📌 จริงๆการทำ Intermittent fasting นี่ไม่ได้ใหม่นะครับ ก็อย่างที่ทราบว่ามันมีมาตั้งแต่สมัยนานแล้วในบัญญัติ ทางความเชื่อทางศาสนา ศีลอด หรือ ปอซอ หรือ ศิยาม ก็คือรูปแบบนึงของการหยุดทานอาหารในระยะเวลาที่กำหนดเช่นเดียวกัน
📚 ในการศึกษาครั้งนี้ ถึงหัวข้อเขาจะเขียนว่า Intermittent fasting แต่ในงานก็คือการถือศีลอดนั่นแหละ เขาก็ศึกษาเพื่อดูผลของการ Metabolism น้ำตาล (glucose) และลิพิด (lipid) และพวก Proteomic ที่เกี่ยวกับการต้านมะเร็ง หลังจากถือศีลอดได้ 30 วันบ้าง
🔎 ศึกษาในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นคนที่มีความตั้งใจจะถือศีลในช่วงรอมฎอนอยู่แล้ว BMI ต่ำกว่า 30 สุขภาพดีไม่เจ็บป่วยหรือใช้ยารักษาอาการอะไรอยู่ การ fasting ในแต่ละวัน ก็ให้เริ่มตั้งแต่รุ่งสาง ถ้ากินก็กินก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะกินอีกทีตอนพระอาทิตย์ตก และแน่นอนระหว่างวัน ไม่มีน้ำ ขนม ใดๆ ส่วนพลังงานอาหารไม่ได้จำกัดว่าจะทานเท่าไหร่ แต่เขาก็แนะนำว่าให้ทานใกล้เคียงเดิมที่เคยทาน
📝 ก็ได้กลุ่มตัวอย่างมา 14 คน อายุเฉลี่ย 32 ปี แล้วก็เจาะเลือดเก็บไปตรวจ Serum ดูค่าต่างๆ พวก Proteomics มีค่าอะไรบ้างนี่ไปดูกันในงานได้เลยนะครับ เพราะมันเยอะสาธยายไม่หมด 55 นอกจากนั้นก็มีการเก็บอุจจาระไปดูเรื่องจุลินทรีย์ด้วย ซึ่งไอ้ตรงนี้ก็ละเอียดเข้าไปอีก
📌 เขาบอกว่าการทำ IF แบบถือศีล 30 วัน มีผลดีเกี่ยวกับ Metabolic , การอักเสบ , ระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงสิ่งที่อาจจะส่งผลต่อการรักษามะเร็งด้วย (ส่วนแบบละเอียดๆ ว่าอะไรอาจจะไปส่งผลอะไรยังไงเนี่ย ในงานเขากล่าวไว้ยาวเหยียดเลย เช่นได้ผลดีต่อการป้องกันความอ้วน เบาหวาน หรือภาวะ Metabolic syndrome
😎 แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่ามันส่งผลเด๊ะๆนะครับ แค่ว่าอาจจะส่งผลต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ เพราะสิ่งที่เขาศึกษา คือ serum proteomics เนี่ยมันก็เป็นผลในระดับย่อยๆๆๆ ในร่างกาย อาจจะส่งผลต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้อีกหลายอย่าง
📌 โดยสรุปเนี่ย ก็จัดว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ ทั้งนี้การทานอาหารเนื่องจากเขาไม่ได้ดูเรื่องอาหารที่ทาน เพียงแค่บอกให้ทานเหมือนเดิม และดูจากเกณฑ์ในการคัดคน ว่าเป็นคนสุขภาพดี ไม่อ้วน ก็คิดว่าการทานอาหารของแต่ละคนคงไม่อยู่ในเกณฑ์แย่ เพราะเคยรู้จักกับบางท่านที่ถือศีลแต่ช่วงที่ทานได้ ก็ทานสุดติ่ง อันนั้นต่อให้จำกัดเวลาก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-19-intermittent-fasting-from-dawn-to-sunset-for-30-consecutive-days/
🕌 การถือศีลอด ส่งผลยังไงกับ Metabolism น้ำตาลและไขมันบ้าง
📚 ในการศึกษาครั้งนี้ ถึงหัวข้อเขาจะเขียนว่า Intermittent fasting แต่ในงานก็คือการถือศีลอดนั่นแหละ เขาก็ศึกษาเพื่อดูผลของการ Metabolism น้ำตาล (glucose) และลิพิด (lipid) และพวก Proteomic ที่เกี่ยวกับการต้านมะเร็ง หลังจากถือศีลอดได้ 30 วันบ้าง
🔎 ศึกษาในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นคนที่มีความตั้งใจจะถือศีลในช่วงรอมฎอนอยู่แล้ว BMI ต่ำกว่า 30 สุขภาพดีไม่เจ็บป่วยหรือใช้ยารักษาอาการอะไรอยู่ การ fasting ในแต่ละวัน ก็ให้เริ่มตั้งแต่รุ่งสาง ถ้ากินก็กินก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แล้วก็จะกินอีกทีตอนพระอาทิตย์ตก และแน่นอนระหว่างวัน ไม่มีน้ำ ขนม ใดๆ ส่วนพลังงานอาหารไม่ได้จำกัดว่าจะทานเท่าไหร่ แต่เขาก็แนะนำว่าให้ทานใกล้เคียงเดิมที่เคยทาน
📝 ก็ได้กลุ่มตัวอย่างมา 14 คน อายุเฉลี่ย 32 ปี แล้วก็เจาะเลือดเก็บไปตรวจ Serum ดูค่าต่างๆ พวก Proteomics มีค่าอะไรบ้างนี่ไปดูกันในงานได้เลยนะครับ เพราะมันเยอะสาธยายไม่หมด 55 นอกจากนั้นก็มีการเก็บอุจจาระไปดูเรื่องจุลินทรีย์ด้วย ซึ่งไอ้ตรงนี้ก็ละเอียดเข้าไปอีก
📌 เขาบอกว่าการทำ IF แบบถือศีล 30 วัน มีผลดีเกี่ยวกับ Metabolic , การอักเสบ , ระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงสิ่งที่อาจจะส่งผลต่อการรักษามะเร็งด้วย (ส่วนแบบละเอียดๆ ว่าอะไรอาจจะไปส่งผลอะไรยังไงเนี่ย ในงานเขากล่าวไว้ยาวเหยียดเลย เช่นได้ผลดีต่อการป้องกันความอ้วน เบาหวาน หรือภาวะ Metabolic syndrome
😎 แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่ามันส่งผลเด๊ะๆนะครับ แค่ว่าอาจจะส่งผลต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ เพราะสิ่งที่เขาศึกษา คือ serum proteomics เนี่ยมันก็เป็นผลในระดับย่อยๆๆๆ ในร่างกาย อาจจะส่งผลต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้อีกหลายอย่าง
📌 โดยสรุปเนี่ย ก็จัดว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ ทั้งนี้การทานอาหารเนื่องจากเขาไม่ได้ดูเรื่องอาหารที่ทาน เพียงแค่บอกให้ทานเหมือนเดิม และดูจากเกณฑ์ในการคัดคน ว่าเป็นคนสุขภาพดี ไม่อ้วน ก็คิดว่าการทานอาหารของแต่ละคนคงไม่อยู่ในเกณฑ์แย่ เพราะเคยรู้จักกับบางท่านที่ถือศีลแต่ช่วงที่ทานได้ ก็ทานสุดติ่ง อันนั้นต่อให้จำกัดเวลาก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-19-intermittent-fasting-from-dawn-to-sunset-for-30-consecutive-days/