สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 41
ปัญหาเกิดจากคุณสุจินต์พูดภาษาคนไม่ค่อยจะได้การแล้ว
อาจจะเพราะวัยของเขานั่นเอง ที่จับจดอยู่แต่สิ่งที่ตนชำนาญ
ในสายตาคนปรกติโดยทั่วไปนั้น การสื่อสารของคุณสุจินต์เริ่มจะมีปัญหาแล้ว
หากแต่เพราะ "เรา" ยกกันขึ้นมาว่า คุณสุจินต์เป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรมมัตถสังคหะที่หาตัวจับยาก
การเป็นผู้ชำนาญพิเศษในปกรณ์พิเศษอย่างเช่นพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ก็สามารถช่วยให้ผู้ศึกษา
ได้ต่อยอดไปอ่านคัมภีร์ที่สำคัญยิ่งๆ ขึ้นไป อย่างคัมภีร์อรรถกถาและพระไตรปิฎกตามลำดับได้
การโต้ตอบสื่อสารที่บกพร่องของคุณสุจินต์ก็เลยทำให้ดูขลังไปซะงั้น
จับประเด็นกันดีๆ อย่าเพิ่งไปฟุ้งฝอยอะไรที่ลึกซึ้ง
ประเด็นของกระทู้ก็คือ คุณสุจินต์ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารไม่ดีนั่นเอง
ไม่ดีอย่างไร ?
ไม่ดีในแง่ที่ว่า เหมือนเป็นครูดุๆ คนหนึ่งที่ใช้ไม้เรียวกำหราบเด็กให้ฟัง ให้จำ เท่านั้น
อยากจะเคี่ยวเข็ญให้เด็กรู้นั่น รู้นี่ แต่เชื่อเหอะ หาคนรู้ตามคุณสุจินต์ได้ยาก แม้แต่ 8888 ก็ตามทีเถอะ
มีแต่ท่องจำกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง แล้วก็ใช้เวลาท่องจำกันนานซะยิ่งกว่าไปฝึกอานาปานสติซะอีก
ท่านพุทธทาสถึงบอกว่า นี่มัน "พระอภิธรรมเม็ดมะขาม"
สรุปว่าปัญหามันอยู่ที่ตัวคุณสุจินต์เข้าไปในโลกปรมัตถ์แล้วออกมาสู่สังคมบัญญัติไม่ได้
บรรลุธรรมแบบนี้ มีประโยชน์ต่อผู้อื่นมากมั๊ย ? คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องนี้ จะมีใครได้ประโยชน์จริงๆ จังๆ มั่งมั๊ย ?
ใช้ภาษาปรมัตถ์มาขู่เด็กให้กลัว
มันจะเข้าตำราปริยัติงูพิษเอานะเนี่ย
แล้วก็เป็นมันแบบนี้ทั้งสำนักซะด้วย
(ปล.คุณสะพานหา "อริฏฐภิกษุ" มาแปะให้ทีได้ไม๊ครับ? )
อาจจะเพราะวัยของเขานั่นเอง ที่จับจดอยู่แต่สิ่งที่ตนชำนาญ
ในสายตาคนปรกติโดยทั่วไปนั้น การสื่อสารของคุณสุจินต์เริ่มจะมีปัญหาแล้ว
หากแต่เพราะ "เรา" ยกกันขึ้นมาว่า คุณสุจินต์เป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรมมัตถสังคหะที่หาตัวจับยาก
การเป็นผู้ชำนาญพิเศษในปกรณ์พิเศษอย่างเช่นพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ก็สามารถช่วยให้ผู้ศึกษา
ได้ต่อยอดไปอ่านคัมภีร์ที่สำคัญยิ่งๆ ขึ้นไป อย่างคัมภีร์อรรถกถาและพระไตรปิฎกตามลำดับได้
การโต้ตอบสื่อสารที่บกพร่องของคุณสุจินต์ก็เลยทำให้ดูขลังไปซะงั้น
จับประเด็นกันดีๆ อย่าเพิ่งไปฟุ้งฝอยอะไรที่ลึกซึ้ง
ประเด็นของกระทู้ก็คือ คุณสุจินต์ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารไม่ดีนั่นเอง
ไม่ดีอย่างไร ?
ไม่ดีในแง่ที่ว่า เหมือนเป็นครูดุๆ คนหนึ่งที่ใช้ไม้เรียวกำหราบเด็กให้ฟัง ให้จำ เท่านั้น
อยากจะเคี่ยวเข็ญให้เด็กรู้นั่น รู้นี่ แต่เชื่อเหอะ หาคนรู้ตามคุณสุจินต์ได้ยาก แม้แต่ 8888 ก็ตามทีเถอะ
มีแต่ท่องจำกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง แล้วก็ใช้เวลาท่องจำกันนานซะยิ่งกว่าไปฝึกอานาปานสติซะอีก
ท่านพุทธทาสถึงบอกว่า นี่มัน "พระอภิธรรมเม็ดมะขาม"
สรุปว่าปัญหามันอยู่ที่ตัวคุณสุจินต์เข้าไปในโลกปรมัตถ์แล้วออกมาสู่สังคมบัญญัติไม่ได้
บรรลุธรรมแบบนี้ มีประโยชน์ต่อผู้อื่นมากมั๊ย ? คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องนี้ จะมีใครได้ประโยชน์จริงๆ จังๆ มั่งมั๊ย ?
ใช้ภาษาปรมัตถ์มาขู่เด็กให้กลัว
มันจะเข้าตำราปริยัติงูพิษเอานะเนี่ย
แล้วก็เป็นมันแบบนี้ทั้งสำนักซะด้วย
(ปล.คุณสะพานหา "อริฏฐภิกษุ" มาแปะให้ทีได้ไม๊ครับ? )
ความคิดเห็นที่ 51
ความคิดเห็นที่ 25
อ. สุจินต์ ได้พูดไว้ในคลิปนี้ตั้งนานก่อนหน้าคลิปนั้นหลายสิบปีแล้วว่า การใช้สติ (ช่วงประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที) ว่าเป็นไปไม่ได้
ซึ่งก็ตรงกับในคลิปที่มีผู้ถามเรื่องที่ว่า พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้อานาปานสติ แต่ อ.สุจินต์ บอกว่า ไม่มีคำนี้ในพระไตรปิฎก
6668888 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.54.32 น.
ความคิดเห็นที่ 25-1
เอามาทำไมครับ ไม่ได้ถาม
จะเอามาโปรโมท สุจินต์ ?
หรือว่า กำลังเฟ้อ ?
วินโย 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.55.22 น.
ความคิดเห็นที่ 25-2
ให้ดูว่า อ.สุจินต์ พูดไว้ตั้งนานแล้ว เรื่อง การใช้สติ การใช้อานาปานสติ ว่าเป็นไปไม่ได้
แล้วคุณเองก็ยังหาหลักฐานในพระไตรปิฎกมาพิสูจน์ไม่ได้เลยว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้อานาปานสติ ด้วยหรือ
6668888 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.56.50 น.
ตามไปดูว่า สุจินต์มีมาตรฐานหรือไม่ หรือไร้มาตรฐาน หรือมีหลายมาตรฐานขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมบุคคลแวดล้อมพาไป
คลิปชื่อ อยากถามคุณคำปั่น เปรียญ ๙ ถามเพื่อหาข้อมูลนะคะ ไม่ได้ถามหาเรื่อง!!_อ.สุจินต์
https://www.youtube.com/watch?v=-Yl0YvY1qyA
ในคลิปนี้ ผู้สอบถามได้สอบถามและสนทนาถามตอบกันหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ผมจะนำมากล่าวถึง คือ คำว่า สติปัฏฐาน
ตัวอย่างบันทึกการสนทนา มีสุจินต์นั่งเป็นประธาน ฟังสตรีชื่อ(ที่ผมยกมาข้างล่างนี้-ในภาพ)....โดยไม่คัดค้าน
เวลาในคลิป 35.44 - 34.57
คุณสตรีฝ่ายสุจินต์พูดว่า....>..เรียนรู้ธรรมด้วย คือต้องเป็นสติปัฏฐานนั่นแหละ
ที่จะเป็นเบื้องต้นนที่จะเป็น..อย่างพระสูตรที่เราสนทนากัน
ก็คือ ธรรมที่เป็นที่พึ่งในพระพุทธศาสนาเนี่ยะ นะคะ
ก็คือ การอบรมสติปัฏฐานสี่
วิเคราะห์
พุทธศาสนิกชนเมื่อศึกษาธรรม โดยสากลให้ความเชื่อถือพระพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ
ธรรมที่พระตถาคตตรัส ย่อมไม่ขัดแย้งกัน
ผู้อ่านสังเกตนะครับ ว่า คลิปที่ผมทำภาพตัวอย่างมาให้ดูข้างบน(ในความเห็นนี้) มีสตรีท่านหนึ่งพูดถึง "พวกเรา"
ถ้าย้อนกลับไปถึงคลิปอื่น ๆ
มีหลายคลิปถ้าคู่สนทนาพูดถึงคำว่า พวกเรา เราทำ เราใช้ เราไป สุจินต์จะทักท้วงว่าผิด เพราะนั่นมีเรา มีอัตตาฯลฯ
แต่ครั้งนี้ สตรีฝ่ายตนพูดคำว่า พวกเรา สุจินต์ก็ไม่ได้ทักท้วงว่า ใช้คำว่า "พวกเรา" ไม่ได้นะ นั่นนะผิด เพราะมีเรามันเป็นอัตตา ....
ข้อสังเกตุ สุจินต์มีมาตรฐานไหม คนอื่นพูดแบบนี้จะถูกทักท้วงว่าผิด แต่ ฝ่ายตนเองพูดกลับนิ่งเฉย...
สตรีฝ่ายสุจินต์ พูดถึง สติปัฏฐานสี่ พูดถึงพวกเขาเรียนสติปัฏฐานสี่
สื่อสารให้รู้ว่า สุจินต์และพวก ก็ใช้หลักธรรม ใช้สูตรที่มีสติปัฏฐานสี่นี้ เพื่ออบรมกายใจ
ข้อสังเกตุ ทำไมสุจินต์นั่งนิ่งเงียบ เท่ากับยอมรับใช่ไหม ว่า ใช้ธรรมสูตรนี้อบรมกายใจได้
สุจินต์ทำไมไม่คัดค้านว่า พวกเขา ใช้สติปัฏฐานสี่ไม่ได้นะ เป็นไปไม่ได้นะที่จะใช้สติ ....
ถ้าเปรีบเทียบกับสตรีทีถามในต้นกระทู้แล้ว >> สุจินต์ มีกี่มาตรฐาน หรือไม่มีมาตรฐาน ?
เรื่องหลักฐานในพระไตรปิฎกว่า
มีการใช้ มีการอบรมกาย มีการพิจารณาโดยแยบคาย การอยู่ในวิหารธรรม ที่ชื่อว่า อานาปานสติ สติปัฏฐานสี่ หรือไม่นั้น
ผมนำมาให้พิจาณาหลายรอบ หลายความคิดเห็นแล้ว
ถ้าเปิดใจอ่าน วางตัวบุคคลลงไป ไม่ยึดติดในตัวบุคคล ก็คงเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ
ผมเขียนวิเคราะห์ตามหลักฐานที่ปรากฎนะครับ
ผมอยากจะบอกสื่อสารตามหลักความจริงว่า
ความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด เป็นของเฉพาะตน (ไม่ว่าใครก็ตาม)
ผู้ที่กำลังปกป้องสุจินต์ หรือปกป้องใครก็ตาม ไม่มีทางที่จะไปแก้ไขสิ่งที่เขาได้ทำลงไปแล้วได้เลย
ควรยึดหลักธรรม หลักความจริงเป็นหลัก
เรียนธรรมก็ควรยึดพระพุทธพจน์ จากพระไตรปิฎกเป็นหลัก
ถ้าเมื่อใด อาจารย์ตน พูดขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า ควรจะเลือกเชื่อใคร ?
ขอบคุณมากครับผม
อ. สุจินต์ ได้พูดไว้ในคลิปนี้ตั้งนานก่อนหน้าคลิปนั้นหลายสิบปีแล้วว่า การใช้สติ (ช่วงประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที) ว่าเป็นไปไม่ได้
ซึ่งก็ตรงกับในคลิปที่มีผู้ถามเรื่องที่ว่า พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้อานาปานสติ แต่ อ.สุจินต์ บอกว่า ไม่มีคำนี้ในพระไตรปิฎก
6668888 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.54.32 น.
ความคิดเห็นที่ 25-1
เอามาทำไมครับ ไม่ได้ถาม
จะเอามาโปรโมท สุจินต์ ?
หรือว่า กำลังเฟ้อ ?
วินโย 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.55.22 น.
ความคิดเห็นที่ 25-2
ให้ดูว่า อ.สุจินต์ พูดไว้ตั้งนานแล้ว เรื่อง การใช้สติ การใช้อานาปานสติ ว่าเป็นไปไม่ได้
แล้วคุณเองก็ยังหาหลักฐานในพระไตรปิฎกมาพิสูจน์ไม่ได้เลยว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้อานาปานสติ ด้วยหรือ
6668888 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.56.50 น.
ตามไปดูว่า สุจินต์มีมาตรฐานหรือไม่ หรือไร้มาตรฐาน หรือมีหลายมาตรฐานขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมบุคคลแวดล้อมพาไป
คลิปชื่อ อยากถามคุณคำปั่น เปรียญ ๙ ถามเพื่อหาข้อมูลนะคะ ไม่ได้ถามหาเรื่อง!!_อ.สุจินต์
https://www.youtube.com/watch?v=-Yl0YvY1qyA
ในคลิปนี้ ผู้สอบถามได้สอบถามและสนทนาถามตอบกันหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ผมจะนำมากล่าวถึง คือ คำว่า สติปัฏฐาน
ตัวอย่างบันทึกการสนทนา มีสุจินต์นั่งเป็นประธาน ฟังสตรีชื่อ(ที่ผมยกมาข้างล่างนี้-ในภาพ)....โดยไม่คัดค้าน
เวลาในคลิป 35.44 - 34.57
คุณสตรีฝ่ายสุจินต์พูดว่า....>..เรียนรู้ธรรมด้วย คือต้องเป็นสติปัฏฐานนั่นแหละ
ที่จะเป็นเบื้องต้นนที่จะเป็น..อย่างพระสูตรที่เราสนทนากัน
ก็คือ ธรรมที่เป็นที่พึ่งในพระพุทธศาสนาเนี่ยะ นะคะ
ก็คือ การอบรมสติปัฏฐานสี่
วิเคราะห์
พุทธศาสนิกชนเมื่อศึกษาธรรม โดยสากลให้ความเชื่อถือพระพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ
ธรรมที่พระตถาคตตรัส ย่อมไม่ขัดแย้งกัน
ผู้อ่านสังเกตนะครับ ว่า คลิปที่ผมทำภาพตัวอย่างมาให้ดูข้างบน(ในความเห็นนี้) มีสตรีท่านหนึ่งพูดถึง "พวกเรา"
ถ้าย้อนกลับไปถึงคลิปอื่น ๆ
มีหลายคลิปถ้าคู่สนทนาพูดถึงคำว่า พวกเรา เราทำ เราใช้ เราไป สุจินต์จะทักท้วงว่าผิด เพราะนั่นมีเรา มีอัตตาฯลฯ
แต่ครั้งนี้ สตรีฝ่ายตนพูดคำว่า พวกเรา สุจินต์ก็ไม่ได้ทักท้วงว่า ใช้คำว่า "พวกเรา" ไม่ได้นะ นั่นนะผิด เพราะมีเรามันเป็นอัตตา ....
ข้อสังเกตุ สุจินต์มีมาตรฐานไหม คนอื่นพูดแบบนี้จะถูกทักท้วงว่าผิด แต่ ฝ่ายตนเองพูดกลับนิ่งเฉย...
สตรีฝ่ายสุจินต์ พูดถึง สติปัฏฐานสี่ พูดถึงพวกเขาเรียนสติปัฏฐานสี่
สื่อสารให้รู้ว่า สุจินต์และพวก ก็ใช้หลักธรรม ใช้สูตรที่มีสติปัฏฐานสี่นี้ เพื่ออบรมกายใจ
ข้อสังเกตุ ทำไมสุจินต์นั่งนิ่งเงียบ เท่ากับยอมรับใช่ไหม ว่า ใช้ธรรมสูตรนี้อบรมกายใจได้
สุจินต์ทำไมไม่คัดค้านว่า พวกเขา ใช้สติปัฏฐานสี่ไม่ได้นะ เป็นไปไม่ได้นะที่จะใช้สติ ....
ถ้าเปรีบเทียบกับสตรีทีถามในต้นกระทู้แล้ว >> สุจินต์ มีกี่มาตรฐาน หรือไม่มีมาตรฐาน ?
เรื่องหลักฐานในพระไตรปิฎกว่า
มีการใช้ มีการอบรมกาย มีการพิจารณาโดยแยบคาย การอยู่ในวิหารธรรม ที่ชื่อว่า อานาปานสติ สติปัฏฐานสี่ หรือไม่นั้น
ผมนำมาให้พิจาณาหลายรอบ หลายความคิดเห็นแล้ว
ถ้าเปิดใจอ่าน วางตัวบุคคลลงไป ไม่ยึดติดในตัวบุคคล ก็คงเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ
ผมเขียนวิเคราะห์ตามหลักฐานที่ปรากฎนะครับ
ผมอยากจะบอกสื่อสารตามหลักความจริงว่า
ความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด เป็นของเฉพาะตน (ไม่ว่าใครก็ตาม)
ผู้ที่กำลังปกป้องสุจินต์ หรือปกป้องใครก็ตาม ไม่มีทางที่จะไปแก้ไขสิ่งที่เขาได้ทำลงไปแล้วได้เลย
ควรยึดหลักธรรม หลักความจริงเป็นหลัก
เรียนธรรมก็ควรยึดพระพุทธพจน์ จากพระไตรปิฎกเป็นหลัก
ถ้าเมื่อใด อาจารย์ตน พูดขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า ควรจะเลือกเชื่อใคร ?
ขอบคุณมากครับผม
ความคิดเห็นที่ 8
เคยฟังคลิปอาจารย์สุจินต์หลายเรื่องอยู่ช่วงหนึ่งค่ะ เป็นซีดี เนื้อหา ดีๆทั้งนั้น อาจารย์แม่นปริยัติมาก (อดีต)
ต่อมา พอสื่อออนไลน์มีมากขึ้นก็ไปฟังพระอภิธรรมจากท่านอื่นๆ
แต่คลิประยะหลังๆ รู้สึกว่า อาจารย์ ดุง่าย มีแพทเทิร์นการถามและตอบที่เฉพาะกลุ่มมากๆ จนสมาชิกใหม่ที่ถามคำถามอะไรก็ตามจะถูกซักกลับว่า
ขณะนี้ “เห็น” มีมั้ย? ผู้ถามก็ งง เห็นยังไง? ตัวเห็นเป็นยังไง? ไปไม่เป็นแล้ว แล้วก็โดนอบรมอีกยกนึงว่าให้ศึกษาคำพระพุทธเจ้า….
รู้สึกถึงความตึงเครียดในเวลาตอบถาม
คลิปต้นกระทู้นี้เคยฟังค่ะ ก็แปลกใจนะคะ ว่า ทำไม อ.สุจินต์ถึงได้บอกว่า อานาปานสติ ไม่มีในพระไตรปิฎก
ไม่สนับสนุนการทำสมาธิ
ไม่ให้ไปสำนักปฏิบัติธรรม (อ้างว่าไม่มีในพระไตรปิฏก)
จะให้ “เห็น” อย่างเดียว เลย ส่วนนึงก็เข้าใจเจตนาที่อยากดึงผู้ฟังเข้าถึงสภาวะปรมัตถ์ แต่เนื้อหาที่ผิดเพี้ยนทำให้ กังวลอยู่ว่าจะเป็นบิดเบือนพระพุทธพจน์ทั้งๆที่ท่านกล่าวว่านับถือพระธรรมอย่างสูง
ต่อมา พอสื่อออนไลน์มีมากขึ้นก็ไปฟังพระอภิธรรมจากท่านอื่นๆ
แต่คลิประยะหลังๆ รู้สึกว่า อาจารย์ ดุง่าย มีแพทเทิร์นการถามและตอบที่เฉพาะกลุ่มมากๆ จนสมาชิกใหม่ที่ถามคำถามอะไรก็ตามจะถูกซักกลับว่า
ขณะนี้ “เห็น” มีมั้ย? ผู้ถามก็ งง เห็นยังไง? ตัวเห็นเป็นยังไง? ไปไม่เป็นแล้ว แล้วก็โดนอบรมอีกยกนึงว่าให้ศึกษาคำพระพุทธเจ้า….
รู้สึกถึงความตึงเครียดในเวลาตอบถาม
คลิปต้นกระทู้นี้เคยฟังค่ะ ก็แปลกใจนะคะ ว่า ทำไม อ.สุจินต์ถึงได้บอกว่า อานาปานสติ ไม่มีในพระไตรปิฎก
ไม่สนับสนุนการทำสมาธิ
ไม่ให้ไปสำนักปฏิบัติธรรม (อ้างว่าไม่มีในพระไตรปิฏก)
จะให้ “เห็น” อย่างเดียว เลย ส่วนนึงก็เข้าใจเจตนาที่อยากดึงผู้ฟังเข้าถึงสภาวะปรมัตถ์ แต่เนื้อหาที่ผิดเพี้ยนทำให้ กังวลอยู่ว่าจะเป็นบิดเบือนพระพุทธพจน์ทั้งๆที่ท่านกล่าวว่านับถือพระธรรมอย่างสูง
ความคิดเห็นที่ 6
ที่จริงผมมีกรณีของป้าสุจินต์ที่อยากจะพูดถึงหลังจากที่ผมได้ฟังคลิปที่บอกว่าเป็นการโต้วาทีกันที่เพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งนำมาตั้งกระทู้ มีประเด็นที่อาจจะทำให้คนได้รู้จักว่าป้าสอนอะไร เข้าใจผิดมากขนาดไหน
แต่เนื่องจากผมอาจจะต้องฟังซ้ำให้แน่ใจ เพราะป้าสุจินต์เวลาพูดจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง จะต้องคอยชื่นชมพระพุทธเจ้า ยกยอพระไตรปิฏก แบบที่ชาวคริสต์ต้องพูดถึงพระเจ้า พูดถึงไบเบิ้ล ตลอดเวลา (ผมเข้าใจว่าชาวคริสต์ทำแบบนั้น ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย) และต้องใช้ศัพท์ที่ฟังเข้าใจยาก (แต่คงจะรู้กันเองเฉพาะลูกศิษย์ แบบคึกฤทธิ์) พูดง่ายๆ ตรงๆ ไม่เป็น ตรงกันข้ามกับผู้ที่ร่วมอภิปราย ใช้คำพูดซื่อๆ ภาษาง่ายๆ รู้สึกถึงความจริงใจ ความเมตตา และพูดตรงๆ (เพียงแต่อาจจะไม่เข้าใจว่าป้าสุจินต์พูดอะไร เลยคุยกันไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์อะไร)
แต่ที่เข้ามาแสดงความเห็น ผมอยากพูดถึงกรณีคำว่า "ใช้อานาปานสติ" ที่คุณวินโยเจ้าของกระทู้ยกมาพูดถึง
ผมเองก็เพิ่งจะรู้จากลูกศิษย์ป้าสุจินต์คนเดียวกันกับที่เอาคลิปการโต้วาทีมาตั้งกระทู้ ตอนแรกก็ไม่เข้าใจที่ป้าสุจินต์บอกว่าไม่มีในพระไตรปิฏกหมายถึงอะไร สรุปว่า หมายถึง ในพระไตรปิฏกไม่ได้ใช้คำว่า "ใช้อานาปานสติ"
มาเถียงมาทะเลาะกับคนที่ถามเรื่องธรรมะกับการใช้คำพูดแค่นี้ แถมไม่บอก ไม่แก้ไขให้ด้วยว่าอยากให้ใช้คำว่าอะไร เจริญอานาปานสติ หรืออะไรก็ว่าไป
ที่จริง คนปกติทั่วทั้งโลก จะใช้คำว่า ทำอานาปานสติ, เจริญอานาปานสติ หรืออะไรอานาปานสติก็ตาม ก็ควรเข้าใจแล้วว่าคืออะไร ใช้คอมมอนเซนต์ก็เข้าใจได้แล้ว ไม่ใช่ต้องใช้ศัพท์แบบที่คุณวินโยบอกว่า ต้องเป๊ะๆ เท่านั้นถึงจะตอบ มันคือวิสัยของคนที่มีเมตตาหรือไม่?
แต่เนื่องจากผมอาจจะต้องฟังซ้ำให้แน่ใจ เพราะป้าสุจินต์เวลาพูดจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง จะต้องคอยชื่นชมพระพุทธเจ้า ยกยอพระไตรปิฏก แบบที่ชาวคริสต์ต้องพูดถึงพระเจ้า พูดถึงไบเบิ้ล ตลอดเวลา (ผมเข้าใจว่าชาวคริสต์ทำแบบนั้น ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย) และต้องใช้ศัพท์ที่ฟังเข้าใจยาก (แต่คงจะรู้กันเองเฉพาะลูกศิษย์ แบบคึกฤทธิ์) พูดง่ายๆ ตรงๆ ไม่เป็น ตรงกันข้ามกับผู้ที่ร่วมอภิปราย ใช้คำพูดซื่อๆ ภาษาง่ายๆ รู้สึกถึงความจริงใจ ความเมตตา และพูดตรงๆ (เพียงแต่อาจจะไม่เข้าใจว่าป้าสุจินต์พูดอะไร เลยคุยกันไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์อะไร)
แต่ที่เข้ามาแสดงความเห็น ผมอยากพูดถึงกรณีคำว่า "ใช้อานาปานสติ" ที่คุณวินโยเจ้าของกระทู้ยกมาพูดถึง
ผมเองก็เพิ่งจะรู้จากลูกศิษย์ป้าสุจินต์คนเดียวกันกับที่เอาคลิปการโต้วาทีมาตั้งกระทู้ ตอนแรกก็ไม่เข้าใจที่ป้าสุจินต์บอกว่าไม่มีในพระไตรปิฏกหมายถึงอะไร สรุปว่า หมายถึง ในพระไตรปิฏกไม่ได้ใช้คำว่า "ใช้อานาปานสติ"
มาเถียงมาทะเลาะกับคนที่ถามเรื่องธรรมะกับการใช้คำพูดแค่นี้ แถมไม่บอก ไม่แก้ไขให้ด้วยว่าอยากให้ใช้คำว่าอะไร เจริญอานาปานสติ หรืออะไรก็ว่าไป
ที่จริง คนปกติทั่วทั้งโลก จะใช้คำว่า ทำอานาปานสติ, เจริญอานาปานสติ หรืออะไรอานาปานสติก็ตาม ก็ควรเข้าใจแล้วว่าคืออะไร ใช้คอมมอนเซนต์ก็เข้าใจได้แล้ว ไม่ใช่ต้องใช้ศัพท์แบบที่คุณวินโยบอกว่า ต้องเป๊ะๆ เท่านั้นถึงจะตอบ มันคือวิสัยของคนที่มีเมตตาหรือไม่?
แสดงความคิดเห็น
วิเคราะห์วาทะสุจินต์ เริ่มจาก อานาปานสติ ทาน และ สละ (จาคะ)
ข้อความในภาพ บันทึกจากคลิปนี้ https://www.youtube.com/watch?v=ZtyOBitIJnM
และต่อมา (ปัจจุบัน) ไม่สามารถเข้าไปดูคลิปนี้ได้ ไม่ทราบเหตุผลว่าผู้จัดทำลบทิ้งไป หรือ จำกัดผู้ที่เข้าดูได้เฉพาะบางคนบางกลุ่ม
คลิปนี้หายไปไหนหนอ....ทำไมต้องลบออกจากระบบ ?
คำสำคัญของภาพที่ผมนำมาลงไว้ และถูกนำมาตีความถกเถียงความหมายคำ
ค้นหาคำที่มีคำตรง ๆ เป๊ะ ๆ ในพระไตรปิฎกว่า คำพูดที่อยู่ในระหว่างการสนทนานั้นไม่มีในพระไตรปิฎก คือ คำที่เกิดจากการสนทนาต่อไปนี้
เวลาในคลิป 1.11 > พระพุทธเจ้าก็บอกให้เราอยู่กับอานาปานสติหนะค่ะ แม้แต่ท่านเอง ก็ใช้...
> สุจินต์พูดแทรก : ขอโทษ ไม่มีคำนี้ในพระไตรปิฎก
> ....และท่านก็ใช้อานาปานสติเป็น...
> สุจินต์ : ใช้อานาปานสติก็ไม่มีในพระไตรปิฎก
สนทนาต่อจนถึงเวลา 19.06 : > ขอโทษค่ะ แล้วคำว่าอานาปานสติ ที่หนูได้ฟังมา ก็ได้ยินบ่อยทำไมท่านฯ บอกไม่มีล่ะคะ
> สุจินต์ : เค้าไม่ได้บอกใช่ไหม สติคืออะไร อานาปาน คืออะไร จึงไม่รู้ว่าคืออะไร....
สุจินต์พูดอีกยืดยาว คู่สนทนาถาม > 23.31:.พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอนเรื่องอานาปานสติเหรอคะ
เวลา 23.47 > สุจินต์ :สอนเรื่องเห็น หรือเปล่าคะ......
วิเคราะห์
จากการที่ผู้ถาม ได้พยายามถามหลายครั้ง เกี่ยวกับคำว่า อานาปานสติ
ผู้ถาม ผมคาดคะเน (ผมไม่ใช่ผู้ถามตัวจริงก็คาดคะเนเอานะครับ - อาจผิดก็ได้)
น่าจะสื่อความหมายถึง การพิจารณาธรรมโดยเลือกเฟ้นธรรมที่พระตถาคตได้แสดงไว้ในอานาปานสติสูตร
กล่าวคือ เมื่อพบโคนไม้ เรือนว่าง หรือสถานที่ ๆ ตนคิดว่าพอเหมาะกับการตั้งกายตรง .....แล้วก็พิจารณาธรรมตามอานปานสติ (สูตร) เป็นต้น
วิเคราะห์การใช้คำว่า "เราอยู่กับอานาปานสติ" "ใช้อานาปานสติ"
ในบางคราวอาจเป็นไปได้ว่า การใช้คำในภาษาพูดของพุทธศาสนิกชนนั้น
ผู้พูดต้องการสื่อความหมายให้ตรง หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ใกล้เคียงกับ(คำแปลไทย)ที่พระตถาคตได้แสดง(บาลี) ไว้
แต่ด้วยความที่ไม่แม่นยำในคำสอน ไม่แม่นยำในการใช้หลัภาษา จึงทำให้การใช้คำไม่ตรงเป๊ะ ๆ ตามที่มีในพระไตรปิฎก
อาจจะเคยได้ยินได้ฟังกันออยู่บ้างว่า ในเวลาที่เธอ คุณ...นั่งตั้งกายตรง...เธอพิจารณาธรรมบทไหน สูตรไหน
บ้างก็ตอบว่า อานาปานสติ บ้างก็ตอบว่ากายคตาสติ บ้างก็ตอบว่าอนัตตลักขณสูตร ฯลฯ
ถ้าภาษาชาวบ้านก็เรียกสั้น ๆ ว่า > ใช้ธรรมบทไหน ใช้สูตรไหน
ขยายความแบบพิสดารขึ้นไปก็คือ พูดให้ตรงตามที่พระไตรปิฎกแปลไว้ เช่น
ใช้ธรรมสูตรไหน เพื่อนำไปพิจารณาใคร่ครวญ มนสิการโดยแยบคาย กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย อย่างนี้ได้ไหม ?
ในการสนทนาบางคราว ทำไมไม่พยายามทำความเข้าใจผู้พูดว่า เขาพูดโดยย่อ !!!
หรือถามกลับไปว่า ที่พูดนั้นต้องการสื่อสารอย่างนี้ใช่ไหม ?...ฯลฯ
จะมีพุทธบริษัทชาวบ้านสักกี่คน ที่พูดเป๊ะ ๆ น้อ....
> ถ้าจะเอาให้เป๊ะ ก็ให้พูดเป็นภาษาบาลีไปเลยดีไหม ?
การใช้คำในระหว่างสนทนา ควรต้องดูเจตนาของผู้พูดประกอบด้วย
ถ้าผู้พูด พูดไม่ตรง ถ้อยคำไม่ตรง (เป๊ะ) แต่ความหมายที่ต้องการสื่อตรงกัน ก็ควรผ่านไป
ดั่งที่พระะตถาคตตรัสไว้ใน อรณวิภังคสูตร ว่า
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด อย่างนั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว
อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ
เป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า
เมื่อไม่รีบร้อน จึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด
ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=11459&w=%A4%D3%BE%D9%B4%CA%D2%C1%D1%AD
วิเคราะห์ต่อ
การสนทนาในคลิปยืดยาว ต่อมา คู่สนทนายังสงสัยอยู่ จึงถามเกี่ยวกับคำว่า อานาปานสติ ซ้ำเป็นครั้งที่ 4
คู่สนทนาถาม > 23.31:.พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอนเรื่องอานาปานสติเหรอคะ
เวลา 23.47 > สุจินต์ตอบ :สอนเรื่องเห็น หรือเปล่าคะ......
***
วิเคราะห์
แทนที่สุจินต์จะตอบตรง ๆ ว่าพระพุทธเจ้าสอนอานาปานสติหรือไม่ (สอนหรือไม่สอนก็ว่าไปตอบไป)
แต่ สุจินต์ใช้สิ่งที่ปลูกฝังรากลึกอยู่ในอนุสัยมานาน >> ปัดตก คำถามของคู่สนทนา
พร้อมกับเฉไฉตามวิธีที่ตนถนัด ถามกลับไปว่า สอนเรื่องเห็น หรือเปล่าคะ ?
ลูกศิษย์สุจินต์ เคยสงสัยไหมว่า คำถาม คำพูด ที่ สุจินต์ พูดอธิบายกับสตรีในภาพข้างบน
ก็มีบางคำที่ไม่ตรง (ไม่มี) ในพระไตรปิฎกเป๊ะ ๆ
ตัวอย่าง เช่น
คำว่า "สอนเรื่องเห็น" ไม่พบในฉบับ มจร และ ฉบับหลวง
ผมไม่แน่ใจนะครับว่า ในแบับอื่นมีหรือเปล่า (ใครมีเวลาอยากไปค้นหาก็ไปค้นเอาเองนะครับ)
สอนเรื่องเห็น คำนี้ จะมีในพระไตรไปฎกตรง ๆ เป๊ะ หรือไม่ก็ตาม
ผู้รวบรวม มีความเข้าใจว่า ผู้ฟังที่พอจะเข้าใจกระบวนธรรมก็คงจะพอเข้าใจได้ว่า
> ผู้พูดต้องการสื่อความหมาย (ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้) เพื่อให้เข้าใจ พระพุทธเจ้าสอน เรื่อง
เห็นรูป ทางตา (อายตนะ) โดยจักขุวิญญาณ ธรรมเหล่านี้ เห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป (ไม่ขอลงรายละเอียด)
ผู้ฟัง คู่สนทนาจะได้ไม่ต้องมาตีสำบัดสำนวนว่า คำว่า สอนเรื่องเห็น ก็ไม่มีในพระไตรปิฎก (ฮา)...(ฮา)
[การใช้การสืบค้นคำเอามาข่มกันโดยไม่ดูความหมาย ตัวอย่างเคยดูคลิปสำนักคลอง 10 ปฏิเสธคำว่า 84000 ฯลฯ แล้วก็เอามากดข่มคู่สนทนา]
ผู้รวบรวมจะสื่อความหมายว่า คำพูดบางคำ ละไว้ คำพูดบางคำอธิบายโดยพิสดาร แต่ถ้ามีความหมายตรงกัน ก็ควรอนุโลม
ถ้าความหมายไม่ตรงหรือผิดไป ก็ควรทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนที่จะไปพูดเรื่องต่อไป
บ่อยครั้ง ที่สุจินต์ทักท้วงคู่สนทนาในระหว่างสนทนา ว่า ใช้คำผิด ว่า "เรา" อยู่ // "เรา" ไปปฏิบัติก็ผิดไปแล้ว (ผมฟังผิดหรือเปล่าน้อ...)
เวลาที่สนทนากันด้วยภาษาสามัญของชาวโลก ก็ใช้สรรพนามแทนกลุ่ม พวกท่าน พวกเรา ฉัน เธอ...
พระตถาคต ก็ใช้คำเหล่านี้บ่อย ๆ
แล้วการพูดแบบนี้มันผิดยังไง สำหรับการพูดแบบสามัญ ?
ถ้าผู้พูด คู่สนทนาเขาเข้าใจว่า มีตัวมีตน มีตัวเรา แบบสัสสตทิฏฐิ อย่างนี้สิ จึงควรทักท้วงว่าเขามีความเห็นผิด
หรือว่า จะให้ต้องพูดอย่างนี้หรือครับ
vvv
วันนี้ (ซึ่งเวลาก็ไม่มีอยู่จริง) พวกหมู่สัตว์สมมติรวมถึงผมด้วย
อันว่าสัตว์สมมติพวกนี้ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ และมีวิญญาณมาอิงอาศัยตามเหตุปัจจัย นามสมมติ A B C ...
พวกสัตว์สมมติเหล่านี้มีหู ตา จมูก...ได้พากันไปใช้หูอันมีโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงผ่านหู จากการเปล่งเสียงออกจากรูทวารทางช่องปาก
จากสัตว์สมมติเพศสตรีที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีวิญญาณมาอิงอาศัยตามเหตุปัจจัยชื่อสมมติว่าสุจินต์
[คำพูดข้างบนนี้ รวมเป็นภาษาพูดได้ว่า วันนี้พวกเราไปฟังธรรมซึ่งมีการแสดง(พูด)โดยสุจินต์]
เอ่อ....ถ้าพูดสื่อสารกันเป็นปรมัตถ์ คงประหลาดไม่น้อย
ถ้าพูดความหมายผิด โดยคู่สนทนาคนใดคนหนึ่งคิดว่าตนเองมีความรู้ถูกต้องตรงจริงยิ่งกว่า ก็ควรชี้แจงไปว่า
> ควรใช้คำสื่อความหมายอย่างนี้ ๆ คำที่คู่สนทนาใช้อยู่นั้นไม่ตรงอย่างไร
> แต่ถ้าคู่สนทนา ความรู้น้อยกว่า (หรือาจรู้มากกว่าแต่เพิกเฉย) ก็จะเกิดอาการแบบนี้ นะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=WqSiqaq0OYo
ความหมายของทาน (สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ท่านรวบรวมไว้ให้ดังนี้ครับ)
ทาน การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;
ทาน ๒ คือ ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;
ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ
๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
(ข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม, ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐, ข้อ ๑ ในสังคหวัตถุ ๔, ข้อ ๑ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)
อ้างอิง https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D2%B9&original=1#find7
ความหมายของสละ (จาคะ)
จาคะ การสละ, การให้ปัน, การเสียสละ, การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ; การสละกิเลส
(ข้อ ๔ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๓ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๖ ในอริยทรัพย์ ๗)
อ้างอิง https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A8%D2%A4%D0&original=1
ผู้ศึกษาธรรม ฟังคลิป และ ดูภาพประกอบ พิจารณาว่า สุจินต์ให้ความหมายของคำว่าทาน ถูกต้องหรือไม่
คำเตือน สุจินต์ : ควรศึกษาทุกคำสอนของพระตถาคตด้วยความเคารพ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่คิดเอง นะครับ
ผู้รวบรวมมีความรู้น้อย ท่านที่มีความรู้ในธรรมโปรดชี้แนะด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับผม