หมายเหตุ: กระทู้นี้ตั้งขึ้นสำหรับผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุดเท่านั้นครับ
คือมี 1. พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ
2. พระธรรม เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ
3. พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ (รวมถึง
พระอรหันต์ที่เป็นพระอรรถกถาจารย์ซึ่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้ารับฟังธรรมจากพระโอษฐ์และได้อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อให้คำอรรถาธิบายพระพุทธพจน์ไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ไม่รวมถึงพระอรหันต์ยุคนี้ที่ใช้วิธีนั่งทางในไปเฝ้าพระพุทธเจ้า)
สำหรับผู้ใดที่มีพระอาจารย์หรืออาจารย์เป็นที่พึ่งสูงสุด โดยมิได้มีพระรัตนตรัยเป็นทึ่พึ่งสูงสุด ก็ขอให้ผ่านไปก่อนนะครับ
*****************************************************************
ก่อนจะมีพระพุทธศาสนา (หรือแม้จะมีพระพุทธศาสนาแล้ว) ก็มีฤาษีโยคีหรือนักพรตผู้บำเพ็ญตบะ หรือลัทธิความเชื่อต่างๆ เกิดขึ้นมากมายมายที่พยายามแสวงหาหนทางดับทุกข์ ดับกิเลส ซึ่งการฝึกสติเพื่อรู้ทันความคิด ก็เป็นเพียงหนึ่งในวิธีตื้นๆ ของฤาษีโยคี หรือนักพรตบางกลุ่ม
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงนำพระธรรมที่ได้ตรัสรู้มาทรงแสดง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน
ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้
ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่."
ภิกษุในสมัยพุทธกาลที่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ เมื่อฟัง ก็เข้าใจชัดแจ่มแจ้งว่าพระพุทธองค์หมายความว่าอย่างไร
แต่สำหรับในยุคนี้ที่ห่างไกลจากสมัยนั้น ผู้ที่อ่านพระสูตรบทนี้ ถ้าอ่านแล้วปฏิบัติตามทันทีโดยที่ยังมิได้สอบทานเทียบเคียงกับพระอรรถกถาเรื่องนี้ก่อน ก็จะฝึกสติรู้ตัวว่า เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อเราขยับมือ ก็รู้ชัดว่าเราขยับมือ เมื่อเราส่ายหน้า ก็รู้ชัดว่าเราส่ายหน้า
จะเห็นว่า เป็น
เราที่ปฏิบัติที่เจริญสติทั้งหมดเลย
ลองเปิดใจศึกษาพระอรรถกถาของพระอรหันต์ที่ได้มีโอกาสรับฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าก่อนมั้ยว่า ท่านอรรถาธิบายไว้ว่าอย่างไร
พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกการพิจารณาดูกายโดยอัสสาสะและปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยอิริยาบถ จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ปุน จ ปรํ.
จะวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป :-
ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา
ถึงสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก เมื่อเดินไปก็รู้โดยแท้ว่า เรากำลังเดิน. แต่การรู้นั่น พระองค์มิได้ตรัสหมายเอาการรู้แบบนี้. เพราะว่าการรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิ (การยึดถือว่าเป็นสัตว์) ไม่ได้. ถอนอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นอัตตา) ไม่ออก. ไม่เป็นกรรมฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนา.
แต่การรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนอัตตสัญญาได้ เป็นกรรมฐาน หรือเป็นสติปัฏฐานภาวนา.
ความจริง การรู้นี้ พระองค์ตรัสหมายเอาการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเดิน? การเดินของใคร? เดินเพราะเหตุอะไร? ถึงในการยืนก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ใครเดิน ความว่า
ไม่ใช่สัตว์ตัวไหนหรือคนคนไหนเดิน.
บทว่า การเดินของใคร ความว่า
ไม่มีการเดินของสัตว์ตัวไหน
บทว่า เดินเพราะเหตุอะไร ความว่า เดินไป โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต.
วาโยธาตุเกิดจากจิต
เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้จะรู้ชัด (อิริยาบถ) อย่างนี้ว่า จิต (ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจักเดิน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด. การเคลื่อนไหวกายทั้งหมดไปข้างหน้า โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุอันเกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่าการเดิน.
แม้ในการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
แม้ในบรรดาการยืนเป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไป
จิต (ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด.
ภาวะที่กายทั้งหมดตั้งแต่ที่สุด (คือศีรษะถึงปลายเท้า) ยืดขึ้น โดยกายแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การยืน.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว วาโยเกิด การย่อกายตอนล่างลง การยืดกายตอนบนขึ้น โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่าการนั่ง.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตจะให้วาโยนั้นเกิด จะให้การเคลื่อน ไหววาโยเกิด. การเหยียดร่างกายทั้งหมดออกไปตามทางขวาง โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่าการนอน อาการของเขาผู้รู้เห็นอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน.
ถามว่า มีสัตว์อะไรเดินหรือยืนหรือ?
ตอบว่า ไม่มี.
แต่เหมือนคำที่เรียกว่า เกวียนไป เกวียนหยุด. ก็ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าเกวียนจะไปหรือจะหยุด. แต่เมื่อสารถีผู้ฉลาด เทียมโค ๔ ตัวขับไป จะมีก็แต่เพียงการเรียกขานกันว่า เกวียนไป เกวียนหยุด ฉันใด. กายเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิตเหมือนโค จิตเหมือนสารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน วาโยธาตุที่จะให้เกิดวิญญัติ ก็จะเกิดขึ้น การเดินเป็นต้นจะเป็นไปโดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต จะมีแต่เพียงการเรียกขานกันว่าสัตว์เดิน สัตว์ยืน ฉันไป ฉันยืน ฉันนั้นเหมือนกัน.
เรือวิ่งไปได้ เพราะกำลังของลม ลูกศรวิ่งไปได้
เพราะกำลังของสาย ฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น
เดินไปได้ เพราะลม (ภายใน) พัดผัน. แม้กาย
ยนต์นี้ ที่ (นายช่างคือตัณหาประกอบไว้) เดิน
ยืน นั่งได้ด้วยอำนาจของสายชักคือจิต เหมือน
หุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ ด้วยอำนาจของสายชัก.
ในเรื่องนี้ จะมีสัตว์อะไร นอกจากเหตุปัจจัยที่
ยืนหรือเดินไป ด้วยอานุภาพของตน.
เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้นกำหนดอยู่ซึ่งอิริยาบถเดินเป็นต้นที่เป็นไปโดยเหตุและปัจจัยเท่านั้นอย่างนี้ พึงทราบเถิดว่า บุคคลนั้นเมื่อเดินก็รู้ชัดว่า เราเดิน (เมื่อยืน นั่งหรือนอน) ก็รู้ชัดว่า เรายืน นั่งหรือนอน.
คำว่า ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ (ก็หรือว่า เธอย่อมรู้ชัดกายนั้นตามที่ตนดำรงอยู่แล้ว) นี้เป็นคำที่ประมวลอิริยาบถทุกอย่างไว้.
มีคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ว่า
กายของเธอสถิตอยู่แล้วโดยอาการใดๆ เธอก็รู้ชัดกายนั้น โดยอาการนั้นๆ คือ รู้ชัดกายที่สถิตอยู่โดยอาการที่เดินว่ากำลังเดิน รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอาการที่ยืน นั่งหรือนอน ว่า (กำลัง) นอนเป็นต้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า หรือเธอพิจารณาเห็นกายในกาย โดยการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ของตนอย่างนี้อยู่.
บทว่า พหิทฺธา วา ความว่า หรือโดยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของผู้อื่น.
บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายโดยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของตน (หรือ) ของผู้อื่นตามกาลเวลา.
ส่วนในบทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น ผู้ศึกษาควรนำเอาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่างมาโดยนัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปขันธ์จึงเกิด.
ความจริง คำว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ ในอิริยาปถบรรพนี้ พระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น.
คำว่า อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส เป็นต้น ก็เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
อริยสัจในอิริยาบถ
แต่ในอิริยาปถบรรพนี้ สติที่กำหนดอิริยาบถทั้ง ๔ เป็นทุกขสัจ ตัณหาเก่าที่เป็นสมุฏฐานของสติ เป็นสมุทัยสัจ การไม่เป็นไปแห่งสติ กับตัณหาทั้ง ๒ อย่างนั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ที่ละสมุทัย ที่มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
พระโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จะบรรลุความดับ (นิพพาน). ถ้อยคำดังที่พรรณนามานี้เป็นช่องทางการนำออก (จากทุกข์) จนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้กำหนดอิริยาบถ ๔ รูปหนึ่งดังนี้แล. จบอิริยาปถบรรพ .
การเจริญสติเป็นเรื่องง่าย แต่การเจริญสติปัฏฐานเป็นเรื่องยาก ละเอียด ลึกซึ้ง
คือมี 1. พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ
2. พระธรรม เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ
3. พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ (รวมถึงพระอรหันต์ที่เป็นพระอรรถกถาจารย์ซึ่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้ารับฟังธรรมจากพระโอษฐ์และได้อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อให้คำอรรถาธิบายพระพุทธพจน์ไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ไม่รวมถึงพระอรหันต์ยุคนี้ที่ใช้วิธีนั่งทางในไปเฝ้าพระพุทธเจ้า)
สำหรับผู้ใดที่มีพระอาจารย์หรืออาจารย์เป็นที่พึ่งสูงสุด โดยมิได้มีพระรัตนตรัยเป็นทึ่พึ่งสูงสุด ก็ขอให้ผ่านไปก่อนนะครับ
*****************************************************************
ก่อนจะมีพระพุทธศาสนา (หรือแม้จะมีพระพุทธศาสนาแล้ว) ก็มีฤาษีโยคีหรือนักพรตผู้บำเพ็ญตบะ หรือลัทธิความเชื่อต่างๆ เกิดขึ้นมากมายมายที่พยายามแสวงหาหนทางดับทุกข์ ดับกิเลส ซึ่งการฝึกสติเพื่อรู้ทันความคิด ก็เป็นเพียงหนึ่งในวิธีตื้นๆ ของฤาษีโยคี หรือนักพรตบางกลุ่ม
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงนำพระธรรมที่ได้ตรัสรู้มาทรงแสดง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน
ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้
ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่."
ภิกษุในสมัยพุทธกาลที่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ เมื่อฟัง ก็เข้าใจชัดแจ่มแจ้งว่าพระพุทธองค์หมายความว่าอย่างไร
แต่สำหรับในยุคนี้ที่ห่างไกลจากสมัยนั้น ผู้ที่อ่านพระสูตรบทนี้ ถ้าอ่านแล้วปฏิบัติตามทันทีโดยที่ยังมิได้สอบทานเทียบเคียงกับพระอรรถกถาเรื่องนี้ก่อน ก็จะฝึกสติรู้ตัวว่า เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อเราขยับมือ ก็รู้ชัดว่าเราขยับมือ เมื่อเราส่ายหน้า ก็รู้ชัดว่าเราส่ายหน้า
จะเห็นว่า เป็นเราที่ปฏิบัติที่เจริญสติทั้งหมดเลย
ลองเปิดใจศึกษาพระอรรถกถาของพระอรหันต์ที่ได้มีโอกาสรับฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าก่อนมั้ยว่า ท่านอรรถาธิบายไว้ว่าอย่างไร
พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกการพิจารณาดูกายโดยอัสสาสะและปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยอิริยาบถ จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ปุน จ ปรํ.
จะวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป :-
ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา
ถึงสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก เมื่อเดินไปก็รู้โดยแท้ว่า เรากำลังเดิน. แต่การรู้นั่น พระองค์มิได้ตรัสหมายเอาการรู้แบบนี้. เพราะว่าการรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิ (การยึดถือว่าเป็นสัตว์) ไม่ได้. ถอนอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นอัตตา) ไม่ออก. ไม่เป็นกรรมฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนา.
แต่การรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนอัตตสัญญาได้ เป็นกรรมฐาน หรือเป็นสติปัฏฐานภาวนา.
ความจริง การรู้นี้ พระองค์ตรัสหมายเอาการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเดิน? การเดินของใคร? เดินเพราะเหตุอะไร? ถึงในการยืนก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์ตัวไหนหรือคนคนไหนเดิน.
บทว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่มีการเดินของสัตว์ตัวไหน
บทว่า เดินเพราะเหตุอะไร ความว่า เดินไป โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต.
วาโยธาตุเกิดจากจิต
เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้จะรู้ชัด (อิริยาบถ) อย่างนี้ว่า จิต (ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจักเดิน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด. การเคลื่อนไหวกายทั้งหมดไปข้างหน้า โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุอันเกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่าการเดิน.
แม้ในการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
แม้ในบรรดาการยืนเป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไป
จิต (ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด.
ภาวะที่กายทั้งหมดตั้งแต่ที่สุด (คือศีรษะถึงปลายเท้า) ยืดขึ้น โดยกายแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การยืน.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว วาโยเกิด การย่อกายตอนล่างลง การยืดกายตอนบนขึ้น โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่าการนั่ง.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตจะให้วาโยนั้นเกิด จะให้การเคลื่อน ไหววาโยเกิด. การเหยียดร่างกายทั้งหมดออกไปตามทางขวาง โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่าการนอน อาการของเขาผู้รู้เห็นอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน.
ถามว่า มีสัตว์อะไรเดินหรือยืนหรือ?
ตอบว่า ไม่มี.
แต่เหมือนคำที่เรียกว่า เกวียนไป เกวียนหยุด. ก็ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าเกวียนจะไปหรือจะหยุด. แต่เมื่อสารถีผู้ฉลาด เทียมโค ๔ ตัวขับไป จะมีก็แต่เพียงการเรียกขานกันว่า เกวียนไป เกวียนหยุด ฉันใด. กายเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิตเหมือนโค จิตเหมือนสารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน วาโยธาตุที่จะให้เกิดวิญญัติ ก็จะเกิดขึ้น การเดินเป็นต้นจะเป็นไปโดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต จะมีแต่เพียงการเรียกขานกันว่าสัตว์เดิน สัตว์ยืน ฉันไป ฉันยืน ฉันนั้นเหมือนกัน.
เรือวิ่งไปได้ เพราะกำลังของลม ลูกศรวิ่งไปได้
เพราะกำลังของสาย ฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น
เดินไปได้ เพราะลม (ภายใน) พัดผัน. แม้กาย
ยนต์นี้ ที่ (นายช่างคือตัณหาประกอบไว้) เดิน
ยืน นั่งได้ด้วยอำนาจของสายชักคือจิต เหมือน
หุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ ด้วยอำนาจของสายชัก.
ในเรื่องนี้ จะมีสัตว์อะไร นอกจากเหตุปัจจัยที่
ยืนหรือเดินไป ด้วยอานุภาพของตน.
เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้นกำหนดอยู่ซึ่งอิริยาบถเดินเป็นต้นที่เป็นไปโดยเหตุและปัจจัยเท่านั้นอย่างนี้ พึงทราบเถิดว่า บุคคลนั้นเมื่อเดินก็รู้ชัดว่า เราเดิน (เมื่อยืน นั่งหรือนอน) ก็รู้ชัดว่า เรายืน นั่งหรือนอน.
คำว่า ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ (ก็หรือว่า เธอย่อมรู้ชัดกายนั้นตามที่ตนดำรงอยู่แล้ว) นี้เป็นคำที่ประมวลอิริยาบถทุกอย่างไว้.
มีคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ว่า
กายของเธอสถิตอยู่แล้วโดยอาการใดๆ เธอก็รู้ชัดกายนั้น โดยอาการนั้นๆ คือ รู้ชัดกายที่สถิตอยู่โดยอาการที่เดินว่ากำลังเดิน รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอาการที่ยืน นั่งหรือนอน ว่า (กำลัง) นอนเป็นต้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา ความว่า หรือเธอพิจารณาเห็นกายในกาย โดยการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ของตนอย่างนี้อยู่.
บทว่า พหิทฺธา วา ความว่า หรือโดยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของผู้อื่น.
บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายโดยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของตน (หรือ) ของผู้อื่นตามกาลเวลา.
ส่วนในบทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น ผู้ศึกษาควรนำเอาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่างมาโดยนัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปขันธ์จึงเกิด.
ความจริง คำว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ ในอิริยาปถบรรพนี้ พระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น.
คำว่า อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส เป็นต้น ก็เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
อริยสัจในอิริยาบถ
แต่ในอิริยาปถบรรพนี้ สติที่กำหนดอิริยาบถทั้ง ๔ เป็นทุกขสัจ ตัณหาเก่าที่เป็นสมุฏฐานของสติ เป็นสมุทัยสัจ การไม่เป็นไปแห่งสติ กับตัณหาทั้ง ๒ อย่างนั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ที่ละสมุทัย ที่มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
พระโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จะบรรลุความดับ (นิพพาน). ถ้อยคำดังที่พรรณนามานี้เป็นช่องทางการนำออก (จากทุกข์) จนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้กำหนดอิริยาบถ ๔ รูปหนึ่งดังนี้แล. จบอิริยาปถบรรพ .