ฟังเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เล่าถึงเรื่องในครั้งพุทธกาล มีภิกษุกลุ่มหนึ่งมาจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง
และตกลงกันว่า ตลอดเวลาที่จำพรรษา จะปิดวาจา จะไม่ทักทาย จะไม่ปราศัยต่อกันและกัน จะไม่เปล่งวาจา
แล้วก็ได้ทำความตกลงกันล่วงหน้าในเรื่องการจัดการอาหาร การล้างภาชนะ การเก็บกวาดหอฉัน ฯลฯ ว่าจะจัดการอย่างไร
เพราะจะไม่มีการพูดจากันเลยในระหว่างจำพรรษา
ภายหลังออกพรรษา ภิกษุเหล่านี้ก็ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็เล่าให้พระพุทธเจ้าฟังด้วยความภูมิใจว่า ตลอดเวลาที่จำพรรษาด้วยกัน
ก็ใช้วิธีปิดวาจา ไม่เปล่งวาจาเลย
พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสห้าม โดยเรียกภิกษุเหล่านี้ว่า โมฆบุรุษ และบอกว่ามีความเป็นอยู่อย่างปศุสัตว์ เพราะโคกระบือหรือสัตว์เดรัจฉานก็ไม่มีการพูดจาทักทายปราศัยกัน
แล้วจึงทรงห้ามการประพฤติปฏิบัติผิดๆ เยี่ยงนี้ โดยถือว่าเป็นการกระทำของพวกเดียรถีย์ โดยตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตร
ที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฏ."
มูควัตร มาจากภาษาบาลี "มูค" หมายถึง ใบ้ เงียบ "วัตร" หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติ กิจที่ดำเนินไป
ดังนั้น มูควัตร จึงแปลว่า "การประพฤติปฏิบัติอย่างคนใบ้"
ห้ามสมาทานวัตรปฏิบัติผิดๆ เยี่ยงนี้ ไม่ว่าจะตลอดไป หรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ก็ไม่ได้ เพราะเป็นการกระทำของพวกเดียรถีย์ ที่ยังคงมีสีลพรตปรามาส คือการลูบคลำยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติผิดๆ
ทำไมสำนักปฏิบัติธรรมบางแห่งถึงมีข้อปฏิบัติในเรื่อง "ปิดวาจา" ทั้งที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามการปิดวาจา
และตกลงกันว่า ตลอดเวลาที่จำพรรษา จะปิดวาจา จะไม่ทักทาย จะไม่ปราศัยต่อกันและกัน จะไม่เปล่งวาจา
แล้วก็ได้ทำความตกลงกันล่วงหน้าในเรื่องการจัดการอาหาร การล้างภาชนะ การเก็บกวาดหอฉัน ฯลฯ ว่าจะจัดการอย่างไร
เพราะจะไม่มีการพูดจากันเลยในระหว่างจำพรรษา
ภายหลังออกพรรษา ภิกษุเหล่านี้ก็ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็เล่าให้พระพุทธเจ้าฟังด้วยความภูมิใจว่า ตลอดเวลาที่จำพรรษาด้วยกัน
ก็ใช้วิธีปิดวาจา ไม่เปล่งวาจาเลย
พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสห้าม โดยเรียกภิกษุเหล่านี้ว่า โมฆบุรุษ และบอกว่ามีความเป็นอยู่อย่างปศุสัตว์ เพราะโคกระบือหรือสัตว์เดรัจฉานก็ไม่มีการพูดจาทักทายปราศัยกัน
แล้วจึงทรงห้ามการประพฤติปฏิบัติผิดๆ เยี่ยงนี้ โดยถือว่าเป็นการกระทำของพวกเดียรถีย์ โดยตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตร
ที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฏ."
มูควัตร มาจากภาษาบาลี "มูค" หมายถึง ใบ้ เงียบ "วัตร" หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติ กิจที่ดำเนินไป
ดังนั้น มูควัตร จึงแปลว่า "การประพฤติปฏิบัติอย่างคนใบ้"
ห้ามสมาทานวัตรปฏิบัติผิดๆ เยี่ยงนี้ ไม่ว่าจะตลอดไป หรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ก็ไม่ได้ เพราะเป็นการกระทำของพวกเดียรถีย์ ที่ยังคงมีสีลพรตปรามาส คือการลูบคลำยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติผิดๆ