พระเจ้าผู้สร้างโลกและจักรวาล คือ จิตและอวิชชา

จิต คือ ธาตุรู้ สักแต่ว่ารู้ ลักษณะผ่องใส มีพลังงานในตนเอง ส่องสว่างเป็นประภัสสร ดุจดังดวงอาทิตย์ เป็นธาตุที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติไม่เกิดและไม่แตกสลาย ไม่มีรูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งที่ไปหลงรู้

อวิชชา คือ ความไม่รู้ ความมืดบอด ดำสนิทเป็นสิ่งที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ

เมื่ออวิชชามาครอบงำจนมืดบอดดำสนิท จึงเกิดจิตสังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง จิตและอวิชชา ใช้พลังงานของจิต สร้างวัฏสงสาร คือ โลกจำลอง พรหมโลก สวรรค์ โลกมนุษย์ นรก ดวงดาวและจักรวาลต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนเป็นแสนล้านจักรวาล เรียกว่า โลกธาตุ โดยสร้างจากธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม โดยใช้พลังงานของจิตเป็นตัวขับเคลื่อนโลกธาตุ ปรากฏการณ์นี้ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า “บิ๊กแบงค์” คือ การระเบิดของก้อนพลังงานเล็กๆ (จิต) ที่มีพลังงานมากมายมหาศาล เกิดเป็นจักรวาลและเอกภพ

เมื่อโลกธาตุกำเนิดขึ้น จิตและอวิชชา ได้ปรุงแต่งธาตุทั้ง 4 เป็น อรูปพรหม พรหม เทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรก เป็นตัวละครในโลกธาตุที่จิตสร้างขึ้น รวมเรียกว่า “สัตว์” ตัวละครจะแสดงบทบาทตามบทที่ลิขิตไว้ คือ กฏแห่งกรรม และอยู่ในกฏไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

จิต ที่เป็น ธาตุรู้ ได้มาถือครอง “สัตว์” โดยใช้ “วิญญาณ” เชื่อมระหว่าง “จิต” กับ “กาย” (สัตว์) เกิดเป็นขันธ์ 5 คือ รูป (กาย) เวทนา (ความสุข ความทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ (อาการรู้ของจิต)
จิตหลงในบทบามการแสดงของสัตว์ หลงว่าขันธ์ 5 เป็น “ตัวเรา ของเรา” ด้วยความเพลิดเพลิน (กิเลส ตัณหา) เกิดการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวัฏสงสาร สลับบทบาทกันเป็นอรูปพรหม พรหม เทวดา พระราชา เศรษฐี ยาจก คนพิการ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรก ตามผลบุญ ผลกรรมไม่มีที่สิ้นสุด คือ วัฏสงสาร

มหาบุรุษ คือ พระโพธิสัตว์ ผู้เห็นภัยแห่งวัฏสงสาร ทรงอานาปานสติ คือ การมีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออก จนถึง จตุตถฌาน (ฌาน 4) จิต จะแยกออกจากกายและขันธ์ 5 อวิชชาไม่สามารถครอบงำจิตได้ชั่วขณะ
ลองสังเกตุเมื่อปฏิบัติสมาธิจนถึง ฌาน 4 จิตจะมีกำลังมากมีความเป็นทิพย์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ รวมเรียกว่า อภิญญา เป็นผลจากการฝึกกสิณทั้ง 10 กอง จนบรรลุฌาน 4 ซึ่งอวิชชาไม่สามารถนำพลังงานของจิตไปใช้งานได้ จิต จึงสามารถใช้พลังงานของตนได้อย่างเต็มที่

พระโพธิสัตว์ทรงใช้กำลังสมาธิในจตุตถฌาน พิจารณาขันธ์ 5 คือ รูป (กาย) เวทนา (ความสุข ความทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ (อาการรู้ของจิต) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เรียกว่า วิปัสสนา

จิตเบื่อหน่ายความกำหนัดในขันธ์ 5 จิตวิมุติหลุดพ้นจากิเลส อวิชชา ตัณหา อันเป็นเครื่องร้อยรัดจิตไว้กับขันธ์ 5 จิต น้อมลงในความว่าง อันสงบ ประณีต ไร้ขันธ์ 5 ไร้ความคิดปรุงแต่งทั้งปวง (สุญญตา) กลายเป็นอมตธาตุ หรือ พระนิพพาน ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ตลอดกาล

พระเจ้าผู้สร้างโลกและจักรวาล คือ จิตและอวิชชา ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นที่จิตและดับลงที่จิต
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่