พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
กถาวัตถุปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. มหาวรรค
๑. ปุคคลกถา
ว่าด้วยบุคคล
๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงล้วนๆ๑-
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
อนุโลมปัญจกะ
[๑] สกวาที๒- ถามว่า ท่านหยั่งรู้บุคคล๓- ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์๔- ใช่ไหม๕- ปรวาที๖- ตอบว่า ใช่๗-
-----------
@เชิงอรรถ :
@๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับโอกาส กาล และอวัยวะ (องค์ธรรมย่อย@เช่น ขันธ์ ๕)
@๒ สกวาที หมายถึงพระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัด
@ทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ ๑ ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน (วิมติ.ฏีกา ๑/๓๘)
@๓ บุคคล ในลัทธิของปรวาทีหมายถึงอัตตา สัตตะ หรือชีวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
@๔ สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แยกเป็น ๒ คำ คือ สัจฉิกัฏฐะ + ปรมัตถะ คำว่า สัจฉิกัฏฐะ แปลว่า สภาวะที่แท้จริง
@เป็นได้ทั้งสมมติสัจและปรมัตถสัจ ส่วนคำว่า ปรมัตถะ แปลว่า สภาวะขั้นสูงสุด เป็นปรมัตถสัจอย่างเดียว
@ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งก็หมายถึง ปรมัตถธรรม ๔ คือ
@จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ในที่นี้ ปรวาทีใช้คำ ๒ คำนี้ในความหมายรวมกันว่า ความจริงแท้ขั้นสูงสุด
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙-๑๓๐, องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๐/๘๖-๘๗)
@๕ คำถามนี้มีใจความว่า ท่านเห็นว่า บุคคลมีอยู่จริงใช่ไหม
@๖ ปรวาที หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ
@นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
@๗ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑}
--------------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม๑-
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒-
สก. ท่านจงรับนิคคหะ๓- ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนุโลมปัญจกะ จบ
---------------
@เชิงอรรถ :
@๑ ในคำถามนี้ สกวาทีจงใจแยกคำว่า สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ออกจากกันเป็น ๒ คำ ๒ ความหมาย
@(ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๑) เพื่อไม่เปิดช่องให้ฝ่ายปรวาทีย้อนถามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๐)
@๒ เพราะฝ่ายปรวาทีเห็นคล้อยตามฝ่ายสกวาทีว่า สัจฉิกัฏฐะ ปรมัตถะ มีความหมายแยกกันจริง
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๒)
@๓ นิคคหะ แปลว่า การข่ม การกดขี่ การปราบ(ด้วยวาทะ) ความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง
@ในที่นี้หมายถึงความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒}
--------------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่๑-
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒-
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม๓- ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
-----------
@เชิงอรรถ :
@๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลเป็นสมมติสัจ ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยอาศัยขันธ์ ๕ รวมกัน(อุปาทาบัญญัติ)
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
@๒ เพราะมีความเห็นว่า คำถามนี้คลุมเครือ โดยใช้คำว่า “สัจฉิกัฏฐะ” กับคำว่า “ปรมัตถะ” รวมๆ จึงไม่
@อาจตอบยืนยันเหมือนคำตอบที่ ๑ ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
@๓ ปฏิกรรม แปลว่า การทำคืน การทำตอบ การโต้กลับ การแก้ไข ในที่นี้หมายถึงการโต้กลับเพื่อยกนิคคหะ
@คืนไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓}
-------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๓] ปร. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะ๑- นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ
อุปนยนจตุกกะ
[๔] ปร. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่ยอม
รับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะนั้น
-----------
@เชิงอรรถ :
@๑ อนุโลมปัญจกะ (ข้อ ๑)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔}
-------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่านลง
นิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใด
เป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้น
ของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ
------------
นิคคมจตุกกะ
[๕] ปร. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า
ด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕}
---------------
มีมานานแล้ว
กถาวัตถุปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. มหาวรรค
๑. ปุคคลกถา
ว่าด้วยบุคคล
๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงล้วนๆ๑-
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
อนุโลมปัญจกะ
[๑] สกวาที๒- ถามว่า ท่านหยั่งรู้บุคคล๓- ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์๔- ใช่ไหม๕- ปรวาที๖- ตอบว่า ใช่๗-
-----------
@เชิงอรรถ :
@๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับโอกาส กาล และอวัยวะ (องค์ธรรมย่อย@เช่น ขันธ์ ๕)
@๒ สกวาที หมายถึงพระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัด
@ทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ ๑ ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน (วิมติ.ฏีกา ๑/๓๘)
@๓ บุคคล ในลัทธิของปรวาทีหมายถึงอัตตา สัตตะ หรือชีวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
@๔ สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แยกเป็น ๒ คำ คือ สัจฉิกัฏฐะ + ปรมัตถะ คำว่า สัจฉิกัฏฐะ แปลว่า สภาวะที่แท้จริง
@เป็นได้ทั้งสมมติสัจและปรมัตถสัจ ส่วนคำว่า ปรมัตถะ แปลว่า สภาวะขั้นสูงสุด เป็นปรมัตถสัจอย่างเดียว
@ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งก็หมายถึง ปรมัตถธรรม ๔ คือ
@จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ในที่นี้ ปรวาทีใช้คำ ๒ คำนี้ในความหมายรวมกันว่า ความจริงแท้ขั้นสูงสุด
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙-๑๓๐, องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๐/๘๖-๘๗)
@๕ คำถามนี้มีใจความว่า ท่านเห็นว่า บุคคลมีอยู่จริงใช่ไหม
@๖ ปรวาที หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ
@นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
@๗ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑}
--------------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม๑-
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒-
สก. ท่านจงรับนิคคหะ๓- ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนุโลมปัญจกะ จบ
---------------
@เชิงอรรถ :
@๑ ในคำถามนี้ สกวาทีจงใจแยกคำว่า สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ออกจากกันเป็น ๒ คำ ๒ ความหมาย
@(ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๑) เพื่อไม่เปิดช่องให้ฝ่ายปรวาทีย้อนถามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๐)
@๒ เพราะฝ่ายปรวาทีเห็นคล้อยตามฝ่ายสกวาทีว่า สัจฉิกัฏฐะ ปรมัตถะ มีความหมายแยกกันจริง
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๒)
@๓ นิคคหะ แปลว่า การข่ม การกดขี่ การปราบ(ด้วยวาทะ) ความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง
@ในที่นี้หมายถึงความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒}
--------------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่๑-
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒-
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม๓- ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ
-----------
@เชิงอรรถ :
@๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลเป็นสมมติสัจ ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยอาศัยขันธ์ ๕ รวมกัน(อุปาทาบัญญัติ)
@(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
@๒ เพราะมีความเห็นว่า คำถามนี้คลุมเครือ โดยใช้คำว่า “สัจฉิกัฏฐะ” กับคำว่า “ปรมัตถะ” รวมๆ จึงไม่
@อาจตอบยืนยันเหมือนคำตอบที่ ๑ ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
@๓ ปฏิกรรม แปลว่า การทำคืน การทำตอบ การโต้กลับ การแก้ไข ในที่นี้หมายถึงการโต้กลับเพื่อยกนิคคหะ
@คืนไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓}
-------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๓] ปร. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะ๑- นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ
อุปนยนจตุกกะ
[๔] ปร. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่ยอม
รับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะนั้น
-----------
@เชิงอรรถ :
@๑ อนุโลมปัญจกะ (ข้อ ๑)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔}
-------------
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่านลง
นิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใด
เป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้น
ของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ
------------
นิคคมจตุกกะ
[๕] ปร. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า
ด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕}
---------------