***ข้อดีของการปฏิบัติ อานาปานสติ ***(ข้อมูลจากหนังสือพุทธธรรมฉบับปรับขยาย) ตอนที่ 8 พระโพธิสัตว์ทรงใช้อานาปานสติ

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ตอนที่แล้วตอนที่ 7 เพื่อสิ้นอาสวะและทิฏฐธรรมสุขวิหาร

http://ppantip.com/topic/30768724

อ้างอิงหน้า814 หนังสือพุทธธรรมฉบับปรับขยาย (เชิญชวนส่งต่อในโซเชียลเน็ตเวิค เพื่อเป็นธรรมทานครับ ขออนุโมทนาทุกๆท่าน)

http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhadhamma_extended_edition.pdf

-------------------------


ข้อมูลพระสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอานาปานสติจำนวนหนึ่ง

http://ppantip.com/topic/30569437

---------------------------

เริ่มตอนที่ 8 พระโพธิสัตว์ใช้อานาปานสติ



เลขอ้างอิง 1623




อ่านพระไตรปิฎกจากเลขอ้างอิง 1623

  สํ.ม. 19/1329-1330/401

http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/1329/401

[๑๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก
จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/1330/401

[๑๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า แม้กายของเรา
ไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือ
มั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.



---------------


ครั้งที่พระโพธิสัตว์ยังเป็นพระกุมาร ประทับใต้ร้มต้นหว้า ในคราวที่พุทธบิดาประกอบพิธีแรกนา
ใน ม.มู.12/425/457

http://www.84000.org/tipitaka/read/?12/425/457

[๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป. แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ
ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย
ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว
สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ
ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่