สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย.อ้างคำแถลงของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ผลการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พ.ย 2565 พรรคปากาตัน ฮาราปัน (พีเอช) นำโดย นายอันวาร์ อิบราฮิม ชนะการเลือกตั้งมาอันดับหนึ่ง ได้ 82 ที่นั่ง พรรคเปอริกาตัน เนชั่นแนล (พีเอ็น) นำโดยนายมูฮ์ยิดดิน ยัสซินอดีตนายกรัฐมนตรีได้ 73 ที่นั่ง ส่วนพรรคบาริซันเนชั่นแนล (บีเอ็น) นำโดย นายอิสมาอิล ซาบรีนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้ 30 ที่นั่ง ทั้งๆ ที่ผู้สมัครในพรรคบีเอ็นส่วนใหญ่เป็นคนในพรรคองค์กรสหมาเลย์แห่งชาติ หรือพรรคอัมโน ที่ผูกขาดการเป็นรัฐบาลมาตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500
และ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคอัมโนยาวนานถึง 22 ปี พ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 53 ปี เมื่อ กกต.ประกาศผลว่าเขาได้คะแนนลำดับห้าในเขตเลือกตั้งรัฐปีนัง ดร.มหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคอัมโน ตั้งแต่ปี 2524 ถึงปี 2546 เขาได้รับการยกย่องให้เป็น รัฐบุรุษมหาเธร์ เว้นช่องว่างทางการเมืองไปนาน และได้หวนกลับเข้าสู่วงการเมืองอีกครั้งในปี 2561 โดยการตั้งเป้าหมาย เพื่อโค่นล้มนายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีที่มีข้อครหายักยอกเงิน “มาเลเซีย ดีเวลอปเมนต์ เบอร์ฮัดหรือ 1MDB (กองทุนโครงการพัฒนาประเทศมาเลเซีย) หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นาจิบเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2561 เขามีอิทธิพลมากในพรรคอัมโน ดังนั้นเพื่อล้มนายกรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์มาเลเซียลงให้ได้ ดร.มหาเธร์ จำเป็นต้องมีแนวร่วมมากมายเป็นเหตุให้เขาต้องตั้ง#พรรคแนวร่วมเฉพาะกิจขึ้นมาชื่อว่า “พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง”
พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง ประกอบด้วย พรรคชนพื้นเมืองสามัคคีแห่งมาเลเซีย ของ ดร.มหาเธร์ พรรคความยุติธรรมของประชาชน นำโดย อาซีซอิชมาแอล ภรรยานายอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งยังถูกจำคุกในคดีร่วมเพศผู้ชายด้วยกันและพรรคกิจประชาธิปไตย นำโดยนายลิม กิตเซียง โดยที่พรรคแนวร่วมทั้งหมดตกลงกันว่าเมื่อชนะเลือกตั้งจะตั้งให้ ดร.มหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีสองปีแรก และให้นายอันวาร์ ซึ่งเวลานั้นยังเป็นนักโทษชายได้เป็นนายกรัฐมนตรีสองปีหลัง
เมื่อชนะเลือกตั้งโค่นล้มนายนาจิบ และพรรคอัมโน ลงได้ ในการเลือกตั้งปี 2561 ดร.มหาเธร์ ออกคำสั่ง ห้ามนายนาจิบและภรรยาเดินทางออกนอกประเทศทันที และขอพระราชทานอภัยโทษให้นายอันวาร์และเปิดโอกาสให้เขาได้รับเลือกตั้งซ่อมเข้ามาเป็น สส.มีบทบาทในสภา
แต่รัฐบาลผสมที่รวมตัวกันเฉพาะกิจไม่มีเสถียรภาพ ดร.มหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีรอบใหม่ได้ถึงเดือนมีนาคม 2563 สส.ส่วนใหญ่ที่ฝักใฝ่พรรคอัมโน แปรพักตร์ตีจากพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง เป็นเหตุให้ต้องตั้งรัฐบาลผสมกันใหม่และได้นายมูฮ์ยัดดิน ยัซซิน เป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 มาเลเซียก็ตั้งรัฐบาลใหม่อีกครั้งโดยมีพรรคอัมโนเป็นแกนนำรัฐบาลผสมและได้นายอิสมาอิล ซาบรี เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงวันยุบสภา
...
...ผลของการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ในประเทศมาเลเซียจึงควรเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทยว่า“พรรคเฉพาะกิจคือมูลเหตุความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและพรรคที่มีนโยบายหรือมีเป้าหมายช่วยคนผิด” พาคนทุจริตคอร์รัปชั่น อาฆาตพยาบาทสถาบันฯกลับบ้านทางประตูหน้า มาไกวเปลเลี้ยงหลาน”
พรรคนั้นไม่มีวันได้เป็นรัฐบาล ตราบใดที่ประเทศไทยมีพระสยามเทวาธิราชปกป้องคุ้มครอง
สุทิน วรรณบวร
อ่านข้อความทั้งหมดที่.
https://www.naewna.com/politic/columnist/53448
นโยบายนิรโทษกรรม ให้คนทุจริตกับพรรคเฉพาะกิจทำให้พรรคใหญ่พ่ายยับเยิน
และ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคอัมโนยาวนานถึง 22 ปี พ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 53 ปี เมื่อ กกต.ประกาศผลว่าเขาได้คะแนนลำดับห้าในเขตเลือกตั้งรัฐปีนัง ดร.มหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคอัมโน ตั้งแต่ปี 2524 ถึงปี 2546 เขาได้รับการยกย่องให้เป็น รัฐบุรุษมหาเธร์ เว้นช่องว่างทางการเมืองไปนาน และได้หวนกลับเข้าสู่วงการเมืองอีกครั้งในปี 2561 โดยการตั้งเป้าหมาย เพื่อโค่นล้มนายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีที่มีข้อครหายักยอกเงิน “มาเลเซีย ดีเวลอปเมนต์ เบอร์ฮัดหรือ 1MDB (กองทุนโครงการพัฒนาประเทศมาเลเซีย) หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นาจิบเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2561 เขามีอิทธิพลมากในพรรคอัมโน ดังนั้นเพื่อล้มนายกรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์มาเลเซียลงให้ได้ ดร.มหาเธร์ จำเป็นต้องมีแนวร่วมมากมายเป็นเหตุให้เขาต้องตั้ง#พรรคแนวร่วมเฉพาะกิจขึ้นมาชื่อว่า “พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง”
พรรคแนวร่วมแห่งความหวัง ประกอบด้วย พรรคชนพื้นเมืองสามัคคีแห่งมาเลเซีย ของ ดร.มหาเธร์ พรรคความยุติธรรมของประชาชน นำโดย อาซีซอิชมาแอล ภรรยานายอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งยังถูกจำคุกในคดีร่วมเพศผู้ชายด้วยกันและพรรคกิจประชาธิปไตย นำโดยนายลิม กิตเซียง โดยที่พรรคแนวร่วมทั้งหมดตกลงกันว่าเมื่อชนะเลือกตั้งจะตั้งให้ ดร.มหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีสองปีแรก และให้นายอันวาร์ ซึ่งเวลานั้นยังเป็นนักโทษชายได้เป็นนายกรัฐมนตรีสองปีหลัง
เมื่อชนะเลือกตั้งโค่นล้มนายนาจิบ และพรรคอัมโน ลงได้ ในการเลือกตั้งปี 2561 ดร.มหาเธร์ ออกคำสั่ง ห้ามนายนาจิบและภรรยาเดินทางออกนอกประเทศทันที และขอพระราชทานอภัยโทษให้นายอันวาร์และเปิดโอกาสให้เขาได้รับเลือกตั้งซ่อมเข้ามาเป็น สส.มีบทบาทในสภา
แต่รัฐบาลผสมที่รวมตัวกันเฉพาะกิจไม่มีเสถียรภาพ ดร.มหาเธร์ เป็นนายกรัฐมนตรีรอบใหม่ได้ถึงเดือนมีนาคม 2563 สส.ส่วนใหญ่ที่ฝักใฝ่พรรคอัมโน แปรพักตร์ตีจากพรรคแนวร่วมแห่งความหวัง เป็นเหตุให้ต้องตั้งรัฐบาลผสมกันใหม่และได้นายมูฮ์ยัดดิน ยัซซิน เป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 มาเลเซียก็ตั้งรัฐบาลใหม่อีกครั้งโดยมีพรรคอัมโนเป็นแกนนำรัฐบาลผสมและได้นายอิสมาอิล ซาบรี เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงวันยุบสภา
...
...ผลของการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ในประเทศมาเลเซียจึงควรเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทยว่า“พรรคเฉพาะกิจคือมูลเหตุความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและพรรคที่มีนโยบายหรือมีเป้าหมายช่วยคนผิด” พาคนทุจริตคอร์รัปชั่น อาฆาตพยาบาทสถาบันฯกลับบ้านทางประตูหน้า มาไกวเปลเลี้ยงหลาน”
พรรคนั้นไม่มีวันได้เป็นรัฐบาล ตราบใดที่ประเทศไทยมีพระสยามเทวาธิราชปกป้องคุ้มครอง
สุทิน วรรณบวร
อ่านข้อความทั้งหมดที่. https://www.naewna.com/politic/columnist/53448