วิหารธรรม
ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ. เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไร ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้.
ภิกษุทั้งหลาย แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ(กิเลส)เพราะไม่มีอุปาทานคือไม่มีความยึดมั่น.
เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราจงหลุดพ้นจากกิเลส(อาสวะ)เพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว. ภิกษุจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี. อ้างอิง ไตร. บาลีสยามรัฐ สํ. ๑๙ / ๓๙๙- / ๑๓๒๔-. พุทธ. ๙๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพพาชก เดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ ว่า ท่านผู้มีอายุ ! พระสมณะโคดมทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรมไหน ? เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบกับพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ว่า ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานาสติสมาธิแล ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติอยู่ หายใจเข้า มีสติอยู่, เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ทั่วถึง ว่าหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ทั่วถึง ว่า หายใจออกยาว ดังนี้..........ฯลฯ........ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใด โดยชอบ ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหารก็ดี, พึงกล่าวโดยชอบซึ่งอานาปานสตินั้น ว่า เป็น อริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ยังเป็นเสขะคือผู้กำลังศึกษา มีวัตถุประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคักเขมะธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่, อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็นอรหันขีณาสพ มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว มีภาระหนักปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพอันสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ด้วยปัญญาโดยชอบ. อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้วก็ยังเป็นไปเพื่อการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม คืออยู่เป็นสุขในธรรมอันเป็นปัจจุบันด้วย เพื่อสติสัมปชัญญะอยู่ด้วย. อ้างอิง ไตร. มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๔๑๒ / ๑๓๖๔ พุทธ. ๓๕๙.
อานาปานสติสมาธิ คือที่พึ่งของบุคคล
ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ. เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไร ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้.
ภิกษุทั้งหลาย แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ(กิเลส)เพราะไม่มีอุปาทานคือไม่มีความยึดมั่น.
เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราจงหลุดพ้นจากกิเลส(อาสวะ)เพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว. ภิกษุจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี. อ้างอิง ไตร. บาลีสยามรัฐ สํ. ๑๙ / ๓๙๙- / ๑๓๒๔-. พุทธ. ๙๘.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพพาชก เดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ ว่า ท่านผู้มีอายุ ! พระสมณะโคดมทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรมไหน ? เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบกับพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ว่า ท่านผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาส่วนมากด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานาสติสมาธิแล ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติอยู่ หายใจเข้า มีสติอยู่, เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ทั่วถึง ว่าหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ทั่วถึง ว่า หายใจออกยาว ดังนี้..........ฯลฯ........ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใด โดยชอบ ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหารก็ดี, พึงกล่าวโดยชอบซึ่งอานาปานสตินั้น ว่า เป็น อริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ยังเป็นเสขะคือผู้กำลังศึกษา มีวัตถุประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคักเขมะธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่, อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็นอรหันขีณาสพ มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว มีภาระหนักปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพอันสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ด้วยปัญญาโดยชอบ. อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญทำให้มากแล้วก็ยังเป็นไปเพื่อการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม คืออยู่เป็นสุขในธรรมอันเป็นปัจจุบันด้วย เพื่อสติสัมปชัญญะอยู่ด้วย. อ้างอิง ไตร. มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๔๑๒ / ๑๓๖๔ พุทธ. ๓๕๙.