'โพล' ชี้ประชาชนอยากให้ 'ประยุทธ์' ยุบสภาภายในเดือนธันวาคมนี้
https://siamrath.co.th/n/408229
วันที่ 18 ธ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ผลงานสภาผู้แทนราษฎร ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานสภาผู้แทนราษฎร (นาย
ชวน หลีกภัย) ในรอบเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ นิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนด ค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความพึงพอใจต่อการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรอบเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.98 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ การประชุมส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการทะเลาะกัน และ ส.ส. ที่เข้าร่วมประชุมมีจำนวนน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.46 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน นำเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่เพื่อให้รัฐบาลช่วยเหลือ ร้อยละ 25.96 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ สภาล่มบ่อยครั้ง และการทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.77 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน และการพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ สำเร็จลุล่วง และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความพึงพอใจต่อการทำงานของประธานสภาผู้แทนราษฎร (นาย
ชวน หลีกภัย) ในรอบเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ เป็นคนมีเหตุผล สุขุม รอบคอบ และมีความเป็นกลางในการทำหน้าที่ รองลงมา ร้อยละ 24.05 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา มีความยุติธรรม มีความรู้ความสามารถ และทำหน้าที่ได้ดี ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ ไม่ค่อยมีความเป็นกลาง และขาดความเด็ดขาด ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ ไม่มีความเป็นกลาง และไม่สามารถควบคุมให้การประชุมสภาดำเนินไปอย่างเรียบร้อยได้ และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อีกทั้งเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรของพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.13 ระบุว่า นายกฯ ควรประกาศยุบสภาภายในเดือนธันวาคม 2565 รองลงมา ร้อยละ 33.82 ระบุว่า นายกฯ ควรอยู่จนครบวาระของสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ร้อยละ 12.37 ระบุว่า นายกฯ ควรประกาศยุบสภาภายในเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 3.74 ระบุว่า นายก ฯ ควรประกาศยุบสภาภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 2.82 ระบุว่า นายกฯ ควรประกาศยุบสภา เพียงไม่กี่วันก่อนการครบวาระของสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566 และร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ดุสิตโพลเผยปชช.ต้องการพรรคการเมืองที่โปร่งใส เทียบกับ 5ปีก่อนยังเหมือนเดิม
https://siamrath.co.th/n/408232
วันที่ 18 ธ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,157 คน
(สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 47.02 และแย่ลง ร้อยละ 44.68 โดยนักการเมืองที่ประชาชนอยากได้ คือ มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว ร้อยละ 79.22 พฤติกรรมนักการเมืองแบบที่เบื่อหน่ายหรืออยากให้หมดไป คือ การพูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี ร้อยละ 87.50
ทั้งนี้คิดว่านักการเมืองทุกคนควรสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 40.71 และจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ ร้อยละ 39.07 ส่วน พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 91.57 ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข คือ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 76.78 รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 68.17 สุดท้ายแนวทางที่คิดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 76.65
จากผลการสำรวจเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มเจนเนเรชั่น พบว่า กลุ่มคนเจน Z หรือ New Voter ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามองว่านักการเมืองที่ต้องการต้องเป็นนักบริหาร มีประสบการณ์ และเบื่อหน่ายนักการเมืองที่ “ดีแต่พูด” ทั้งนี้นักการเมืองจะสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ ส่วนกลุ่มบูมเมอร์มองว่านักการเมืองต้องเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และควรต้องสังกัดพรรคการเมือง ถึงแม้ทั้งสองเจนจะมีมุมมองต่อนักการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าต่างก็ต้องการนักเมืองที่มีคุณภาพและเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกัน ไม่ใช่นักการเมืองที่เล่นการเมืองไปวัน ๆ
ดร.พัชราพรรณ นาคพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผลจากการเสวนากลุ่มเรื่อง นักการเมืองไทยไปทางไหนดี กับ 91 ปีของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย พบว่า การเมืองไทยยังยึดติดอยู่กับผลประโยชน์ที่มีผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน นักการเมืองยังมีบทบาทในภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม เช่น สังคมเมืองประชาชนคาดหวังการทำหน้าที่ในสภาเพื่อสนองตอบตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ในสังคมที่ห่างจากสังคมเมือง ประชาชนต้องการให้นักการเมืองเข้ามาดูแลทุกข์สุขทุกเรื่อง
สำหรับประเทศไทยอาจกล่าวไม่ได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบนัก และก็ไม่เคยมีประเทศใดกล่าวอ้างเรียกว่าตนเองเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยหาใช่เพียงนิยาม แต่ต้องทำให้เป็นจึงจะเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประชาธิปไตยของประเทศไทยยังคงให้สิทธิประชาชนได้เลือกตั้ง แต่ประชาชนจะได้ในสิ่งที่ตอบสนองกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ก็ไม่เป็นที่แน่ใจได้ และหากประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ใช่ ก็คงไม่ต้องมาสงสัยว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็น
มณเฑียร ลั่นงดโหวตนายกฯ เสรี เย้ยเสียง ส.ว.ใหญ่กว่า ส.ส. เกลียดยังไงก็ต้องอยู่กับสิ่งนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3730841
มณเฑียร ลั่นงดโหวตนายกฯเสรี เย้ยเสียง ส.ว.ใหญ่กว่า ส.ส. เกลียดยังไงก็ต้องอยู่กับสิ่งนี้
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นาย
มณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวกรณีพรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม มาตรา 159 เกี่ยวกับที่มาของนายกฯที่ต้องเป็น ส.ส.จากพรรคที่เสนอชื่อ และการยกเลิกมาตรา 272 เพื่อปิดสวิตช์ ส.ว. ว่ายังไม่เห็นรายละเอียดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งที่แล้วตนโหวตตัดอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯและโหวตสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ยกเว้นร่างที่มีเนื้อหาซ้ำกันไม่ได้เกี่ยวกับว่าตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา เพราะต้องไปดูต่อในวาระ 2 และ 3
เมื่อถามว่า การที่ ส.ว.ยังมีส่วนในการโหวตเลือกนายกฯจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะตัดสินว่าใครจะเป็นนายกฯ หรือไม่ นาย
มณเฑียรกล่าวว่า ไม่สามารถวิเคราะห์แทนคนอื่นได้ เพราะเชื่อว่า ส.ว.ควรจะมีเอกสิทธิ์ แต่ไม่ทราบว่าคนอื่นจะยึดหลักการเดียวกับตนหรือไม่ ทั้งนี้ ประกาศว่าจะไม่ทำหน้าที่ตามมาตรา 272 คือ ในครั้งหน้าจะของดออกเสียงในช่วงการโหวตเลือกนายกฯ เพื่อไม่ให้สถาบันวุฒิสภาถูกประณามหยามเหยียดไปมากกว่านี้ว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครคนหนึ่ง และไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นปั๊มตรายาง” นาย
มณเฑียรกล่าว
ขณะที่ นาย
เสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวว่า ข้อเสนอที่นายกฯต้องเป็น ส.ส.คือปัญหาเดิม ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เชื่อว่านายกฯคนปัจจุบันคงจะไปลงสมัครเป็นสมาชิกพรรคใดพรรคหนึ่ง การนำประเด็นนี้มาโยงกับการปิดสวิตช์ ส.ว.ก็เห็นอยู่แล้วว่า ส.ว.ไม่ผ่าน การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเจตนาที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ผ่าน เพียงแต่เสนอประเด็นถกเถียงเพื่อหาเสียงทางการเมืองเท่านั้น เป็นเพียงเกมการเมืองไม่เกี่ยวว่ารัฐธรรมนูญไม่ดี
“
ดังนั้น ส.ว.คือเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภา เป็นก้อนใหญ่มากกว่า ส.ส.แต่ละพรรคด้วยซ้ำไป จึงเป็นหลักสำคัญในการเลือกนายกฯ แม้คุณจะรังเกียจอย่างไรคุณก็ต้องอยู่กับสิ่งนี้ หากยังไม่หันหน้ามาพูดคุยกันและตกลงกันด้วยความเห็นพ้องต้องกัน ในช่วง 5 ปีนี้คุณไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญตามอำเภอใจได้ หากยังกระแหนะกระแหนว่า ส.ว.มาจากการรัฐประหารและไม่เป็นประชาธิปไตย ถือว่าเป็นการพูดแบบทะเลาะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาก็ไม่ผ่านอยู่ดี” นาย
เสรีกล่าว
JJNY : 'โพล'ชี้ปชช.อยากให้ยุบสภา| ดุสิตโพลเผยต้องการพรรคโปร่งใส| มณเฑียร ลั่นงดโหวตนายกฯ|โคราชอุณหภูมิลดฮวบ 15 องศา
https://siamrath.co.th/n/408229
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความพึงพอใจต่อการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรอบเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.98 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ การประชุมส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการทะเลาะกัน และ ส.ส. ที่เข้าร่วมประชุมมีจำนวนน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.46 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน นำเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่เพื่อให้รัฐบาลช่วยเหลือ ร้อยละ 25.96 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ สภาล่มบ่อยครั้ง และการทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.77 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน และการพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ สำเร็จลุล่วง และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความพึงพอใจต่อการทำงานของประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) ในรอบเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ เป็นคนมีเหตุผล สุขุม รอบคอบ และมีความเป็นกลางในการทำหน้าที่ รองลงมา ร้อยละ 24.05 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา มีความยุติธรรม มีความรู้ความสามารถ และทำหน้าที่ได้ดี ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ ไม่ค่อยมีความเป็นกลาง และขาดความเด็ดขาด ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ ไม่มีความเป็นกลาง และไม่สามารถควบคุมให้การประชุมสภาดำเนินไปอย่างเรียบร้อยได้ และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อีกทั้งเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.13 ระบุว่า นายกฯ ควรประกาศยุบสภาภายในเดือนธันวาคม 2565 รองลงมา ร้อยละ 33.82 ระบุว่า นายกฯ ควรอยู่จนครบวาระของสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ร้อยละ 12.37 ระบุว่า นายกฯ ควรประกาศยุบสภาภายในเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 3.74 ระบุว่า นายก ฯ ควรประกาศยุบสภาภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 2.82 ระบุว่า นายกฯ ควรประกาศยุบสภา เพียงไม่กี่วันก่อนการครบวาระของสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566 และร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ดุสิตโพลเผยปชช.ต้องการพรรคการเมืองที่โปร่งใส เทียบกับ 5ปีก่อนยังเหมือนเดิม
https://siamrath.co.th/n/408232
วันที่ 18 ธ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,157 คน
(สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 47.02 และแย่ลง ร้อยละ 44.68 โดยนักการเมืองที่ประชาชนอยากได้ คือ มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว ร้อยละ 79.22 พฤติกรรมนักการเมืองแบบที่เบื่อหน่ายหรืออยากให้หมดไป คือ การพูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี ร้อยละ 87.50
ทั้งนี้คิดว่านักการเมืองทุกคนควรสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 40.71 และจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ ร้อยละ 39.07 ส่วน พรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 91.57 ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข คือ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 76.78 รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 68.17 สุดท้ายแนวทางที่คิดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 76.65
จากผลการสำรวจเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มเจนเนเรชั่น พบว่า กลุ่มคนเจน Z หรือ New Voter ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามองว่านักการเมืองที่ต้องการต้องเป็นนักบริหาร มีประสบการณ์ และเบื่อหน่ายนักการเมืองที่ “ดีแต่พูด” ทั้งนี้นักการเมืองจะสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ ส่วนกลุ่มบูมเมอร์มองว่านักการเมืองต้องเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และควรต้องสังกัดพรรคการเมือง ถึงแม้ทั้งสองเจนจะมีมุมมองต่อนักการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าต่างก็ต้องการนักเมืองที่มีคุณภาพและเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกัน ไม่ใช่นักการเมืองที่เล่นการเมืองไปวัน ๆ
ดร.พัชราพรรณ นาคพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผลจากการเสวนากลุ่มเรื่อง นักการเมืองไทยไปทางไหนดี กับ 91 ปีของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย พบว่า การเมืองไทยยังยึดติดอยู่กับผลประโยชน์ที่มีผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน นักการเมืองยังมีบทบาทในภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม เช่น สังคมเมืองประชาชนคาดหวังการทำหน้าที่ในสภาเพื่อสนองตอบตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ในสังคมที่ห่างจากสังคมเมือง ประชาชนต้องการให้นักการเมืองเข้ามาดูแลทุกข์สุขทุกเรื่อง
สำหรับประเทศไทยอาจกล่าวไม่ได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบนัก และก็ไม่เคยมีประเทศใดกล่าวอ้างเรียกว่าตนเองเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยหาใช่เพียงนิยาม แต่ต้องทำให้เป็นจึงจะเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประชาธิปไตยของประเทศไทยยังคงให้สิทธิประชาชนได้เลือกตั้ง แต่ประชาชนจะได้ในสิ่งที่ตอบสนองกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ก็ไม่เป็นที่แน่ใจได้ และหากประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ใช่ ก็คงไม่ต้องมาสงสัยว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็น
มณเฑียร ลั่นงดโหวตนายกฯ เสรี เย้ยเสียง ส.ว.ใหญ่กว่า ส.ส. เกลียดยังไงก็ต้องอยู่กับสิ่งนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3730841
มณเฑียร ลั่นงดโหวตนายกฯเสรี เย้ยเสียง ส.ว.ใหญ่กว่า ส.ส. เกลียดยังไงก็ต้องอยู่กับสิ่งนี้
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวกรณีพรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม มาตรา 159 เกี่ยวกับที่มาของนายกฯที่ต้องเป็น ส.ส.จากพรรคที่เสนอชื่อ และการยกเลิกมาตรา 272 เพื่อปิดสวิตช์ ส.ว. ว่ายังไม่เห็นรายละเอียดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งที่แล้วตนโหวตตัดอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯและโหวตสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ยกเว้นร่างที่มีเนื้อหาซ้ำกันไม่ได้เกี่ยวกับว่าตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา เพราะต้องไปดูต่อในวาระ 2 และ 3
เมื่อถามว่า การที่ ส.ว.ยังมีส่วนในการโหวตเลือกนายกฯจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะตัดสินว่าใครจะเป็นนายกฯ หรือไม่ นายมณเฑียรกล่าวว่า ไม่สามารถวิเคราะห์แทนคนอื่นได้ เพราะเชื่อว่า ส.ว.ควรจะมีเอกสิทธิ์ แต่ไม่ทราบว่าคนอื่นจะยึดหลักการเดียวกับตนหรือไม่ ทั้งนี้ ประกาศว่าจะไม่ทำหน้าที่ตามมาตรา 272 คือ ในครั้งหน้าจะของดออกเสียงในช่วงการโหวตเลือกนายกฯ เพื่อไม่ให้สถาบันวุฒิสภาถูกประณามหยามเหยียดไปมากกว่านี้ว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครคนหนึ่ง และไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นปั๊มตรายาง” นายมณเฑียรกล่าว
ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวว่า ข้อเสนอที่นายกฯต้องเป็น ส.ส.คือปัญหาเดิม ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เชื่อว่านายกฯคนปัจจุบันคงจะไปลงสมัครเป็นสมาชิกพรรคใดพรรคหนึ่ง การนำประเด็นนี้มาโยงกับการปิดสวิตช์ ส.ว.ก็เห็นอยู่แล้วว่า ส.ว.ไม่ผ่าน การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเจตนาที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ผ่าน เพียงแต่เสนอประเด็นถกเถียงเพื่อหาเสียงทางการเมืองเท่านั้น เป็นเพียงเกมการเมืองไม่เกี่ยวว่ารัฐธรรมนูญไม่ดี
“ดังนั้น ส.ว.คือเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภา เป็นก้อนใหญ่มากกว่า ส.ส.แต่ละพรรคด้วยซ้ำไป จึงเป็นหลักสำคัญในการเลือกนายกฯ แม้คุณจะรังเกียจอย่างไรคุณก็ต้องอยู่กับสิ่งนี้ หากยังไม่หันหน้ามาพูดคุยกันและตกลงกันด้วยความเห็นพ้องต้องกัน ในช่วง 5 ปีนี้คุณไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญตามอำเภอใจได้ หากยังกระแหนะกระแหนว่า ส.ว.มาจากการรัฐประหารและไม่เป็นประชาธิปไตย ถือว่าเป็นการพูดแบบทะเลาะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาก็ไม่ผ่านอยู่ดี” นายเสรีกล่าว