วิญญาณาหารกับการฝึกอบรมจิต
· มีหลักฐานในพระคัมภีร์ทางปริยัติสัทธรรมว่า จิตกับวิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน อยู่ที่ว่าจะหมายถึงบริบทใด
· ในสัมมาทิฏฐิสูตร แสดงว่า วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณมี เพราะ ตัณหา (ความทะยานอยากได้อยากมีอยากไม่เป็น) มี
· โดยนัยในสัมมาทิฏฐิสูตร
o วิญญาณเป็นทุกข์ ควรใช้สติสัมปชัญญะตามรู้อยู่เฝ้ากำหนดดูอยู่
o ตัณหาที่เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณเกิดเป็นทุกขสมุทัย ควรละ
o ตัณหานิโรธ ควรทำให้แจ้ง
o หนทางดับตัณหา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ควรเจริญให้มีไว้ที่กายวาจาใจ
· โดยนัยในมหาสติปัฏฐานสูตร
o สัจจบรรพ ว่าด้วย อริยสัจจ์ ๔ และ อายตนิกธรรม ๖๐ แสดงไว้ว่า ตัณหา จะเกิดจะดับที่ “สิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ” (ปิยรูป สาตรูป) หรือ อายตนิกธรรมทั้ง ๖๐ นี่เอง ซึ่งใน ปิยรูป สาตรูป ทั้ง ๖๐ นี้ ก็มี อาหาร ๔ อยู่ด้วย
วิญญาณาหารกับการฝึกอบรมจิต
· มีหลักฐานในพระคัมภีร์ทางปริยัติสัทธรรมว่า จิตกับวิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน อยู่ที่ว่าจะหมายถึงบริบทใด
· ในสัมมาทิฏฐิสูตร แสดงว่า วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณมี เพราะ ตัณหา (ความทะยานอยากได้อยากมีอยากไม่เป็น) มี
· โดยนัยในสัมมาทิฏฐิสูตร
o วิญญาณเป็นทุกข์ ควรใช้สติสัมปชัญญะตามรู้อยู่เฝ้ากำหนดดูอยู่
o ตัณหาที่เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณเกิดเป็นทุกขสมุทัย ควรละ
o ตัณหานิโรธ ควรทำให้แจ้ง
o หนทางดับตัณหา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ควรเจริญให้มีไว้ที่กายวาจาใจ
· โดยนัยในมหาสติปัฏฐานสูตร
o สัจจบรรพ ว่าด้วย อริยสัจจ์ ๔ และ อายตนิกธรรม ๖๐ แสดงไว้ว่า ตัณหา จะเกิดจะดับที่ “สิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ” (ปิยรูป สาตรูป) หรือ อายตนิกธรรมทั้ง ๖๐ นี่เอง ซึ่งใน ปิยรูป สาตรูป ทั้ง ๖๐ นี้ ก็มี อาหาร ๔ อยู่ด้วย