ว่าด้วยตัณหา...

(ความทะยานอยาก)

คาถาธรรมบท:-
ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท (หมายถึงผู้มีความเป็นอยู่ด้วยความประมาท  ปราศจากสติ  ไม่เจริญฌาน  วิปัสสนา มรรค  และผล  (ขุ.ธ.อ.  ๘/๖) .
ดุจเคลือเถาย่านทราย 
 ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรที่ปรารถนาผลไม้ 
 เที่ยวเร่ร่อนไปมาในป่า ฉะนั้น ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก 
 ย่อมครอบงำบุคคลใดความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจ 
 หญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น บุคคลใดแล
ย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลกความโศก 
 ทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำกลิ้งตกไปจากใบบัว 
 ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงขอเตือนท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ จงมีความเจริญ
 ขอท่านทั้งหลายจงขุดรากเหง้าแห่งตัณหาเสีย (ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค  (ขุ.ธ.อ.  ๘/๗). 
ดุจบุรุษต้องการหญ้าแฝกขุดหญ้าแฝก 

 ฉะนั้นมารอย่าระรานท่านทั้งหลายอยู่รำ่ไป ดุจกระแสน้ำระรานไม้อ้อ 
 ฉะนั้น ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้วก็ 
 กลับงอกขึ้นได้ ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้

 แล้ว ย่อมเกิดขึ้นเรื่อย ๆ แม้ฉันนั้นความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ 
 เป็นของใหญ่ ย่อมนำบุคคลผู้มีตัณหาดังกระแส ๓๖ สาย๑- อันไหลไปในอารมณ์อันน่าพอใจ 
 ซึ่งทำให้ใจเอิบอาบ เป็นของกล้า ไปสู่ทิฐิชั่ว กระแสตัณหาย่อม 
 ไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ตัณหาดังเครือเถาวัลย์เกิดขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็ 
 ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถาวัลย์นั้นอันเกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วย 
 ปัญญา โสมนัสที่ซ่านไปแล้วด้วยเสน่หา
และที่เป็นไปกับด้วยความเยื่อใย ย่อมมีแก่สัตว์

      สัตว์เหล่านั้นมัวแต่จะแสวงหาความสุข อาศัยความสำราญกันอยู่ นรชนเหล่านั้น 
 แลเป็นผู้เข้าถึงชาติและชราร่ำไป หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความสะดุ้งห้อม 
 ล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับกระส่ายจึงดิ้นรนอยู่ 
 ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องแล้วด้วยสังโยชน์และกิเลสเป็นเครื่อง 
 ข้องผูกไว้แน่น  ย่อมเข้าถึงทุกข์อยู่ร่ำไปชั่วกาลนาน หมู่สัตว์ถูกตัณหาอันทำความ 
 สะดุ้งห้อมล้อมแล้ว ย่อมกระสับกระส่าย ดุจกระต่ายติดแร้วกระสับ 
 กระส่ายจึงดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อหวังวิราคธรรมแก่ตน 
 พึงบรรเทาตัณหาที่ทำความสะดุ้งเสีย

@๑ ตัณหา ๓๖ สาย ได้แก่ ตัณหา ๓ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) อาศัยอายตนะภายใน ๖
@(๓ x ๖ = ๑๘) อาศัยอายตนะภายนอก ๖ (๓ x ๖ = ๑๘) ได้กระแส ๓๖ สายที่ไหลไปในอารมณ์มีรูป
@เป็นต้นที่น่าชอบใจ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๐)

.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่