★★★พระพุทธองค์ทรงละทิ้งฌานระดับเนวสัญญาฯของดาบสแล้วทรงทำอานาปานสติภาวนา(สติปัฎฐาน4)ซึ่งเป็นสมาธิของพระองค์เองจนตรัสรู้☆☆

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
--------------------------------------------------------------------------
.......อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อนสพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้งอาตมภาพไว้ในตำแหน่งอาจารย์
และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง.
อาตมภาพ มีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
สนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงให้อุปบัติใน
เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป....

.................เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว
สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ
ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย. .....
---------------------------------------------------------------------
☆☆นี่ครับสมาธิที่พระองค์ทรงทำเพื่อการตรัสรู้☆☆
----------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ทีปสูตร
อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ
             [๑๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก........................
.......... [๑๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก
จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.......ภิกษุ ท. ! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใดโดยชอบ ว่าเป็น อริยวิหาร ก็ดีพรหมวิหาร ก็ดี ตถาคตวิหาร ก็ดี, เขาพึงกล่าวโดยชอบ ซึ่ง อานาปานสติสมาธิ นั้น ว่าเป็น อริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร. ...........
________________________________
- บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๒/๑๓๖๔. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่อิจฉานังคลไพรสณฑ์ ใกล้เมือง อิจฉานังคละ. — ที่ พุทธวจนสถาบันเชียงราย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่