1. เกริ่นนำ
บางคนบอกว่าทำจิตให้ว่าง เมื่อจิตว่างแล้วกิเลสจะหายไป
อรหันต์คือผู้ชำระจิตจนว่างแล้ว เหล่านี้เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง
2. ขันธ์ห้า
จิตคือวิญญาณ เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าไม่มีกิเลสในตัวเอง ขันธ์ห้าเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติที่มารวมกัน
การทำจิตให้ว่างเป็นสมาธิรูปแบบหนึ่ง ทำได้เพียงข่มกิเลสไว้ชั่วคราวเท่านั้น
อรหันต์ไม่ใช่ผู้มีจิตว่าง จิตของอรหันต์ยังคงรับรู้นามรูปตามเดิม
อรหันต์ไม่ได้ตาบอดหูดับ ไม่ได้ขาดอาหารตลอดชีวิต (รูป)
อรหันต์ไม่ได้ปราศจากความทุกข์กายจากโรคภัยไข้เจ็บ (เวทนา)
อรหันต์ไม่ได้ความจำเสื่อม จำชื่อตัวเองไม่ได้ (สัญญา)
อรหันต์ไม่ได้คิดไม่เป็น ยกตัวอย่างสอนธรรมะไม่ได้ (สังขาร)
3. การละกิเลส
การทำกิจให้พ้นทุกข์ต้องอาศัยขันธ์ห้า สังเกตไตรลักษณ์ของขันธ์ห้าจนเห็นตามความเป็นจริง
แต่ไม่ได้หมายความว่าขันธ์ห้ากำลังละกิเลสในตัวเอง
และไม่มีตัวเรานอกขันธ์ห้าที่กำลังละกิเลสแต่อย่างใด
มีเพียงการละกิเลส แต่ไม่มีผู้ละกิเลส
4. ความเห็นผิด
ความเห็นผิดเรื่องทำจิตให้ว่างเกิดจากความยึดมั่นตัวตนในจิตหรือวิญญาณ
เชื่อว่าตัวเรามีอยู่ ตัวเราคือจิต ตัวเราเที่ยงแท้ถาวร ตัวเราคอยรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ตอนนี้ตัวเราหมกมุ่นเรื่องขันธ์ห้ามากเกินไป ทำจิตให้ว่างจากขันธ์ห้าตัวเราจะได้มีความสุข
สังเกตว่าไม่พ้นจากการยึดมั่นอัตตาตัวตน ยังมีผู้ไปรับรู้นิพพาน มีผู้รับรู้ความสุข
แท้จริงแล้วผู้นั้นยังยึดมั่นในวิญญาณ ยังเชื่อว่าตัวเราคือจิต ไม่ได้เข้าใจสภาพที่ไม่มีขันธ์ห้าแต่อย่างใด
5. วิธีก้าวข้ามจากจุดนี้
พิจารณาไตรลักษณ์ของวิญญาณให้ละเอียดขึ้น ถี่ขึ้น ยิ่งเห็นการเกิดดับเร็วเท่าไรยิ่งดี
ความยากของการพิจารณาวิญญาณคือแยกวิญญาณออกจากนามรูปได้ยาก
รูป เวทนา สัญญา สังขาร เห็นแล้วรู้ทันที่ว่าคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร
แต่วิญญาณไม่ได้เห็นเด่นแบบนั้น เนื่องจากวิญญาณเป็นผู้รับรู้รูป เวทนา สัญญา สังขารอีกที
อาจใช้วิธีเทียบเคียงกับการรับรู้นามรูปไปก่อน หนึ่งการรับรู้เท่ากับหนึ่งวิญญาณ
นั่งสมาธิรู้สึกปวดขาเป็นเวลาลัดนิ้วมือ เท่ากับมีหนึ่งวิญญาณ
อีกเวลาลัดนิ้วมือต่อมานึกถึงครอบครัว เท่ากับมีอีกหนึ่งวิญญาณ
อีกเวลาลัดนิ้วมือต่อมาได้ยินเสียงจิ้งจกร้อง เท่ากับมีอีกหนึ่งวิญญาณ
สังเกตรูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วเทียบเคียงวิญญาณไปเรื่อยๆ
ยิ่งฝึกจะยิ่งเห็นการเกิดดับ (อนิจจัง) ได้เร็วขึ้น จนเมื่อเร็วมากพอจะเห็นว่าไม่มีจิตเที่ยงแท้ถาวร
เมื่อนั้นจึงเริ่มปล่อยวางความยึดมั่นตัวตนในจิต เห็นว่าจิตก็คือวิญญาณ ไม่มีจิตเดิมแท้แต่อย่างใด
จิตไม่มีกิเลส การทำจิตให้ว่างจึงไม่ใช่หนทางดับทุกข์
บางคนบอกว่าทำจิตให้ว่าง เมื่อจิตว่างแล้วกิเลสจะหายไป
อรหันต์คือผู้ชำระจิตจนว่างแล้ว เหล่านี้เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง
2. ขันธ์ห้า
จิตคือวิญญาณ เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าไม่มีกิเลสในตัวเอง ขันธ์ห้าเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติที่มารวมกัน
การทำจิตให้ว่างเป็นสมาธิรูปแบบหนึ่ง ทำได้เพียงข่มกิเลสไว้ชั่วคราวเท่านั้น
อรหันต์ไม่ใช่ผู้มีจิตว่าง จิตของอรหันต์ยังคงรับรู้นามรูปตามเดิม
อรหันต์ไม่ได้ตาบอดหูดับ ไม่ได้ขาดอาหารตลอดชีวิต (รูป)
อรหันต์ไม่ได้ปราศจากความทุกข์กายจากโรคภัยไข้เจ็บ (เวทนา)
อรหันต์ไม่ได้ความจำเสื่อม จำชื่อตัวเองไม่ได้ (สัญญา)
อรหันต์ไม่ได้คิดไม่เป็น ยกตัวอย่างสอนธรรมะไม่ได้ (สังขาร)
3. การละกิเลส
การทำกิจให้พ้นทุกข์ต้องอาศัยขันธ์ห้า สังเกตไตรลักษณ์ของขันธ์ห้าจนเห็นตามความเป็นจริง
แต่ไม่ได้หมายความว่าขันธ์ห้ากำลังละกิเลสในตัวเอง
และไม่มีตัวเรานอกขันธ์ห้าที่กำลังละกิเลสแต่อย่างใด
มีเพียงการละกิเลส แต่ไม่มีผู้ละกิเลส
4. ความเห็นผิด
ความเห็นผิดเรื่องทำจิตให้ว่างเกิดจากความยึดมั่นตัวตนในจิตหรือวิญญาณ
เชื่อว่าตัวเรามีอยู่ ตัวเราคือจิต ตัวเราเที่ยงแท้ถาวร ตัวเราคอยรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ตอนนี้ตัวเราหมกมุ่นเรื่องขันธ์ห้ามากเกินไป ทำจิตให้ว่างจากขันธ์ห้าตัวเราจะได้มีความสุข
สังเกตว่าไม่พ้นจากการยึดมั่นอัตตาตัวตน ยังมีผู้ไปรับรู้นิพพาน มีผู้รับรู้ความสุข
แท้จริงแล้วผู้นั้นยังยึดมั่นในวิญญาณ ยังเชื่อว่าตัวเราคือจิต ไม่ได้เข้าใจสภาพที่ไม่มีขันธ์ห้าแต่อย่างใด
5. วิธีก้าวข้ามจากจุดนี้
พิจารณาไตรลักษณ์ของวิญญาณให้ละเอียดขึ้น ถี่ขึ้น ยิ่งเห็นการเกิดดับเร็วเท่าไรยิ่งดี
ความยากของการพิจารณาวิญญาณคือแยกวิญญาณออกจากนามรูปได้ยาก
รูป เวทนา สัญญา สังขาร เห็นแล้วรู้ทันที่ว่าคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร
แต่วิญญาณไม่ได้เห็นเด่นแบบนั้น เนื่องจากวิญญาณเป็นผู้รับรู้รูป เวทนา สัญญา สังขารอีกที
อาจใช้วิธีเทียบเคียงกับการรับรู้นามรูปไปก่อน หนึ่งการรับรู้เท่ากับหนึ่งวิญญาณ
นั่งสมาธิรู้สึกปวดขาเป็นเวลาลัดนิ้วมือ เท่ากับมีหนึ่งวิญญาณ
อีกเวลาลัดนิ้วมือต่อมานึกถึงครอบครัว เท่ากับมีอีกหนึ่งวิญญาณ
อีกเวลาลัดนิ้วมือต่อมาได้ยินเสียงจิ้งจกร้อง เท่ากับมีอีกหนึ่งวิญญาณ
สังเกตรูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วเทียบเคียงวิญญาณไปเรื่อยๆ
ยิ่งฝึกจะยิ่งเห็นการเกิดดับ (อนิจจัง) ได้เร็วขึ้น จนเมื่อเร็วมากพอจะเห็นว่าไม่มีจิตเที่ยงแท้ถาวร
เมื่อนั้นจึงเริ่มปล่อยวางความยึดมั่นตัวตนในจิต เห็นว่าจิตก็คือวิญญาณ ไม่มีจิตเดิมแท้แต่อย่างใด