ค่า HRV ของ Polar H10 แม่นแค่ไหน ? 🤔

😎 ค่า Heart rate variability (HRV) นี่ช่วงหลังมีการนำมาใช้กันเยอะขึ้น ทั้งในการซ้อมและทางสุขภาพนะครับ อย่างไรก็ตามม ค่า HRV ก็ยังมีเครื่องหมายคำถามอยู่ ว่ามีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และมันใช้การได้จริงจังรึเปล่า ซึ่งอันนั้นปล่อยมันไปก่อน งานนี้เขาทดสอบค่า HRV ที่ได้จาก Polar H10 ว่ามีความแม่นยำขนาดไหน


❤️ Polar H10 เป็น Heart Rate Monitor แบบคาดอก (chest strap) ในปัจจุบันหลายคนก็น่าจะไม่ใช้กันแล้วแหละ เพราะว่ามันไม่สะดวกนักที่ต้องมาคาดอกไว้ และพวกอุปกรณ์ที่เป็นนาฬิกาก็พัฒนาไปเยอะ แต่มันก็ยังแจ่มอยู่นะ ในแง่ของระยะเวลาการใช้งาน ความสามารถในการเชื่อมต่อต่างๆ อ่ะตรงนี้เอาไว้ก่อน เพราะไม่ได้จะมารีวิว 55

📝 งานนี้เป็นการทดสอบข้อมูล HRV อย่างที่ว่าอ่ะนะครับ โดยเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จาก Electrocardiogram (ECG) ซึ่งเป็นตัวที่เราวางไว้แหละว่ามันเป็นค่ามาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่มาทดสอบอายุเฉลี่ยๆ 38 ปี มีทั้งชายหญิง สุขภาพดีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ความฟิตหรือประวัติการฝึกซ้อมไม่ได้กำหนด  

🚴🏼 จากนั้นก็ให้ปั่นจักรยานวัดงาน แล้ววัดค่าเฉลี่ยระหว่างจังหวะการเต้นหัวใจ (RR) , อัตราการเต้นหัวใจหรือชีพจร (HR) และค่า Detrended Fluctuation Analysis (DFA)  เปรียบเทียบกันระหว่างสองอุปกรณ์ที่ว่า จากนั้นก็นำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ทางสถิติ

🔎 ผลที่ได้คือ ค่าที่ได้จาก Polar H10 นี่ค่อนข้างใกล้เคียงกับค่า HR, RR ที่ได้จากเครื่อง ECG นะครับ แต่ค่า DFA a1 เนี่ย ถ้าในช่วงออกกำลังกายที่มี intensity สูง มันดูคลาดเคลื่อนมากกว่า intensity ต่ำถึงกลาง ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้อยู่นะครับ ในการนำมาใช้งานการฝึกซ้อม การออกกำลังกาย หรือสุขภาพโดยทั่วไปก็ไม่น่ามีปัญหาแหละ 

📌 สำหรับการศึกษาของงานนี้ มันก็มีประโยชน์ตรงที่เป็นหลักฐานนึงว่าถ้าจะทำวิจัยแล้วใช้เครื่องนี้เก็บข้อมูลดังกล่าว มันก็มีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณนี้ เราจะนำไปใช้หรือไม่ใช้อันนั้นก็ลองพิจารณาดูกันเอาจากงานของเราครับ ถ้ามองในแง่ความสะดวก ก็สะดวกกว่าใช้ ECG แน่ๆล่ะ ^^) แถมราคาก็แค่ 3-4 พันเอง 

ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-09-02-validity-of-the-polar-h10-sensor-for-heart-rate-variability-analysis/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่