ด้วยมีผู้ที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องที่ทำการฝากเงินผิด(โอนเงิน)เมื่อแจ้งไปยังธนาคารแล้วทำไมไม่ได้รับการแก้ไขให้ในทันที ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจตามนี้ครับ
เลขที่บัญชีธนาคาร มีโอกาสซ้ำกันได้ แค่ 10 ครั้งที่โอนผิด มีโอกาสถูก 1 ครั้งครับ
เลขที่บัญชี มี 10 หลัก ตัวอย่างเช่น 123-4-56789-0
เลขที่ 123 คือเลขสาขาธนาคาร ทุกธนาคารใช้เลขระบบเดียวกัน เลขสาขาก็เรียงตามการเปิดสาขา สาขาที่123 ก็เปิดก่อนสาขา 124 บางธนาคารแยกหลักร้อย เป็นสาขาต่างจังหวัด ดังนั้น เลขสาขาจึงซ้ำกันได้ทุกธนาคาร
เลข 4 คือเลขประเภทบัญชี 1 อาจจะเป็นบัญชีกระแสรายวัน(บัญชีใช้เช็คในการถอน) , 2 เป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ , 3 เป็นบัญชีเงินฝากประจำ , 4 เป็นบัญชีเงินฝากอื่นที่แยกย่อยออกไปตามแต่ละธนาคาร ดังนั้นเลขนี้ทุกแบงค์ใช้เหมือนกัน
เลข 5-9 คือเลขที่บัญชีจริงๆ ใช้รันกันตั้งแต่วันแรกเปิดสาขาธนาคาร ลูกค้ารายแรกก็จะได้บัญชีเลขที่ 00001
เลข 0 ตามตัวย่างเป็นเลขลำดับที่ 10 ตัวนี้ที่สำคัญ ตัวนี้คือตัวรหัสคุมกันการคีย์ผิด ตัวเลขนี้ ผ่านการออกด้วยโปรแกรมของธนาคาร เป็นการกันการคีย์ผิด
เช่นพนักงานคีย์เลขที่บัญชีเป็น 123-4-56879-0 เครื่องคอมฯของธนาคารจะไม่ยอมรับเพราะเลขนี้จะไม่ตรงกับบัญชีในระบบของธนาคาร
แต่ก็มีโอกาสเข้าผิดบัญชีได้ ถ้าเลขท้ายสุดเกิดลงท้ายด้วยเลข 0 เหมือนกัน เท่ากับมีโอกาส 1 ใน 10 เท่านั้นที่จะเข้าบัญชีผิด
แต่ด้วยความละเอียดของพนักงานก็จะเห็นว่าชื่อเจ้าของบัญชีไม่ตรงกัน แบบนี้ พนักงานเป็นผู้ทำผิดจึงสามารถแก้ Error ได้ด้วยตนเอง
มีโค๊ดแสดงว่ามีการแก้ไข และจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงกว่ามาอนุมัติการทำรายการแก้ไข
ทีนี้พอเข้าใจหรือยังครับว่า พอเราทำรายการโอนฝากข้ามธนาคาร โอกาสที่เครื่องมันจะรับฝาก มีแค่ 1 ใน 10 เท่านั้น เคสนี้เป็นการทำด้วยลูกค้า เจ้าหน้าที่ธนาคาร จึงไม่สามารถทำการดึงเงินกลับมาได้แม้ว่าจะลูกค้าโทรแจ้งแล้วก็ตาม เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่แจ้งจะเป็นลูกค้าที่สุจริต ทำให้คนโกงได้
สมมติว่า นายป้อม อยากจะโกงผู้ขายสินค้าออนไลน์ ก็จะตกลงราคาแล้วก็บอกว่าจะโอนเงินให้ ขอให้ส่งเลขที่บัญชีของผู้ขายมาให้ เมื่อนายป้อมโอนเงินแล้ว ก็ส่งสลิปการโอนเงินให้ผู้ขาย ผู้ขายเช็คแล้วมีเงินเข้าก็ส่งสินค้าให้นายป้อม นายป้อมโทรแจ้งธนาคารว่าตนเองโอนผิดบัญชี ตั้งใจจะโอนเงินให้แฟนที่อยู่อีกธนาคารหนึ่ง หรืออีกสาขาหนึ่ง ถ้าธนาคารบ้าจี้ทำรายการโอนเงินคืนให้นายป้อม นายป้อมก็จะได้สินค้าไปฟรีๆ ผู้ขายสินค้าไม่ได้เงินก็จะหันมาฟ้องร้องธนาคารที่ทำการไม่ถูกต้องทำให้เขาได้รับความเสียหาย
กรณีโอนผิดแบบนี้ ลูกค้าต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจให้เป็นหลักฐานที่ธนาคารเชื่อได้ว่าเป็นเรื่องจริง จึงจะทำรายการดึงเงินกลับคืนเงินให้ผู้ที่ฝากเงินโดยสุจริต แต่ก็มีหลายครั้งที่เมื่อโอนผิดไปแล้ว ลูกค้าที่รับเงินโอนไป เบิกถอนเงินไปใช้จนเงินหมดแล้ว ไม่มีเงินคืนธนาคาร
ทีนี้ก็เป็นเรื่อง เป็นคดีลาภมิควรได้ เงินนั้นไม่ได้เป็นของตนเองเมื่อทราบก็ต้องรีบคืนเงินให้ผู้เสียหาย
ป.ล.ในระบบบัญชีธนาคาร ยังมีตัวเลขอีก 3 หลัก เป็นเลขรหัสธนาคาร ตัวอย่างเช่น 002-123-4-56789-0 บัญชีนี้เป็นของธนาคารกรุงเทพขึ้นต้นด้วยรหัส002 แต่ในการทำรายการของลูกค้าเนื่องจากเป็นการเลือกผ่านแอป จึงได้เลือกตามการเลือกชื่อธนาคาร ถ้าเลือกผิดเช่นไปเลือกธนาคารกรุงไทยที่เป็นรหัส006 เลขที่บัญชีที่ฝากผิดก็จะเป็น 006-123-4-56789-0 ด้วยความฟลุ๊ก เลข10 ตัวหลังซ้ำกัน จึงเกิดเหตุแบบนี้ แต่ถ้าไม่ตรงกันเลขใดเลขหนึ่ง ระบบจะไม่ยอมให้ทำการฝาก
ขออธิบายเรื่องการฝากผิดบัญชีผิดธนาคาร ทำไมถึงยุ่งยากในการได้เงินคืน
เลขที่บัญชีธนาคาร มีโอกาสซ้ำกันได้ แค่ 10 ครั้งที่โอนผิด มีโอกาสถูก 1 ครั้งครับ
เลขที่บัญชี มี 10 หลัก ตัวอย่างเช่น 123-4-56789-0
เลขที่ 123 คือเลขสาขาธนาคาร ทุกธนาคารใช้เลขระบบเดียวกัน เลขสาขาก็เรียงตามการเปิดสาขา สาขาที่123 ก็เปิดก่อนสาขา 124 บางธนาคารแยกหลักร้อย เป็นสาขาต่างจังหวัด ดังนั้น เลขสาขาจึงซ้ำกันได้ทุกธนาคาร
เลข 4 คือเลขประเภทบัญชี 1 อาจจะเป็นบัญชีกระแสรายวัน(บัญชีใช้เช็คในการถอน) , 2 เป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ , 3 เป็นบัญชีเงินฝากประจำ , 4 เป็นบัญชีเงินฝากอื่นที่แยกย่อยออกไปตามแต่ละธนาคาร ดังนั้นเลขนี้ทุกแบงค์ใช้เหมือนกัน
เลข 5-9 คือเลขที่บัญชีจริงๆ ใช้รันกันตั้งแต่วันแรกเปิดสาขาธนาคาร ลูกค้ารายแรกก็จะได้บัญชีเลขที่ 00001
เลข 0 ตามตัวย่างเป็นเลขลำดับที่ 10 ตัวนี้ที่สำคัญ ตัวนี้คือตัวรหัสคุมกันการคีย์ผิด ตัวเลขนี้ ผ่านการออกด้วยโปรแกรมของธนาคาร เป็นการกันการคีย์ผิด
เช่นพนักงานคีย์เลขที่บัญชีเป็น 123-4-56879-0 เครื่องคอมฯของธนาคารจะไม่ยอมรับเพราะเลขนี้จะไม่ตรงกับบัญชีในระบบของธนาคาร
แต่ก็มีโอกาสเข้าผิดบัญชีได้ ถ้าเลขท้ายสุดเกิดลงท้ายด้วยเลข 0 เหมือนกัน เท่ากับมีโอกาส 1 ใน 10 เท่านั้นที่จะเข้าบัญชีผิด
แต่ด้วยความละเอียดของพนักงานก็จะเห็นว่าชื่อเจ้าของบัญชีไม่ตรงกัน แบบนี้ พนักงานเป็นผู้ทำผิดจึงสามารถแก้ Error ได้ด้วยตนเอง
มีโค๊ดแสดงว่ามีการแก้ไข และจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงกว่ามาอนุมัติการทำรายการแก้ไข
ทีนี้พอเข้าใจหรือยังครับว่า พอเราทำรายการโอนฝากข้ามธนาคาร โอกาสที่เครื่องมันจะรับฝาก มีแค่ 1 ใน 10 เท่านั้น เคสนี้เป็นการทำด้วยลูกค้า เจ้าหน้าที่ธนาคาร จึงไม่สามารถทำการดึงเงินกลับมาได้แม้ว่าจะลูกค้าโทรแจ้งแล้วก็ตาม เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่แจ้งจะเป็นลูกค้าที่สุจริต ทำให้คนโกงได้
สมมติว่า นายป้อม อยากจะโกงผู้ขายสินค้าออนไลน์ ก็จะตกลงราคาแล้วก็บอกว่าจะโอนเงินให้ ขอให้ส่งเลขที่บัญชีของผู้ขายมาให้ เมื่อนายป้อมโอนเงินแล้ว ก็ส่งสลิปการโอนเงินให้ผู้ขาย ผู้ขายเช็คแล้วมีเงินเข้าก็ส่งสินค้าให้นายป้อม นายป้อมโทรแจ้งธนาคารว่าตนเองโอนผิดบัญชี ตั้งใจจะโอนเงินให้แฟนที่อยู่อีกธนาคารหนึ่ง หรืออีกสาขาหนึ่ง ถ้าธนาคารบ้าจี้ทำรายการโอนเงินคืนให้นายป้อม นายป้อมก็จะได้สินค้าไปฟรีๆ ผู้ขายสินค้าไม่ได้เงินก็จะหันมาฟ้องร้องธนาคารที่ทำการไม่ถูกต้องทำให้เขาได้รับความเสียหาย
กรณีโอนผิดแบบนี้ ลูกค้าต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจให้เป็นหลักฐานที่ธนาคารเชื่อได้ว่าเป็นเรื่องจริง จึงจะทำรายการดึงเงินกลับคืนเงินให้ผู้ที่ฝากเงินโดยสุจริต แต่ก็มีหลายครั้งที่เมื่อโอนผิดไปแล้ว ลูกค้าที่รับเงินโอนไป เบิกถอนเงินไปใช้จนเงินหมดแล้ว ไม่มีเงินคืนธนาคาร
ทีนี้ก็เป็นเรื่อง เป็นคดีลาภมิควรได้ เงินนั้นไม่ได้เป็นของตนเองเมื่อทราบก็ต้องรีบคืนเงินให้ผู้เสียหาย
ป.ล.ในระบบบัญชีธนาคาร ยังมีตัวเลขอีก 3 หลัก เป็นเลขรหัสธนาคาร ตัวอย่างเช่น 002-123-4-56789-0 บัญชีนี้เป็นของธนาคารกรุงเทพขึ้นต้นด้วยรหัส002 แต่ในการทำรายการของลูกค้าเนื่องจากเป็นการเลือกผ่านแอป จึงได้เลือกตามการเลือกชื่อธนาคาร ถ้าเลือกผิดเช่นไปเลือกธนาคารกรุงไทยที่เป็นรหัส006 เลขที่บัญชีที่ฝากผิดก็จะเป็น 006-123-4-56789-0 ด้วยความฟลุ๊ก เลข10 ตัวหลังซ้ำกัน จึงเกิดเหตุแบบนี้ แต่ถ้าไม่ตรงกันเลขใดเลขหนึ่ง ระบบจะไม่ยอมให้ทำการฝาก