องเล็กใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อพูดคุยกันว่าจะสลับว่าพรรคใดจะได้คณะใด ทั้งนี้ นายพิเชษฐ์ ได้เข้าไปพูดคุยด้วยในช่วงหลัง
ต่อมาเวลา 16.16.น. การประชุมได้เสร็จสิ้น โดยนาย
พิเชษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ใช้เวลานานมากแต่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทุกพรรคถอยคนละก้าว โดยในวันที่ 27 ก.ย.นี้ ทุกพรรคจะเสนอรายชื่อประธานกมธ. ทั้ง 35 คณะ และในวันที่ 28 ก.ย. จะประชุมนัดแรก เพื่อเลือกประธาน รองประธาน เลขาฯ และโฆษก กมธ. ทุกตำแหน่ง
จำนวนกมธ.ได้ตามสัดส่วนส.ส.ของแต่ละพรรค แต่จะมีบางคณะ เช่น กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินและกมธ.ติดตามราคาพืชผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญกว่าที่ในที่ประชุมเห็นว่าควรเป็นเปลี่ยนเป็นภารกิจอื่นที่สำคัญกว่า ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคก้าวไกล ปัจจุบันได้ 11 คณะตามสัดส่วนส.ส. เพราะนายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ส.ส.ระยอง ได้รายงานตัววันนี้จึงครบตามสัดส่วนพอดี
ขณะที่ นาย
อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ในส่วนของพรรค ได้ 2 คณะครึ่ง คือกมธ.พลังงาน และกมธ.อุตสาหกรรม ส่วนอีก 1 กมธ.คือ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ซึ่งต้องแบ่งกับพรรคก้าวไกลคนละครึ่ง เนื่องจากติดเรื่องข้อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม คือจะเป็น กมธ.คนละ 2 ปีหรือปีเว้นปี ซึ่งจะต้องมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง
เปิดรายชื่อโควตาประธานกมธ.ทั้ง 35 คณะ
ก้าวไกล 11 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ 2.กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ 4.กมธ.สวัสดิการสังคม 5.กมธ.การทหาร 6.กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ 7. กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8.กมธ.การเกษตรและสหกรณ์ 9. กมธ.การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม 10.กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน และ 11.กมธ.การคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อไทย (พท.) 10 คณะ คือ 1.กมธ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ 2.กมธ.การคมนาคม 3.กมธ.การท่องเที่ยว 4.กมธ.การสาธารณสุข 5.กมธ.การต่างประเทศ 6.กมธ.การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม 7.กมธ.กิจการสภาผู้แทนฯ 8. กมธ.การสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 9.กมธ.ป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด 10. กมธ.การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน
ภูมิใจไทย (ภท.) 5 คณะ คือ 1. กมธ.การศึกษา 2. กมธ.การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ 3.กมธ.การปกครอง 4.กมธ.การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย และ 5.กมธ.การแรงงาน
พลังประชารัฐ (พปชร.) 3 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.กีฬา 2.กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ และ 3.กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม
ประชาธิปัตย์ (ปชป.) 2 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา และ 2.กมธ.การตำรวจ
JJNY : 5in1 “จาตุรนต์”เห็นใจ“ช่อ”│“ช่อ”ยันไม่ท้อ│เปิดรายชื่อโควตาปธ.กมธ.│เปิดผล'พักหนี้เกษตรฯ'│“ปูติน” ยันเยือนจีน ตุลา
https://www.thairath.co.th/news/politic/2727103
“จาตุรนต์” ให้กำลังใจ “ช่อ พรรณิการ์” ในฐานะเคยถูกเพิกถอนสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน ย้ำ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เป็นประชาธิปไตย
วันที่ 21 กันยายน 2566 นายจาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต จากเรื่องมาตรฐานจริยธรรม เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยและสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต เป็นเรื่องร้ายแรงมากในหลายมิติ ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพลเมือง การบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ
นายจาตุรนต์ ระบุต่อไปว่า สิทธิในการเลือกตั้งซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการดำรงตำแหน่งทางการเมืองนี้ เป็นสิทธิที่พึงได้รับการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) การจำกัดสิทธินี้จะต้องมีเหตุผลเพียงพอ แต่ที่ผ่านมาหลังจากการรัฐประหารปี 2549 จนถึงวันนี้ ระบบการบังคับใช้กฎหมายของไทยได้จำกัดสิทธินี้ในหลายกรณีเกินกว่าเหตุและไม่เหมาะสม ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองที่สืบเนื่องจาการยุบพรรคการเมืองต่างๆ
ทั้งนี้ การที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นำเรื่องมาตรฐานจริยธรรมมาใช้กับนักการเมืองกำลังเกิดความลักลั่นคลุมเครือ มีแนวโน้มที่จะเกิดการใช้ดุลพินิจที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม เช่นกรณีที่เป็นความผิดทางอาญาอยู่แล้ว ในบางกรณีก็ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกลงโทษพิสูจน์ตนเองในกระบวนการยุติธรรมปกติว่ากระทำความผิดทางอาญาหรือไม่เสียก่อน แต่กลับมีการลงโทษด้วยการเพิกถอนสิทธิตามมาตรฐานจริยธรรม ที่บางครั้งเป็นการลงโทษที่รุนแรงยิ่งกว่าโทษทางอาญาเสียอีก
“กรณีการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองที่ผ่านมา จนถึงกรณีล่าสุดนี้ ยังมีปัญหาเรื่องความได้สัดส่วนในการลงโทษ การใช้กฎหมายย้อนหลัง และการเลือกปฏิบัติ ในส่วนของการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมฯ ยังมีปัญหาที่ยังไม่มีบรรทัดฐานชัดเจนในเรื่องการนับอายุความว่าจะเริ่มเมื่อใด นับอายุความอย่างไรด้วย”
อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักการเมือง และผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน ขอแสดงความเห็นใจต่อ น.ส.พรรณิการ์ วานิช และขอให้กำลังใจในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อประชาชนต่อไป.
“ช่อ พรรณิการ์” ยันไม่ท้อ แม้โดนตัดสิทธิตลอดชีวิต
https://tna.mcot.net/politics-1242030
สำนักข่าวไทย 21 ก.ย. – “ช่อ พรรณิการ์” ยืนยันไม่ท้อแม้โดนตัดสิทธิตลอดชีวิต ยังเดินหน้าภารกิจการเมืองนอกสภา เพราะเป้าหมายคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การได้เป็น สส.-รมต. ลั่นหากนักการเมืองจะหมดอนาคต ควรให้ประชาชนตัดสิน ไม่ใช่มาตรฐานจริยธรรม หวังยกร่าง รธน.ใหม่
น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต สส.พรรคอนาคตใหม่ ให้สัมภาษณ์ “สำนักข่าวไทย” ถึงกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษา ว่า ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีโพสต์ข้อความพาดพิงสถาบันฯ โดยให้ถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าแม้มีคำตัดสินดังกล่าวออกมา ก็ถือว่าไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากตอนนี้ เพียงแต่ที่เคยคิดว่าจะรออีก 6ปี พอพ้นโทษตัดสิทธิตอนแรกจะกลับมาเป็น สส. และรับตำแหน่งทางการเมืองต่อ ก็คงไม่ต้องรอแล้ว แต่ยืนยันว่าบทบาทของตนที่ผ่านมาตั้งแต่ในยุคพรรคอนาคตใหม่ จนถึงขณะนี้เป็นอย่างไร ก็จะยังเป็นแบบนั้นทุกประการ และขณะนี้ใกล้ถึงการเลือกตั้งสมาชิก อบต. ทั่วประเทศ ก็จะช่วยเตรียมงาน ทำงานลงพื้นที่ ทำนโยบายหาเสียงทั้งสามระดับ และในการเลือกตั้งส.ส.สมัยหน้า หากพรรคก้าวไกลยังใช้ตนอยู่ ก็จะยังเป็นผู้ช่วยหาเสียงให้พรรคต่อไป รวมถึงการวิจารณ์ วิเคราะห์ ให้ความเห็นทางการเมืองใด ๆ ก็จะยังคงทำผ่านยูทูบ Tiktok ต่างๆ ดังนั้นอะไรที่เคยเห็นตนทำอย่างไร ก็ยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง ส่วนเรื่องการลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. ไม่ได้ ก็ไม่ได้มีความหมายอยู่แล้ว เพราะตนเข้ามาทำงานการเมืองไม่ได้หวังเป็นส.ส.และรัฐมนตรีเท่านั้น แต่อยากผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ และยังทำต่อได้นอกสภา
สำหรับสิ่งที่ดำเนินการจะผลัดดันผ่าน สส.พรรคก้าวไกลด้วยหรือไม่นั้น น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า ความจริงก็อยากจะผลักดันผ่าน สส.ทุกพรรค เพราะไม่ใช่มีเฉพาะ สส.พรรคก้าวไกลที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง หากมีเพื่อน สส.พรรคอื่นช่วยทำก็จะสำเร็จไวขึ้น เพราะคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องทางหลักการ จุดยืน ซึ่งแน่นอนว่าพรรคก้าวไกลมีจุดยืนเดียวกับตน เพราะมาจากที่เดียวกันคืออนาคตใหม่เหมือนกัน แต่หลายเรื่องก็มีพรรคการเมืองอื่นเห็นตรงกัน เช่นสมรสเท่าเทียม การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร รวมถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกพรรคก็เห็นตรงกันหมด ดังนั้นการขับเคลื่อนผลักดันนอกสภาคงไม่ได้เจาะจงเฉพาะพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่ในฐานะที่พรรคก้าวไกลช่วยพรรคก้าวไกลหาเสียงมา ก็รู้สึกว่าพรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่ฝากความหวังไว้ได้มากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่ามีพรรคเดียวที่จะทำให้ความฝันในการเปลี่ยนแปลงประเทศของเราเป็นจริงได้
ส่วนเมื่อถามว่า “ท้อ”หรือไม่ น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า สะกดคำว่าท้อไม่เป็น และไม่ท้อ พร้อมทั้งเห็นว่ากรณีที่นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ และนายสิระ เจนจาคะ ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับตน ซึ่งเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองคนไหน ที่ถูกตัดสิทธิจากมาตรฐานทางจริยธรรม สามารถตัดอนาคตทางการเมืองของนักการเมืองได้ขนาดนั้นจริงหรือ ซึ่งเห็นว่าหากนักการเมืองจะไม่มีอนาคต ควรจะไม่มีจากการที่เขาไม่มีคนเลือก คือประชาชนควรเป็นผู้ตัดสินอนาคตของนักการเมือง ไม่ใช่มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งตีความได้หลากหลาย จึงคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าและเป็นเรื่องที่เราต้องขับเคลื่อนต่อไป จะมาท้อแท้ไม่ได้ และจะกลายเป็นว่าตรงนี้เป็นหนึ่งในการเพิ่มงานมากกว่าว่าจะต้องพูดเรื่องนี้ให้ชัดกับสังคมว่าไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่ยอมรับว่าการมาพูดตอนที่เกิดกับตัวเอง ก็จะต้องระมัดระวัง เพราะตนไม่ถนัดในการเรียกร้องให้ตัวเอง แต่ถนัดในการเรียกร้องในเรื่องหลักการให้คนอื่นมากกว่า พอเป็นเรื่องของตัวเองก็เกรงจะถูกมองว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ว่าเพราะตัวเองโดนหรือไม่ ซึ่งความจริงเรื่องนี้ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ก็ไม่ถูกต้องตามหลักการทั้งนั้น
สำหรับกรณีที่ น.ส.ปารีณา โพสต์ไม่เห็นด้วยนั้น น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า ความจริงตนกับ น.ส.ปารีณา ไม่ได้เคยมีประเด็นส่วนตัวอะไรกันเลย แต่เป็นบทบาททางการเมือง ซึ่งตอนที่ น.ส.ปารีณาโดนตัดสิทธิ ตนก็เป็นคนหนึ่งที่ออกมาพูดไม่เห็นด้วย และเห็นว่าเป็นเรื่องขัดต่อหลักการ ส่วนในโอกาสที่พรรคการเมืองจะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและให้มีสสร.มายกร่างใหม่ จะให้แก้ไขในเรื่องโทษทางจริยธรรมหรือไม่นั้น น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า ล่าสุดทางพรรคก้าวไกลออกแถลงการณ์ก็พูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่าในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้เช่นกัน จึงเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูปองค์กรศาล และองค์กรอิสระ เรื่องนี้จะได้ถูกแก้ตลอดไป ไม่ใช่มาเรียกร้องกันเพราะคนใดคนหนึ่งโดน และถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่พรรคก้าวไกลได้พูดถึงและตระหนักถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องศาลและองค์กรอิสระ. – สำนักข่าวไทย
เปิดรายชื่อโควตา ประธานกมธ. 35 คณะ พรรคไหนได้ชุดใดบ้าง นัดส่งชื่อ 27 กย.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7878094
เคาะกมธ.รอบ 3 หลังประชุมนานกว่า 2 ชม. ก้าวไกล ยึดกมธ.ติดตามงบประมาณ,การทหาร เพื่อไทยคุมกมธ.ปราบโกง พิเชษฐ์ นัดส่งรายชื่อ 27 ก.ย. ถกครั้งแรก 28 ก.ย.
วันที่ 21 ก.ย.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมตัวแทนพรรคการเมือง เพื่อจัดสรรโควตาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ว่าพรรคใดจะได้ประธาน กมธ.ชุดใด โดยมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม และตัวแทนจากพรรคต่างๆ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพักการประชุมห้องใหญ่ แล้วไปประชุมกันห้องเล็กใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อพูดคุยกันว่าจะสลับว่าพรรคใดจะได้คณะใด ทั้งนี้ นายพิเชษฐ์ ได้เข้าไปพูดคุยด้วยในช่วงหลัง
ต่อมาเวลา 16.16.น. การประชุมได้เสร็จสิ้น โดยนายพิเชษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ใช้เวลานานมากแต่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทุกพรรคถอยคนละก้าว โดยในวันที่ 27 ก.ย.นี้ ทุกพรรคจะเสนอรายชื่อประธานกมธ. ทั้ง 35 คณะ และในวันที่ 28 ก.ย. จะประชุมนัดแรก เพื่อเลือกประธาน รองประธาน เลขาฯ และโฆษก กมธ. ทุกตำแหน่ง
จำนวนกมธ.ได้ตามสัดส่วนส.ส.ของแต่ละพรรค แต่จะมีบางคณะ เช่น กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินและกมธ.ติดตามราคาพืชผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญกว่าที่ในที่ประชุมเห็นว่าควรเป็นเปลี่ยนเป็นภารกิจอื่นที่สำคัญกว่า ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคก้าวไกล ปัจจุบันได้ 11 คณะตามสัดส่วนส.ส. เพราะนายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ส.ส.ระยอง ได้รายงานตัววันนี้จึงครบตามสัดส่วนพอดี
ขณะที่ นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ในส่วนของพรรค ได้ 2 คณะครึ่ง คือกมธ.พลังงาน และกมธ.อุตสาหกรรม ส่วนอีก 1 กมธ.คือ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ซึ่งต้องแบ่งกับพรรคก้าวไกลคนละครึ่ง เนื่องจากติดเรื่องข้อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม คือจะเป็น กมธ.คนละ 2 ปีหรือปีเว้นปี ซึ่งจะต้องมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง
เปิดรายชื่อโควตาประธานกมธ.ทั้ง 35 คณะ
ก้าวไกล 11 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ 2.กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ 4.กมธ.สวัสดิการสังคม 5.กมธ.การทหาร 6.กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ 7. กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8.กมธ.การเกษตรและสหกรณ์ 9. กมธ.การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม 10.กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน และ 11.กมธ.การคุ้มครองผู้บริโภค
เพื่อไทย (พท.) 10 คณะ คือ 1.กมธ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ 2.กมธ.การคมนาคม 3.กมธ.การท่องเที่ยว 4.กมธ.การสาธารณสุข 5.กมธ.การต่างประเทศ 6.กมธ.การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม 7.กมธ.กิจการสภาผู้แทนฯ 8. กมธ.การสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 9.กมธ.ป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด 10. กมธ.การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน
ภูมิใจไทย (ภท.) 5 คณะ คือ 1. กมธ.การศึกษา 2. กมธ.การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ 3.กมธ.การปกครอง 4.กมธ.การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย และ 5.กมธ.การแรงงาน
พลังประชารัฐ (พปชร.) 3 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.กีฬา 2.กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ และ 3.กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม
ประชาธิปัตย์ (ปชป.) 2 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา และ 2.กมธ.การตำรวจ