(ที่มา:มติชนรายวัน 27 ส.ค.2556)
พระภิกษุชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาบวชในสายหลวงปู่ชา และใช้ชีวิตในร่มเงาพระพุทธศาสนามายาวนาน เป็นอาจารย์ที่มีศิษย์จำนวนมาก เมื่อถึงคราลาสิกขา ย่อมสร้างความสนใจใคร่รู้
เมื่อไม่รู้ในเวลาอันเหมาะสมจากแหล่งข่าวที่เหมาะสม และต่อมาก็รู้ในลักษณะที่เกินคาดหมาย ผ่านสื่อสังคมอิเล็กทรอนิกส์ กระแสวิพากษ์วิจารณ์จึงมีมากมาย
สิ่งที่น่าจะได้มาจากกรณีนี้คือ (1) บทเรียนว่าด้วยการบริหารจัดการข่าว (2) ได้ทดสอบความ "แม่น" ในพระธรรมวินัย ของแต่ละคน
วัดป่าสุนันทาราม ออกข่าวเรื่องพระภิกษุมิตซูโอะ คเวสโก ลาสิกขา โดยทางวัดกล่าวจะแจ้งเหตุผลในภายหลัง แต่ก็เงียบหายไร้ข่าวอย่างเป็นทางการจากวัดหรือภิกษุในข่าว
ความเงียบในเรื่องของภิกษุผู้อยู่ในสถานะเป็นอาจารย์มีลูกศิษย์ทั่วไป และเขียนหนังสือที่แจกกันอย่างแพร่หลาย ย่อมสร้างข่าวลือ และข่าวลือไม่เคยเป็นคุณต่อใคร
นี่เป็นบทเรียนสำคัญด้านประชาสัมพันธ์ ที่ทราบกันดีแต่ก็พลาดกันครั้งแล้วครั้งเล่า
ข่าวมาแพร่ทางสื่อด้วยภาพหวานแหววของฆราวาสมิตซูโอะ กับสตรีนางหนึ่ง พร้อมกับข้อความอันแสดงถึงความสนิทเสน่หา ไปในทำนองที่ว่า
"ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดจากคอกไป บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย" (มัธนะพาธา)
สานุศิษย์บางรายผิดหวัง บางรายรับว่าเป็นกรรมเก่าที่ผูกพันกันมา บางรายสรุปว่า "ดีกว่าทำในผ้าเหลือง" และบางรายเสนอด้วยว่า "ถ้าไม่พอใจเป็นผู้ครองเรือน จะบวชใหม่ก็ได้"
ทั้งหมดนี้เกิดเป็นคำถามหลายคำถามที่ต้องหาคำตอบ
เรื่องกรรมเก่า
ถ้าหากเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เราต้องเชื่อว่า กรรมในปัจจุบันสำคัญ มิใช่ว่าทุกอย่างในวันนี้เกิดจากกรรมเก่า (เป็นกรรมลิขิต แบบพรหมลิขิต) ถ้าเชื่อเช่นนั้น มนุษย์เราคงไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ในทางธรรม
กรณีที่เกิดขึ้นตอบได้เพียงว่า ในชาตินี้พระภิกษุผู้ออกบวชด้วยมุ่งหวังบรรลุโลกุตรธรรม ได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตหวนกลับไปหาโลกียวิสัยแล้ว
ถ้าจะโทษกรรมเก่า ก็ต้องบอกว่า นี่เป็นการพ่ายแพ้ต่อกรรมเก่า
กรณีการทำผิดหรือไม่ผิดพระวินัย และการบวชใหม่ ขอทวนพระวินัยกันก่อน
ถ้าเชื่อได้แน่ว่า ไม่ได้เสพสังวาสกับสตรีระหว่างอยู่ในผ้าเหลือง ก็ไม่ผิดวินัยถึงปาราชิก สามารถบวชใหม่ได้
แต่ถ้าผิดวินัยข้อนี้ ถือว่าพ่ายแพ้ต่อโลกียวิสัย ขาดจากความเป็นภิกษุ แม้ไม่สึกก็ไม่ใช่พระอีกต่อไป จะบวชอีกได้หรือ
ความจริงในเรื่องนี้มีคนอย่างน้อยที่สุดก็เพียง 2 คนเท่านั้นที่รู้
พระวินัยข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสตรีมีอีกมาก เพื่อป้องกันผู้อยู่ในเพศบรรพชิตมิให้ตกลงไปในบ่วงเสน่หา ที่ร้อยรัดสัตว์โลกไว้ในสังสารวัฏ เช่น
การลูบคลำร่างกายหญิงด้วยความจงใจ และพูดเกี้ยวหญิง ผิดในระดับสังฆาทิเสส ต้องสารภาพต่อภิกษุอื่น และอยู่ปริวาสกรรมตามที่ภิกษุร่วมกันกำหนด
นั่งในที่ลับตา หรือลับหู สองต่อสองกับหญิง เป็นพระวินัยระดับอนิยตะ ความผิดไม่ชัดเจน ต้องสอบสวนก่อนตัดสินว่า เป็นปาราชิก สังฆาทิเสส หรืออาบัติระดับปาจิตตีย์ (คือแสดงอาบัติ และจะไม่ทำอีก)
ส่วนพระวินัยระดับปาจิตตีย์ ที่ละเมิดแล้วต้องแสดงอาบัติ เกี่ยวกับสตรี (รวมภิกษุณี) มีอีกหลายข้อ เช่น
ห้ามสอนภิกษุณีตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว
ห้ามเข้าไปสอนถึงที่อยู่เว้นแต่พระภิกษุณีเจ็บป่วย (การอ้างเจ็บป่วย ต้องการภิกษุมาเทศน์โปรดถึงในห้อง สองต่อสอง สึกพระมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล)
ห้ามเดินทางไกลร่วมกับภิกษุณี เว้นแต่ทางมีอันตราย ห้ามลงเรือ (คงหมายถึงโดยสารยานพาหนะ) ร่วมกับภิกษุณี เว้นแต่ข้ามฟาก (คงหมายถึงยานพาหนะรับจ้างเป็นสาธารณะ)
ห้ามชวนหญิงเดินทางร่วมกัน
ห้ามพูดสองต่อสองกับหญิงเกิน 6 คำ เว้นแต่มีผู้ชายรู้เดียงสาอยู่ด้วย
ห้ามอยู่ในห้องสองต่อสองกับหญิง
ห้ามอยู่ในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิงแม้เป็นที่แจ้ง (ที่ลับหูคือพูดกันคนอื่นไม่ได้ยิน)
การที่พระภิกษุรูปหนึ่งจะรักใคร่เสน่หากับใครนั้น หากว่าไม่ได้เคยผิดพระวินัยข้ออื่นๆ มาก่อน ก็นับว่าได้ประพฤติตนเคร่งครัดดี
แต่ถ้าเคยผิดแล้วไม่ได้แสดงอาบัติ ก็ต้องตั้งข้อกังขา
ถ้าแสดงอาบัติไว้แล้ว และเกิดขึ้นบ่อยกับสตรีคนเดียวกัน นับว่าคนในสำนักน่าจะระแคะระคายมาบ้างแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการวางท่าทีต่อสตรีไว้ในมหาปรินิพพานสูตร (ข้อ 132) ดังนี้
พระอานนท์ถาม "พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติในมาตุคามอย่างไร"
พระพุทธเจ้าตอบ
"ไม่ดู อานนท์"
"เมื่อมีการดู จะพึงปฏิบัติอย่างไร"
"ไม่พูดด้วย อานนท์"
"เมื่อมีการพูด จะพึงปฏิบัติอย่างไร"
"พึงตั้งสติไว้ อานนท์"
ควรที่เหล่าสตรีที่ต้องการรักษาภิกษุที่ตั้งใจครองเพศบรรพชิต ให้ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ตลอดชีวิต พึงระมัดระวังตนเองด้วย เช่น ไม่ไปประจ๋อประแจ๋ ใกล้ชิดสนิทสนมกับภิกษุให้มากนัก
ควรระลึกไว้เสมอว่า พระภิกษุที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์อยู่นั้น แท้ที่จริงท่านก็คือปุถุชนแบบเราๆ นี่เอง ยังวอกแวก ฟุ้งซ่านด้วยตัณหาราคะอันละได้ยากอยู่เช่นกัน
ที่แตกต่างกับเราๆ ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็ตรงที่ท่านได้แสดงตนว่า ท่านต้องการปฏิบัติตนเพื่อความหลุดพ้น ก็ควรที่จะช่วยท่านให้สมความตั้งใจของท่าน
พระวินัยของภิกษุจึงเป็นสิ่งที่อุบาสก อุบาสิกา และเหล่าฆราวาสควรจะรู้ด้วย เพื่อกำกับตนและกำกับดูแลภิกษุไปพร้อมๆ กัน
บทความจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377601136&grpid=01&catid=&subcatid=
กรณีมิตซูโอะ คเวสโก โดย นวพร เรืองสกุล
(ที่มา:มติชนรายวัน 27 ส.ค.2556)
พระภิกษุชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาบวชในสายหลวงปู่ชา และใช้ชีวิตในร่มเงาพระพุทธศาสนามายาวนาน เป็นอาจารย์ที่มีศิษย์จำนวนมาก เมื่อถึงคราลาสิกขา ย่อมสร้างความสนใจใคร่รู้
เมื่อไม่รู้ในเวลาอันเหมาะสมจากแหล่งข่าวที่เหมาะสม และต่อมาก็รู้ในลักษณะที่เกินคาดหมาย ผ่านสื่อสังคมอิเล็กทรอนิกส์ กระแสวิพากษ์วิจารณ์จึงมีมากมาย
สิ่งที่น่าจะได้มาจากกรณีนี้คือ (1) บทเรียนว่าด้วยการบริหารจัดการข่าว (2) ได้ทดสอบความ "แม่น" ในพระธรรมวินัย ของแต่ละคน
วัดป่าสุนันทาราม ออกข่าวเรื่องพระภิกษุมิตซูโอะ คเวสโก ลาสิกขา โดยทางวัดกล่าวจะแจ้งเหตุผลในภายหลัง แต่ก็เงียบหายไร้ข่าวอย่างเป็นทางการจากวัดหรือภิกษุในข่าว
ความเงียบในเรื่องของภิกษุผู้อยู่ในสถานะเป็นอาจารย์มีลูกศิษย์ทั่วไป และเขียนหนังสือที่แจกกันอย่างแพร่หลาย ย่อมสร้างข่าวลือ และข่าวลือไม่เคยเป็นคุณต่อใคร
นี่เป็นบทเรียนสำคัญด้านประชาสัมพันธ์ ที่ทราบกันดีแต่ก็พลาดกันครั้งแล้วครั้งเล่า
ข่าวมาแพร่ทางสื่อด้วยภาพหวานแหววของฆราวาสมิตซูโอะ กับสตรีนางหนึ่ง พร้อมกับข้อความอันแสดงถึงความสนิทเสน่หา ไปในทำนองที่ว่า
"ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดจากคอกไป บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย" (มัธนะพาธา)
สานุศิษย์บางรายผิดหวัง บางรายรับว่าเป็นกรรมเก่าที่ผูกพันกันมา บางรายสรุปว่า "ดีกว่าทำในผ้าเหลือง" และบางรายเสนอด้วยว่า "ถ้าไม่พอใจเป็นผู้ครองเรือน จะบวชใหม่ก็ได้"
ทั้งหมดนี้เกิดเป็นคำถามหลายคำถามที่ต้องหาคำตอบ
เรื่องกรรมเก่า
ถ้าหากเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เราต้องเชื่อว่า กรรมในปัจจุบันสำคัญ มิใช่ว่าทุกอย่างในวันนี้เกิดจากกรรมเก่า (เป็นกรรมลิขิต แบบพรหมลิขิต) ถ้าเชื่อเช่นนั้น มนุษย์เราคงไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ในทางธรรม
กรณีที่เกิดขึ้นตอบได้เพียงว่า ในชาตินี้พระภิกษุผู้ออกบวชด้วยมุ่งหวังบรรลุโลกุตรธรรม ได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตหวนกลับไปหาโลกียวิสัยแล้ว
ถ้าจะโทษกรรมเก่า ก็ต้องบอกว่า นี่เป็นการพ่ายแพ้ต่อกรรมเก่า
กรณีการทำผิดหรือไม่ผิดพระวินัย และการบวชใหม่ ขอทวนพระวินัยกันก่อน
ถ้าเชื่อได้แน่ว่า ไม่ได้เสพสังวาสกับสตรีระหว่างอยู่ในผ้าเหลือง ก็ไม่ผิดวินัยถึงปาราชิก สามารถบวชใหม่ได้
แต่ถ้าผิดวินัยข้อนี้ ถือว่าพ่ายแพ้ต่อโลกียวิสัย ขาดจากความเป็นภิกษุ แม้ไม่สึกก็ไม่ใช่พระอีกต่อไป จะบวชอีกได้หรือ
ความจริงในเรื่องนี้มีคนอย่างน้อยที่สุดก็เพียง 2 คนเท่านั้นที่รู้
พระวินัยข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสตรีมีอีกมาก เพื่อป้องกันผู้อยู่ในเพศบรรพชิตมิให้ตกลงไปในบ่วงเสน่หา ที่ร้อยรัดสัตว์โลกไว้ในสังสารวัฏ เช่น
การลูบคลำร่างกายหญิงด้วยความจงใจ และพูดเกี้ยวหญิง ผิดในระดับสังฆาทิเสส ต้องสารภาพต่อภิกษุอื่น และอยู่ปริวาสกรรมตามที่ภิกษุร่วมกันกำหนด
นั่งในที่ลับตา หรือลับหู สองต่อสองกับหญิง เป็นพระวินัยระดับอนิยตะ ความผิดไม่ชัดเจน ต้องสอบสวนก่อนตัดสินว่า เป็นปาราชิก สังฆาทิเสส หรืออาบัติระดับปาจิตตีย์ (คือแสดงอาบัติ และจะไม่ทำอีก)
ส่วนพระวินัยระดับปาจิตตีย์ ที่ละเมิดแล้วต้องแสดงอาบัติ เกี่ยวกับสตรี (รวมภิกษุณี) มีอีกหลายข้อ เช่น
ห้ามสอนภิกษุณีตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว
ห้ามเข้าไปสอนถึงที่อยู่เว้นแต่พระภิกษุณีเจ็บป่วย (การอ้างเจ็บป่วย ต้องการภิกษุมาเทศน์โปรดถึงในห้อง สองต่อสอง สึกพระมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล)
ห้ามเดินทางไกลร่วมกับภิกษุณี เว้นแต่ทางมีอันตราย ห้ามลงเรือ (คงหมายถึงโดยสารยานพาหนะ) ร่วมกับภิกษุณี เว้นแต่ข้ามฟาก (คงหมายถึงยานพาหนะรับจ้างเป็นสาธารณะ)
ห้ามชวนหญิงเดินทางร่วมกัน
ห้ามพูดสองต่อสองกับหญิงเกิน 6 คำ เว้นแต่มีผู้ชายรู้เดียงสาอยู่ด้วย
ห้ามอยู่ในห้องสองต่อสองกับหญิง
ห้ามอยู่ในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิงแม้เป็นที่แจ้ง (ที่ลับหูคือพูดกันคนอื่นไม่ได้ยิน)
การที่พระภิกษุรูปหนึ่งจะรักใคร่เสน่หากับใครนั้น หากว่าไม่ได้เคยผิดพระวินัยข้ออื่นๆ มาก่อน ก็นับว่าได้ประพฤติตนเคร่งครัดดี
แต่ถ้าเคยผิดแล้วไม่ได้แสดงอาบัติ ก็ต้องตั้งข้อกังขา
ถ้าแสดงอาบัติไว้แล้ว และเกิดขึ้นบ่อยกับสตรีคนเดียวกัน นับว่าคนในสำนักน่าจะระแคะระคายมาบ้างแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการวางท่าทีต่อสตรีไว้ในมหาปรินิพพานสูตร (ข้อ 132) ดังนี้
พระอานนท์ถาม "พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติในมาตุคามอย่างไร"
พระพุทธเจ้าตอบ
"ไม่ดู อานนท์"
"เมื่อมีการดู จะพึงปฏิบัติอย่างไร"
"ไม่พูดด้วย อานนท์"
"เมื่อมีการพูด จะพึงปฏิบัติอย่างไร"
"พึงตั้งสติไว้ อานนท์"
ควรที่เหล่าสตรีที่ต้องการรักษาภิกษุที่ตั้งใจครองเพศบรรพชิต ให้ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ตลอดชีวิต พึงระมัดระวังตนเองด้วย เช่น ไม่ไปประจ๋อประแจ๋ ใกล้ชิดสนิทสนมกับภิกษุให้มากนัก
ควรระลึกไว้เสมอว่า พระภิกษุที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์อยู่นั้น แท้ที่จริงท่านก็คือปุถุชนแบบเราๆ นี่เอง ยังวอกแวก ฟุ้งซ่านด้วยตัณหาราคะอันละได้ยากอยู่เช่นกัน
ที่แตกต่างกับเราๆ ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็ตรงที่ท่านได้แสดงตนว่า ท่านต้องการปฏิบัติตนเพื่อความหลุดพ้น ก็ควรที่จะช่วยท่านให้สมความตั้งใจของท่าน
พระวินัยของภิกษุจึงเป็นสิ่งที่อุบาสก อุบาสิกา และเหล่าฆราวาสควรจะรู้ด้วย เพื่อกำกับตนและกำกับดูแลภิกษุไปพร้อมๆ กัน
บทความจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377601136&grpid=01&catid=&subcatid=