พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. นกุหนาสูตรที่ ๑
[๒๑๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน ไม่
อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้(ว่าเราเป็นคนดีแบบนี้ๆ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวม
และเพื่อการละ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่อง
กำจัด[^_^] อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อการ
สำรวมเพื่อการละ ทางนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์
ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่า
ใดๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงแล้ว ชนเหล่านั้นๆ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของ
พระศาสดา จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5034&Z=5053&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=213
คำอธิบายพระคาถาบางส่วน
สักการะอันได้แก่การให้ปัจจัย ๔ โดยเคารพทั้งการเอื้อเฟื้อ การนับถือมาก การทำความเคารพและความสรรเสริญอันได้แก่ความเฟื่องฟู ความยกย่อง ความมีชื่อเสียง
บทว่า อิติ มํ ชโน ชานาตุ ผูกเป็นใจความว่า พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่เพื่อให้เขายกย่อง ด้วยคุณอันมีอยู่ของตนว่า ชนจงรู้จักคือจงยกย่องเรา โดยอาทิว่า เมื่อมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
ไม่ควรปฏิบัติธรรม เพื่อหวังจะให้คนยกย่อง หรือประจบคน
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. นกุหนาสูตรที่ ๑
[๒๑๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน ไม่
อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้(ว่าเราเป็นคนดีแบบนี้ๆ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวม
และเพื่อการละ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่อง
กำจัด[^_^] อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อการ
สำรวมเพื่อการละ ทางนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์
ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่า
ใดๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงแล้ว ชนเหล่านั้นๆ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของ
พระศาสดา จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5034&Z=5053&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=213
คำอธิบายพระคาถาบางส่วน
สักการะอันได้แก่การให้ปัจจัย ๔ โดยเคารพทั้งการเอื้อเฟื้อ การนับถือมาก การทำความเคารพและความสรรเสริญอันได้แก่ความเฟื่องฟู ความยกย่อง ความมีชื่อเสียง
บทว่า อิติ มํ ชโน ชานาตุ ผูกเป็นใจความว่า พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่เพื่อให้เขายกย่อง ด้วยคุณอันมีอยู่ของตนว่า ชนจงรู้จักคือจงยกย่องเรา โดยอาทิว่า เมื่อมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม