เปิดเว็บ 84000.org เล่นๆ อ่านไปเรื่อยๆ
พอดีเจอว่า มีพระสูตรบทหนึ่ง แปลความได้ต่างกัน ในต่างฉบับกัน
พระสูตรบทนั้นคือ "ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐"
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ในเว็บนี้
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=15&A=4898
น่าจะมาจาก ฉบับหลวง
บอกไว้ว่า
[๖๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรภิกษุ เราอาจอยู่" แล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารี
บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้น โดยล่วงร้อยปีๆ ต่อเมล็ดหนึ่งๆ ฯ
แต่ในเว็บนี้
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=181
น่าจะมาจาก ฉบับมหาจุฬาฯ
บอกไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา
ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก
จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น
จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก หาหมดไปไม่
พอลองค้นหาในฉบับมหามกุฏฯ
http://www.tripitaka91.com/tripitaka91.php?book=25&page=170
พบว่าแปลได้ใกล้เคียงกับฉบับหลวง
[๖๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราอาจอยู่ แล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงา
ได้ ๒๐ ขารี๑ บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้น โดยล่วงร้อยปี ๆ ต่อเมล็ดหนึ่ง ๆ
พอเช็คในฉบับบาลี
https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=15&A=4288
เจอคำว่า
[๖๐๔] สกฺกา ภิกฺขูติ ภควา อโวจ เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ วีสติขาริโก
โกสลโก ติลวาโห ตโต ปุริโส วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส อจฺจเยน
เอกเมกํ ติลํ อุทฺธเรยฺย ขิปฺปตรํ โข โส ภิกฺขุ วีสติขาริโก
โกสลโก ติลวาโห อิมินา อุปกฺกเมน ปริกฺขยํ ปริยาทานํ
คจฺเฉยฺย น เตฺวว เอโก อพฺพุโท นิรโย เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ
เข้าใจว่า คำนี้ "วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส" น่าจะหมายถึง จำนวนปี ที่จะหยิบเมล็ดงาออกจากเกวียน
แต่พอลองมาดูฉบับแปลภาษาอังกฤษ
https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php
พบว่า แปลไว้แบบนี้
19. “Bhikkhu, a comparison could be given. ‘There is a caravan with a load of twenty, Kosala measures of sesame. From it a man releases one seed of sesame, at the end of a hundred thousand years. When released in this manner, the sesame seeds come to an end quickly but not the years in the life span of the Abuda hell.
ฉบับแปลภาษาอังกฤษ แปลไว้ว่า
a hundred thousand years หมายถึง จำนวน 100,000 ปี
### คำถามคือ ###
สรุปว่า คำว่า "วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส" จะแปลว่าอะไร?
ร้อยปี หรือพันปี หรือแสนปี
สรุปว่า อายุในปทุมนรก กี่ปีกันแน่?
พอดีเจอว่า มีพระสูตรบทหนึ่ง แปลความได้ต่างกัน ในต่างฉบับกัน
พระสูตรบทนั้นคือ "ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐"
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ในเว็บนี้ https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=15&A=4898
น่าจะมาจาก ฉบับหลวง
บอกไว้ว่า
[๖๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรภิกษุ เราอาจอยู่" แล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารี
บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้น โดยล่วงร้อยปีๆ ต่อเมล็ดหนึ่งๆ ฯ
แต่ในเว็บนี้ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=181
น่าจะมาจาก ฉบับมหาจุฬาฯ
บอกไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา
ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก
จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น
จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก หาหมดไปไม่
พอลองค้นหาในฉบับมหามกุฏฯ
http://www.tripitaka91.com/tripitaka91.php?book=25&page=170
พบว่าแปลได้ใกล้เคียงกับฉบับหลวง
[๖๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราอาจอยู่ แล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงา
ได้ ๒๐ ขารี๑ บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้น โดยล่วงร้อยปี ๆ ต่อเมล็ดหนึ่ง ๆ
พอเช็คในฉบับบาลี https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=15&A=4288
เจอคำว่า
[๖๐๔] สกฺกา ภิกฺขูติ ภควา อโวจ เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ วีสติขาริโก
โกสลโก ติลวาโห ตโต ปุริโส วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส อจฺจเยน
เอกเมกํ ติลํ อุทฺธเรยฺย ขิปฺปตรํ โข โส ภิกฺขุ วีสติขาริโก
โกสลโก ติลวาโห อิมินา อุปกฺกเมน ปริกฺขยํ ปริยาทานํ
คจฺเฉยฺย น เตฺวว เอโก อพฺพุโท นิรโย เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ
เข้าใจว่า คำนี้ "วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส" น่าจะหมายถึง จำนวนปี ที่จะหยิบเมล็ดงาออกจากเกวียน
แต่พอลองมาดูฉบับแปลภาษาอังกฤษ
https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php
พบว่า แปลไว้แบบนี้
19. “Bhikkhu, a comparison could be given. ‘There is a caravan with a load of twenty, Kosala measures of sesame. From it a man releases one seed of sesame, at the end of a hundred thousand years. When released in this manner, the sesame seeds come to an end quickly but not the years in the life span of the Abuda hell.
ฉบับแปลภาษาอังกฤษ แปลไว้ว่า a hundred thousand years หมายถึง จำนวน 100,000 ปี
### คำถามคือ ###
สรุปว่า คำว่า "วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส" จะแปลว่าอะไร?
ร้อยปี หรือพันปี หรือแสนปี