เขียนไว้ได้น่าสนใจ ไม่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง จาก Facebook: Atukkit Sawangsuk (คือคุณใบตองแห้งพิธีกรจาก Voice TV)... Post เมื่อ 30/9/2565
ไม่ได้เขียนปลอบใจหรอก ในทางการเมือง ประยุทธ์ไปต่อยากจริงๆ ถ้าเป็นนายกฯได้ถึงปี 68 และมี 250 ส.ว.ถึงปี 67
ที่พักหายไป 37 วัน ทุกคนก็ทิ้งประยุทธ์ไว้ข้างหลัง เป็นบุคคลโลกลืม ทั้งที่ตั้งตัวเป็นผู้นำมา 8 ปี 4 เดือน
ถ้าสำนึกตัว ยุบสภา วางมือ การเมืองก็จะเข้าโหมดประนีประนอมระดับหนึ่ง
แต่ถ้าดันทุรัง ท้าชน ก็ยับเยิน ฝ่ายค้านชอบ พรรคร่วมรัฐบาลกระอักกระอ่วน
:
แต่ในทางกฎหมาย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตรงตามหลักกฎหมาย
คือการเริ่มนับ 8 ปี ต้องเริ่มเมื่อกฎหมายประกาศใช้
นี่เป็นหลักทั่วไป เป็น common sense ทางกฎหมาย
เมื่อประกาศใช้กฎเกณฑ์ใหม่ จะต้องมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้
ไม่สามารถอ้างเจตนารมณ์ย้อนไปบังคับก่อนมีกฎหมาย
หลักการนี้ใช้กับทุกคน คุ้มครองทุกคน
เช่นทางแพ่ง สมมติผู้จัดการบริษัทเป็นมา 2 ปี กรรมการออกระเบียบใหม่ ให้เป็นได้ 4 ปี ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีระเบียบใหม่ ไปฟ้องศาล ศาลแพ่งก็จะยึดหลักอย่างนี้ ทางปกครอง ผอ.เป็นมา 3 ปี หน่วยงานออกระเบียบใหม่ ให้เป็นได้ 5 ปี ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีระเบียบใหม่ ไปฟ้องศาลปกครอง ก็จะยึดหลักอย่างนี้ ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐ โดยส่วนใหญ่ ก็จะเขียนบทเฉพาะกาลไว้ให้ชัด ไม่มานั่งกินข้าวเบิกเบี้ยประชุมแล้วอธิบายภายหลัง ตัวอย่างใกล้ๆ คือ ประธานศาลปกครองสูงสุด มีกฎหมายใหม่ออกเมื่อ 26 กันยายน 2560 ให้เป็นได้แค่ 4 ปี เดิมไม่กำหนดวาระ
แต่บทเฉพาะกาลเขียนชัด ไม่นับที่เป็นมาก่อน ปิยะ ปะตังทา เป็นมาตั้งแต่ปี 59 ครบวาระ 26 กันยา 2564
กรณีประยุทธ์ อย่างที่เคยสมมติ นายกฯ สารขัณฑ์มาจากเลือกตั้งชอบธรรม เป็นมา 3 ปี ร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดย สสร. รัฐธรรมนูญกำหนดนายกฯ เป็นได้ 8 ปี ในทางปฏิบัติคงถกเถียงกันแต่แรกว่าจะนับ 3 ปีนั้นด้วยไหม เพราะไม่ใช่รัฐธรรมนูญปิดปากแบบ คสช.
แต่ถกเถียงแล้วด้วยหลักกฎหมายหลักชอบธรรมเป็นธรรม คนส่วนใหญ่ก็จะเห็นด้วยว่า ต้องเริ่มนับเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้
เพียงแต่ประยุทธ์มันไม่ได้มาอย่างชอบธรรม มันมาจากรัฐประหารปล้นอำนาจ สืบทอดอำนาจ ไม่มีความชอบธรรมแม้แต่วันเดียว
มันเลยเป็นปัญหาระหว่างการตีความตามหลักกฎหมาย กับความไม่ชอบธรรมทางการเมือง
คำถามว่า 8 ปีนับเมื่อไหร่ คนส่วนใหญ่จะสวนว่า อ้าว ก็เห็นกันอยู่คาตา เด็กอมมือก็ตอบได้
แต่ถามว่านับทำไม นับเพื่อใช้ทางกฎหมาย ก็ต้องนับตามหลักกฎหมาย
"8 ปี" ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์์ใหม่ของรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องเริ่มนับเมื่อใช้รัฐธรรมนูญ
3 ปีก่อนนั้นคือประยุทธ์เป็นนายกฯเถื่อนตามรัฐธรรมนูญเถื่อน ที่ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ
เพิ่งจะเข้าสู่กฎใหม่ในวันที่ 6 เมษายน 2560 นี่เอง
การตีความกฎหมายเคร่งครัด กับการต่อสู้ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองนั้น มีช่องว่างระหว่างกัน
ถ้าคุณเป็นตุลาการ ก็ต้องตีความตามกฎหมาย ไม่เลือกหน้าใคร (เทพียุติธรรมมีผ้าปิดตา)
ถ้าคุณเป็นนักต่อสู้ ก็ต้องเห็นว่าประยุทธ์ไม่ชอบธรรม เถื่อนตั้งแต่วันแรก ไล่ได้ทุกวัน
ทั้งสองอย่างนี้บางครั้งอาจตรงกัน บางครั้งอาจสวนทาง
ตราบใดที่กฎหมายตรงไปตรงมา สังคมก็ยังมีหลัก
แต่เมื่อไหร่ที่พยายามตีความกฎหมายหวังผลทางการเมือง เมื่อนั้นคือตุลาการภิวัตน์
เหมือนที่ใช้กำจัดทักษิณและทำลายกฎหมายจนศาลรัฐธรรมนูญหมดความเชื่อถือเช่นนี้
..........................................................................................................................
ต่อจากการที่คุณใบตองแห้ง Post ที่ Facebook เดิม โพสวันที่ 1/10/2565
ประเด็นที่มักจะถูกเบี่ยงเบน
:
1.แปดปีเห็นๆ กำปั้นทุบดิน ทำไมกฎหมายนับห้าปี
-ผัวเมียแต่งงานกันแปดปี เพิ่งจดทะเบียนสมรสห้าปี สมมติหย่าหรือมีประเด็นทางนิติกรรมสัญญา กฎหมายก็นับห้าปี
การนับเพื่อใช้กฎหมาย ก็ต้องดูกฎหมายประกอบ ไม่ใช่ว่ากฎหมายบิดเบือนข้อเท็จจริง
2.มาตรา 264 ทำให้ประยุทธ์เป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่ปี 57 (เช่นแถลงการณ์พรรคเพื่อไทย)
"ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่"
ความหมายชัดเจนว่าให้เป็นตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560
ตีความแบบไหนบอกว่ารัฐธรรมนูญ 60 ให้เป็นครม.ตาม รธน.60 ตั้งแต่ปี 57
มาตรา 264 ต่างหากทำให้ไม่สามารถตีความว่าให้นับ 8 ปีตั้งแต่ปี 62
3."กฎหมายใช้ย้อนหลังได้หมด ถ้าไม่ใช่ความผิดอาญา"
ที่ถูกคือกฎหมายใช้ย้อนหลังไม่ได้ถ้าเป็นโทษ ไม่ว่ากระทบสิทธิเสรีภาพ สิทธิในการดำรงตำแหน่ง หรือสิทธิอื่นๆ
ฝ่ายค้านท้วงว่า ทียุบพรรคไทยรักไทยทำไมใช้กฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค
อันนี้ถูก ท้วงถูก
รัฐประหาร 49 ออกประกาศเป็นกฎหมาย แก้กฎหมายพรรคการเมือง เมื่อยุบพรรคให้ตัดสิทธิกรรมการบริหารด้วย แล้วตุลาการรัฐธรรมนูญที่รัฐประหารตั้ง ก็เอามาใช้ย้อนหลัง ตัดสิทธิ 111 คน
ตุลาการรัฐธรรมนูญครั้งนั้นผิด (มติ 6-3)
ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานป้องตุลาการในอดีต อันนี้เป็นส่วนที่ด่าได้และต้องด่า
4.คดีสิระทำไมใช้ย้อนหลัง
คดีสิระไม่ใช่ใช้กฎหมายย้อนหลัง แต่เป็นการที่รัฐธรรมนูญกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติ เคยติดคุกสมัคร ส.ส.ไม่ได้ เคยติดคุกเป็นประวัติติดตัว เหมือนจบปริญญาตรี ปริญญาโท เป็นประวัติที่ใช้สมัครงาน เหมือนที่รัฐธรรมนูญ 40 เคยกำหนด สมัคร ส.ส.ต้องจบปริญญาตรี เหมือนการสมัครงาน ถ้าบริษัทบอกไม่รับคนเคยเคยติดคุก อันนั้นคือประวัติติดตัว ไม่ใช่ใช้กฎหมายย้อนหลัง
(อันที่จริงคดีสิระ ศาลรัฐธรรมนูญก็ผิด ค้นไม่เจอคำพิพากษา แต่เชื่อคำให้การคู่กรณี)
หากเรามองคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายก 8 ปี อย่างเป็นกลาง (ข้อควรคำนึง)
ไม่ได้เขียนปลอบใจหรอก ในทางการเมือง ประยุทธ์ไปต่อยากจริงๆ ถ้าเป็นนายกฯได้ถึงปี 68 และมี 250 ส.ว.ถึงปี 67
ที่พักหายไป 37 วัน ทุกคนก็ทิ้งประยุทธ์ไว้ข้างหลัง เป็นบุคคลโลกลืม ทั้งที่ตั้งตัวเป็นผู้นำมา 8 ปี 4 เดือน
ถ้าสำนึกตัว ยุบสภา วางมือ การเมืองก็จะเข้าโหมดประนีประนอมระดับหนึ่ง
แต่ถ้าดันทุรัง ท้าชน ก็ยับเยิน ฝ่ายค้านชอบ พรรคร่วมรัฐบาลกระอักกระอ่วน
:
แต่ในทางกฎหมาย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตรงตามหลักกฎหมาย
คือการเริ่มนับ 8 ปี ต้องเริ่มเมื่อกฎหมายประกาศใช้
นี่เป็นหลักทั่วไป เป็น common sense ทางกฎหมาย
เมื่อประกาศใช้กฎเกณฑ์ใหม่ จะต้องมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้
ไม่สามารถอ้างเจตนารมณ์ย้อนไปบังคับก่อนมีกฎหมาย
หลักการนี้ใช้กับทุกคน คุ้มครองทุกคน
เช่นทางแพ่ง สมมติผู้จัดการบริษัทเป็นมา 2 ปี กรรมการออกระเบียบใหม่ ให้เป็นได้ 4 ปี ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีระเบียบใหม่ ไปฟ้องศาล ศาลแพ่งก็จะยึดหลักอย่างนี้ ทางปกครอง ผอ.เป็นมา 3 ปี หน่วยงานออกระเบียบใหม่ ให้เป็นได้ 5 ปี ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีระเบียบใหม่ ไปฟ้องศาลปกครอง ก็จะยึดหลักอย่างนี้ ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐ โดยส่วนใหญ่ ก็จะเขียนบทเฉพาะกาลไว้ให้ชัด ไม่มานั่งกินข้าวเบิกเบี้ยประชุมแล้วอธิบายภายหลัง ตัวอย่างใกล้ๆ คือ ประธานศาลปกครองสูงสุด มีกฎหมายใหม่ออกเมื่อ 26 กันยายน 2560 ให้เป็นได้แค่ 4 ปี เดิมไม่กำหนดวาระ
แต่บทเฉพาะกาลเขียนชัด ไม่นับที่เป็นมาก่อน ปิยะ ปะตังทา เป็นมาตั้งแต่ปี 59 ครบวาระ 26 กันยา 2564
กรณีประยุทธ์ อย่างที่เคยสมมติ นายกฯ สารขัณฑ์มาจากเลือกตั้งชอบธรรม เป็นมา 3 ปี ร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดย สสร. รัฐธรรมนูญกำหนดนายกฯ เป็นได้ 8 ปี ในทางปฏิบัติคงถกเถียงกันแต่แรกว่าจะนับ 3 ปีนั้นด้วยไหม เพราะไม่ใช่รัฐธรรมนูญปิดปากแบบ คสช.
แต่ถกเถียงแล้วด้วยหลักกฎหมายหลักชอบธรรมเป็นธรรม คนส่วนใหญ่ก็จะเห็นด้วยว่า ต้องเริ่มนับเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้
เพียงแต่ประยุทธ์มันไม่ได้มาอย่างชอบธรรม มันมาจากรัฐประหารปล้นอำนาจ สืบทอดอำนาจ ไม่มีความชอบธรรมแม้แต่วันเดียว
มันเลยเป็นปัญหาระหว่างการตีความตามหลักกฎหมาย กับความไม่ชอบธรรมทางการเมือง
คำถามว่า 8 ปีนับเมื่อไหร่ คนส่วนใหญ่จะสวนว่า อ้าว ก็เห็นกันอยู่คาตา เด็กอมมือก็ตอบได้
แต่ถามว่านับทำไม นับเพื่อใช้ทางกฎหมาย ก็ต้องนับตามหลักกฎหมาย
"8 ปี" ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์์ใหม่ของรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องเริ่มนับเมื่อใช้รัฐธรรมนูญ
3 ปีก่อนนั้นคือประยุทธ์เป็นนายกฯเถื่อนตามรัฐธรรมนูญเถื่อน ที่ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ
เพิ่งจะเข้าสู่กฎใหม่ในวันที่ 6 เมษายน 2560 นี่เอง
การตีความกฎหมายเคร่งครัด กับการต่อสู้ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองนั้น มีช่องว่างระหว่างกัน
ถ้าคุณเป็นตุลาการ ก็ต้องตีความตามกฎหมาย ไม่เลือกหน้าใคร (เทพียุติธรรมมีผ้าปิดตา)
ถ้าคุณเป็นนักต่อสู้ ก็ต้องเห็นว่าประยุทธ์ไม่ชอบธรรม เถื่อนตั้งแต่วันแรก ไล่ได้ทุกวัน
ทั้งสองอย่างนี้บางครั้งอาจตรงกัน บางครั้งอาจสวนทาง
ตราบใดที่กฎหมายตรงไปตรงมา สังคมก็ยังมีหลัก
แต่เมื่อไหร่ที่พยายามตีความกฎหมายหวังผลทางการเมือง เมื่อนั้นคือตุลาการภิวัตน์
เหมือนที่ใช้กำจัดทักษิณและทำลายกฎหมายจนศาลรัฐธรรมนูญหมดความเชื่อถือเช่นนี้
..........................................................................................................................
ต่อจากการที่คุณใบตองแห้ง Post ที่ Facebook เดิม โพสวันที่ 1/10/2565
ประเด็นที่มักจะถูกเบี่ยงเบน
:
1.แปดปีเห็นๆ กำปั้นทุบดิน ทำไมกฎหมายนับห้าปี
-ผัวเมียแต่งงานกันแปดปี เพิ่งจดทะเบียนสมรสห้าปี สมมติหย่าหรือมีประเด็นทางนิติกรรมสัญญา กฎหมายก็นับห้าปี
การนับเพื่อใช้กฎหมาย ก็ต้องดูกฎหมายประกอบ ไม่ใช่ว่ากฎหมายบิดเบือนข้อเท็จจริง
2.มาตรา 264 ทำให้ประยุทธ์เป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่ปี 57 (เช่นแถลงการณ์พรรคเพื่อไทย)
"ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่"
ความหมายชัดเจนว่าให้เป็นตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560
ตีความแบบไหนบอกว่ารัฐธรรมนูญ 60 ให้เป็นครม.ตาม รธน.60 ตั้งแต่ปี 57
มาตรา 264 ต่างหากทำให้ไม่สามารถตีความว่าให้นับ 8 ปีตั้งแต่ปี 62
3."กฎหมายใช้ย้อนหลังได้หมด ถ้าไม่ใช่ความผิดอาญา"
ที่ถูกคือกฎหมายใช้ย้อนหลังไม่ได้ถ้าเป็นโทษ ไม่ว่ากระทบสิทธิเสรีภาพ สิทธิในการดำรงตำแหน่ง หรือสิทธิอื่นๆ
ฝ่ายค้านท้วงว่า ทียุบพรรคไทยรักไทยทำไมใช้กฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค
อันนี้ถูก ท้วงถูก
รัฐประหาร 49 ออกประกาศเป็นกฎหมาย แก้กฎหมายพรรคการเมือง เมื่อยุบพรรคให้ตัดสิทธิกรรมการบริหารด้วย แล้วตุลาการรัฐธรรมนูญที่รัฐประหารตั้ง ก็เอามาใช้ย้อนหลัง ตัดสิทธิ 111 คน
ตุลาการรัฐธรรมนูญครั้งนั้นผิด (มติ 6-3)
ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานป้องตุลาการในอดีต อันนี้เป็นส่วนที่ด่าได้และต้องด่า
4.คดีสิระทำไมใช้ย้อนหลัง
คดีสิระไม่ใช่ใช้กฎหมายย้อนหลัง แต่เป็นการที่รัฐธรรมนูญกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติ เคยติดคุกสมัคร ส.ส.ไม่ได้ เคยติดคุกเป็นประวัติติดตัว เหมือนจบปริญญาตรี ปริญญาโท เป็นประวัติที่ใช้สมัครงาน เหมือนที่รัฐธรรมนูญ 40 เคยกำหนด สมัคร ส.ส.ต้องจบปริญญาตรี เหมือนการสมัครงาน ถ้าบริษัทบอกไม่รับคนเคยเคยติดคุก อันนั้นคือประวัติติดตัว ไม่ใช่ใช้กฎหมายย้อนหลัง
(อันที่จริงคดีสิระ ศาลรัฐธรรมนูญก็ผิด ค้นไม่เจอคำพิพากษา แต่เชื่อคำให้การคู่กรณี)