พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
อาหารวาร
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่ สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
[๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ ภาษาบาลี อักษรไทย พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ สุตฺต. ม. มูลปณฺณาสกํ สมฺมาทิฏฺฐิสุตฺตํ
[๑๑๓] สิยาวุโสติ ๑- อายสฺมา สารีปุตฺโต อโวจ ยโต โข อาวุโส อริยสาวโก อาหารญฺจ ปชานาติ อาหารสมุ ทยญฺจ ปชานาติ อาหารนิโรธญฺจ ปชานาติ อาหารนิโรธคามินึ ปฏิปทญฺจ ปชานาติ เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส อริยสาวโก สมฺมาทิฏฺฐี โหติ อุชุคตาสฺส ทิฏฺฐิ ธมฺเม อเวจฺจปฺปสา เทน สมนฺนาคโต อาคโต อิมํ สทฺธมฺมนฺติ ฯ กตโม ปนาวุโส อาหาโร กตโม อาหารสมุทโย กตโม อาหารนิโรโธ กตมา อาหารนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ฯ
{๑๑๓.๑} จตฺตาโรเม อาวุโส อาหารา ภูตานํ วา สตฺตานํ ฐิติยา สมฺภเวสีนํ วา อนุคฺคหาย ฯ กตเม จตฺตาโร ฯ กวฬิงฺกาโร อาหาโร โอฬาริโก วา สุขุโม วา ผสฺโส ทุติโย มโนสญฺเจตนา ตติยา วิญฺญาณํ จตุตฺถํ ฯ ตณฺหาสมุทยา อาหารสมุทโย ตณฺหานิโรธา อาหารนิโรโธ อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค อาหารนิโรธคามินี ปฏิปทา เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา @เชิงอรรถ: ๑ สี. ยุ. สิยาวุโส ยโต โข อาวุโส ฯ
สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ ฯ ยโต โข อาวุโส อริยสาวโก เอวํ อาหารํ ปชานาติ เอวํ อาหารสมุทยํ ปชานาติ เอวํ อาหารนิโรธํ ปชานาติ เอวํ อาหารนิโรธคามินึ ปฏิปทํ ปชานาติ โส สพฺพโส ราคานุสยํ ปหาย ปฏิฆานุสยํ ปฏิวิโนเทตฺวา อสฺมีติ ทิฏฺฐิมานานุสยํ สมูหนิตฺวา อวิชฺชํ ปหาย วิชฺชํ อุปฺปาเทตฺวา ทิฏฺเฐว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส อริยสาวโก สมฺมาทิฏฺฐี โหติ อุชุคตาสฺส ทิฏฺฐิ ธมฺเม อเวจฺจปฺปสาเทน สมนฺนาคโต อาคโต อิมํ สทฺธมฺมนฺติ ฯ
อาหาร ๔ สัมมาทิฏฐิสูตร