เหตุการณ์ที่เป็นข้อเตือนใจ ภิกษุ ว่าควรอยู่ในแนวทางโลกุตรธรรม ไม่ควรไปยุ่งเรื่องโลกิยธรรม ชีวิตก็จะไม่ยุ่งหนอ

เหตุการณ์ เรื่อง ดิ ไอคอน ที่ไปเกี่ยวกับพระภิกษุ แล้วเกิดความวุ่นวาย เป็นโลกวัชชะ เพราะไปพูดเยอะ ในเรื่องธุรกิจทางโลก เรียกว่า มีปัญญาแต่ขาด สติ เป็นข้อเตือนใจทั้ง ภิกษุ นักธุรกิจ นักลงทุน 

                ธรรมะขององค์ตถาคต มุ่งเน้นให้ภิกษุปฏิบัติตนและสอนธรรม ไม่ควรไปสอนเรื่องทางโลก ที่ตนไม่ชำนาญ รู้ไม่เท่าทัน สุดท้าย เมื่อมีผลประโยชน์ จะทางตรงหรือทางอ้อม ก็มีข้อกังขาจากสังคม 
                  ลูกศิษย์ลูกหาบริวาร ก็เชียร์ปกป้อง ผู้ไม่เกี่ยวข้องบางกลุ่มก็ตำหนิติติง 
                           เมื่อรู้ว่าตนผิดหรือพลาด มีผู้กล่าวติติง ก็แสดงตน ยอมรับอาบัติ ความผิดทางธรรมก็ไม่ถึงปาราชิก ความผิดทางโลกก็อาจพิสูจน์ว่าขาดเจตนา ด้วยเหตุรู้ไม่เท่าทันกลอุบายทางธุรกิจ 
                         เหตุการณ์นี้ เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เหล่านักบวช ว่าต่อไป การไปเทศนาสอนธรรม ในหน่วยงานธุรกิจ ควรสอนเรื่องใด 
 
         เพราะไม่เช่นนั้น 
                  อาจมีพฤติกรรม ล่อแหลมต่อ การประจบคฤหัสถ์ (คฤหัสถ์ คือ ผู้ไม่บวช) โดย มุ่งหมายถึงการกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะควรประการต่างๆ กล่าวคือ ให้สิ่งของ ให้ยา ตลอดจนถึงบริหารรับส่งข่าวสารให้กับคฤหัสถ์ เป็นต้น กระทำการเอาอกเอาใจคฤหัสถ์ ซึ่งทำให้ตนเองเป็นคนสำคัญ เป็นที่รัก ทำให้คฤหัสถ์หันมาให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าพระรัตนตรัย เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่ สมณสารูป
                    มีกล่าวห้ามใน สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ 13 ภิกษุประทุษร้ายตระกูลคือประจบคฤหัสถ์

            การไปกล่าวอ้างถึงพระภิกษุรูปอื่นว่าต่างก็มีการกระทำเยี่ยงตน ยิ่งไม่สมควร เพราะพฤติกรรมแตกต่างกัน 
ภิกษุรับกิจนิมนต์ได้ สอนธรรมได้ แต่อย่าไปสอนเรื่องวงจรธุรกิจ อย่าไปโน้มน้าวใครให้เข้ามาในวงจรธุรกิจ 
         มีแต่ต้องเตือนให้ใช้สติ สติและปัญญา พิจารณาว่า เรื่องจริง รวยข้ามวัน รวยทันทีนั้น มีอยู่จริงหรือไม่ ? 
                              สอนให้ไม่ประมาท ในการลงทุน การค้าขาย การออม การรักษาคำพูด การไม่คดโกง  ฯลฯ 
                                         สอนให้รู้ว่า ความโลภ ความฟุ้งเฟ้อ นำมาซึ่งหายนะของชีวิต ซึ่งจะรวยไม่จริง เพราะประมาทในการดำรงค์ตน 
                              ให้เรื่องที่สอน ร่วมสมัย แต่อยู่ในพื้นที่ (Area) ของโลกุตรธรรม 

                    “ดูก่อนกิมพิละ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพในการพระศาสดา ไม่เคารพในพระธรรม ไม่เคารพในพระสงฆ์ ไม่เคารพในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงในกันและกัน นี้แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน หลังจากตถาคตปรินิพพานแล้ว”
นี่คือ พุทธพจน์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระกิมพิละ ผู้ที่ได้ทูลถามพระองค์เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อม
                                   ภิกษุ ต้องสำรวมในกายกรรม มโนกรรม วจีกรรม
                                   สำรวมในการกระทำ สำรวมใจ สำรวมการใช้วาจา
                       หากภิกษุไม่ตระหนักในเรื่องนี้ ย่อมเป็นเหตุ นำไปสู่ความเสื่อมของพุทธศาสนา ภิกษุไม่ดำรงค์ตนอยู่ในศีล

ทำให้นึกถึง ‘เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา’ ... อ่าน ต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/history/article_109049
                          ‘เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา   จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล
                             สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน   มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก
                             ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว   คนจะชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์
                             ลูกศิษย์จะสู้ครูพัก   จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นผู้น้อย
                             ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ   นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
                             กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย   น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
                             ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า   เพราะจันทานมันเข้ามาเสพสม    ฯลฯ’ 

                เมื่อ   ภิกษุไม่ดำรงค์ตนอยู่ในศีล ในจริยวัตรที่เหมาะแก่สมณสารูป ไปเยียบย่างก้าวเข้าไปในพื้นที่ ของโลกียธรรม ก็อันตราย 
        ถมฺภภิกขุ แปลว่า ภิกษุผู้ดื้อรั้น มีฐิทิมาก  (หากผมแปลผิด ก็ขอท่านผู้รู้ให้ข้อแนะนำด้วยนะครับ) 

                  พระธรรมกถึก คือ ผู้กล่าวสอนธรรม ผู้แสดงธรรม นักเทศน์ มีองค์ประกอบ 5 ประการ ประกอบด้วย
        1. แสดงธรรมไปตามลำดับ ไม่ตัดลัดใจความ
        2. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
        3. ตั้งเมตตาจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์ แก่ผู้ฟัง
        4. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
        5. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่นคือไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น  
                    พระปลัดคมศักด์และคณะ  ศึกษาว่า รูปแบบการสอนของตถาคตครบทั้ง 4 ประการได้แก่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
         1) สันทัสสนา คือ การอธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง
         2) สมาทปนา คือ การชักจูงใจให้เห็นจริง
         3) สมุตเตชนา คือ การเร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจ
         4) สัมปหังสนา คือ การชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง
 
                   ประเด็นสำคัญ คือ ภิษุควรสอนธรรม ในวิถีแห่ง มรรค 8 ประการ เช่น สัมมาชีพ คือ ประกอบอาชีพโดยชอบ สอนให้สอดคล้องกับหลักความพอเพียง และทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ ไม่สุดโต่ง ไม่ควรสอนลงลึก ก้าวไปในเส้นทาง แห่ง" โลกิยธรรม " ซึ่งเป็น เรื่องของทางโลก เหตุเพราะไม่ใช่หน้าที่ของสมณะ
                 การสอนให้กับบุคลากรทางธุรกิจ ภิกษุควรสอนเตือนให้บุคคลเหล่านี้ มีจริยธรรมทางธุรกิจ สอนให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ตามแนวคิหิปฏิบัติ (ธรรมของผู้ครองเรือน) ที่พระพุทธองค์วางแนวทางไว้ให้
                  สอนในแนวทางโลกุตรธรรม ประยุกต์ให้ร่วมสมัย สอนเตือนให้ โยมทั้งหลาย ดำเนินทธุรกิจอย่างมีธรรม คือ ไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบ มีหิริ โอตัปปะ อยู่ในศีลในธรรม ไม่ค้ากำไรเกินควร
                                    ไม่จำเป็นต้องรวยเร็วข้ามวัน

          ภิกษุ ผู้เป็นพระธรรมกถึก ผู้เป็นพระเถระ ไม่ควรสอนธรรม โดยกล่าวอ้างว่า หยอกเชิงกระแนะกระแหนผู้ฟังธรรม ไม่ควรใช้คำเทศน์ส่อเสียด เพราะจะยิ่ง อาบัติซ้ำซาก
           เป็น ถมฺภภิกขุ ผู้ดื้อรั้น กาลต่อไป ก็จะเป็นภิกษุผู้ว่ายากสอนยาก ตาม ที่บัญญัติใน สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ 12

             ใครว่ากล่าวตักเตือนได้ใครว่าไม่ฟัง แม้จะมีผู้หวังดีเตือนสติให้สละความประพฤติเช่นนั้นก็ยังตอบโต้ไม่ยอมสละ แสดงถึงนิสัยว่าขาดความอดทน ไม่รับอนุศาสน์คำตักเตือนโดยเคารพ เป็นผู้หัวดื้อ เต็มไปด้วยทิฐิมานะสิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้เพื่อให้ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ยอมรับฟังคำตักเตือนสั่งสอนของผู้หวังดีมีความอดทนต่อถ้อยคำว่ากล่าว แสดงอัธยาศัยเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หัวดื้อ ไม่ถือทิฐิมานะ

              "" ภิกษุ ควรใช้ ธรรมเป็นอาภรณ์ เครื่องป้องกัน อย่าใช้เหล่าบริวารเป็นเครื่องป้องกัน ""
            ในอดีต พระอานนท์ ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระภิกษุสาวกทั้งหลาย 5 ประการ คือ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
ครั้งเมื่อ สังคายนา ประไตรปิฏกครั้งแรก โดยสงฆ์ 500 รูป พระอานนท์ โดนกล่าวอาบัติ แต่ผู้วิจัยมีศึกษาเพิ่มว่า เรื่อง การปรับอาบัติพระอานนท์ (แม่ชีกฤษณา)  Ref; https://www.mcu.ac.th/article/detail/438

             มีประโยคว่า " อิทมฺปิ เต อาวุโส อานนฺท ทุกฺกฏํ " ความหมายว่า " ท่านอานนท์เรื่องนี้ท่านทำไม่ดี อันพระเถระทั้งหลาย เพียงแต่จะกล่าวตำหนิว่า เรื่องนี้ท่านทำไม่ดี " มิได้กล่าวหมายถึงอาบัติ แต่ถึงกระนั้น พระอานนท์ ........
              พระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าตระหนักว่า มาตุคามเหล่านี้อย่ารออยู่จนถึงเวลาวิกาล จึงให้พวกเธอถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน ข้าพเจ้าไม่เห็นเรื่องที่ให้มาตุคามถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อนนั้นว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ดี แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยอมแสดงสิ่งที่ทำไม่ดีนั้น”

              จะเห็นชัดว่า พระอานนท์มีเหตุผล ที่จะชี้แจง แต่เมื่อท่านได้ชี้แจงแล้ว ท่านก็ไม่โยนความผิดให้ใคร ไม่ส่อเสียดใคร ไม่อ้างอะไรต่อ แล้วอ่อนน้อมที่จะรับเชื่อฟังมหาสมาคม ไม่ดื้อรั้น ไม่สอนยาก
               ขนาดพระผู้เป็น พุทธอุปัฏฐาก ณ เวลานั้น ท่านเป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ท่านยังไม่หลงตน เป็นผู้อ่อนน้อม เป็นพุทธบุตรอย่างแท้จริง แล้วภิษุในปัจจุบันนี้ จะไม่เห็นเป็นแบบอย่างหรือ

      น่าเวทนายิ่งนัก 
ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ 
ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมเป็นที่เคารพบูชาท่ามกลางชุมชน บั้นปลายย่อมมีสุคติ
(ขุททกนิกาย ชาดก วีสตินิยาตร)
                                                                                                                                       กรรม  

  หมายเหตุ ; กระทู้นี้ เน้นที่เป็นเนื้อหาที่ให้ข้อคิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ควรยึดหลักธรรมของพระพุทธองค์เป็นสรณะ
                    ตามวิถีแห่งเถรวาส ไม่เน้นที่อาจาริยวาส
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่