เกี่ยวกับข้อสังเกตุ ข้อสงสัย การปนเปื้อน รั่วไหลของกัมมันตรังสีของพื้นที่หนึ่งแถวคลอง 5 ปทุมธานี
ผมเคยตั้งกระทู้นึงเมื่อปีที่แล้ว
https://ppantip.com/topic/41405955
ปีนี้มาอัพเดทข้อมูลเพิ่ม เขียนให้กระชับขึ้น
ปนเปื้อน(กัมมันตรังสี) กันไปเท่าไร?
1.ประมาณปี 2538 หน่วยงาน REE ดำเนินงาน แปรรูปแร่กัมมันตรังสี จัดเก็บกากกัมมันตรังสี โดยที่ชาวบ้านรอบๆ ไม่ทราบว่าประกอบกิจการอะไร มีความเสี่ยงที่จะก่ออันตรายกับชาวบ้านรอบชุมชนหรือไม่ ทั้งหน่วยงานนี้ยังมีสถานที่ตั้งติดกับสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 ล้าน ลบ.ม. และน้ำนี้หล่อเลี้ยงประชาชนโดยรอบทั้งอุปโภคบริโภค.
2.ประมาณปี 2548 หน่วยงานดังกล่าว หยุดดำเนินการแปรรูปแร่กัมมันตรังสี (ไม่ทราบเหตุผลว่าหยุดดำเนินการเพราะอะไร) แต่ยังจัดเก็บกากกัมมันตรังสี และยังเก็บวัตถุดิบแร่โมนาไซต์ไว้ในอาคารประมาณ 500-600 ตัน โดยแร่โมนาไซต์ประกอบด้วยธาตุยูเรเนียม 0.2-0.8%,ธาตุทอเรียม 4.6-10.6%(เทียบอัตราส่วน น่าจะมีธาตุยูเรเนียม 1.2-4.8 ตัน,ธาตุทอเรียม 27-63.6 ตัน)
3.ปี 2554 เกิดมหาอุทกภัย น้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัดและในบริเวณดังกล่าว บริเวณนี้น้ำท่วมทั้งหมด สระเก็บน้ำพระราม9,มหาวิทยาลัยราชมงคล,เทคโนธานี,หมู่บ้านพรธิสาร และบ้านเรือนประชาชนโดยรอบๆพื้นที่ จากปากคำชาวบ้านและการหาข้อมูลจากหลายแหล่ง คาดคะเนระดับน้ำที่ท่วมอาคารเก็บแร่โมนาไซต์น่าจะสูงประมาณ 1.5-2 เมตร และท่วมอยู่นานประมาณ 2 เดือน ซึ่งไม่มีคำเตือนใดๆต่อชาวบ้านเกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยงต่อสุขภาพถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พอไม่เตือน ก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรเลย
4.ประมาณ ปี 2560 มีรายงานการวิจัยที่เผยแพร่ของต่างประเทศ
Study on Developing Safety Infrastructure for Mineral Processing Waste (NORM Waste) and Contamination Monitoring at the TINT Rare Earth Research & Development Center, Khlong 5,
Pathumthani, Thailand
หลังจากนั้นหลายปี มีนักวิชาการไปค้นเจอบทความ/งานวิจัยนี้เข้า
เนื้อหาในรายงานการวิจัย พอจะประติดประต่อ ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ และนี่คือบางส่วนเนื้อหาในบทความ
Dose rate and contamination map at the building No. 18. The maximum dose rate of the wall of building 18 was found to be very high dose rate, 62.2 µSv/hr. The average of dose rate around the wall was about 30-60 µSv/hr. It is about 30-60 times of background level (1 µSv/hr) at the RE R&D Center. Figure 3 shows that the building no.18 is full with monazite sand, and our radiation safety officer did not allow us to get inside due to the hazard of radon gas because the room was closed for a long time
https://www.researchgate.net/.../317409686_Study_on...
5.เป็นที่น่าสงสัยว่า
5.1 ระหว่างน้ำท่วมปี 54 มีการกักกันพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนกัมมันตรังสีหรือไม่ น้ำที่ท่วมในอาคารที่ผสมทรายโมนาไซต์มีการกักเก็บไว้หรือไม่? หรือปล่อยให้แร่กัมมันตรังสีแช่น้ำแล้วน้ำที่ปนเปื้อนไหลออกสู่ระบบ ไหลลงสระน้ำขนาดใหญ่ข้างหน่วยงาน
5.2 หลังจากน้ำลด ปี 54 มีการวัดค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสีได้เท่าไร? และมีการวัดการปนเปื้อนบริเวณโดยรอบหรือไม่ ? ค่าปนเปื้อนที่วัดได้หน้าอาคารเก็บ ณ ปี2560 คือ 62.2 uSV/HR แล้วปี 2554 ค่าการปนเปื้อนจะสูงขนาดไหน?
และนี่คือเสียงจากชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนบริเวณดังกล่าว
เกี่ยวกับข้อสังเกตุ ข้อสงสัย การปนเปื้อน รั่วไหลของกัมมันตรังสีของพื้นที่หนึ่งแถวคลอง 5 ปทุมธานี
ผมเคยตั้งกระทู้นึงเมื่อปีที่แล้ว
https://ppantip.com/topic/41405955
ปีนี้มาอัพเดทข้อมูลเพิ่ม เขียนให้กระชับขึ้น
ปนเปื้อน(กัมมันตรังสี) กันไปเท่าไร?
1.ประมาณปี 2538 หน่วยงาน REE ดำเนินงาน แปรรูปแร่กัมมันตรังสี จัดเก็บกากกัมมันตรังสี โดยที่ชาวบ้านรอบๆ ไม่ทราบว่าประกอบกิจการอะไร มีความเสี่ยงที่จะก่ออันตรายกับชาวบ้านรอบชุมชนหรือไม่ ทั้งหน่วยงานนี้ยังมีสถานที่ตั้งติดกับสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 ล้าน ลบ.ม. และน้ำนี้หล่อเลี้ยงประชาชนโดยรอบทั้งอุปโภคบริโภค.
2.ประมาณปี 2548 หน่วยงานดังกล่าว หยุดดำเนินการแปรรูปแร่กัมมันตรังสี (ไม่ทราบเหตุผลว่าหยุดดำเนินการเพราะอะไร) แต่ยังจัดเก็บกากกัมมันตรังสี และยังเก็บวัตถุดิบแร่โมนาไซต์ไว้ในอาคารประมาณ 500-600 ตัน โดยแร่โมนาไซต์ประกอบด้วยธาตุยูเรเนียม 0.2-0.8%,ธาตุทอเรียม 4.6-10.6%(เทียบอัตราส่วน น่าจะมีธาตุยูเรเนียม 1.2-4.8 ตัน,ธาตุทอเรียม 27-63.6 ตัน)
3.ปี 2554 เกิดมหาอุทกภัย น้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัดและในบริเวณดังกล่าว บริเวณนี้น้ำท่วมทั้งหมด สระเก็บน้ำพระราม9,มหาวิทยาลัยราชมงคล,เทคโนธานี,หมู่บ้านพรธิสาร และบ้านเรือนประชาชนโดยรอบๆพื้นที่ จากปากคำชาวบ้านและการหาข้อมูลจากหลายแหล่ง คาดคะเนระดับน้ำที่ท่วมอาคารเก็บแร่โมนาไซต์น่าจะสูงประมาณ 1.5-2 เมตร และท่วมอยู่นานประมาณ 2 เดือน ซึ่งไม่มีคำเตือนใดๆต่อชาวบ้านเกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยงต่อสุขภาพถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พอไม่เตือน ก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรเลย
4.ประมาณ ปี 2560 มีรายงานการวิจัยที่เผยแพร่ของต่างประเทศ
Study on Developing Safety Infrastructure for Mineral Processing Waste (NORM Waste) and Contamination Monitoring at the TINT Rare Earth Research & Development Center, Khlong 5,
Pathumthani, Thailand
หลังจากนั้นหลายปี มีนักวิชาการไปค้นเจอบทความ/งานวิจัยนี้เข้า เนื้อหาในรายงานการวิจัย พอจะประติดประต่อ ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ และนี่คือบางส่วนเนื้อหาในบทความ
Dose rate and contamination map at the building No. 18. The maximum dose rate of the wall of building 18 was found to be very high dose rate, 62.2 µSv/hr. The average of dose rate around the wall was about 30-60 µSv/hr. It is about 30-60 times of background level (1 µSv/hr) at the RE R&D Center. Figure 3 shows that the building no.18 is full with monazite sand, and our radiation safety officer did not allow us to get inside due to the hazard of radon gas because the room was closed for a long time
https://www.researchgate.net/.../317409686_Study_on...
5.เป็นที่น่าสงสัยว่า
5.1 ระหว่างน้ำท่วมปี 54 มีการกักกันพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนกัมมันตรังสีหรือไม่ น้ำที่ท่วมในอาคารที่ผสมทรายโมนาไซต์มีการกักเก็บไว้หรือไม่? หรือปล่อยให้แร่กัมมันตรังสีแช่น้ำแล้วน้ำที่ปนเปื้อนไหลออกสู่ระบบ ไหลลงสระน้ำขนาดใหญ่ข้างหน่วยงาน
5.2 หลังจากน้ำลด ปี 54 มีการวัดค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสีได้เท่าไร? และมีการวัดการปนเปื้อนบริเวณโดยรอบหรือไม่ ? ค่าปนเปื้อนที่วัดได้หน้าอาคารเก็บ ณ ปี2560 คือ 62.2 uSV/HR แล้วปี 2554 ค่าการปนเปื้อนจะสูงขนาดไหน?
และนี่คือเสียงจากชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนบริเวณดังกล่าว