ตามหัวข้อเลยค่ะ วิชาภาษาไทยที่รร. TT เราลองคิดได้ประมาณนี้ รบกวนทุกท่านช่วยเรียบเรียงหรือเสนอแนะหน่อยนะคะ
ปล.ในกลุ่มมีกัน 3 คน อันไหนควรให้หัวหน้าพูด อันไหนควรให้ผู้สนับสนุนพูดดีคะ 🥹
อย่าทรมานตัวเองด้วยการให้ความคิดที่ว่า "มีเงินเท่ากับมีความสุข" มากดขี่ชีวิตเราเลยค่ะ เพราะนั่นจะยิ่งทำให้เราดิ้นรนหาเงินเพื่อมาตอบโจทย์ตนเอง จนกระทั่งเราลืมเลือนไปว่าความสุขที่แท้จริง มีกฏเกณฑ์แค่ว่าพอใจและภูมิใจในสิ่งที่ตนเองมี
การที่เราใช้เงินในการตอบสนองความต้องการที่ไม่จำเป็น มันจะทำให้เรามีความสุขแค่เพียงชั่วคราวก็เท่านั้น สุดท้ายแล้วเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง ความสุขนั้นก็จะหมดไป แล้วเราก็จะวนเวียนในวัฏจักรนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
ต้องการ ตอบสนอง และหมดไป
หากเราลองถอยออกมาสักก้าว คุณอาจจะมองเห็นได้ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ใกล้ตัวเรานี่แหละค่ะ
เรื่องเงินอาจจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในเรื่องของปัจจัย 4 ก็จริง แต่เราไม่ต้องมีมันมากมายขนาดนั้น เราก็สามารถมีความสุขในแบบของตัวเองได้แล้ว
เงินซื้อความสุขได้แค่ผิวเผิน แต่เราทุกคนก็หนีไม่พ้นความทุกข์หรอกค่ะ เพราะฉะนั้นการตามหาความสุขที่ยั่งยืนนั้นสำคัญกว่าเรื่องไหน ๆ
คนที่มีเงินอาจได้เปรียบก็จริงแต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสุขมากกว่าคนจนเสมอไป ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับความสุขมากมายที่ไม่ใช่แค่เรื่องเงินค่ะ
ความสุขในนิยามของดิฉัน คือความสุขที่ยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป , แต่การที่เราใช้เงินซื้อสิ่งที่ต้องการมาปรนเปรอตัวเองนั้น ผ่านไปไม่นานก็จางหาย กลายเป็นวันทุกข์ ๆ เดิม ๆ ของเราอีกครั้ง
ในฐานะของชนชั้นกลางที่ไม่ได้มีเงินมากพอจะตอบสนอง "ทุก ๆ" ความต้องการของตนเองได้ ความสุขของเราคือการมีครอบครัวและเพื่อนที่พร้อมจะช่วยเหลือหรืออยู่เคียงข้างกันมากกว่าค่ะ
คนรวยก็ใช่ว่าจะมีความสุขเสมอไปนะคะ การใช้แบงก์เทาเช็ดน้ำตาก็หมายความว่าคุณยังเป็นทุกข์ ไม่มีสุขที่แท้จริงแม้แต่น้อย ในขณะเดียวกันหากคุณกำลังนั่งมีความสุขอยู่ในห้องเล็ก ๆ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังพึงพอใจในสิ่งที่คุณมีอยู่ และสิ่งนั้นทำให้คุณมีความสุข ซึ่งได้มาโดยไม่ต้องใช้เงินนั่นเอง
เงินแก้ปัญหาได้
แต่ซื้อความสุขไม่ได้หรอกค่ะ
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพและการมีคนคอยอยู่เคียงข้างเราเสมอ คงจะเป็นหนึ่งในความสุขที่เต็มเติมหัวใจได้ในระยะยาว ไม่ว่าคุณจะกระเป๋าแห้งหรือร่ำรวยแค่ไหนก็ตาม
“ความสุขไม่ได้มาจากเงินเสมอไป” หลายคนหลงไปกับวัตถุนิยมด้วยการมีอคติว่ายิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่สุดท้ายก็ต้องมานั่งทุกข์ใจเพราะถึงมีของต่างๆ มากมายแต่ตนเองก็ยังไม่มีความสุขเลย ในเรื่องหลังนี้ อาจตอบได้ด้วยทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลส์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ซึ่งอธิบายว่าความต้องการของมนุษย์สามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นคือ ด้านกายภาพ (physiological needs) ความมั่นคงปลอดภัย (safety) ความรัก (love) ความเคารพนับถือ (esteem) และการเป็นตัวตนในแบบที่ต้องการ (self-actualization)
หากนำมาพิจารณาในมิติด้านการเงินแล้ว จะพบว่าความต้องการในขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะด้านกายภาพและความปลอดภัย อันได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความมั่นคงทางการเงินนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินโดยตรง ส่วนความต้องการในลำดับที่สูงขึ้นอย่างการเข้าสังคม การดูแลครอบครัว นั้น มีเรื่องที่เกี่ยวกับเงินบ้างเป็นบางส่วน ขณะที่ความต้องการระดับบน เช่น ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ การค้นพบตัวตนที่แท้จริงนั้น มักไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน
ดังนั้น เงื่อนไขที่ว่าต้องมีเงินเยอะแล้วจะมีความสุขจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพียงบางส่วน เงินมีประโยชน์ในด้านการซื้อสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานและความสะดวกสบายในระดับหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นความสุขจากเงินจะถึงจุดอิ่มตัว การใช้เงินมากกว่าระดับที่เหมาะสมนี้จะกลายเป็นเพียงความสุขแบบฉาบฉวย และมักส่งผลด้านลบไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้สิน ปัญหาสุขภาพจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาให้ครอบครัว เป็นต้น
ความสุขในชีวิตจึงเกิดจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงินแต่เพียงอย่างเดียว การเดินทางสายกลางด้วยการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้จ่ายเงินในระดับที่เหมาะสม จะเป็นเครื่องนำทางสร้างความสมดุลทั้งความมั่นคงทางการเงินและความสุขให้กับชีวิต
เราทุกคนติดกับดักความเชื่อที่ว่า การได้ทำงานตำแหน่งใหญ่โต มีบ้านหรู จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิต ความเชื่อในความสุขแบบผิดๆ นอกจากจะทำให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงแล้ว ยังส่งผลให้เรามองหามันผิดที่ อีกด้วย
เรามักมองไม่ออกว่าอะไรจะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง สุดท้ายก็เลยมองว่าเงินทองนี่แหละที่จะบันดาลให้มีความสุข และเรายังมักโอนเอียงเชื่อว่าจะเป็นความสุขที่ถาวรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้งเงินและความสุขมีความเกี่ยวข้องกันจริง แต่ก็เฉพาะเพื่อสนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐานของเราเท่านั้น หลังจากนั้นแล้ว สองสิ่งนี้ก็จะไม่เกี่ยวข้องกันอีกเลย ดังนั้น การมีเงินทองมาก จึงไม่ได้แปลว่าจะมีความสุขมากขึ้น ในทางตรงข้าม ความคิดแบบวัตถุนิยมกลับเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขอันแท้จริงด้วยซ้ำ
โรเบิร์ต วาร์ลดิงเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่วิทยาลัยการแพทย์ของฮาร์วาร์ด เขาได้ให้สัมภาษณ์ในวารสารของฮาร์วาร์ด The Harvard Gazette ถึงข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาว่าองค์ประกอบความสุขของคนเรานั้น ควรมีส่วนผสมของอะไรบ้าง
หนึ่งในข้อสรุปที่เขาได้ให้สัมภาษณ์ไว้คือ
มากกว่าเรื่องชื่อเสียงและเงินทอง สิ่งสำคัญที่ทำให้คนมีความสุขคือความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งแนบแน่นกับคนรอบข้าง
โต้วาทีเรื่อง "เงินซื้อความสุขไม่ได้" - ดันได้เป็นฝ่ายเสนอซะอย่างงั้น !
ปล.ในกลุ่มมีกัน 3 คน อันไหนควรให้หัวหน้าพูด อันไหนควรให้ผู้สนับสนุนพูดดีคะ 🥹
อย่าทรมานตัวเองด้วยการให้ความคิดที่ว่า "มีเงินเท่ากับมีความสุข" มากดขี่ชีวิตเราเลยค่ะ เพราะนั่นจะยิ่งทำให้เราดิ้นรนหาเงินเพื่อมาตอบโจทย์ตนเอง จนกระทั่งเราลืมเลือนไปว่าความสุขที่แท้จริง มีกฏเกณฑ์แค่ว่าพอใจและภูมิใจในสิ่งที่ตนเองมี
การที่เราใช้เงินในการตอบสนองความต้องการที่ไม่จำเป็น มันจะทำให้เรามีความสุขแค่เพียงชั่วคราวก็เท่านั้น สุดท้ายแล้วเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง ความสุขนั้นก็จะหมดไป แล้วเราก็จะวนเวียนในวัฏจักรนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
ต้องการ ตอบสนอง และหมดไป
หากเราลองถอยออกมาสักก้าว คุณอาจจะมองเห็นได้ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ใกล้ตัวเรานี่แหละค่ะ
เรื่องเงินอาจจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในเรื่องของปัจจัย 4 ก็จริง แต่เราไม่ต้องมีมันมากมายขนาดนั้น เราก็สามารถมีความสุขในแบบของตัวเองได้แล้ว
เงินซื้อความสุขได้แค่ผิวเผิน แต่เราทุกคนก็หนีไม่พ้นความทุกข์หรอกค่ะ เพราะฉะนั้นการตามหาความสุขที่ยั่งยืนนั้นสำคัญกว่าเรื่องไหน ๆ
คนที่มีเงินอาจได้เปรียบก็จริงแต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสุขมากกว่าคนจนเสมอไป ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับความสุขมากมายที่ไม่ใช่แค่เรื่องเงินค่ะ
ความสุขในนิยามของดิฉัน คือความสุขที่ยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป , แต่การที่เราใช้เงินซื้อสิ่งที่ต้องการมาปรนเปรอตัวเองนั้น ผ่านไปไม่นานก็จางหาย กลายเป็นวันทุกข์ ๆ เดิม ๆ ของเราอีกครั้ง
ในฐานะของชนชั้นกลางที่ไม่ได้มีเงินมากพอจะตอบสนอง "ทุก ๆ" ความต้องการของตนเองได้ ความสุขของเราคือการมีครอบครัวและเพื่อนที่พร้อมจะช่วยเหลือหรืออยู่เคียงข้างกันมากกว่าค่ะ
คนรวยก็ใช่ว่าจะมีความสุขเสมอไปนะคะ การใช้แบงก์เทาเช็ดน้ำตาก็หมายความว่าคุณยังเป็นทุกข์ ไม่มีสุขที่แท้จริงแม้แต่น้อย ในขณะเดียวกันหากคุณกำลังนั่งมีความสุขอยู่ในห้องเล็ก ๆ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังพึงพอใจในสิ่งที่คุณมีอยู่ และสิ่งนั้นทำให้คุณมีความสุข ซึ่งได้มาโดยไม่ต้องใช้เงินนั่นเอง
เงินแก้ปัญหาได้
แต่ซื้อความสุขไม่ได้หรอกค่ะ
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพและการมีคนคอยอยู่เคียงข้างเราเสมอ คงจะเป็นหนึ่งในความสุขที่เต็มเติมหัวใจได้ในระยะยาว ไม่ว่าคุณจะกระเป๋าแห้งหรือร่ำรวยแค่ไหนก็ตาม
“ความสุขไม่ได้มาจากเงินเสมอไป” หลายคนหลงไปกับวัตถุนิยมด้วยการมีอคติว่ายิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่สุดท้ายก็ต้องมานั่งทุกข์ใจเพราะถึงมีของต่างๆ มากมายแต่ตนเองก็ยังไม่มีความสุขเลย ในเรื่องหลังนี้ อาจตอบได้ด้วยทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลส์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ซึ่งอธิบายว่าความต้องการของมนุษย์สามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นคือ ด้านกายภาพ (physiological needs) ความมั่นคงปลอดภัย (safety) ความรัก (love) ความเคารพนับถือ (esteem) และการเป็นตัวตนในแบบที่ต้องการ (self-actualization)
หากนำมาพิจารณาในมิติด้านการเงินแล้ว จะพบว่าความต้องการในขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะด้านกายภาพและความปลอดภัย อันได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความมั่นคงทางการเงินนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินโดยตรง ส่วนความต้องการในลำดับที่สูงขึ้นอย่างการเข้าสังคม การดูแลครอบครัว นั้น มีเรื่องที่เกี่ยวกับเงินบ้างเป็นบางส่วน ขณะที่ความต้องการระดับบน เช่น ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ การค้นพบตัวตนที่แท้จริงนั้น มักไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน
ดังนั้น เงื่อนไขที่ว่าต้องมีเงินเยอะแล้วจะมีความสุขจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพียงบางส่วน เงินมีประโยชน์ในด้านการซื้อสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานและความสะดวกสบายในระดับหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นความสุขจากเงินจะถึงจุดอิ่มตัว การใช้เงินมากกว่าระดับที่เหมาะสมนี้จะกลายเป็นเพียงความสุขแบบฉาบฉวย และมักส่งผลด้านลบไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้สิน ปัญหาสุขภาพจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาให้ครอบครัว เป็นต้น
ความสุขในชีวิตจึงเกิดจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงินแต่เพียงอย่างเดียว การเดินทางสายกลางด้วยการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้จ่ายเงินในระดับที่เหมาะสม จะเป็นเครื่องนำทางสร้างความสมดุลทั้งความมั่นคงทางการเงินและความสุขให้กับชีวิต
เราทุกคนติดกับดักความเชื่อที่ว่า การได้ทำงานตำแหน่งใหญ่โต มีบ้านหรู จะนำมาซึ่งความสุขในชีวิต ความเชื่อในความสุขแบบผิดๆ นอกจากจะทำให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงแล้ว ยังส่งผลให้เรามองหามันผิดที่ อีกด้วย
เรามักมองไม่ออกว่าอะไรจะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง สุดท้ายก็เลยมองว่าเงินทองนี่แหละที่จะบันดาลให้มีความสุข และเรายังมักโอนเอียงเชื่อว่าจะเป็นความสุขที่ถาวรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้งเงินและความสุขมีความเกี่ยวข้องกันจริง แต่ก็เฉพาะเพื่อสนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐานของเราเท่านั้น หลังจากนั้นแล้ว สองสิ่งนี้ก็จะไม่เกี่ยวข้องกันอีกเลย ดังนั้น การมีเงินทองมาก จึงไม่ได้แปลว่าจะมีความสุขมากขึ้น ในทางตรงข้าม ความคิดแบบวัตถุนิยมกลับเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขอันแท้จริงด้วยซ้ำ
โรเบิร์ต วาร์ลดิงเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่วิทยาลัยการแพทย์ของฮาร์วาร์ด เขาได้ให้สัมภาษณ์ในวารสารของฮาร์วาร์ด The Harvard Gazette ถึงข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาว่าองค์ประกอบความสุขของคนเรานั้น ควรมีส่วนผสมของอะไรบ้าง
หนึ่งในข้อสรุปที่เขาได้ให้สัมภาษณ์ไว้คือ
มากกว่าเรื่องชื่อเสียงและเงินทอง สิ่งสำคัญที่ทำให้คนมีความสุขคือความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งแนบแน่นกับคนรอบข้าง