JJNY : เจน Z ปรารถนาเปลี่ยนระเบียบ│นิด้าโพลชี้พรรคเล็กไม่รอด│อุ๊งอิ๊ง บินอุดรวันนี้ อาจมีเศรษฐาร่วม│ถกสนั่น งานวันเด็ก

ผลวิจัยชี้ คนเจน Z ปรารถนาเปลี่ยนระเบียบสังคมไทย ต้านทุนผูกขาดสูงมาก
https://www.matichon.co.th/politics/news_3772500
 
 
 
เมื่อวันที่ 15 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานบทสรุปงานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ซึ่งเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 18-25 ปี ทั้งประเทศมี 6.86 ล้านคน) เมื่อช่วงปลายปี 2565 จากผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯและทุกภาคของประเทศ จำนวน 412 คน เกี่ยวกับทัศนคติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทย
​ผลการวิจัยพบว่า
 
​1. คำถามว่า “ในช่วง 8 ปีกว่าภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านคิดว่ารัฐบาลนี้ได้ทำให้ท่านมีความหวังต่อความเจริญของชาติและชีวิตที่ดีขึ้นของท่านและครอบครัว ในระดับใด”
 
ทัศนคติคน Gen Z มีในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 80.9 รองลงมาคือ ระดับน้อย ร้อยละ 12.2 หรือกล่าวรวมได้ว่า คน Gen Z ส่วนใหญ่รู้สึกไร้ความหวังต่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ถึง 93.1% มีความหวังระดับปานกลาง ร้อยละ 5.0 มีความหวังระดับมาก ร้อยละ 0.7 ระดับมากที่สุด ร้อยละ 1.2 หรือรู้สึกมีความหวังกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์นี้เพียงร้อยละ 1.9

นัยทางการเมืองในข้อนี้คือ พรรคการเมืองที่ชูพลเอกประยุทธ์และพลเอกประวิตรเป็นนายกรัฐมนตรีในสนามเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมาถึง มีแนวโน้มว่าพรรคเหล่านั้นจะได้รับคะแนนเสียงจากคน Gen Z ในระดับน้อยมาก
 
​2. คำถามว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะให้คนต่างชาติที่ลงทุนธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 40 ล้านบาท สามารถซื้อที่ดินในประเทศไทยได้ 1 ไร่”
 
คน Gen Z ไม่เห็นด้วยต่อนโยบายนี้สูงถึงร้อยละ 86.1 เห็นด้วยเพียงร้อยละ 3.2 ไม่แสดงความเห็นร้อยละ 10.7
แม้ว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะได้ยกเลิกนโยบายนี้ไปแล้ว แต่นัยทางเศรษฐกิจและการเมืองในข้อนี้คือ คน Gen Z มีพลังความคิดด้านชาตินิยมสูง และมีความไม่มั่นใจในทุนจีนต่อผืนแผ่นดินประเทศไทยอยู่สูงมาก
 
3. คำถามว่า “ท่านคิดว่า ควรให้ประชาชนสามารถผลิตเหล้าเบียร์และขายได้อย่างเสรี รวมทั้งโฆษณาสินค้าได้ ภายใต้การกำกับควบคุมด้านคุณภาพและสุขอนามัย หรือไม่”
 
คน Gen Z เห็นด้วยต่อแนวทางเหล้าเบียร์เสรี ทั้งผลิต ขาย โฆษณา นี้สูงถึงร้อยละ 75.4 รองลงมาเห็นว่า ไม่ควรเปิดเสรี ร้อยละ 18.5 และไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 6.1
 
นัยทางสังคมเศรษฐกิจของข้อนี้คือ คน Gen Z ต่อต้านระบบทุนผูกขาดในประเทศไทยที่สูงมาก
 
4. คำถามว่า “ท่านคิดว่า วันพระสำคัญของศาสนาพุทธ ควรยังต้องมี หรือ ควรยกเลิก ข้อห้ามการขายเหล้าเบียร์ของประชาชนทั้งประเทศ”
 
คน Gen Z ส่วนใหญ่เห็นว่าควรยกเลิกข้อห้ามการขายเหล้าเบียร์ ร้อยละ 53.2 รองลงมาเห็นว่า ควรยังต้องมีข้อห้ามการขายเหล้าเบียร์ ร้อยละ 30.6 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 16.2
 
นัยทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของข้อนี้คือ คน Gen Z คิดว่าควรแยกศาสนาออกจากชีวิตทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองของคนทั้งชาติ ศาสนาเป็นเรื่องส่วนบุคคล ต้องไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นๆ ในประเทศไทย แนวโน้มความคิดนี้กำลังจะมีระดับเพิ่มสูงมากขึ้น และจะกลายเป็นพลังที่เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสังคมไทย
 
​5. คำถามว่า “ท่านคิดว่า ควรยกเลิกกฎระเบียบและการบังคับใส่เครื่องแบบของนิสิตนักศึกษา หรือไม่” 

คน Gen Z ส่วนใหญ่เห็นว่าควรยกเลิกสูงถึง ร้อยละ 65.3 รองลงมา เห็นว่าไม่ควรยกเลิก ร้อยละ 23.5 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 11.2

นัยทางสังคมการเมืองของข้อนี้ คือ คน Gen Z กำลังต่อต้านคัดค้านเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่รัฐทหารสร้างสมมาอย่างยาวนานที่เน้นการสร้างสำนึกในหน้าที่และระเบียบวินัยของประชาชนตั้งแต่เยาว์วัย แต่คน Gen Z มุ่งสร้างชีวิตเน้นไปที่การมีสิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคล
ข้อมูลพื้นฐาน
 
​งานวิจัยทัศนคติของคน Gen Z ต่อ 5 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 4-11 พฤศจิกายน 2565 โดยเก็บจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ 
ภาคกลางที่ปทุมธานี นครปฐม ชลบุรี อยุธยา 
ภาคเหนือที่พิษณุโลก เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ลำปาง 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ เลย อุดรธานี 
ภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นราธิวาส ปัตตานี รวม 24 จังหวัด รวม 31 สถาบันอุดมศึกษา รวม 412 คน
​ 
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 249 คน (60.4%) ชาย 122 คน (29.6%) เพศหลากหลาย 41 คน (10.0%)
​โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 91 คน (22.1%) ภาคกลาง 128 คน (31.1%) ภาคเหนือ 35 คน (8.5%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 111 คน (26.9%) ภาคใต้ 47 คน (11.4%)

อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุ 18 ปี 102 คน (24.8%) อายุ 19 ปี 129 คน (31.3%) อายุ 20 ปี 67 คน (16.3%) อายุ 21 ปี 50 คน (12.1%) อายุ 22 ปี 28 คน (6.8%) อายุ 23 ปี 15 คน (3.6%) อายุ 24 ปี 11 คน (2.7%) อายุ 25 ปี 10 คน (2.4%)
 


นิด้าโพลชี้พรรคเล็กไม่รอดต้องควบรวม หนุน'ไทยสร้างไทย'รวม'สร้างอนาคตไทย'
https://siamrath.co.th/n/415013

  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “พรรคการเมืองขนาดเล็กและการควบรวม” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 9-12 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับพรรคการเมืองขนาดเล็กและการควบรวมพรรคการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 
          จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ภายใต้กติกาบัตร 2 ใบ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.26 ระบุว่า ควรเดินหน้าต่อด้วยการไปควบรวมกับพรรคการเมืองอื่น รองลงมา ร้อยละ 37.56 ระบุว่า ควรเดินหน้าต่อไปในนามพรรคการเมืองเดิม ร้อยละ 15.34 ระบุว่า ควรยุติบทบาททางการเมือง และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
  
     เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า ควรเดินหน้าต่อด้วยการไปควบรวมกับพรรคการเมืองอื่น (จำนวน 606 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวขนาดของพรรคการเมืองที่ควรไปควบรวม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.55 ระบุว่า ควรไปควบรวมกับพรรคการเมืองที่มีแนวโน้มจะเป็นพรรคขนาดใหญ่ รองลงมา ร้อยละ 27.39 ระบุว่า ควรไปควบร วมกับพรรคการเมืองที่มีแนวโน้มจะเป็นพรรคขนาดกลาง และร้อยละ 11.06 ระบุว่า ควรไปควบรวมกับพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กเหมือนกัน      
 
         สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการควบรวมทางการเมืองระหว่างคุณกรณ์ จาติกวณิช กับ คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จนกลายมาเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.87 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่เหมาะสมมาก รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่า การควบรวม ทำให้มีโอกาสได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ ร้อยละ 19.39 ระบุว่า เป็นการควบรวมชั่วคราว เฉพาะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ ร้อยละ 14.50 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่ไม่เหมาะสมเลย ร้อยละ 9.31 ระบุว่า การควบรวมจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อโอกาสการได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ ร้อยละ 5.80 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่คุณกรณ์ จาติกวณิช ได้ประโยชน์มากกว่าร้อยละ 5.34 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่คุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ได้ประโยชน์มากกว่า ร้อยละ 4.43 ระบุว่า รู้สึกเสียดายที่คุณกรณ์ จาติกวณิช ลาออกจากพรรคกล้า ร้อยละ 3.44 ระบุว่า รู้สึกเสียดายที่จะไม่มีพรรคชาติพัฒนาในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และร้อยละ 3.21 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
  ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวแนวโน้มการควบรวมทางการเมืองระหว่างพรรคไทยสร้างไทย นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  กับ พรรคสร้างอนาคตไทย นำโดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.15 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่เหมาะสมมาก รองลงมา ร้อยละ 31.76 ระบุว่า การควบรวมทำให้มีโอกาสได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ ร้อยละ 20.08 ระบุว่า เป็นการควบรวมชั่วคราว เฉพาะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ ร้อยละ 14.35 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่ไม่เหมาะสมเลย ร้อยละ 10.76 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่พรรคไทยสร้างไทย และ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้ประโยชน์มากกว่า ร้อยละ 8.32 ระบุว่า การควบรวม จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อโอกาสการได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ ร้อยละ 4.50 ระบุว่า รู้สึกเสียดายที่อาจจะไม่มีพรรคไทยสร้างไทย ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ร้อยละ 3.66 ระบุว่า เป็นการควบรวมที่พรรคสร้างอนาคตไทย และ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ประโยชน์มากกว่า ร้อยละ 1.76 ระบุว่า รู้สึกเสียดายที่อาจจะไม่มีพรรคสร้างอนาคตไทยในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น และร้อยละ 2.82 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
          
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.36 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.46 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.12 สมรส และร้อยละ 2.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.20 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.82 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.87 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 30.30 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.81 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
          
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.38 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.03 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.31ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.89 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.21 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.61 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.57 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
 
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.29 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.58​ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.82 ไม่ระบุรายได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่