🤔 มันก็มักจะมีคำกล่าวว่าดื่มกาแฟแล้วทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ Dehydrate นะครับ ซึ่งในกาแฟเนี่ย มันมีคาเฟอีน ที่มามันมาจากการศึกษาเมื่อนานนนมาแล้ว เกือบ 100 ปีก่อนโน่นแหนะ เขาศึกษาผลของคาเฟอีน กับการขับปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ (Diuretic Effect) แล้วพบว่ามันมีผล
🔎 จากนั้นก็มีการศึกษาการรับคาเฟอีนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเม็ด ผง เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ในปริมาณต่างๆ ว่ามีผลต่อการขับปัสสาวะหรือไม่ ก็มีผลแตกต่างกันออกไป
🤔 ทีนี้ถ้ามองในแง่ของถ้าดื่มเป็นกาแฟละ มันก็มีสองงานที่ดื่มเป็นกาแฟ งานแรกให้ดื่มกาแฟ 6 แก้ว (ได้คาเฟอีน 524mg) แล้วก็ดูฉี่ เขาพบว่ามันขับฉี่มากขึ้น แต่ถ้าไปดูเงื่อนไขการเลือกคนมาทดลอง เขาใช้คนที่ทานคาเฟอีนประจำ แต่ให้งดคาเฟอีนก่อนทดลอง 5 วัน ตรงนี้มันก็ไม่อาจจะแปลผลได้เหมือนการดื่มกาแฟเป็นประจำทั่วๆไป
📝 อีกงานนึงให้ดื่มเครื่องดื่มสามอย่างในปริมาณเท่าๆกันเทียบกันหลายๆรูปแบบ ก็มีกาแฟ มีคาเฟอีน มีน้ำอัดลม และมีเครื่องดื่มไม่มีคาเฟอีนด้วย แล้วดู hydration marker งานนี้บอกว่า คำแนะนำที่ให้เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่จำเป็น แต่ดั๊นนน งานนี้ไม่มีการดูผลเรื่องน้ำในร่างกาย
😎 ร่ายมาซะยาว มันก็เป็นที่มาของงานที่หยิบมานำเสนอในวันนี้นะครับ เขาจะศึกษาการดื่มกาแฟ ที่มันเป็นการดื่มประจำๆ (Habitual) ทั่วๆไปแบบชาวบ้านชาวช่องเขาดื่มกันเนี่ย ว่ามันมีผลอะไรกับไอ้การขาดน้ำ (Dehydrate) รึเปล่า
📝 เขาก็นำคนมา 52 คน อายุระหว่าง 18-46 ปี สุขภาพดีไม่สูบบุหรี่ คัดมาจากร้อยกว่าคน ทดลองในผู้ชายอย่างเดียวนะ เพราะผู้หญิงเรื่องรอบเดือนจะมีผลต่อน้ำในร่างกาย เขาเลยไม่นำมาทดสอบ คนเหล่านี้ก็เป็นคนที่ดื่มกาแฟ 3-6 แก้ว ได้รับคาเฟอีน 300-600mg ต่อวันเป็นประจำอยู่แล้ว
🔎 จากนั้นก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทำการทดลองดื่ม กาแฟดำ 4 แก้ว (200ml) เทียบกับการดื่มน้ำเปล่า ดื่มอย่างละ 3 วัน พักช่วงนึง (Washout) แล้วก็สลับไปดื่มเครื่องดื่มอีกอย่าง พวกอาหารการออกกำลังกายก็มีการบันทึกไว้ประเมินผลด้วย รายละเอียดไปดูกันในงานได้เลย
📝 ทีนี้ผลที่เขาตรวจ ก็ดูผลเลือด ดูมวลน้ำ (Total body water) และ มวลกาย (Body mass) ซึ่งการดูมวลกายเนี่ยเขาก็ตรวจแบบเปลือยกายเลยนะจ๊ะเอาเป๊ะขนาดนั้น พวกมวลน้ำเขาใช้วิธี Labelled isotop D2O ที่บอกตรงก็คือเขาใช้วิธี Gold standard อยู่นะสำหรับการวัดมวลน้ำ ก็เชื่อถือได้ค่อนข้างมากแหละ นอกจากนั้นก็เก็บตัวอย่างปัสสาวะไปดูค่าอื่นๆด้วย
🔎 ผลที่ได้เนี่ย เขาพบว่ามันโคตรจะไม่ต่างกันเลยในแง่ของ Hydration properties ต่างๆ ระหว่างการดื่มกาแฟวันละ 4 แถ้ว กับน้ำเปล่า ในระยะเวลา 3 วัน ผลเลือด Blood urea nitrogen หรือ Serum creatinine ซึ่งบอกการทำงานของไต ก็ปกติและไม่ต่างกัน มวลน้ำในร่างกายก็ไม่ได้แตกต่างกัน มีระดับโซเดียมในปัสสาวะที่ตอนดื่มกาแฟสูงกว่าตอนดื่มอยู่หน่อย
😎 จุดนึงที่น่าสนใจก็คือในงานนี้ การดื่มน้ำของแต่ละคน ก็ให้ดื่มน้ำตามที่ดื่มๆอยู่ ไม่ได้กำหนดให้ดื่มเท่านั้นเท่านี้ตายตัว ซึ่งเขาก็สรุปไว้ว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วทั่วๆไป หรือคาเฟอีนระดับ 4mg/น้ำหนักตัว เนี่ยไม่ได้ส่งผลที่จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ กินน้อยกว่านี้ก็ไม่น่ามีปัญหา ถ้ากินเยอะกว่านี้ยังบอกไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเกินวันละ 5 แก้ว บอกได้อย่างนึง
เปลือง
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-18-no-evidence-of-dehydration-with-moderate-daily-coffee-intake/
☕️ กาแฟทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรึเปล่า ?
🔎 จากนั้นก็มีการศึกษาการรับคาเฟอีนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเม็ด ผง เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ในปริมาณต่างๆ ว่ามีผลต่อการขับปัสสาวะหรือไม่ ก็มีผลแตกต่างกันออกไป
🤔 ทีนี้ถ้ามองในแง่ของถ้าดื่มเป็นกาแฟละ มันก็มีสองงานที่ดื่มเป็นกาแฟ งานแรกให้ดื่มกาแฟ 6 แก้ว (ได้คาเฟอีน 524mg) แล้วก็ดูฉี่ เขาพบว่ามันขับฉี่มากขึ้น แต่ถ้าไปดูเงื่อนไขการเลือกคนมาทดลอง เขาใช้คนที่ทานคาเฟอีนประจำ แต่ให้งดคาเฟอีนก่อนทดลอง 5 วัน ตรงนี้มันก็ไม่อาจจะแปลผลได้เหมือนการดื่มกาแฟเป็นประจำทั่วๆไป
📝 อีกงานนึงให้ดื่มเครื่องดื่มสามอย่างในปริมาณเท่าๆกันเทียบกันหลายๆรูปแบบ ก็มีกาแฟ มีคาเฟอีน มีน้ำอัดลม และมีเครื่องดื่มไม่มีคาเฟอีนด้วย แล้วดู hydration marker งานนี้บอกว่า คำแนะนำที่ให้เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่จำเป็น แต่ดั๊นนน งานนี้ไม่มีการดูผลเรื่องน้ำในร่างกาย
😎 ร่ายมาซะยาว มันก็เป็นที่มาของงานที่หยิบมานำเสนอในวันนี้นะครับ เขาจะศึกษาการดื่มกาแฟ ที่มันเป็นการดื่มประจำๆ (Habitual) ทั่วๆไปแบบชาวบ้านชาวช่องเขาดื่มกันเนี่ย ว่ามันมีผลอะไรกับไอ้การขาดน้ำ (Dehydrate) รึเปล่า
📝 เขาก็นำคนมา 52 คน อายุระหว่าง 18-46 ปี สุขภาพดีไม่สูบบุหรี่ คัดมาจากร้อยกว่าคน ทดลองในผู้ชายอย่างเดียวนะ เพราะผู้หญิงเรื่องรอบเดือนจะมีผลต่อน้ำในร่างกาย เขาเลยไม่นำมาทดสอบ คนเหล่านี้ก็เป็นคนที่ดื่มกาแฟ 3-6 แก้ว ได้รับคาเฟอีน 300-600mg ต่อวันเป็นประจำอยู่แล้ว
🔎 จากนั้นก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ทำการทดลองดื่ม กาแฟดำ 4 แก้ว (200ml) เทียบกับการดื่มน้ำเปล่า ดื่มอย่างละ 3 วัน พักช่วงนึง (Washout) แล้วก็สลับไปดื่มเครื่องดื่มอีกอย่าง พวกอาหารการออกกำลังกายก็มีการบันทึกไว้ประเมินผลด้วย รายละเอียดไปดูกันในงานได้เลย
📝 ทีนี้ผลที่เขาตรวจ ก็ดูผลเลือด ดูมวลน้ำ (Total body water) และ มวลกาย (Body mass) ซึ่งการดูมวลกายเนี่ยเขาก็ตรวจแบบเปลือยกายเลยนะจ๊ะเอาเป๊ะขนาดนั้น พวกมวลน้ำเขาใช้วิธี Labelled isotop D2O ที่บอกตรงก็คือเขาใช้วิธี Gold standard อยู่นะสำหรับการวัดมวลน้ำ ก็เชื่อถือได้ค่อนข้างมากแหละ นอกจากนั้นก็เก็บตัวอย่างปัสสาวะไปดูค่าอื่นๆด้วย
🔎 ผลที่ได้เนี่ย เขาพบว่ามันโคตรจะไม่ต่างกันเลยในแง่ของ Hydration properties ต่างๆ ระหว่างการดื่มกาแฟวันละ 4 แถ้ว กับน้ำเปล่า ในระยะเวลา 3 วัน ผลเลือด Blood urea nitrogen หรือ Serum creatinine ซึ่งบอกการทำงานของไต ก็ปกติและไม่ต่างกัน มวลน้ำในร่างกายก็ไม่ได้แตกต่างกัน มีระดับโซเดียมในปัสสาวะที่ตอนดื่มกาแฟสูงกว่าตอนดื่มอยู่หน่อย
😎 จุดนึงที่น่าสนใจก็คือในงานนี้ การดื่มน้ำของแต่ละคน ก็ให้ดื่มน้ำตามที่ดื่มๆอยู่ ไม่ได้กำหนดให้ดื่มเท่านั้นเท่านี้ตายตัว ซึ่งเขาก็สรุปไว้ว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วทั่วๆไป หรือคาเฟอีนระดับ 4mg/น้ำหนักตัว เนี่ยไม่ได้ส่งผลที่จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ กินน้อยกว่านี้ก็ไม่น่ามีปัญหา ถ้ากินเยอะกว่านี้ยังบอกไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเกินวันละ 5 แก้ว บอกได้อย่างนึง เปลือง
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-18-no-evidence-of-dehydration-with-moderate-daily-coffee-intake/