#นิมฺมโลตอบโจทย์
#สีกาอาสาขับรถให้พระ #นั่งรถสองต่อสอง #ลับหูลับตา #อาบัติปาจิตตีย์
🤔🤔
#ถาม : การที่มีสีกาอาสาขับรถไปรับไปส่งพระ โดยนั่งไปในรถเพียงสองคน สีกาขับ พระนั่งเบาะหลัง จะสมควรไหมเจ้าคะ? คือโยมถูกบอกมาว่าไม่ให้พระนั่งรถมากับสีกาสองต่อสอง ต้องมีอีกคนนั่งมาด้วย ในกรณีนี้ พระต้องปลงอาบัติมั้ยคะ?
#ตอบ : ไม่สมควรนะ
การพระภิกษุนั่งอยู่กับโยมผู้หญิงในห้องโดยสารรถยนต์คันเดียวกัน โดยที่ไม่มีผู้ชายที่รู้ความอยู่เป็นเพื่อน ก็ไปตรงกับสิกขาบทว่าด้วย "การนั่งในที่ลับหู ลับตากับหญิงสองต่อสอง” ซึ่งมีพระบัญญัติดังนี้
“ ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง ไม่พอจะทำการได้ แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้
ก็ภิกษุใดนั่งบนอาสนะเช่นนั้น ในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง (หาก)อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์
อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น
อาบัตินี้ชื่อว่า "อนิยต”
คำว่า “สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง” หมายถึง สถานที่เปิดเผย คือ
ที่ไม่ได้ถูกกำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน เป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า “ไม่พอจะทำการได้” คือ ไม่อาจจะเสพเมถุนกันได้
คำว่า “แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้” คือ
อาจพูดเกี้ยวหญิงนั้นด้วยคำชั่วหยาบได้
ที่ชื่อว่า “มาตุคาม” ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้เข้าใจถ้อยคำ
คำว่า “สองต่อสอง” คือ มีเพียงภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า “ที่ลับ” มี ๒ ประเภท ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู
- ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้นใครๆ ก็ไม่สามารถเห็นได้
- ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
คำว่า “นั่ง” หมายรวมถึง
- เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้
- เมื่อภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้
- นั่งทั้งสองคน
- นอนทั้งสองคน
คำว่า “อุบาสิกาชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้” คือ หญิงผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ
ศาสนาดี
คำว่า “อนิยต” แปลว่า ไม่แน่นอน คือไม่แน่ว่าจะเป็นอาบัติสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์
ใจความก็คือ ภิกษุนั่งในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิง :-
- อุบาสิกาผู้ที่เชื่อถือได้ มาเห็นเข้า แล้วกล่าวว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่อลวงหญิงให้มาบำเรอตนด้วยกาม) หรืออาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ปรับอาบัติภิกษุนั้นตามนั้น
- หรือภิกษุนั้นรับสารภาพอย่างไรในอาบัติ ๒ อย่างนั้น ก็ปรับอาบัติตามนั้น
แม้ว่าจะไม่มีอุบาสิกาหรือใครมาเห็น ไม่มีใครมากล่าวหา อย่างน้อยก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์
ซึ่งมีพระบัญญัติดังนี้ว่า
“ก็ ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์”
แต่ถ้าระหว่างที่นั่งด้วยกันนั้น ภิกษุนั้นไปพูดเกี้ยวหญิงนั้น หรือพูดล่อให้บำเรอด้วยกาม อาบัติก็จะหนักขึ้น เป็นสังฆาทิเสส
ซึ่งมีพระบัญญัติดังนี้
“ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน พูดเกี้ยวมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว เป็นสังฆาทิเสส”
“ก็ ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ด้วยคำที่พาดพิงเมถุนว่า “น้องหญิง หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น การบำเรอนี้ของหญิงนั้นเป็นการบำเรอชั้นยอด” เป็นสังฆาทิเสส”
สรุปว่า อย่างน้อยก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์นะ
ต้องปลงอาบัตินะ
และมีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าจะมีเพื่อนมานั่งด้วยเพื่อป้องกันความเป็นสองต่อสอง
เพื่อนนั้นก็ต้องเป็นบุรุษผู้รู้ความด้วยนะ
เป็นเด็กชายแบเบาะไม่ได้ เป็นชายต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาก็ไม่ได้นะ
พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
ตอบโจทย์เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๓
Cr.
https://www.facebook.com/share/p/EWvN7S4aAjiZXjLH/?
#สีกาอาสาขับรถให้พระ #นั่งรถสองต่อสอง #ลับหูลับตา #อาบัติปาจิตตีย์
#นิมฺมโลตอบโจทย์
#สีกาอาสาขับรถให้พระ #นั่งรถสองต่อสอง #ลับหูลับตา #อาบัติปาจิตตีย์
🤔🤔
#ถาม : การที่มีสีกาอาสาขับรถไปรับไปส่งพระ โดยนั่งไปในรถเพียงสองคน สีกาขับ พระนั่งเบาะหลัง จะสมควรไหมเจ้าคะ? คือโยมถูกบอกมาว่าไม่ให้พระนั่งรถมากับสีกาสองต่อสอง ต้องมีอีกคนนั่งมาด้วย ในกรณีนี้ พระต้องปลงอาบัติมั้ยคะ?
#ตอบ : ไม่สมควรนะ
การพระภิกษุนั่งอยู่กับโยมผู้หญิงในห้องโดยสารรถยนต์คันเดียวกัน โดยที่ไม่มีผู้ชายที่รู้ความอยู่เป็นเพื่อน ก็ไปตรงกับสิกขาบทว่าด้วย "การนั่งในที่ลับหู ลับตากับหญิงสองต่อสอง” ซึ่งมีพระบัญญัติดังนี้
“ ก็ สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง ไม่พอจะทำการได้ แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้
ก็ภิกษุใดนั่งบนอาสนะเช่นนั้น ในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง (หาก)อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอาบัติ ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์
อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้นกล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย
อาบัตินั้น
อาบัตินี้ชื่อว่า "อนิยต”
คำว่า “สถานที่ไม่ใช่อาสนะที่กำบัง” หมายถึง สถานที่เปิดเผย คือ
ที่ไม่ได้ถูกกำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน เป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง
คำว่า “ไม่พอจะทำการได้” คือ ไม่อาจจะเสพเมถุนกันได้
คำว่า “แต่เป็นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้” คือ
อาจพูดเกี้ยวหญิงนั้นด้วยคำชั่วหยาบได้
ที่ชื่อว่า “มาตุคาม” ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้เข้าใจถ้อยคำ
คำว่า “สองต่อสอง” คือ มีเพียงภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า “ที่ลับ” มี ๒ ประเภท ได้แก่ ที่ลับตาและลับหู
- ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้นใครๆ ก็ไม่สามารถเห็นได้
- ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติได้
คำว่า “นั่ง” หมายรวมถึง
- เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้
- เมื่อภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้
- นั่งทั้งสองคน
- นอนทั้งสองคน
คำว่า “อุบาสิกาชื่อว่า มีวาจาเชื่อถือได้” คือ หญิงผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ
ศาสนาดี
คำว่า “อนิยต” แปลว่า ไม่แน่นอน คือไม่แน่ว่าจะเป็นอาบัติสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์
ใจความก็คือ ภิกษุนั่งในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิง :-
- อุบาสิกาผู้ที่เชื่อถือได้ มาเห็นเข้า แล้วกล่าวว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่อลวงหญิงให้มาบำเรอตนด้วยกาม) หรืออาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ปรับอาบัติภิกษุนั้นตามนั้น
- หรือภิกษุนั้นรับสารภาพอย่างไรในอาบัติ ๒ อย่างนั้น ก็ปรับอาบัติตามนั้น
แม้ว่าจะไม่มีอุบาสิกาหรือใครมาเห็น ไม่มีใครมากล่าวหา อย่างน้อยก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์
ซึ่งมีพระบัญญัติดังนี้ว่า
“ก็ ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์”
แต่ถ้าระหว่างที่นั่งด้วยกันนั้น ภิกษุนั้นไปพูดเกี้ยวหญิงนั้น หรือพูดล่อให้บำเรอด้วยกาม อาบัติก็จะหนักขึ้น เป็นสังฆาทิเสส
ซึ่งมีพระบัญญัติดังนี้
“ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน พูดเกี้ยวมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว เป็นสังฆาทิเสส”
“ก็ ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ด้วยคำที่พาดพิงเมถุนว่า “น้องหญิง หญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น การบำเรอนี้ของหญิงนั้นเป็นการบำเรอชั้นยอด” เป็นสังฆาทิเสส”
สรุปว่า อย่างน้อยก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์นะ
ต้องปลงอาบัตินะ
และมีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าจะมีเพื่อนมานั่งด้วยเพื่อป้องกันความเป็นสองต่อสอง
เพื่อนนั้นก็ต้องเป็นบุรุษผู้รู้ความด้วยนะ
เป็นเด็กชายแบเบาะไม่ได้ เป็นชายต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาก็ไม่ได้นะ
พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
ตอบโจทย์เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๓
Cr. https://www.facebook.com/share/p/EWvN7S4aAjiZXjLH/?