มีไทยออยล์ด้วย!-แอมเนสตี้จี้เอกชน ยุติส่งน้ำมันให้ บ.รบ เมียนมาทิ้งระเบิดใส่พลเรือน
https://www.isranews.org/article/isranews-news/113379-Thaiiiittt.html
แอมเนสตี้ออกรายงานเผยชื่อเอกชนส่งน้ำมันเครื่องบินหนุน บ.รบ เมียมมา ทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายพลเรือน พบมีไทยออยล์ด้วย
ขณะ บ.เอกชนแจง ได้รับข้อมูลว่าน้ำมันจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์พลเรือนเท่านั้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาอ้างอิงข่าวจากอัลจาซีราว่าแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือว่า Amnesty International ได้มีการออกมาเรียกร้องเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของซัพพลายเออร์น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเมียนมา
โดยคำเรียกร้องระบุสาระสำคัญว่าพบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปให้กับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเมียนมาอย่างน้อย 2 จาก 8 รายการ นั้นพบว่ามีผู้จัดส่งซึ่งเป็นซัพพลายเออร์จากบริษัทได้แก่ Singapore Petroleum Company ของ PetroChina, และบริษัทไทยออยล์ (Thai Oil) ของประเทศไทย ถูกส่งตรงไปยังกองทัพเมียนมา ซึ่งทางแอมเนสตี้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ จากบันทึกหน่วยงานศุลกากรและข้อมูลเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่ง
ขณะที่ในรายงานของแอมเนสตี้ยังได้ระบุรายชื่อบริษัทน้ำมันอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งได้แก่บริษัท Chevron Singapore,บริษัท Rosneft ของประเทศรัสเซีย และบริษัท ExxonMobil ซึ่งทั้งหมดมีส่วนร่วมในการขนส่งน้ำมันให้กับกองทัพเมียนมาในปีที่ผ่านมา
แอมเนสตี้ระบุต่อไปด้วยว่า พบข้อมูลว่ามีบริษัทในเครือของเมียนมาซึ่งเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่สัญชาติสวิสอย่าง Puma Energy ยังได้จ่ายเงินให้บริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งในการขนส่งเชื้อเพลิงไปยังคลังเก็บเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเมียนมา
โดยเครื่องบินรบดังกล่าวนั้นพบว่ามีเครื่องบินรบรุ่น Yak-130 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบสัญชาติรัสเซีย ประจำการอยู่ที่ฐานทัพอากาศ 4 แห่ง ได้แก่ Hmawbi, Magway, Tada-U และ Taungoo ซึ่งฐานทัพทั้ง 4 แห่งนี้พบว่ามีส่วนในการโจมตีทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายพลเรือน ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรสงคราม
ขณะที่นาง
แอ็กเนส คัลลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้กล่าวว่า การโจมตีทางอากาศเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายแก่ครอบครัว พลเรือนที่หวาดกลัว เหยื่อที่ถูกสังหารและบาดเจ็บแต่ว่าถ้าหากยุติการเติมเชื้อเพลิง พวกเขา (กองทัพเมียนมา) ก็จะไม่สามารถบินออกไปสร้างความเสียหายได้ ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ บริษัทตัวแทนจัดส่ง บริษัทเรือขนส่ง และบริษัทประกันทางทะเล หยุดห่วงโซ่อุปทานนี้เอาไว้
ทางด้านตัวแทนจากบริษัท Rosneft, Chevron และ ไทยออยล์ได้ให้ข้อมูลกับแอมเนสตี้ ว่าพวกเขาได้รับการรับรองว่าการขนส่งน้ำมันดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์เพื่อพลเรือนเท่านั้น โดยบริษัท ไทยออยล์ยังได้ให้ข้อมูลอีกว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันเครื่องบินเจ็ทรุ่น A-1 จนกว่าปัญหาจะคลี่คลาย ส่วนทางบริษัท Singapore Petroleum Company ยังคงปฏิเสธที่จะตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียงจาก :
https://www.aljazeera.com/news/2022/11/4/myanmar-military-diverts-civilian-jet-fuel-to-air-force-amnesty
‘ชลน่าน’ ยันไร้ส.ส.เพื่อไทย ร่วมโต๊ะบิ๊กตู่ นัด 40 ส.ส. ชี้ีมีแต่พวกไปรวมไทยสร้างชาติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3728159
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่รัฐสภา นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความกังวลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้จะล่มหรือไม่ เนื่องจากส.ส.ลาออกจำนวนมาก ว่า ไม่กังวล เพราะล่มเป็นประจำอยู่แล้ว และที่สำคัญพรรคร่วมฝ่ายค้านเราถือว่าเป็นองค์ประชุมสำคัญ เรื่องที่เป็นความสำคัญของประเทศ ถ้าเสียงข้างมากไม่ทำงาน ไม่มาเป็นองค์ประชุม เราจะใช้กลไกนี้ในการบอกกับพี่น้องประชาชนว่า คุณไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่มีความสำคัญของประเทศ เช่น การมีกฎหมายสำคัญเข้ามา ฝ่ายค้านก็พร้อมที่จะทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ อะไรที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศเรายินดีร่วมเป็นองค์ประชุม
นพ.
ชลน่าน กล่าวด้วยว่า จากที่ปรากฏชื่อว่าจะมีส.ส.ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย (ภท.) แล้วยังมีกระแสว่าจะไปพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และมีการไปพบนายกรัฐมนตรีด้วย พท.ได้ตรวจสอบหมดแล้ว ว่าที่ข่าวระบุว่า มี 40 ส.ส.ไปพบนายกรัฐมนตรีและรับประทานอาหารร่วมกัน บริเวณโรงแรมใกล้พรรค รทสช.นั้น เราตรวจสอบหมดแล้วว่า ส.ส.ที่ไปเป็นใคร มีจำนวนเท่าใด พฤติการณ์พฤติกรรมเป็นอย่างไร ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีพรรค พท.ไปร่วมด้วย แต่เป็นส.ส.ในเครือข่ายที่มีท่าทีว่าจะไปอยู่ร่วมกับพรรครทสช.เท่าที่เป็นข่าว
เมื่อถามว่า นอกจากรายชื่อที่ปรากฏแล้ว ส.ส.พรรคพท.มีเกณฑ์ที่จะย้ายออกจากพรรคอีกหรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ปรากฏ เท่าที่มีอยู่เป็นรายชื่อที่เราทราบมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ทุกอย่างก็ไม่แน่นอน สิทธิเสรีภาพในการย้ายพรรค ถ้าเป็นไปตามอุดมการณ์ ไปเพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าประชาชนโดยเฉพาะในเขตพื้นที่มีข้อเสนอว่ามาอยู่พรรคนี้ เพราะเราอยากได้นโยบายพรรคนี้หรือคะแนนนิยมพรรคนี้ดี แต่ถ้าย้ายเพราะมีผลตอบแทน มีการแลกเปลี่ยน นี่คือการทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระบบรัฐสภาอย่างใหญ่หลวงที่สุด และการย้ายพรรคในเวลาที่ไม่สมควร เป็นการละทิ้งหน้าที่ที่พึงต้องกระทำต่อพี่น้องประชาชน เรื่องนี้ต้องฝากพี่น้องประชาชนให้พิจารณาและให้ความเป็นธรรมแก่ส.ส.ที่ย้ายด้วยว่าเขาย้ายพรรคเพราะอะไร
เมื่อถามว่า การที่ส.ส.ย้ายในตอนนี้ ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ชัดเจนอยู่แล้ว หน้าที่คือต้องทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้มีกฎหมายเยอะมากที่อยู่ในสภา ถ้าลาออกก็หมายความว่ามีเจตจำนงชัดว่า เห็นการเข้าไปสังกัดพรรคใหม่เพื่อจะขอเป็นส.ส.ในปีต่อไป มากกว่าตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน เหมือนไม่ให้เกียรติพี่น้องประชาชนที่เลือกเข้ามา เลยตัองกลับไปถามพี่น้องประชาชนว่าเขาทำเพื่อพี่น้องประชาชนจริงหรือไม่ พี่น้องประชาชนก็ลองพิจารณาดูว่าสมควรที่จะมอบหมายให้เบาทำหน้าที่ต่อไปหรือไม่ ถ้าย้ายไปแล้วเขาเลือกแสดงว่าพี่น้องประชาชนเห็นด้วย
เมื่อถามถึง กรณีที่เมื่อวานนี้ (15 ธันวาคม) พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่าไม่ใช่เรื่องของนายกรัฐมนตรีที่ต้องควบคุมส.ส.ให้เข้าร่วมประชุมสภา เพราะได้กำชับไปแล้ว แต่ส.ส.ไม่เข้าร่วมประชุมสภา มองว่าหน้าที่นี้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า ตามข้อเท็จจริงนายกฯ ก็ตอบถูก ในแง่ที่เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร การที่จะมาควบคุมส.ส.ในสภาให้ทำนั่นทำนี่ เราก็เคยทักท้วง อำนาจฝ่ายบริหารและอำนาจนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน การก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่โดยมิชอบ ถือว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
“
หากนายกรัฐมนตรีถ้าจะมีอำนาจมาควบคุมผู้แทนได้ เขาก็ควรจะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเขาควรจะเป็นส.ส.ด้วย หากเป็นอย่างนี้ถือว่าเขาไม่ควบคุมในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง ไม่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นส.ส. ต้องแยกกันอย่างนั้น อย่าไปเรียกร้องคนที่ไม่ได้เป็นผู้แทน ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เขาพูดถูก ในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาไม่มีหน้าที่โดยตรง” นพ.
ชลน่าน กล่าว
‘ก้าวไกล’ จี้รัฐบาลเร่งแก้ค่าไฟแพง ย้ำปชช.ไม่ควรรับผลกรรมจากการบริหารงานผิดพลาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_3728041
‘ก้าวไกล’ จี้รัฐบาล เร่งแก้ค่าไฟแพง ย้ำ ปชช.ไม่ควรรับผลกรรมจากการบริหารงานผิดพลาด
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่รัฐสภา นาย
วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีมติขึ้นค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคม 2566 ว่า ของขวัญปีใหม่ของคนไทยไม่ควรจะเป็นค่าไฟที่แพงขึ้น ตนจึงอยากทวงถามรัฐบาลถึงการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น
ประเด็นแรก คือไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ถึง 12 โรง ซึ่งยังไม่ได้เดินเครื่อง 7 โรง รัฐบาลจึงต้องเร่งเจราจากับกลุ่มชนเหล่านี้เพื่อขอลดค่าไฟ แลกกับการขยายสัญญา และในอนาคตก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สองคือการเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติ เพราะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีต้นทุนเพียงแค่ 2 บาทต่อหน่วย และมีเพียงพอใช้ในประเทศ แต่กลุ่มทุนปตท. นำก๊าซเหล่านี้ไปขายให้กับภาคอุตสาหกรรม เมื่อก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศที่มีราคา 4 บาทต่อหน่วย ประชาชนจึงต้องเสียค่าไฟฟ้าแพง สิ่งที่ควรจะเป็นคือการเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติ โดยนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาผลิตเป็นไฟฟ้าให้กับประชาชนใช้
นาย
วรภพ กล่าวว่า ประเด็นที่สาม คือ เมื่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีจำนวนลดลง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของปตท.สผ. ที่เป็นผู้ได้รับสัมปทานรายใหม่ จึงขอฝากรัฐบาลไปเจรจากับรัฐวิสาหกิจเหล่านี้เร่งผลิตก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศ และเร่งเจรจากับกัมพูชาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนและนำก๊าชธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าแทนการนำเข้า เพื่อแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง ไม่เช่นนั้นทุก 4 เดือน รัฐบาลจะต้องขึ้นค่าไฟ ที่สำคัญคือไม่สมควรมีใครต้องจ่ายค่าไฟแพง เพราะรัฐบาลบริหารงานผิดพลาด
JJNY : แอมเนสตี้จี้เอกชน| ‘ชลน่าน’ยันไร้ส.ส.พท.ร่วมโต๊ะตู่| ‘ก้าวไกล’จี้เร่งแก้ค่าไฟแพง| จีนแห่แชร์ข่าว "นักศึกษาหมอ"
https://www.isranews.org/article/isranews-news/113379-Thaiiiittt.html
แอมเนสตี้ออกรายงานเผยชื่อเอกชนส่งน้ำมันเครื่องบินหนุน บ.รบ เมียมมา ทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายพลเรือน พบมีไทยออยล์ด้วย
ขณะ บ.เอกชนแจง ได้รับข้อมูลว่าน้ำมันจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์พลเรือนเท่านั้น
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาอ้างอิงข่าวจากอัลจาซีราว่าแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือว่า Amnesty International ได้มีการออกมาเรียกร้องเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของซัพพลายเออร์น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเมียนมา
โดยคำเรียกร้องระบุสาระสำคัญว่าพบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปให้กับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเมียนมาอย่างน้อย 2 จาก 8 รายการ นั้นพบว่ามีผู้จัดส่งซึ่งเป็นซัพพลายเออร์จากบริษัทได้แก่ Singapore Petroleum Company ของ PetroChina, และบริษัทไทยออยล์ (Thai Oil) ของประเทศไทย ถูกส่งตรงไปยังกองทัพเมียนมา ซึ่งทางแอมเนสตี้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ จากบันทึกหน่วยงานศุลกากรและข้อมูลเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่ง
ขณะที่ในรายงานของแอมเนสตี้ยังได้ระบุรายชื่อบริษัทน้ำมันอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งได้แก่บริษัท Chevron Singapore,บริษัท Rosneft ของประเทศรัสเซีย และบริษัท ExxonMobil ซึ่งทั้งหมดมีส่วนร่วมในการขนส่งน้ำมันให้กับกองทัพเมียนมาในปีที่ผ่านมา
แอมเนสตี้ระบุต่อไปด้วยว่า พบข้อมูลว่ามีบริษัทในเครือของเมียนมาซึ่งเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่สัญชาติสวิสอย่าง Puma Energy ยังได้จ่ายเงินให้บริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งในการขนส่งเชื้อเพลิงไปยังคลังเก็บเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศเมียนมา
โดยเครื่องบินรบดังกล่าวนั้นพบว่ามีเครื่องบินรบรุ่น Yak-130 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบสัญชาติรัสเซีย ประจำการอยู่ที่ฐานทัพอากาศ 4 แห่ง ได้แก่ Hmawbi, Magway, Tada-U และ Taungoo ซึ่งฐานทัพทั้ง 4 แห่งนี้พบว่ามีส่วนในการโจมตีทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายพลเรือน ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรสงคราม
ขณะที่นางแอ็กเนส คัลลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้กล่าวว่า การโจมตีทางอากาศเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายแก่ครอบครัว พลเรือนที่หวาดกลัว เหยื่อที่ถูกสังหารและบาดเจ็บแต่ว่าถ้าหากยุติการเติมเชื้อเพลิง พวกเขา (กองทัพเมียนมา) ก็จะไม่สามารถบินออกไปสร้างความเสียหายได้ ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ บริษัทตัวแทนจัดส่ง บริษัทเรือขนส่ง และบริษัทประกันทางทะเล หยุดห่วงโซ่อุปทานนี้เอาไว้
ทางด้านตัวแทนจากบริษัท Rosneft, Chevron และ ไทยออยล์ได้ให้ข้อมูลกับแอมเนสตี้ ว่าพวกเขาได้รับการรับรองว่าการขนส่งน้ำมันดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์เพื่อพลเรือนเท่านั้น โดยบริษัท ไทยออยล์ยังได้ให้ข้อมูลอีกว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันเครื่องบินเจ็ทรุ่น A-1 จนกว่าปัญหาจะคลี่คลาย ส่วนทางบริษัท Singapore Petroleum Company ยังคงปฏิเสธที่จะตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียงจาก : https://www.aljazeera.com/news/2022/11/4/myanmar-military-diverts-civilian-jet-fuel-to-air-force-amnesty
‘ชลน่าน’ ยันไร้ส.ส.เพื่อไทย ร่วมโต๊ะบิ๊กตู่ นัด 40 ส.ส. ชี้ีมีแต่พวกไปรวมไทยสร้างชาติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3728159
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความกังวลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้จะล่มหรือไม่ เนื่องจากส.ส.ลาออกจำนวนมาก ว่า ไม่กังวล เพราะล่มเป็นประจำอยู่แล้ว และที่สำคัญพรรคร่วมฝ่ายค้านเราถือว่าเป็นองค์ประชุมสำคัญ เรื่องที่เป็นความสำคัญของประเทศ ถ้าเสียงข้างมากไม่ทำงาน ไม่มาเป็นองค์ประชุม เราจะใช้กลไกนี้ในการบอกกับพี่น้องประชาชนว่า คุณไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่มีความสำคัญของประเทศ เช่น การมีกฎหมายสำคัญเข้ามา ฝ่ายค้านก็พร้อมที่จะทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ อะไรที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศเรายินดีร่วมเป็นองค์ประชุม
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า จากที่ปรากฏชื่อว่าจะมีส.ส.ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย (ภท.) แล้วยังมีกระแสว่าจะไปพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และมีการไปพบนายกรัฐมนตรีด้วย พท.ได้ตรวจสอบหมดแล้ว ว่าที่ข่าวระบุว่า มี 40 ส.ส.ไปพบนายกรัฐมนตรีและรับประทานอาหารร่วมกัน บริเวณโรงแรมใกล้พรรค รทสช.นั้น เราตรวจสอบหมดแล้วว่า ส.ส.ที่ไปเป็นใคร มีจำนวนเท่าใด พฤติการณ์พฤติกรรมเป็นอย่างไร ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีพรรค พท.ไปร่วมด้วย แต่เป็นส.ส.ในเครือข่ายที่มีท่าทีว่าจะไปอยู่ร่วมกับพรรครทสช.เท่าที่เป็นข่าว
เมื่อถามว่า นอกจากรายชื่อที่ปรากฏแล้ว ส.ส.พรรคพท.มีเกณฑ์ที่จะย้ายออกจากพรรคอีกหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ปรากฏ เท่าที่มีอยู่เป็นรายชื่อที่เราทราบมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ทุกอย่างก็ไม่แน่นอน สิทธิเสรีภาพในการย้ายพรรค ถ้าเป็นไปตามอุดมการณ์ ไปเพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าประชาชนโดยเฉพาะในเขตพื้นที่มีข้อเสนอว่ามาอยู่พรรคนี้ เพราะเราอยากได้นโยบายพรรคนี้หรือคะแนนนิยมพรรคนี้ดี แต่ถ้าย้ายเพราะมีผลตอบแทน มีการแลกเปลี่ยน นี่คือการทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ระบบรัฐสภาอย่างใหญ่หลวงที่สุด และการย้ายพรรคในเวลาที่ไม่สมควร เป็นการละทิ้งหน้าที่ที่พึงต้องกระทำต่อพี่น้องประชาชน เรื่องนี้ต้องฝากพี่น้องประชาชนให้พิจารณาและให้ความเป็นธรรมแก่ส.ส.ที่ย้ายด้วยว่าเขาย้ายพรรคเพราะอะไร
เมื่อถามว่า การที่ส.ส.ย้ายในตอนนี้ ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ชัดเจนอยู่แล้ว หน้าที่คือต้องทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้มีกฎหมายเยอะมากที่อยู่ในสภา ถ้าลาออกก็หมายความว่ามีเจตจำนงชัดว่า เห็นการเข้าไปสังกัดพรรคใหม่เพื่อจะขอเป็นส.ส.ในปีต่อไป มากกว่าตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน เหมือนไม่ให้เกียรติพี่น้องประชาชนที่เลือกเข้ามา เลยตัองกลับไปถามพี่น้องประชาชนว่าเขาทำเพื่อพี่น้องประชาชนจริงหรือไม่ พี่น้องประชาชนก็ลองพิจารณาดูว่าสมควรที่จะมอบหมายให้เบาทำหน้าที่ต่อไปหรือไม่ ถ้าย้ายไปแล้วเขาเลือกแสดงว่าพี่น้องประชาชนเห็นด้วย
เมื่อถามถึง กรณีที่เมื่อวานนี้ (15 ธันวาคม) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่าไม่ใช่เรื่องของนายกรัฐมนตรีที่ต้องควบคุมส.ส.ให้เข้าร่วมประชุมสภา เพราะได้กำชับไปแล้ว แต่ส.ส.ไม่เข้าร่วมประชุมสภา มองว่าหน้าที่นี้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ตามข้อเท็จจริงนายกฯ ก็ตอบถูก ในแง่ที่เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร การที่จะมาควบคุมส.ส.ในสภาให้ทำนั่นทำนี่ เราก็เคยทักท้วง อำนาจฝ่ายบริหารและอำนาจนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน การก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่โดยมิชอบ ถือว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
“หากนายกรัฐมนตรีถ้าจะมีอำนาจมาควบคุมผู้แทนได้ เขาก็ควรจะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเขาควรจะเป็นส.ส.ด้วย หากเป็นอย่างนี้ถือว่าเขาไม่ควบคุมในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง ไม่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นส.ส. ต้องแยกกันอย่างนั้น อย่าไปเรียกร้องคนที่ไม่ได้เป็นผู้แทน ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เขาพูดถูก ในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาไม่มีหน้าที่โดยตรง” นพ.ชลน่าน กล่าว
‘ก้าวไกล’ จี้รัฐบาลเร่งแก้ค่าไฟแพง ย้ำปชช.ไม่ควรรับผลกรรมจากการบริหารงานผิดพลาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_3728041
‘ก้าวไกล’ จี้รัฐบาล เร่งแก้ค่าไฟแพง ย้ำ ปชช.ไม่ควรรับผลกรรมจากการบริหารงานผิดพลาด
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่รัฐสภา นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีมติขึ้นค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคม 2566 ว่า ของขวัญปีใหม่ของคนไทยไม่ควรจะเป็นค่าไฟที่แพงขึ้น ตนจึงอยากทวงถามรัฐบาลถึงการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น
ประเด็นแรก คือไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ถึง 12 โรง ซึ่งยังไม่ได้เดินเครื่อง 7 โรง รัฐบาลจึงต้องเร่งเจราจากับกลุ่มชนเหล่านี้เพื่อขอลดค่าไฟ แลกกับการขยายสัญญา และในอนาคตก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สองคือการเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติ เพราะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีต้นทุนเพียงแค่ 2 บาทต่อหน่วย และมีเพียงพอใช้ในประเทศ แต่กลุ่มทุนปตท. นำก๊าซเหล่านี้ไปขายให้กับภาคอุตสาหกรรม เมื่อก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศที่มีราคา 4 บาทต่อหน่วย ประชาชนจึงต้องเสียค่าไฟฟ้าแพง สิ่งที่ควรจะเป็นคือการเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติ โดยนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาผลิตเป็นไฟฟ้าให้กับประชาชนใช้
นายวรภพ กล่าวว่า ประเด็นที่สาม คือ เมื่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีจำนวนลดลง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของปตท.สผ. ที่เป็นผู้ได้รับสัมปทานรายใหม่ จึงขอฝากรัฐบาลไปเจรจากับรัฐวิสาหกิจเหล่านี้เร่งผลิตก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศ และเร่งเจรจากับกัมพูชาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนและนำก๊าชธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าแทนการนำเข้า เพื่อแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง ไม่เช่นนั้นทุก 4 เดือน รัฐบาลจะต้องขึ้นค่าไฟ ที่สำคัญคือไม่สมควรมีใครต้องจ่ายค่าไฟแพง เพราะรัฐบาลบริหารงานผิดพลาด