เดือดแน่! ฝ่ายค้าน ยื่นกระทู้สด-ญัตติด่วน ถล่มรัฐบาล ขายที่ดินให้ต่างชาติ-กราดยิง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7346206
ฝ่ายค้าน ยื่นกระทู้ด่วน-ญัตติด่วน ถล่มรัฐขายที่ดินให้ต่างชาติ-กราดยิง-น้ำท่วม สุทิน เชื่อญัตติทำประชามติแก้รธน. พร้อมเลือกตั้ง อาจมีปัญหาเรื่องเขตลงคะแนน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 3 พ.ย.2565 ที่รัฐสภา นาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า การประชุมสภาวันนี้ ฝ่ายค้านจะยื่นกระทู้สดวาจาเรื่อง มติครม. อนุญาตให้ชาวต่างชาติและต่างด้าวครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินรายละ 1 ไร่ในประเทศไทย แลกกับเงินที่ต้องลงทุน 40 ล้านบาท ซึ่งจะถามโดยพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล (ก.ก.)
ในส่วนเพื่อไทย ตนจะเป็นคนถามปูพื้นเกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจ ความจำเป็น ผลกระทบ และมาตรการทางด้านสังคม ความมั่นคง จากนั้นนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะถามถึงเรื่องผลกระทบและมาตรการทางเศรษฐกิจ จากมติดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นการถามนายกรัฐมนตรีแต่ทราบว่า นายกฯ ได้มอบให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และนายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกฯและรมว.พลังงาน มาตอบกระทู้
นาย
สุทิน กล่าวต่อว่า จากนั้น ในช่วงบ่ายจะพิจารณาญัตติที่ค้างอยู่ จากสมัยประชุมที่แล้ว เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเสนอต่อครม.ดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่อาจจะมีปัญหา เนื่องจากหากจะทำประชามติ ต้องเอาหน่วยเลือกตั้ง เมื่อปี 2562 แต่เลือกตั้งครั้งหน้า เขตเลือกตั้งเปลี่ยน
ดังนั้น หากจะถามประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง ก็จะขัดพ.ร.บ.ประชามติได้ จึงต้องหาทางออกว่าจะแก้ไขอย่างไร หากสมมติพ.ร.บ.ประชามติบอกว่าให้ใช้หน่วยเลือกตั้งเดียวกับ การเลือกตั้งส.ส. เรื่องก็จบแต่บังเอิญ บอกว่าให้ใช้หน่วยเลือกตั้งครั้งล่าสุด ดังนั้น จึงต้องไปแก้ ข้อนี้ในพ.ร.บ.ประชามติ
นาย
สุทิน กล่าวต่อว่า จากนั้นจะพิจารณาญัตติด่วนของฝ่ายค้าน ซึ่งเชื่อว่าพรรครัฐบาลจะเสนอประกบด้วยคือเรื่องเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่จ.หนองบัวลำภู และน้ำท่วม รวมทั้งมีความเป็นไปได้สูงว่า อาจมีการยื่นญัตติด่วนเกี่ยวกับการขายที่ดินให้ต่างชาติมาถามอีกญัตติหนึ่ง หากรัฐมนตรีที่มาชี้แจง ตอบไม่ชัดเจน หากอภิปรายเสร็จจะลงมติทีละเรื่อง จึงเชื่อว่าจะใช้เวลายาวพอสมควร เท่าที่คุยกับฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นว่าญัตติด่วนไม่น่าจะจบในวันนี้ อาจต่อในการประชุมสัปดาห์หน้า เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
'สุทิน' ชี้ กม.กัญชาฯ ผ่าน-ไม่ผ่านอยู่ที่รัฐบาล 'ฝ่ายค้าน' ยัน หากยังเปิดช่องสันทนาการไม่ผ่านแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3652799
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่…) พ.ศ… หรือร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้าที่ตกไปว่า ได้มีการวิเคราะห์กัน ว่าต่อไปการทำงานในสภาน่าจะมีปัญหา เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณ ปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพของซีกรัฐบาล เพราะหากการประชุมสภาเมื่อวานนี้ (2 พฤศจิกายน) หากรัฐบาลมีเอกภาพเสียงจะไม่ออกมาเช่นนั้น ส่วนซีกฝ่ายค้านก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพียงแต่คิดว่าอาจจะต้องทำหน้าที่หนักขึ้นในช่วงที่เหลือ และจะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้น เพราะช่วงสุดท้ายของสภาในอดีตเท่าที่มีมา รัฐบาลมักจะทำเพื่อการหาเสียง ใช้งบประมาณเพื่อการหาเสียง และการโยกย้ายก็เพื่อวางฐานเสียง รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ของประเทศก็จะถูกนำไปใช้ เพื่อการหาเสียงในมือของผู้ถืออำนาจรัฐ ซึ่งเป็นการพรากประโยชน์ไปจากประชาชน ฝ่ายค้านก็ต้องทำหน้าที่เข้มข้นขึ้น
เมื่อถามว่า การประชุมสัปดาห์หน้า อาจต้องพิจารณาร่างพ.ร.บ. กัญชา กันชง (ฉบับที่…) พ.ศ… คิดว่าจะมีปัญหาอีกหรือไม่ นาย
สุทิน กล่าวว่า อยู่ที่รัฐบาล เพราะเห็นว่ามีปัญหากันอยู่ และชัดแล้วว่าพรรคประชาธิปปัตย์ (ปชป.) เขาก็ไม่เห็นด้วย และฝ่ายค้านก็ไมาเห็นด้วย แนวโน้มจึงเชื่อว่าอาจจะไม่ผ่าน ดังนั้น จุดชี้วัดจึงอยู่ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แต่ที่สอบถามส.ส.พรรค พปชร.หลายคนบอกว่า เขาเห็นด้วยกับการใช้ในทางการแพทย์ และเห็นว่าเขากำลังควบคุมอยู่ แต่หากไม่ควบคุมเขาก็ไม่เห็นด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะผ่านจึง 50-50
นาย
สุทิน กล่าวต่อว่า ในส่วนฝ่ายค้านคงยืนตามหลักการเดิม และคิดว่าคงจะมีการอภิปรายกันข้ามสัปดาห์ เพราะเนื้อหาเยอะ อาจจะต้องประชุม 2-3 นัด อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า อาจจะมีคนเห็นด้วยกับประเด็นที่ร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ มีการเพิ่มเนื้อหาเยอะมาก จาก 42 มาตรา เป็น 95 มาตรา เหมือนกับร่างใหม่ ซึ่งต้องไปถามความเห็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เพราะธรรมดาแล้วกฎหมายทุกฉบับที่จะผ่านสภา ต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อน ซึ่งร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ ไม่ทราบว่าที่ เพิ่มขึ้นมานั้นได้ถามประชาชนก่อนหรือไม่
นาย
สุทิน กล่าวต่อว่า หากการพิจารณาร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ ไม่เป็นไปตามหลักการเดิมที่พรรค พท.เคยเสนอคือต้องใช้ในทางการแพทย์ และโดยตามร่างที่เสนอมานั้นไม่ใช่ควบคุมเพื่อการแพทย์ แต่ยังปล่อยไปในทางสันทนาการ ดังนั้นจึงต้องดูว่า เขาแก้มาหรือไม่ และการอภิปรายในสภาจะเป็นไปในทิศทางใด หากในแต่ละมาตราไปในทาง ใช้ในทางการแพทย์ เราก็ผ่านให้ แต่หากแต่ละมาตรามีการเปิดช่องไปทางสันทนาการเราก็ไม่ให้ผ่าน และจะประมวลภาพรวมอีกครั้ง ว่าจะควบคุมกัญชาหรือไม่ แต่ถ้าเปิดช่องไปทางสันทนาการเราก็ไม่ให้ผ่าน ทั้งนี้ ฝ่ายค้านยืนยันว่า กัญชาจำเป็นที่จะต้องกลับไปเป็นยาเสพติด เพราะหากกลับไปเป็นยาเสพติดก็สามารถใช้ในทางการแพทย์ได้
เสียงสะท้อน 'น้ำท่วมอีสาน' เหตุรัฐสร้างเขื่อน บริหารน้ำผิดพลาด โครงการขนาดใหญ่ล้มเหลว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7346195
เสียงสะท้อน ‘น้ำท่วมอีสาน’ เหตุรัฐสร้างเขื่อน บริหารจัดการน้ำผิดพลาด โครงการขนาดใหญ่ล้มเหลว จี้กระจายอำนาจจัดการน้ำให้อยู่ในมือชุมชน
วันที่ 3 พ.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่วัดบ้านอีโก่ม ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน และเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จัดเสวนาเรื่อง “
เสียงสะท้อนคนลุ่มน้ำชี ถึงนโยบายการบริหารจัดการน้ำทีรวมศูนย์ของรัฐ” มีชาวบ้านกว่า 300 คนเข้าร่วม โดยทั้งหมดเห็นพ้องให้ยุติโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล และขอให้เร่งดำเนินแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนในหลายพื้นที่ เช่น เขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร เขื่อนธาตุน้อย รวมทั้งการศึกษาและประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการจัดการน้ำภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ให้เหมาะสมกับการจัดการน้ำที่ประชาชนเข้าถึงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
นาย
จันทรา จันทาทอง กรรมการเครือข่ายชาวบ้านน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า นโยบายของรัฐทำให้ชาวบ้านเจอปัญหา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมทำให้พื้นที่การเกษตรของชาวบ้านเสียหาย กระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างสูญหาย ซึ่งชาวบ้านพยายามเรียกร้องต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่หน่วยงานรัฐเตะถ่วงกระบวนการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ที่พี่น้องเรียกร้อง รัฐกลับเลือกผลักดันนโยบายมาให้แทนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ด้าน นาย
นิมิต หาระพันธ์ กรรมการเครือข่ายชาวบ้านน้ำชีตอนล่าง จ.ยโสธร กล่าวว่า ความมั่นคงในการประกอบอาชีพเปลี่ยนแปลงไป จากเคยมีวัว ควาย นาข้าว ป่าทาม ตอนนี้หายไปหมดแล้ว ก่อนการสร้างเขื่อนไม่เคยอดอยู่อดกิน หาอยู่หากินได้ตลอด หลังจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำชีถึงปัจจุบัน แม่น้ำชีถูกกระทำจากการจัดการน้ำที่ล้มเหลวของรัฐ ประชาชนเดือดร้อนและต้องมารับผลที่เกิดขึ้น พ.ศ. 2553-2554 เราเริ่มเรียกร้อง เมื่อรัฐสร้างเขื่อนก็ควรต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
นาย
สิริศักดิ์ สะดวก เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน กล่าวว่า เราควรมองไปถึงโครงสร้างในการพัฒนา การกำหนดนโยบายการจัดการน้ำในประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำกว่า 20 หน่วยงาน กฎหมายกว่า 30 ฉบับ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ผู้ที่รับชะตากรรมคือประชาชน
น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรมากกว่า 2 เดือน ต้องอพยพขนสิ่งของ วัวควาย เป็นความเดือนร้อนจากการบริหารจัดการน้ำที่ล้มเหลวของรัฐ ในอดีตเรามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแม่น้ำชี มองน้ำชีเป็นวิถีชีวิต ไม่ได้แยกน้ำออกจากวิถี เป็นความผูกพันที่มีต่อแม่น้ำ แต่พอมีนโยบาย โขง ชี มูล วิถีชีวิตประชาชนเปลี่ยนไปเพราะรัฐพยายามจัดระเบียบในการใช้น้ำโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการเข้ามาควบคุม
“
เขื่อนถูกสร้างขึ้นขวางกั้นแม่น้ำชี 6 ตัว พอสร้างเสร็จเมื่อประมาณปี 2543 มีการทดลองกักเก็บน้ำก็สร้างปัญหาขึ้นมาทันที ทำให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการสร้างฝายยาง แต่ในความเป็นจริงคือการสร้างเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตรยาวนานและขยายวงกว้าง ทำให้ชาวบ้านต้องได้รับชะตากรรมที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม เขื่อนเหล่านี้ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้จริง” นายสิริศักดิ์ กล่าว
นาย
สิริศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนเคยมีน้ำท่วมเกิดขึ้น เป็นน้ำหลาก น้ำมาแล้วก็ไป แต่ปัจจุบันคือน้ำขังท่วมซ้ำซาก ในหลักการของชาวบ้านนอกจากเจอนโยบายโครงการ โขง ชี มูล แล้ว ยังต้องกังวลและลุกขึ้นมาเรียกร้องแบบปฎิเสธโครงการโขง เลย ชี มูล ที่กำลังดำเนินการ
โดยผลกระทบจากโขงชีมูล ยังไม่ได้รับการแก้ไข ตนมีข้อเสนอ 1.ให้ยุติการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการ โขง เลย ชี มูล 2.เราจะทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(SEA)การจัดการน้ำชีภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม
ขณะที่ น.พ.
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันนโยบายไม่ได้เรียกว่าการสร้างเขื่อนหรือฝายแล้ว แต่เรียกโครงการผันน้ำซึ่งเป็นวิธีการของรัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่มองแล้วล้มเหลวเหมือนโครงการจัดการน้ำที่ผ่านมา โดยหลังรัฐประหารรัฐบาลไม่เข้าใจการจัดการน้ำ แต่เข้าใจการจัดการน้ำเป็นวัตถุ และบอกว่าจะทำให้เจริญแต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น
“
การสร้างเขื่อนไม่สามารถจัดการปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้ เขื่อนกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำ ชาวบ้านได้รับความเจ็บปวดจากการสร้างเขื่อน วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ปลาที่เคยหาง่ายก็หายไป เหลือแต่ปลาที่อยู่ในอุตสาหกรรมการประมง รัฐและนายทุนผูกขาดการสร้างเขื่อนทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ รัฐละเมิดและทำร้ายสิทธิของประชาชนหลายอย่าง การใช้อำนาจของรัฐไม่เห็นหัวประชาชน ประชาชนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ความล้มเหลวเกิดจากรัฐและนายทุนผูกขาด อีสานถูกมองว่า โง่ จน เจ็บ แห้งแล้ง ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาตลอด ดังนั้นต้องขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน ต้องเป็นการขับเคลื่อนเพื่อสิทธิชุมชน” น.พ.นิรันดร์ กล่าว
JJNY : ยื่นกระทู้สด-ญัตติด่วน|'สุทิน'ชี้กม.กัญชาฯ ผ่าน-ไม่ผ่านอยู่ที่รัฐบาล|เสียงสะท้อน'น้ำท่วมอีสาน'|เช้านี้บาทผันผวน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7346206
ฝ่ายค้าน ยื่นกระทู้ด่วน-ญัตติด่วน ถล่มรัฐขายที่ดินให้ต่างชาติ-กราดยิง-น้ำท่วม สุทิน เชื่อญัตติทำประชามติแก้รธน. พร้อมเลือกตั้ง อาจมีปัญหาเรื่องเขตลงคะแนน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 3 พ.ย.2565 ที่รัฐสภา นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า การประชุมสภาวันนี้ ฝ่ายค้านจะยื่นกระทู้สดวาจาเรื่อง มติครม. อนุญาตให้ชาวต่างชาติและต่างด้าวครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินรายละ 1 ไร่ในประเทศไทย แลกกับเงินที่ต้องลงทุน 40 ล้านบาท ซึ่งจะถามโดยพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล (ก.ก.)
ในส่วนเพื่อไทย ตนจะเป็นคนถามปูพื้นเกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจ ความจำเป็น ผลกระทบ และมาตรการทางด้านสังคม ความมั่นคง จากนั้นนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะถามถึงเรื่องผลกระทบและมาตรการทางเศรษฐกิจ จากมติดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นการถามนายกรัฐมนตรีแต่ทราบว่า นายกฯ ได้มอบให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และนายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกฯและรมว.พลังงาน มาตอบกระทู้
นายสุทิน กล่าวต่อว่า จากนั้น ในช่วงบ่ายจะพิจารณาญัตติที่ค้างอยู่ จากสมัยประชุมที่แล้ว เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเสนอต่อครม.ดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่อาจจะมีปัญหา เนื่องจากหากจะทำประชามติ ต้องเอาหน่วยเลือกตั้ง เมื่อปี 2562 แต่เลือกตั้งครั้งหน้า เขตเลือกตั้งเปลี่ยน
ดังนั้น หากจะถามประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง ก็จะขัดพ.ร.บ.ประชามติได้ จึงต้องหาทางออกว่าจะแก้ไขอย่างไร หากสมมติพ.ร.บ.ประชามติบอกว่าให้ใช้หน่วยเลือกตั้งเดียวกับ การเลือกตั้งส.ส. เรื่องก็จบแต่บังเอิญ บอกว่าให้ใช้หน่วยเลือกตั้งครั้งล่าสุด ดังนั้น จึงต้องไปแก้ ข้อนี้ในพ.ร.บ.ประชามติ
นายสุทิน กล่าวต่อว่า จากนั้นจะพิจารณาญัตติด่วนของฝ่ายค้าน ซึ่งเชื่อว่าพรรครัฐบาลจะเสนอประกบด้วยคือเรื่องเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่จ.หนองบัวลำภู และน้ำท่วม รวมทั้งมีความเป็นไปได้สูงว่า อาจมีการยื่นญัตติด่วนเกี่ยวกับการขายที่ดินให้ต่างชาติมาถามอีกญัตติหนึ่ง หากรัฐมนตรีที่มาชี้แจง ตอบไม่ชัดเจน หากอภิปรายเสร็จจะลงมติทีละเรื่อง จึงเชื่อว่าจะใช้เวลายาวพอสมควร เท่าที่คุยกับฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นว่าญัตติด่วนไม่น่าจะจบในวันนี้ อาจต่อในการประชุมสัปดาห์หน้า เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
'สุทิน' ชี้ กม.กัญชาฯ ผ่าน-ไม่ผ่านอยู่ที่รัฐบาล 'ฝ่ายค้าน' ยัน หากยังเปิดช่องสันทนาการไม่ผ่านแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3652799
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่…) พ.ศ… หรือร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้าที่ตกไปว่า ได้มีการวิเคราะห์กัน ว่าต่อไปการทำงานในสภาน่าจะมีปัญหา เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณ ปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพของซีกรัฐบาล เพราะหากการประชุมสภาเมื่อวานนี้ (2 พฤศจิกายน) หากรัฐบาลมีเอกภาพเสียงจะไม่ออกมาเช่นนั้น ส่วนซีกฝ่ายค้านก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพียงแต่คิดว่าอาจจะต้องทำหน้าที่หนักขึ้นในช่วงที่เหลือ และจะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้น เพราะช่วงสุดท้ายของสภาในอดีตเท่าที่มีมา รัฐบาลมักจะทำเพื่อการหาเสียง ใช้งบประมาณเพื่อการหาเสียง และการโยกย้ายก็เพื่อวางฐานเสียง รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ของประเทศก็จะถูกนำไปใช้ เพื่อการหาเสียงในมือของผู้ถืออำนาจรัฐ ซึ่งเป็นการพรากประโยชน์ไปจากประชาชน ฝ่ายค้านก็ต้องทำหน้าที่เข้มข้นขึ้น
เมื่อถามว่า การประชุมสัปดาห์หน้า อาจต้องพิจารณาร่างพ.ร.บ. กัญชา กันชง (ฉบับที่…) พ.ศ… คิดว่าจะมีปัญหาอีกหรือไม่ นายสุทิน กล่าวว่า อยู่ที่รัฐบาล เพราะเห็นว่ามีปัญหากันอยู่ และชัดแล้วว่าพรรคประชาธิปปัตย์ (ปชป.) เขาก็ไม่เห็นด้วย และฝ่ายค้านก็ไมาเห็นด้วย แนวโน้มจึงเชื่อว่าอาจจะไม่ผ่าน ดังนั้น จุดชี้วัดจึงอยู่ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แต่ที่สอบถามส.ส.พรรค พปชร.หลายคนบอกว่า เขาเห็นด้วยกับการใช้ในทางการแพทย์ และเห็นว่าเขากำลังควบคุมอยู่ แต่หากไม่ควบคุมเขาก็ไม่เห็นด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะผ่านจึง 50-50
นายสุทิน กล่าวต่อว่า ในส่วนฝ่ายค้านคงยืนตามหลักการเดิม และคิดว่าคงจะมีการอภิปรายกันข้ามสัปดาห์ เพราะเนื้อหาเยอะ อาจจะต้องประชุม 2-3 นัด อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า อาจจะมีคนเห็นด้วยกับประเด็นที่ร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ มีการเพิ่มเนื้อหาเยอะมาก จาก 42 มาตรา เป็น 95 มาตรา เหมือนกับร่างใหม่ ซึ่งต้องไปถามความเห็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เพราะธรรมดาแล้วกฎหมายทุกฉบับที่จะผ่านสภา ต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อน ซึ่งร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ ไม่ทราบว่าที่ เพิ่มขึ้นมานั้นได้ถามประชาชนก่อนหรือไม่
นายสุทิน กล่าวต่อว่า หากการพิจารณาร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ ไม่เป็นไปตามหลักการเดิมที่พรรค พท.เคยเสนอคือต้องใช้ในทางการแพทย์ และโดยตามร่างที่เสนอมานั้นไม่ใช่ควบคุมเพื่อการแพทย์ แต่ยังปล่อยไปในทางสันทนาการ ดังนั้นจึงต้องดูว่า เขาแก้มาหรือไม่ และการอภิปรายในสภาจะเป็นไปในทิศทางใด หากในแต่ละมาตราไปในทาง ใช้ในทางการแพทย์ เราก็ผ่านให้ แต่หากแต่ละมาตรามีการเปิดช่องไปทางสันทนาการเราก็ไม่ให้ผ่าน และจะประมวลภาพรวมอีกครั้ง ว่าจะควบคุมกัญชาหรือไม่ แต่ถ้าเปิดช่องไปทางสันทนาการเราก็ไม่ให้ผ่าน ทั้งนี้ ฝ่ายค้านยืนยันว่า กัญชาจำเป็นที่จะต้องกลับไปเป็นยาเสพติด เพราะหากกลับไปเป็นยาเสพติดก็สามารถใช้ในทางการแพทย์ได้
เสียงสะท้อน 'น้ำท่วมอีสาน' เหตุรัฐสร้างเขื่อน บริหารน้ำผิดพลาด โครงการขนาดใหญ่ล้มเหลว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7346195
เสียงสะท้อน ‘น้ำท่วมอีสาน’ เหตุรัฐสร้างเขื่อน บริหารจัดการน้ำผิดพลาด โครงการขนาดใหญ่ล้มเหลว จี้กระจายอำนาจจัดการน้ำให้อยู่ในมือชุมชน
วันที่ 3 พ.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่วัดบ้านอีโก่ม ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน และเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จัดเสวนาเรื่อง “เสียงสะท้อนคนลุ่มน้ำชี ถึงนโยบายการบริหารจัดการน้ำทีรวมศูนย์ของรัฐ” มีชาวบ้านกว่า 300 คนเข้าร่วม โดยทั้งหมดเห็นพ้องให้ยุติโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล และขอให้เร่งดำเนินแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนในหลายพื้นที่ เช่น เขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร เขื่อนธาตุน้อย รวมทั้งการศึกษาและประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการจัดการน้ำภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ให้เหมาะสมกับการจัดการน้ำที่ประชาชนเข้าถึงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
นายจันทรา จันทาทอง กรรมการเครือข่ายชาวบ้านน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า นโยบายของรัฐทำให้ชาวบ้านเจอปัญหา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมทำให้พื้นที่การเกษตรของชาวบ้านเสียหาย กระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างสูญหาย ซึ่งชาวบ้านพยายามเรียกร้องต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่หน่วยงานรัฐเตะถ่วงกระบวนการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ที่พี่น้องเรียกร้อง รัฐกลับเลือกผลักดันนโยบายมาให้แทนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ด้าน นายนิมิต หาระพันธ์ กรรมการเครือข่ายชาวบ้านน้ำชีตอนล่าง จ.ยโสธร กล่าวว่า ความมั่นคงในการประกอบอาชีพเปลี่ยนแปลงไป จากเคยมีวัว ควาย นาข้าว ป่าทาม ตอนนี้หายไปหมดแล้ว ก่อนการสร้างเขื่อนไม่เคยอดอยู่อดกิน หาอยู่หากินได้ตลอด หลังจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำชีถึงปัจจุบัน แม่น้ำชีถูกกระทำจากการจัดการน้ำที่ล้มเหลวของรัฐ ประชาชนเดือดร้อนและต้องมารับผลที่เกิดขึ้น พ.ศ. 2553-2554 เราเริ่มเรียกร้อง เมื่อรัฐสร้างเขื่อนก็ควรต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
นายสิริศักดิ์ สะดวก เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน กล่าวว่า เราควรมองไปถึงโครงสร้างในการพัฒนา การกำหนดนโยบายการจัดการน้ำในประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำกว่า 20 หน่วยงาน กฎหมายกว่า 30 ฉบับ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ผู้ที่รับชะตากรรมคือประชาชน
น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรมากกว่า 2 เดือน ต้องอพยพขนสิ่งของ วัวควาย เป็นความเดือนร้อนจากการบริหารจัดการน้ำที่ล้มเหลวของรัฐ ในอดีตเรามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแม่น้ำชี มองน้ำชีเป็นวิถีชีวิต ไม่ได้แยกน้ำออกจากวิถี เป็นความผูกพันที่มีต่อแม่น้ำ แต่พอมีนโยบาย โขง ชี มูล วิถีชีวิตประชาชนเปลี่ยนไปเพราะรัฐพยายามจัดระเบียบในการใช้น้ำโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการเข้ามาควบคุม
“เขื่อนถูกสร้างขึ้นขวางกั้นแม่น้ำชี 6 ตัว พอสร้างเสร็จเมื่อประมาณปี 2543 มีการทดลองกักเก็บน้ำก็สร้างปัญหาขึ้นมาทันที ทำให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการสร้างฝายยาง แต่ในความเป็นจริงคือการสร้างเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตรยาวนานและขยายวงกว้าง ทำให้ชาวบ้านต้องได้รับชะตากรรมที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม เขื่อนเหล่านี้ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้จริง” นายสิริศักดิ์ กล่าว
นายสิริศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนเคยมีน้ำท่วมเกิดขึ้น เป็นน้ำหลาก น้ำมาแล้วก็ไป แต่ปัจจุบันคือน้ำขังท่วมซ้ำซาก ในหลักการของชาวบ้านนอกจากเจอนโยบายโครงการ โขง ชี มูล แล้ว ยังต้องกังวลและลุกขึ้นมาเรียกร้องแบบปฎิเสธโครงการโขง เลย ชี มูล ที่กำลังดำเนินการ
โดยผลกระทบจากโขงชีมูล ยังไม่ได้รับการแก้ไข ตนมีข้อเสนอ 1.ให้ยุติการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการ โขง เลย ชี มูล 2.เราจะทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(SEA)การจัดการน้ำชีภาคประชาชนแบบมีส่วนร่วม
ขณะที่ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันนโยบายไม่ได้เรียกว่าการสร้างเขื่อนหรือฝายแล้ว แต่เรียกโครงการผันน้ำซึ่งเป็นวิธีการของรัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่มองแล้วล้มเหลวเหมือนโครงการจัดการน้ำที่ผ่านมา โดยหลังรัฐประหารรัฐบาลไม่เข้าใจการจัดการน้ำ แต่เข้าใจการจัดการน้ำเป็นวัตถุ และบอกว่าจะทำให้เจริญแต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น
“การสร้างเขื่อนไม่สามารถจัดการปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้ เขื่อนกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำ ชาวบ้านได้รับความเจ็บปวดจากการสร้างเขื่อน วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ปลาที่เคยหาง่ายก็หายไป เหลือแต่ปลาที่อยู่ในอุตสาหกรรมการประมง รัฐและนายทุนผูกขาดการสร้างเขื่อนทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ รัฐละเมิดและทำร้ายสิทธิของประชาชนหลายอย่าง การใช้อำนาจของรัฐไม่เห็นหัวประชาชน ประชาชนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ความล้มเหลวเกิดจากรัฐและนายทุนผูกขาด อีสานถูกมองว่า โง่ จน เจ็บ แห้งแล้ง ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาตลอด ดังนั้นต้องขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน ต้องเป็นการขับเคลื่อนเพื่อสิทธิชุมชน” น.พ.นิรันดร์ กล่าว