ตีความสิกขาบทอย่างนี้ถูกต้องไหม ? ถ้าจำเป็นต้องอยู่กับมาตุคามตามลำพัง 2 คนในที่ลับตา ให้ยืน จะไม่ต้องอาบัติ ?

สิกขาบท อนิยต
[๔๔๔] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง
อุบาสิกามีวาจาเชื่อถือได้ ได้เห็นภิกษุนั่งกับมาตุคามนั้นแล้วกล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์
ภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอาบัติ ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อีกอย่างหนึ่ง
อุบาสิกาผู้มีวาจาเชื่อถือได้นั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติใด
ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยอาบัตินั้น อาบัตินี้ชื่อว่า อนิยต

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=13261&w=%CD%B9%D4%C2%B5&option=2



ตีความสิกขาบทอย่างนี้ถูกต้องไหม ?

ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท อนิยตข้อนี้ ภิกษุปฏิญาณการนั่ง

ตีความว่าถ้าภิกษุนั้น ยืน ! ไม่ต้องอาบัติ (น่าจะรวมถึงนอนด้วย)

(นาทีที่ 42.39 - 43.13)
https://www.youtube.com/watch?v=Hd_pOHLxkZk

...ดังนั้นเท่ากับพุทธเจ้าเนี่ยะกำลังเตือนกับภิกขุว่า
"เฮ้ย ระวังน่ะ อันตรายน่ะ อันตรายกำลังมาถึงท่านแล้วน่ะ
ถ้ามีอุบาสิกาวาจาเชื่อถือได้มาโจทก์ท่านเนี่ยะ หลุดถึงปาราชิกเลยน่ะ แต่ถ้ายังไม่โจทก์ก็ยังไม่มีน่ะ" อย่างเนี่ยะ
แต่จะโดนอาบัติปาจิตตีย์ โดนไปก่อนละ อาบัติปาจิตตีย์ แต่ปลงได้น่ะ



แต่ถ้าเกิดจำเป็นล่ะ ต้องอยู่ในห้องอย่างนั้นทำยังไง ?

ยืน ไม่นั่ง !!

เห็นม่ะ มีทางแก้เยอะแยะ ไม่ใช่อาบัติง่ายเลย

อธิบายโดยพระอธิการคึกฤทธิ์  โสตฺถิผโล




เป็นการแก้ทาง แก้เผ็ด พระบัญญัติให้ตกไป
ไม่สามารถปรับอาบัติพระที่ยืนอยู่ในที่ลับตากับมาตุคาม แม้ว่าจะมีผู้โจทก์ก็ตาม
เพราะเมื่อภิกษุนั้นปฏิญาณการยืนก็เป็นอันว่าไม่มีอาบัติ
เรียกว่าตีความแบบมีทางหนีทีไล่ไม่จำเจ ให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่