สุจินต์ คือผู้ที่อ่านวินัยปิฎกแล้วจริงหรือ ถ้าอ่านแล้วทำไมจึงกล่าว(ตู่) ว่า ไม่พบคำว่าใช้อานาปานสติในพระไตรปิฎก?

สงสัยจึงถาม  :   สุจินต์ อ่านพระวินัยปิฎกแล้วเป็นคนที่ละเอียด ด้านกาย วาจา ใจ ขนาดไหน
                       จึงกล่าวตู่ธรรมของพระพุทธเจ้าว่า ไม่พบคำว่าอานาปานสติในพระไตรปิฎก

            สำหรับ สมาชิกทุกท่าน  ถ้าเข้ามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้
                       กรุณามีมารยาท คือ ไม่นำความคิดเห็นของผมที่เกี่ยวกับสุจินต์ นำไปจับชนกับบุคคลที่ 3 เสมือนหนึ่งผมได้ไปตำหนิติเตียนบุคคลนั้น ๆ


ในวันที่ภิกษุผู้บวชใหม่ พระครูอุปัชฌาย์ ต้องบอก อกรณียา ๔  (ซึ่งประกอบด้วย ปาราชิกทั้ง ๔ ข้อ (รวมปาราชิกข้อที่ ๓ ไว้ด้วย)
                พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ”ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทแล้วให้มีภิกษุเป็นเพื่อน และให้บอกอกรณียกิจ ๔ ดังนี้
             ๑. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร
ภิกษุเสพเมถุนธรรมแล้ว ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือน
คนถูกตัดศีรษะ ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ โดยการต่อศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น การเสพ
เมถุนธรรมนั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
             ๒. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิต
คิดจะลัก โดยที่สุดกระทั่งหญ้าเส้นเดียว ภิกษุใดถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง
ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง
ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือน ใบไม้เหี่ยวเหลือง
หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดต่อไปได้ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
นั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
             ๓. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงจงใจพรากสัตว์เสียจากชีวิตโดยที่สุดกระทั่งมด
ดำ มดแดง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตโดยที่สุดกระทั่งยังครรภ์ให้ตกไป
ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์เสียจาก
ชีวิต ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนแผ่นศิลาหนา
แตกออกเป็น ๒ เสี่ยง จะประสานให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกันอีกไม่ได้ การจงใจพราก
กายมนุษย์เสียจากชีวิตนั้น อันเธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
             ๔. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมโดยที่สุดพูดว่า
ข้าพเจ้ายินดีในเรือนว่าง ภิกษุใดมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง คือ ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี
สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุ
มีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่
ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาล
ยอดด้วนที่ไม่อาจงอกได้ต่อไป การกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมนั้น อันเธอไม่พึง
กระทำจนตลอดชีวิต”
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?E=&B=4&A=5557&w=%CD%A1%C3%B3%D5&option=2
 
อกรณียกิจข้อที่ ๓ คือ สิกขาบทปาราชิกข้อที่ ๓ ซึ่งภิกษุผู้บวชใหม่ ต้องเรียนทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น
ในครั้งพุทธกาล ภิกษุที่อุปสมบทใหม่ทุกรูปต้องเรียนสิกขาบทข้อนี้ รู้จักเหตุเกิดของสิกขาบทและต้องเรียนธรรม
 
พระครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ควรต้องสอนสิกขาบทนี้ ที่มาของสิกขาบทนี้ ให้ภิกษุนวกะ และภิกษุผู้บวชนานได้ทราบทุกรูป
ปัจจุบัน ภิกษุวัดไหน พระครูอุปัชฌาย์รูปใด จะสอนหรือไม่สอนพระนวก ลูกศิษย์ของท่านก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

                   สิกขาบทปาราชิกข้อที่ ๓ มีรายละเอียดธรรม คืออานาปานสติ
                   อานาปานสติในพระวินัยปิฎก 
                   อานาปานสติ ๑๖ ขั้น
             (๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
                   เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
             (๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
                   เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
             (๓) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
             (๔) สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
             (๕) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
             (๖) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
             (๗) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า
            (๘) สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
             (๙) สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
                   สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
             (๑๐) สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
             (๑๑) สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
             (๑๒) สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
             (๑๓) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
             (๑๔) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
             (๑๕) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
             (๑๖) สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก
                     สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจเข้า”
พระบัญญัติ (ปาราชิกข้อที่ ๓) 
             [๑๖๗] ก็ ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตรา
อันจะพรากกายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

อ้างอิง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?E=&B=1&A=3863&w=%CD%D2%B9%D2%BB%D2&option=2

ผู้รวบรวม นำภาพอักษร จากความคิดเห็น ที่ https://ppantip.com/topic/40009912/comment21
               ในความคิดเห็นดังกล่าวนั้นผู้ที่เขียนความคิดเห็นได้คดลอกบันทึกคำพูดของสุจินต์ไว้ดังในภาพ


                           ผู้ที่ศึกษาพระวินัยปิฎกจริง จะรู้ว่า ภิกษุทุกรูปต้องเรียนสิกขาบท เรียนธรรม ไม่มีข้อยกเว้น 

                          คำว่า ใช้อานาปานสติได้อธิบายไว้แล้วในกระทู้ https://ppantip.com/topic/41736402
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 52
ขอยกเนื้อหามาอ้างอิง เพื่อจะได้อธิบายให้เข้าใจนะครับ จากความเห็นของคุณ 6668888

ความคิดเห็นที่ 36
ย้ำอีกครับนะครับว่า "สติ" เป็น อนัตตา  อันนี้ตรงตามพระไตรปิฎกแน่นอน  ถูกต้องมั้ยครับ

ฉะนั้น เมื่อ สติเป็นอนัตตา  สติจึงย่อมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา  

ดังนั้น การจะ "ใช้อานาปานสติ" จึงเป็นการขัดแย้งกับพระไตรปิฎก  และก็ไม่มีคำนี้ในพระไตรปิฎกแน่นอน  

อ.สุจินต์ จึงกล่าวไว้ถูกต้องแล้วว่า "ไม่มีคำว่า "ให้ใช้อานาปานสติ" ในพระไตรปิฎก

แต่สติจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ก็ย่อมขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย  ถ้ามีเหตุปัจจัยให้สติเกิดขึ้น  สติก็ย่อมจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลมหายใจได้ตรงลักษณะ

อานาปานสติ  ท่านพระอรรถกถาจารย์ในอดีต กล่าวว่า เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ เพราะเป็นอารมณ์ที่ละเอียด สุขุม เป็นของยาก เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก

คุณวินโยกำลังตำหนิพระอรรถกถาจารย์ในอดีตหรือครับที่อรรถาธิบายไว้เช่นนี้?

ถ้าเราปล่อยให้มีการใช้คำผิดๆ เช่นนี้ปลอมปนเข้ามาในพระไตรปิฎก  ก็จะมีผลเสียหายเป็นการทำลายพระไตรปิฎก และทำลายพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้คนเข้าใจว่า สตินั้นเป็นอัตตา เพราะบังคับบัญชาควบคุมได้ตามใจชอบ จะใช้สติก็ได้ จะใช้อานาปานสติก็ได้  โดยไม่ได้เจริญเหตุปัจจัยให้ถูกต้องสมบูรณ์  แล้วสติจะเกิดขึ้นให้ใช้สติได้อย่างไร
แก้ไขข้อความเมื่อ 8 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 6668888


----------------------------------------

คุณผู้อ่าน อ่านเนื้อหาที่คุณ 8888 โต้แย้ง จขกท แล้วเห็นอะไรกันไหมครับ ?

ข้อแรก คุณ 8 แกเข้าใจว่า "อานาปานสติ" คือ "สติ"
ความจริงแล้ว อานะ+ปานะ+สติ ไม่ใช่ตัวสติ แต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกกระบวนการที่ทำให้สติเกิด
จะพูดให้ชัดลงไปก็ได้ คือ กระบวนการการสร้างเหตุ สร้างปัจจัย อะไรบางอย่างเพื่อให้สติเกิดขึ้นนั่นเอง

บุคคลเมื่อเริ่มลงมือสตาร์ทอานาปานสติ ไม่มีใคร "สั่ง" สติ ว่าเจ้าจงเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้เถิด
ถ้าคิดแบบนี้เข้าใจอานาปานสติผิดอย่างมหันต์ ผิดจนทำให้เห็นได้ว่า ไม่เข้าใจพระดำรัสตรัสสอนของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว
ทุกวันนี้คนไปแปลอานาปานสติเป็นตัวสติได้อย่างไรก็ไม่รู้ โดยเฉพาะสำนักคุณสุจินต์ผู้ละทิ้งบัญญัติไปแล้ว
มองไม่ออกหรือ? ว่าอานาปานสตินั้น ไม่ใช่สติ แต่เป็นสติที่เกิดขึ้นเพราะอานะ+ปานะ

สติเกิดเพราะลมหายใจอย่างไร ท่านผู้อ่านค่อยๆ ทำความเข้าใจ

เมื่อเริ่มปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่าอย่างไร ?

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ "


ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ไม่มีการตรัสถึง "สติ" ในขณะเริ่มเลย
องค์ธรรมที่ใช้งานจริงๆ คือ "วิตก+วิจาร" ซึ่งเป็นองค์ฌานนั่นเอง
วิตกและวิจาร เป็น "ธรรมคู่ปรับ" เพื่อกำจัดนิวรณ์ธรรมบางตัว คือถีนะ+มิทธะ และวิจิกิจฉาตามลำดับ
(แก้อย่างไร เอาไว้คราวหน้าต่อๆ ไปในอนาคตครับ)
ส่วนคำว่า "ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่"
  มาตบท้ายเอาตอนจะจบวรรค

พิจารณาสภาวะธรรมแล้วก็จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปสั่งสติ
หากแต่พระองค์ทรงสอนให้สร้างเหตุสร้างปัจจัยให้สติเกิดขึ้น


มีวิตก มีวิจาร ในลมหายใจ ชื่อว่า "เผากิเลส" ด้วย สร้างปัจจัยให้ความเพียรเกิดขึ้นด้วย
และที่สำคัญคือ สติ+สัมปชัญญะก็เกิดขึ้น เพราะเวลาที่เราตรึกถึงสิ่งไหนแล้วมีการ"ประคอง" อย่างต่อเนื่อง
ความระมัดระวังก็เกิดขึ้น เป็นธรรมดาอยู่เองที่สติและสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นตามลำดับ

เหมือนกับว่าเราเดินถือชามใส่แกงไก่มาเต็มถ้วย เพื่อไปประเคนพระ
องค์ธรรมเกิดขึ้นมากมาย ทั้งวิตก วิจาร และสติ (อาจมีสัมปชัญญะก็ได้)
โลกทั้งใบลอยลงไปอยู่ในชามแกงไก่เลยทีเดียว

อธิบายมาถึงตรงนี้ ผู้อ่านสรุปได้หรือยังว่า คุณ 8 นั้น กำลังเข้าใจผิด
ดันไปเข้าใจว่า อานาปานสติ คือตัวสติ ความจริงแล้วอานาปานสติไม่ใช่ตัวสติ
แต่เริ่มด้วยวิตก+วิจาร เป็นองค์ฌาน เพื่อสร้างปัจจัยให้สติเกิดขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น คำว่า "ใช้อานาปานสติ" เพื่อให้สติเกิดขึ้นนั้น ใช้ได้ หรือไม่ได้ครับ ?
คือใช้ลมหายใจนี่แหละ เป็นฐานให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้สภาวะธรรมที่กำลังเกิด

คนบอดฟังแต่คนจูง สีสันของโลกนี้จึงถูกคนจูงเป็นคนสร้างให้ ฉันใด
ลูกศิษย์โง่แต่ขยัน ก็สามารถอธิบายโลกทรรศน์ที่อาจารย์ตนสร้างให้ เอามาโชว์ให้สาธารณะเขาเห็นได้ ฉันนั้น

เอาล่ะนะครับ น้องคนนั้นที่พูดว่า "ใช้อานาปานสติ" ไม่ได้กล่าวผิด
ในแง่ที่ว่า ใช้ลมหายใจเป็นปัจจัยให้สติเกิด

ต่อไปต้องขอทำความเข้าใจเสียหน่อยว่า สำนักปฏิบัติธรรมนั้น ผู้เข้าครอส
ล้วนมอบขั้นตอนการปฏิบัติไปไว้กับอาจารย์ตนเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
กล่าวง่ายๆ ก็คือ ฉันจะไม่เรียนพระปริยัติ แต่จะให้อาจารย์เป็นคนบอกให้ฉันลงมือเลย
เหมือนที่พระพุทธเจ้าให้พระจูฬปันถกเถระบริกรรมโดยการลูบผ้าขาว

ส่วนสำนักคุณสุจินต์นั้นต่างกันออกไป
คุณสุจินต์ต้องการให้ทุกคนรับพระปริยัติไปให้หมดทุกๆ คน

อนุโมทนาทุกท่านครับ.
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 49
เราลองมาอ่านเรื่องราวของพระราหุล เมื่อครั้งที่เป็นสามเณร มีพระชนม์ ๑๘ พรรษา ใน มหาราหุโลวาทสูตร

-------------------
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2541&Z=2681
  "[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี  เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า. แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
อันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด
ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดังนี้.
             พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคต รูปเท่านั้น
หรือ?
             พ. ดูกรราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ."


----------------
อรรถุกถาแสดงว่า เหตุที่พระศาสดาต้องตรัสสอนเรื่องความไม่มีตัวตนของรูปนั้น เนื่องจาก ในพระดำเนินนั้น ทั้งสองพระองค์มีความสง่างดงามในทุกอิริยาบท พระราหุลเกิดความยินดีในความงดงามนี้ พระศาสดาทรงเห็นว่า พระราหุลเกิดฉันทะกิเลสขึ้นมาจะเป็นภัยต่อตัวพระราหุลในอนาคต
-------------------

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
"ก็ครั้นทรงเห็นแล้วได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา เดินตามหลังเรา มาเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือน เพราะอาศัยอัตภาพว่า เรางาม ผิวพรรณของเราผ่องใส. ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน ไปนอกทาง เที่ยวไปในอโคจร ไปยังทิศที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ.
               อนึ่ง กิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายในย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน แม้ประโยชน์ผู้อื่น แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง. จากนั้นจักถือปฏิสนธิในนรกบ้าง ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง ในปิตติวิสัยบ้าง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสารวัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด"

-------------------------

โปรดสังเกตว่า  ครั้งนั้นพระราหุลยังหลงในรูป หากไม่แก้ไขอาจต้องตกไปในอบาย แสดงว่าพระราหุลยังคงเป็นปุถุชน ยังไม่ได้บรรลุธรรม ทำให้พระศาสดาต้องอบรมโดยกล่าวเพื่อให้พระราหุลละฉันทะในรูปว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"

ต่อมาเมื่อกลับจากบิณฑบาต พระสารีบุตรก็ได้ให้กรรมฐานแก่พระราหุลให้พระราหุล เจริญอานาปานสติ
แล้วพอเวลาเย็น พระราหุลก็ไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลถามว่าเจริญอานาปานสตินั้น เจริญอย่างไร พระศาสดาก็ตรัสสอนอานาปานสติแก่พระราหุล

--------------------
[๑๓๔]...ท่านพระสารีบุตรได้เห็น
ท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า อานาปานสติภาวนา
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น
ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผล มีอานิสงส์?
...
...
  [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่... ...

--------------------

กรณีพระราหุล ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างนะคะว่า ปุถุชนก็เจริญอานาปานสติได้  
มหาราหุโลวาทนี้เกิดขึ้นเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร มีพระชนม์ ๑๘ พรรษา
ไทม์ไลน์ อายุและพระสูตรเกี่ยวกับพระราหุล ดูในอรรถกถา จูฬราหุโลวาทสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ร่วมกันศึกษาค่ะ _/\_
ความคิดเห็นที่ 50
"แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น, ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ, เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ในใจ"

จริงอยู่ว่า อานาปานสติ เป็นเรื่องละเอียด ยาก เราก็ไม่ได้ปฏิเสธอรรถกถา
แต่ ท่านก็ไม่ได้ห้ามปุถุชนเจริญอานาปานสติ ท่านให้ภิกษุใหม่ แม้กระทั่งสามเณรราหุลที่ยังไม่บรรลุธรรม เจริญอานาปานสติได้ นะคะ
ความคิดเห็นที่ 2
"...คำว่า ใช้อานาปานสติได้อธิบายไว้แล้วในกระทู้ https://ppantip.com/topic/41736402..."

ผมขอเสริมตรงคำที่ขีดเส้นใต้ ถ้าดูจากภาพการสนทนาในลิงค์ที่คุณวินโยยกมา ผมเข้าใจว่าผู้ถามเจตนาจะพูดว่า ใช้อานาปานสติเป็นอะไรสักอย่าง อาจจะเป็น "ใช้อานาปานสติเป็นวิหารธรรม" ก็ได้ ซึ่งที่จริงก็ควรฟังคำถามให้จบ แต่เนื่องจากป้าสุจินต์มักจะพูดแทรกแบบนี้ประจำ ทำให้ผู้ถามพูดได้ไม่จบ เลยพูดได้แค่ "ใช้อานาปานสติเป็น..."

ส่วนคำว่าอานาปานสติมีในพระไตรปิฏกหรือไม่ ผมลองค้นจาก 84000.org ก็พบจำนวนมาก ดูภาพใน Spoil (อันที่ 1)

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ผมลองค้นโดยใช้คำว่า "เจริญอานาปานสติ" ก็มีจำนวนมากเช่นกัน (อยู่ใน Spoil อันที่ 2) ซึ่งคำว่าเจริญหมายถึงทำให้มาก ดังนั้น การที่ผู้ถามใช้คำว่า "ทำอานาปานสติ" ก็ควรจะเข้าใจได้ว่าเหมือนกัน แม้กระทั่งคำว่า ใช้อานาปานสติ สมมุติว่าผู้ถามบังเอิญใช้คำพูดแบบนี้จริงๆ (ซึ่งผมคิดว่าผู้ถามมีเจตนาจะพูดว่า ใช้อานาปานสติเป็นวิหารธรรม อย่างที่บอกไปแล้วมากกว่า) คนที่เป็นครูเป็นอาจารย์ก็ควรจะเข้าใจได้

เข้าใจว่าคลิปถูกลบไปแล้ว เลยไม่มีโอกาสได้ฟังอีกรอบ ส่วนตัวผมเคยฟังนานแล้ว แต่ตอนนั้นไม่ได้ใส่ใจอะไร จะเป็นคำว่า "ใช้" หรือ "ทำ" หรืออะไรก็ตาม เพราะผมมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การที่ป้าสุจินต์บอกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอานาปานสติกับฆราวาส หรือบอกว่าสอนเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น หรือบอกว่าอานาปานสติต้องทำที่โคนไม้ หรือเรือนว่าง ฯลฯ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าให้ทำที่บ้านสักหน่อย (ผมสรุปย่อๆ เท่าที่จำได้) มันประหลาดเกินกว่าจะไปสนใจแค่คำว่า ใช้อานาปานสติ

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าสิ่งที่ป้าสุจินต์สอนกับลูกศิษย์ น่าจะมีอะไรดีๆ โดนใจลูกศิษย์ คลายทุกข์ให้ลูกศิษย์ได้ ไม่อย่างนั้นคงไม่มีลูกศิษย์มาเลื่อมใสศรัทธา เหมือนคนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือศาสนาอื่นๆ ผู้เผยแพร่คำสอนต้องมีอะไรที่เชิญชวนให้คนมานับถือศาสนาของตนได้ ทำให้ผู้นับถือคลายความทุกข์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้หลักศาสนาพุทธเท่านั้น

แต่สิ่งนั้นมันคืออะไร นั่นคือสิ่งที่ถ้ามีโอกาสผมก็อยากหาให้เจอ แต่ถึงในอนาคตผมจะหาเจอผมก็คงไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่อาจจะบอกข้อแตกต่างกับพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่