งานนี้สงสัยคนใน
สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกรณีข่าวแอปพลิเคชันธนาคารในส่วนบัญชีนิติบุคคลถูกแฮกและโอนเงินออก ยันตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบเป็นแอปฯ ดูดเงิน พร้อมเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมธนาคารไทย (TBA) ระบุว่า ตามที่ปรากฎข่าว ผู้ใช้บัญชีธนาคารประเภทนิติบุคคล สงสัยแอปพลิเคชันธนาคารถูกแฮก และโอนเงินออกจากบัญชี นั้น
สมาคมธนาคารไทย โดย ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) และธนาคารสมาชิกที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยเร็วที่สุด โดยขอชี้แจงดังนี้
1.จากการตรวจสอบเบื้องต้นของธนาคารที่เกี่ยวข้อง 3 ธนาคาร ไม่พบพฤติกรรมและหลักฐานในลักษณะแอปพลิเคชั่นดูดเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร
2.โมบายแบงกิ้งของทุกธนาคารมีความปลอดภัย ครอบคลุมถึงการป้องกันภัยเรื่องของแอปฯ ดูดเงิน ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยมีการพัฒนายกระดับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้งานโมบายแบงกิ้งเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพและปลอดภัย จึงขอให้ลูกค้าประชาชนมั่นใจว่า ระบบโมบายแบงกิ้งของทุกธนาคารมีความปลอดภัยสูง
3.ยืนยันว่าโมบายแบงกิ้งบัญชีบุคคลธรรมดาการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ต่อครั้ง และ 200,000 บาทต่อวัน ยังคงต้องยืนยันตัวตนโดยการสแกนใบหน้า ซึ่งธนาคารมีระบบตรวจสอบความถูกต้องของการสแกนใบหน้า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
สำหรับนิติบุคคลนั้นปัจจุบันไม่ได้มีการให้ยืนยันตัวตนโดยการสแกนใบหน้าเนื่องจากการอนุมัติรายการนิติบุคคลนั้นมีขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยแบบมี Maker, Checker, และ Authorizer ที่มีความซับซ้อนมากกว่าและยังคงความปลอดภัยขั้นสูงสุดเนื่องจากมูลค่าการโอนเงินนั้นมีมูลค่าสูงกว่า
สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ตระหนักถึงภัยทางการเงินที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและจัดการภัยทางการเงินให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
โดยขณะนี้ธนาคารที่เกี่ยวข้องได้เร่งประสานและเน้นย้ำให้ผู้เสียหายเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรายงานข้อเท็จจริงโดยละเอียด เพื่อทราบถึงเหตุที่แท้จริงและสืบหาผู้ที่เกี่ยวข้องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ดังกล่าวได้โดยเร็ว โดยภาคธนาคารมีความห่วงใยและพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ ป้องกันและติดตามผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1726025
สมาคมแบงก์ เร่งตรวจสอบกรณีแอปฯ ธนาคารในส่วนบัญชีนิติบุคคลถูกแฮกโอนเงินออก...
สมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกรณีข่าวแอปพลิเคชันธนาคารในส่วนบัญชีนิติบุคคลถูกแฮกและโอนเงินออก ยันตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบเป็นแอปฯ ดูดเงิน พร้อมเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมธนาคารไทย (TBA) ระบุว่า ตามที่ปรากฎข่าว ผู้ใช้บัญชีธนาคารประเภทนิติบุคคล สงสัยแอปพลิเคชันธนาคารถูกแฮก และโอนเงินออกจากบัญชี นั้น
สมาคมธนาคารไทย โดย ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) และธนาคารสมาชิกที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยเร็วที่สุด โดยขอชี้แจงดังนี้
1.จากการตรวจสอบเบื้องต้นของธนาคารที่เกี่ยวข้อง 3 ธนาคาร ไม่พบพฤติกรรมและหลักฐานในลักษณะแอปพลิเคชั่นดูดเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร
2.โมบายแบงกิ้งของทุกธนาคารมีความปลอดภัย ครอบคลุมถึงการป้องกันภัยเรื่องของแอปฯ ดูดเงิน ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยมีการพัฒนายกระดับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้งานโมบายแบงกิ้งเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพและปลอดภัย จึงขอให้ลูกค้าประชาชนมั่นใจว่า ระบบโมบายแบงกิ้งของทุกธนาคารมีความปลอดภัยสูง
3.ยืนยันว่าโมบายแบงกิ้งบัญชีบุคคลธรรมดาการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ต่อครั้ง และ 200,000 บาทต่อวัน ยังคงต้องยืนยันตัวตนโดยการสแกนใบหน้า ซึ่งธนาคารมีระบบตรวจสอบความถูกต้องของการสแกนใบหน้า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
สำหรับนิติบุคคลนั้นปัจจุบันไม่ได้มีการให้ยืนยันตัวตนโดยการสแกนใบหน้าเนื่องจากการอนุมัติรายการนิติบุคคลนั้นมีขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยแบบมี Maker, Checker, และ Authorizer ที่มีความซับซ้อนมากกว่าและยังคงความปลอดภัยขั้นสูงสุดเนื่องจากมูลค่าการโอนเงินนั้นมีมูลค่าสูงกว่า
สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ตระหนักถึงภัยทางการเงินที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและจัดการภัยทางการเงินให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
โดยขณะนี้ธนาคารที่เกี่ยวข้องได้เร่งประสานและเน้นย้ำให้ผู้เสียหายเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรายงานข้อเท็จจริงโดยละเอียด เพื่อทราบถึงเหตุที่แท้จริงและสืบหาผู้ที่เกี่ยวข้องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ดังกล่าวได้โดยเร็ว โดยภาคธนาคารมีความห่วงใยและพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ ป้องกันและติดตามผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1726025