สมชัย ย้ำ ‘ตู่’ หากศาลสั่งต้องยุติทันที ห้ามนั่งรักษาการ ‘พิชาย’ แนะลาออกผ่านทีวี ลงแบบสง่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3518020
วงเสวนา บิ๊กตู่ 8 ปี ‘สมชัย’ แนะหยุดดันทุรัง ผูกขาดอำนาจ ชี้ เดินหน้าต่อทุกข์หนักกว่าเดิม ย้ำ หากศาลสั่งยุติต้องหยุดทำหน้าที่ทันที ห้ามนั่งรักษาการ ด้าน ‘พิชาย’แนะ ทางลงแบบสง่างามประกาศลาออกผ่านทีวี
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 20 สิงหาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเครือข่าย 99 พลเมือง จัดเวทีสาธารณะ “
วิเคราะห์การเมืองไทยหลังเงื่อนไข 8 ปีนายกฯ และชะตากรรมพล.อ.ประยุทธ์” โดย นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย (สร.) อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า
ทางออกของพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ใช่มีแค่ 3 ทางแต่ยังมีทางเลือกที่ 4 คือ โดนประชาชนไล่และขอให้คิดด้วยว่ามีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ เพราะกระแสของประชาชนเข้าใจว่าส่วนหนึ่งอึดอัดใจกับการบริหารประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับประชาชนได้ และการคงอยู่ในตำแหน่งที่นานเป็นการคงอยู่ในตำแหน่ง โดยใช้เทคนิคทางการเมือง
ดังนั้นการคงอยู่ 8 ปีเป็นการผูกขาดอำนาจที่ไม่ใช่วิธีในรัฐสภาปกติและรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นมา เพื่อบอกว่าในกรณีปกติ แม้ว่าท่านจะมาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่จะอยู่ต่อ 2 สมัยติดต่อกันไม่ได้ และจะอยู่ 8 ปีติดต่อหรือไม่ติดต่อกันก็ไม่ได้ถ้ามาจากการเลือกตั้งและ 8 ปีของท่านไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งหมด 4 ปีครึ่งมาจากการทำรัฐประหาร อีก 3 ปีกว่ามาจากการฉ้อฉนในอำนาจ ขอแนะนำว่าท่านควรปล่อยวางในเรื่องนี้ หากไม่ปล่อยวางจะทุกข์หนักมากกว่านี้
นาย
สมชัย กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านเข้าชื่อกันเพื่อให้ประธานรัฐสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการดำรงตำแหน่ง 8 ปีของพล.อ.
ประยุทธ์ ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องวันไหนไม่รู้ แต่จะยื่นในวันที่ 22 สิงหาคมนี้ ซึ่งวันที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเป็นจุดหนึ่งที่ต้องจับตาดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งอย่างไร เพราะการรับได้ 2 อย่างคือ
1. รับแล้ววินิจฉัย
2. รับแล้วสั่งให้ยุติการปฎิบัติหน้าที่ เพราะถ้าหากอยู่ต่ออาจจะเป็นผลเสียต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ฉะนั้นจุดที่จะต้องดูคือจุดที่
1. ที่จะต้องดูคือเมื่อศาลรับแล้วศาลจะสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่หรือไม่ถ้าสั่งหยุด จะต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่แบบไม่มีเงื่อนไข จะนั่งรักษาการหรือนั่งเป็นประธานอะไรไม่ได้
2. กรณีที่ศาลยังไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เชื่อว่าศาลจะใช้เวลาไม่นาน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นทางกฎหมาย ไม่ประเด็นที่ต้องแสวงหาข้อมูลหลักฐาน พยานมาพิสูจน์อะไรอีกเป็นเพียงข้อกฏหมาย เชื่อว่าความรู้ความสามารถของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แค่อ่านกฎหมายมาตรา 158 วรรคสี่ เพื่อบอกว่าอะไรเป็นอะไร ใช่หรือไม่ใช่วินิจฉัยได้ทันที เชื่อว่าศาลจะใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้ หากมีผลออกมาให้ทำหน้าที่ต่อ เชื่อว่าจะเกิดความวุ่นวายแน่นอน
นาย
สมชัย กล่าวอีกว่า แต่หากสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ศาลจะสั่งวันไหนก็แล้วแต่ ต้องถอยกลับมา ณ วันที่ 24 สิงหาคมนี้พล.อ.
ประยุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์ต่างๆทั้งเงินเดือน เงิน ประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวท่านจะต้องคืนหลวงทั้งหมด
ทั้งนี้ ฉากทัศน์ภาพที่เลวร้ายที่สุด คือ ไม่ลง ไม่ออกจากตำแหน่งรอให้ศาลตัดสิน หรือไปล็อบบี้ศาลให้ตนเองอยู่ในอำนาจได้นานที่สุด เชื่อว่าความขัดแย้งในบ้านเมืองจะขยายตัวประชาชนจะไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น
ด้าน นาย
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า วันที่ 23 สิงหาคมนี้ ขอให้จับตาดู มี 3 ทางเลือกคือ
1. ลาออกจากตำแหน่ง
2. ยุบสภา
และ 3. คือรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
แต่ทางออกที่ดีของพล.อ.
ประยุทธ์ และที่ดีต่อประเทศชาติ สถานการณ์การเมืองในประเทศ คือในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ นายกฯควรออกรายการทีวีพูล ไปนั่งประกาศอำลาประชาชนว่าขอยุติการปฎิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และขอให้ประธานรัฐสภาดำเนินการเลือกนายกฯคนใหม่มาตามกระบวนการ
สมชาย ชำแหละ 5 ข้อถกเถียงสำคัญทางกฏหมาย 8 ปี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3517769
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่บทความเรื่อง ข้อถกเถียงสำคัญทางกฎหมายกรณี 8 ปี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่า
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ 51 คณาจารย์ที่เห็นว่าวาระของคุณประยุทธ์ จะสิ้นสุดลงในวันที่ 24 สิงหาคม และได้มีการถกเถียงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ผมมีความเห็นว่าประเด็นที่เป็นใจกลางของข้อถกเถียงมีดังต่อไปนี้
ประเด็นแรก ในตอนเริ่มต้นผมมีความเห็นว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญค่อนข้างมีความชัดเจนที่กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกฯ ไม่เกิน 8 ปี แต่ในภายหลังได้เกิดการโต้แย้งและความเห็นแย้งอย่างมาก ดังนั้น จึงอาจอนุโลมได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น ในการอธิบายความหมายของมาตรานี้จึงต้องค้นหา “เจตนารมณ์” ของรัฐธรรมนูญ ว่าบทบัญญัติที่เกิดขึ้นควรมีความหมายอย่างไร
ประเด็นที่สอง คำถามสำคัญที่ติดตามมาและถือเป็นหัวใจของข้อถกเถียงก็คือ จะค้นหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างไร เป็นที่รับรู้กันว่าเมื่อต้องการค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย การให้ความหมายหรือการถกเถียงของผู้ร่างในกระบวนการจัดทำถือเป็นแหล่งที่มาสำคัญอันหนึ่ง (แม้การให้ความหมายของผู้ร่างในภายหลัง เช่น การให้สัมภาษณ์ในเวลาปัจจุบันก็ไม่มีน้ำหนักเทียบเท่า) กรณีของบทบัญญัติเรื่องวาระ 8 ปี ของนายกรัฐมนตรีก็มีความชัดเจนในรายงานการประชุมว่าให้ครอบคลุมถึงการดำรงตำแหน่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้าโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ
เพราะฉะนั้น ก็ควรรวมไปถึงการดำรงก่อนหน้า พูดให้ชัดมากขึ้นก็คือ ถ้า พล.อ. เปรม ยังไม่ถึงแก่ความตาย ก็ไม่สามารถกลับมาเป็นนายกฯ ได้อีก เพราะดำรงตำแหน่งมาครบ 8 ปีแล้ว
ประเด็นที่สาม เมื่อการโต้แย้งเป็นเรื่องการค้นหาเจตนารมณ์ จึงเป็นการให้คำอธิบายว่ากระบวนการค้นหาเจตนารมณ์จะทำอย่างไรจึงเข้าถึงได้มากที่สุด มันไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับการจำกัดวาระ 8 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการให้เหตุผลของบรรดาผู้ร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ผมยังยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ 2560 คือ ปัญหาสำคัญของสังคมไทยปัจจุบัน
ประเด็นที่สี่ มีการหยิบยกว่าบทบัญญัตินี้ไม่อาจเทียบเคียงกับกรณีคุณสิระ เจนจาคะ เพราะกรณีดังกล่าวมีคำว่า “เคย” กระทำในสิ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้าม แต่กรณีนายกฯ ไม่ได้มีคำว่า “เคย” เป็นนายกฯ ผมเห็นว่าการมีคำว่าเคยหรือไม่มีคำนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะมีเจตนารมณ์บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างชัดเจนแล้ว ย่อมไม่อาจนำเอาถ้อยคำมาเปลี่ยนแปลงความหมายถ้าไม่ชัดเจนเพียงพอ หากพยายามตีความด้วยการใช้ถ้อยคำบางถ้อยคำก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นว่าเป็นการตีความเพื่อสนับสนุนระบอบอำนาจนิยมให้สามารถดำรงอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ประเด็นที่ห้า การโต้แย้งว่าบทบัญญัติ 8 ปี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบประธานาธิบดี ไม่ควรนำมาใส่ไว้ในระบบรัฐสภา ความเห็นนี้อาจมีจุดอ่อนบางประการคือ อะไรคือแก่นแกนของระบบรัฐสภา เรากำลังพูดถึงระบบรัฐสภาในศตวรรษที่ 17 หรือศตวรรษที่ 21 ระบบรัฐสภามีพลวัตไปอย่างมาก กลไกหลายอย่างไม่เคยมีอยู่ในระบบรัฐสภา เช่น ถ้าเอาอังกฤษเป็นต้นแบบ ศาลรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมอย่างแน่นอน รวมถึงหลายประเทศก็รับเอาศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบการเมืองของตน
ในประเด็นนี้ ผมคิดว่าแกนกลางสำคัญที่จำแนกระหว่างระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีก็คือ รัฐบาลในระบบรัฐสภามาจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาทำให้มีการถ่วงดุลค่อนข้างใกล้ชิด ส่วนระบบประธานาธิบดี ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจึงมีความเป็นอิสระจากกันค่อนข้างมาก ส่วนกลไกอื่น ๆ สามารถที่จะดัดแปลง เพิ่มเติม แก้ไข ตามความต้องการของแต่ละสังคม กรณีของการจำกัดวาระนายกฯ ก็ถือควรถือว่าอยู่ในส่วนนี้
ที่กล่าวมานี้เป็นความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติม นี่ไม่ใช่การตีความหรือใช้กฎหมายตามใจชอบเพื่อเล่นงานคุณประยุทธ์ แต่เป็นเรื่องของหลักการทางกฎหมายเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ความเห็นทั้งหมดนี้เป็นความรับผิดชอบของผมแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับคณาจารย์อีก 50 ท่านแต่อย่างใด
https://www.facebook.com/lawlawcmcm/posts/pfbid02JUgsH8ZfhoZpUqY5cWa1st6EacpxhGjjF6q72KPF9ybQ3Fpt49mnrooN8nLsJTrnl
สภาล่มอีก! สุชาติ นัดใหม่ 23 ส.ค. ก้าวไกลปูด สบพ.ใช้ใบเสนอราคาปลอม ของบซื้อเครื่องบินตกรุ่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_3518070
สภาล่มอีก “สุชาติ” นัดประชุมใหม่ 23 ส.ค. บ่ายโมง ฟากสมาชิกรุมตัดงบรัฐวิสาหกิจ ปช.อัดไม่โปร่งใส หาเงินให้ รบ.ไม่เหมาะ ด้าน ‘ก้าวไกล’ ปูดสถาบันการบินฯ ใช้ใบเสนอราคาปลอมของบ แถมยังซื้อแต่เครื่องบินรุ่นที่ตก
จากนั้นเวลา 16.18 น. เข้าสู่การพิจารณา มาตรา 28 งบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่ กมธ.เสียงข้างมากตัดงบเหลือ 21,500,641,400 บาท โดย นาย
นิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังปวงชนไทย อภิปรายว่า ขอตัดลดงบเพียง 1% เพราะเห็นความสำคัญ งบกลุ่มจังหวัดไม่เคยเพียงพอแม้แต่ปีเดียว ทั้งที่ภาระหน้าที่มีมากขึ้น แต่ไม่โอนงบประมาณให้ เช่น กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทที่โอนภาระเรื่องการสร้างถนนเชื่อมหมู่บ้าน หรือเชื่อมตำบล แต่ไม่โอนงบประมาณมาให้ด้วย หลายพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ บางพื้นที่ไม่เคยลาดยาง ท้องถิ่นระบุว่าไม่มีงบประมาณ ส่วนเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคก็มีปัญหาโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งน้ำไหลน้อย รวมถึงแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรก็ไม่มีงบประมาณขุดลอก จะใช้น้ำใต้ดินก็ไม่มีไฟฟ้าที่จะใช้สูบน้ำขึ้นมาอีก ดังนั้นขอให้จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นอย่าเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะพื้นที่ชนบทซึ่งงบไม่เคยพอ การพัฒนาจะได้เท่าเทียมกัน คนในชนบทจะได้ไม่เดินทางเข้าเมือง
นาย
จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ในปี 2561 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วิธีงบประมาณรายจ่าย ของสำนักงบประมาณ เริ่มบังคับใช้กับท้องถิ่นในปี 2563 ซึ่งบางข้อในการจัดสรรงบประมาณไปยังท้องถิ่นมีปัญหา ขัดแย้งกฎหมายหลายมาตรา ซึ่งเกิดปัญหามาตั้งแต่นั้น ผู้นำท้องถิ่นระบุตรงกันว่าถูกพักโครงการ แต่มีการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อย เช่น โครงการตลาดอินโดจีน จ.มุกดาหาร ได้งบ 150 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 60 กว่าล้านบาทเป็นการซ่อมบำรุงตลาด พอปี 2563 สำนักงบประมาณไม่โอนงบประมาณมาอีก เพราะกลัวขัด พ.ร.บ.วีธีงบประมาณ เรียกเงินกลับเกือบทั้งประเทศ เบิกจ่ายแล้วชักกลับไปอยู่ที่งบกลางของนายกฯอีกแล้ว ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ก็ใช้งบแบบชี้นิ้วเอา ถูกใจ พอใจตรงไหนก็แจก พอมาถึงปี 2566 ขอฝาก กมธ.ไปหารือกับสำนักงบประมาณให้หาวิธีคืนงบประมาณให้ท้องถิ่น โดยอาจจะใช้มติ ครม.เพื่อคืนได้
จากนั้นที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตรา 28 ด้วยคะแนน 215 ไม่เห็นด้วย 55 ไม่ลงคะแนน 1 งดออกเสียง 2 เสียง
จากนั้นเวลา 17.30 น. เข้าสู่การพิจารณามาตรา 29 งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ที่ กมธ.เสียงข้างมากตัดงบเหลือ 84,707,557,300 บาท โดย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า ขอปรับลดงบการประปาส่วนภูมิภาค 5% หรือ 150 ล้านบาท เพราะหลายจังหวัดมีชาวบ้านยังคงร้องเรียนเรื่องน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายเขตประปาและการเพิ่
JJNY : 5in1 ‘พิชาย’แนะลาออกผ่านทีวี│สมชาย ชำแหละ 5 ข้อ│สภาล่มอีก! ปูด สบพ.│"กอบศักดิ์"จับตาดอกเบี้ยขาขึ้น│รัสเซียเครียด
https://www.matichon.co.th/politics/news_3518020
วงเสวนา บิ๊กตู่ 8 ปี ‘สมชัย’ แนะหยุดดันทุรัง ผูกขาดอำนาจ ชี้ เดินหน้าต่อทุกข์หนักกว่าเดิม ย้ำ หากศาลสั่งยุติต้องหยุดทำหน้าที่ทันที ห้ามนั่งรักษาการ ด้าน ‘พิชาย’แนะ ทางลงแบบสง่างามประกาศลาออกผ่านทีวี
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 20 สิงหาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเครือข่าย 99 พลเมือง จัดเวทีสาธารณะ “วิเคราะห์การเมืองไทยหลังเงื่อนไข 8 ปีนายกฯ และชะตากรรมพล.อ.ประยุทธ์” โดย นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย (สร.) อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า
ทางออกของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ใช่มีแค่ 3 ทางแต่ยังมีทางเลือกที่ 4 คือ โดนประชาชนไล่และขอให้คิดด้วยว่ามีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ เพราะกระแสของประชาชนเข้าใจว่าส่วนหนึ่งอึดอัดใจกับการบริหารประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับประชาชนได้ และการคงอยู่ในตำแหน่งที่นานเป็นการคงอยู่ในตำแหน่ง โดยใช้เทคนิคทางการเมือง
ดังนั้นการคงอยู่ 8 ปีเป็นการผูกขาดอำนาจที่ไม่ใช่วิธีในรัฐสภาปกติและรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนขึ้นมา เพื่อบอกว่าในกรณีปกติ แม้ว่าท่านจะมาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่จะอยู่ต่อ 2 สมัยติดต่อกันไม่ได้ และจะอยู่ 8 ปีติดต่อหรือไม่ติดต่อกันก็ไม่ได้ถ้ามาจากการเลือกตั้งและ 8 ปีของท่านไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งหมด 4 ปีครึ่งมาจากการทำรัฐประหาร อีก 3 ปีกว่ามาจากการฉ้อฉนในอำนาจ ขอแนะนำว่าท่านควรปล่อยวางในเรื่องนี้ หากไม่ปล่อยวางจะทุกข์หนักมากกว่านี้
นายสมชัย กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านเข้าชื่อกันเพื่อให้ประธานรัฐสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการดำรงตำแหน่ง 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องวันไหนไม่รู้ แต่จะยื่นในวันที่ 22 สิงหาคมนี้ ซึ่งวันที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเป็นจุดหนึ่งที่ต้องจับตาดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งอย่างไร เพราะการรับได้ 2 อย่างคือ
1. รับแล้ววินิจฉัย
2. รับแล้วสั่งให้ยุติการปฎิบัติหน้าที่ เพราะถ้าหากอยู่ต่ออาจจะเป็นผลเสียต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ฉะนั้นจุดที่จะต้องดูคือจุดที่
1. ที่จะต้องดูคือเมื่อศาลรับแล้วศาลจะสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่หรือไม่ถ้าสั่งหยุด จะต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่แบบไม่มีเงื่อนไข จะนั่งรักษาการหรือนั่งเป็นประธานอะไรไม่ได้
2. กรณีที่ศาลยังไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เชื่อว่าศาลจะใช้เวลาไม่นาน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นทางกฎหมาย ไม่ประเด็นที่ต้องแสวงหาข้อมูลหลักฐาน พยานมาพิสูจน์อะไรอีกเป็นเพียงข้อกฏหมาย เชื่อว่าความรู้ความสามารถของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แค่อ่านกฎหมายมาตรา 158 วรรคสี่ เพื่อบอกว่าอะไรเป็นอะไร ใช่หรือไม่ใช่วินิจฉัยได้ทันที เชื่อว่าศาลจะใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้ หากมีผลออกมาให้ทำหน้าที่ต่อ เชื่อว่าจะเกิดความวุ่นวายแน่นอน
นายสมชัย กล่าวอีกว่า แต่หากสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ศาลจะสั่งวันไหนก็แล้วแต่ ต้องถอยกลับมา ณ วันที่ 24 สิงหาคมนี้พล.อ.ประยุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์ต่างๆทั้งเงินเดือน เงิน ประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวท่านจะต้องคืนหลวงทั้งหมด
ทั้งนี้ ฉากทัศน์ภาพที่เลวร้ายที่สุด คือ ไม่ลง ไม่ออกจากตำแหน่งรอให้ศาลตัดสิน หรือไปล็อบบี้ศาลให้ตนเองอยู่ในอำนาจได้นานที่สุด เชื่อว่าความขัดแย้งในบ้านเมืองจะขยายตัวประชาชนจะไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น
ด้าน นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า วันที่ 23 สิงหาคมนี้ ขอให้จับตาดู มี 3 ทางเลือกคือ
1. ลาออกจากตำแหน่ง
2. ยุบสภา
และ 3. คือรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
แต่ทางออกที่ดีของพล.อ.ประยุทธ์ และที่ดีต่อประเทศชาติ สถานการณ์การเมืองในประเทศ คือในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ นายกฯควรออกรายการทีวีพูล ไปนั่งประกาศอำลาประชาชนว่าขอยุติการปฎิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และขอให้ประธานรัฐสภาดำเนินการเลือกนายกฯคนใหม่มาตามกระบวนการ
สมชาย ชำแหละ 5 ข้อถกเถียงสำคัญทางกฏหมาย 8 ปี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3517769
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่บทความเรื่อง ข้อถกเถียงสำคัญทางกฎหมายกรณี 8 ปี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่า
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ 51 คณาจารย์ที่เห็นว่าวาระของคุณประยุทธ์ จะสิ้นสุดลงในวันที่ 24 สิงหาคม และได้มีการถกเถียงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ผมมีความเห็นว่าประเด็นที่เป็นใจกลางของข้อถกเถียงมีดังต่อไปนี้
ประเด็นแรก ในตอนเริ่มต้นผมมีความเห็นว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญค่อนข้างมีความชัดเจนที่กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกฯ ไม่เกิน 8 ปี แต่ในภายหลังได้เกิดการโต้แย้งและความเห็นแย้งอย่างมาก ดังนั้น จึงอาจอนุโลมได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น ในการอธิบายความหมายของมาตรานี้จึงต้องค้นหา “เจตนารมณ์” ของรัฐธรรมนูญ ว่าบทบัญญัติที่เกิดขึ้นควรมีความหมายอย่างไร
ประเด็นที่สอง คำถามสำคัญที่ติดตามมาและถือเป็นหัวใจของข้อถกเถียงก็คือ จะค้นหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างไร เป็นที่รับรู้กันว่าเมื่อต้องการค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย การให้ความหมายหรือการถกเถียงของผู้ร่างในกระบวนการจัดทำถือเป็นแหล่งที่มาสำคัญอันหนึ่ง (แม้การให้ความหมายของผู้ร่างในภายหลัง เช่น การให้สัมภาษณ์ในเวลาปัจจุบันก็ไม่มีน้ำหนักเทียบเท่า) กรณีของบทบัญญัติเรื่องวาระ 8 ปี ของนายกรัฐมนตรีก็มีความชัดเจนในรายงานการประชุมว่าให้ครอบคลุมถึงการดำรงตำแหน่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้าโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ
เพราะฉะนั้น ก็ควรรวมไปถึงการดำรงก่อนหน้า พูดให้ชัดมากขึ้นก็คือ ถ้า พล.อ. เปรม ยังไม่ถึงแก่ความตาย ก็ไม่สามารถกลับมาเป็นนายกฯ ได้อีก เพราะดำรงตำแหน่งมาครบ 8 ปีแล้ว
ประเด็นที่สาม เมื่อการโต้แย้งเป็นเรื่องการค้นหาเจตนารมณ์ จึงเป็นการให้คำอธิบายว่ากระบวนการค้นหาเจตนารมณ์จะทำอย่างไรจึงเข้าถึงได้มากที่สุด มันไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับการจำกัดวาระ 8 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการให้เหตุผลของบรรดาผู้ร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ผมยังยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ 2560 คือ ปัญหาสำคัญของสังคมไทยปัจจุบัน
ประเด็นที่สี่ มีการหยิบยกว่าบทบัญญัตินี้ไม่อาจเทียบเคียงกับกรณีคุณสิระ เจนจาคะ เพราะกรณีดังกล่าวมีคำว่า “เคย” กระทำในสิ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้าม แต่กรณีนายกฯ ไม่ได้มีคำว่า “เคย” เป็นนายกฯ ผมเห็นว่าการมีคำว่าเคยหรือไม่มีคำนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะมีเจตนารมณ์บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างชัดเจนแล้ว ย่อมไม่อาจนำเอาถ้อยคำมาเปลี่ยนแปลงความหมายถ้าไม่ชัดเจนเพียงพอ หากพยายามตีความด้วยการใช้ถ้อยคำบางถ้อยคำก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นว่าเป็นการตีความเพื่อสนับสนุนระบอบอำนาจนิยมให้สามารถดำรงอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ประเด็นที่ห้า การโต้แย้งว่าบทบัญญัติ 8 ปี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบประธานาธิบดี ไม่ควรนำมาใส่ไว้ในระบบรัฐสภา ความเห็นนี้อาจมีจุดอ่อนบางประการคือ อะไรคือแก่นแกนของระบบรัฐสภา เรากำลังพูดถึงระบบรัฐสภาในศตวรรษที่ 17 หรือศตวรรษที่ 21 ระบบรัฐสภามีพลวัตไปอย่างมาก กลไกหลายอย่างไม่เคยมีอยู่ในระบบรัฐสภา เช่น ถ้าเอาอังกฤษเป็นต้นแบบ ศาลรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมอย่างแน่นอน รวมถึงหลายประเทศก็รับเอาศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบการเมืองของตน
ในประเด็นนี้ ผมคิดว่าแกนกลางสำคัญที่จำแนกระหว่างระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีก็คือ รัฐบาลในระบบรัฐสภามาจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาทำให้มีการถ่วงดุลค่อนข้างใกล้ชิด ส่วนระบบประธานาธิบดี ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจึงมีความเป็นอิสระจากกันค่อนข้างมาก ส่วนกลไกอื่น ๆ สามารถที่จะดัดแปลง เพิ่มเติม แก้ไข ตามความต้องการของแต่ละสังคม กรณีของการจำกัดวาระนายกฯ ก็ถือควรถือว่าอยู่ในส่วนนี้
ที่กล่าวมานี้เป็นความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติม นี่ไม่ใช่การตีความหรือใช้กฎหมายตามใจชอบเพื่อเล่นงานคุณประยุทธ์ แต่เป็นเรื่องของหลักการทางกฎหมายเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ความเห็นทั้งหมดนี้เป็นความรับผิดชอบของผมแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับคณาจารย์อีก 50 ท่านแต่อย่างใด
https://www.facebook.com/lawlawcmcm/posts/pfbid02JUgsH8ZfhoZpUqY5cWa1st6EacpxhGjjF6q72KPF9ybQ3Fpt49mnrooN8nLsJTrnl
สภาล่มอีก! สุชาติ นัดใหม่ 23 ส.ค. ก้าวไกลปูด สบพ.ใช้ใบเสนอราคาปลอม ของบซื้อเครื่องบินตกรุ่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_3518070
สภาล่มอีก “สุชาติ” นัดประชุมใหม่ 23 ส.ค. บ่ายโมง ฟากสมาชิกรุมตัดงบรัฐวิสาหกิจ ปช.อัดไม่โปร่งใส หาเงินให้ รบ.ไม่เหมาะ ด้าน ‘ก้าวไกล’ ปูดสถาบันการบินฯ ใช้ใบเสนอราคาปลอมของบ แถมยังซื้อแต่เครื่องบินรุ่นที่ตก
จากนั้นเวลา 16.18 น. เข้าสู่การพิจารณา มาตรา 28 งบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่ กมธ.เสียงข้างมากตัดงบเหลือ 21,500,641,400 บาท โดย นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังปวงชนไทย อภิปรายว่า ขอตัดลดงบเพียง 1% เพราะเห็นความสำคัญ งบกลุ่มจังหวัดไม่เคยเพียงพอแม้แต่ปีเดียว ทั้งที่ภาระหน้าที่มีมากขึ้น แต่ไม่โอนงบประมาณให้ เช่น กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทที่โอนภาระเรื่องการสร้างถนนเชื่อมหมู่บ้าน หรือเชื่อมตำบล แต่ไม่โอนงบประมาณมาให้ด้วย หลายพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ บางพื้นที่ไม่เคยลาดยาง ท้องถิ่นระบุว่าไม่มีงบประมาณ ส่วนเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคก็มีปัญหาโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งน้ำไหลน้อย รวมถึงแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรก็ไม่มีงบประมาณขุดลอก จะใช้น้ำใต้ดินก็ไม่มีไฟฟ้าที่จะใช้สูบน้ำขึ้นมาอีก ดังนั้นขอให้จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นอย่าเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะพื้นที่ชนบทซึ่งงบไม่เคยพอ การพัฒนาจะได้เท่าเทียมกัน คนในชนบทจะได้ไม่เดินทางเข้าเมือง
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ในปี 2561 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วิธีงบประมาณรายจ่าย ของสำนักงบประมาณ เริ่มบังคับใช้กับท้องถิ่นในปี 2563 ซึ่งบางข้อในการจัดสรรงบประมาณไปยังท้องถิ่นมีปัญหา ขัดแย้งกฎหมายหลายมาตรา ซึ่งเกิดปัญหามาตั้งแต่นั้น ผู้นำท้องถิ่นระบุตรงกันว่าถูกพักโครงการ แต่มีการอนุมัติงบประมาณเรียบร้อย เช่น โครงการตลาดอินโดจีน จ.มุกดาหาร ได้งบ 150 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 60 กว่าล้านบาทเป็นการซ่อมบำรุงตลาด พอปี 2563 สำนักงบประมาณไม่โอนงบประมาณมาอีก เพราะกลัวขัด พ.ร.บ.วีธีงบประมาณ เรียกเงินกลับเกือบทั้งประเทศ เบิกจ่ายแล้วชักกลับไปอยู่ที่งบกลางของนายกฯอีกแล้ว ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ก็ใช้งบแบบชี้นิ้วเอา ถูกใจ พอใจตรงไหนก็แจก พอมาถึงปี 2566 ขอฝาก กมธ.ไปหารือกับสำนักงบประมาณให้หาวิธีคืนงบประมาณให้ท้องถิ่น โดยอาจจะใช้มติ ครม.เพื่อคืนได้
จากนั้นที่ประชุมลงมติเห็นชอบมาตรา 28 ด้วยคะแนน 215 ไม่เห็นด้วย 55 ไม่ลงคะแนน 1 งดออกเสียง 2 เสียง
จากนั้นเวลา 17.30 น. เข้าสู่การพิจารณามาตรา 29 งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ที่ กมธ.เสียงข้างมากตัดงบเหลือ 84,707,557,300 บาท โดย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า ขอปรับลดงบการประปาส่วนภูมิภาค 5% หรือ 150 ล้านบาท เพราะหลายจังหวัดมีชาวบ้านยังคงร้องเรียนเรื่องน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายเขตประปาและการเพิ่