อาเซียนเนื้อหอม! อียูประกาศลงทุนหมื่นล้านยูโร พยายามกดดัน 'อย่าเลือกข้างรัสเซีย-จีน' แต่ไร้ผล
สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศลงทุนระดับหมื่นล้านยูโรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวันพุธ (14 ธ.ค.) ในขณะที่พวกผู้นำหาทางกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ณ ที่ประชุมหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตสงครามยูเครนและความท้าทายต่างๆ จากจีน ในนั้นรวมถึงในแง่ข้อตกลงการค้าร่วมที่หยุดนิ่งมานาน ซึ่งทางอียูหวังคืนสู่โต๊ะเจรจากับทั้งไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมนี้มีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องสงครามของรัสเซียในยูเครน และความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดกับจีน ในเรื่องเส้นทางการขนส่งทางเรือสำคัญสำหรับการค้าโลก
สหภาพยุโรปพยายามผลักดันทางการทูตมานานสำหรับกระตุ้นแนวรบโลกต่อต้านรัสเซีย หลังจากปฏิบัติการรุกรานยูเครนของมอสโก ก่อคลื่นความช็อกทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองไปทั่วโลก
แต่กระนั้น 10 ชาติเอเซียน ซึ่งมี 9 ชาติเข้าร่วม หลังคณะรัฐประหารของพม่าไม่ได้รับเชิญ มีความเห็นแตกต่างกันในแนวทางตอบสนองต่อสงครามของรัสเซียในยูเครน
สิงคโปร์ เดินเคียงข้างตะวันตกที่กำหนดมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่วนเวียดนามและลาว ซึ่งมีความสัมพันธ์ด้านการทหารใกล้ชิดกับมอสโก ใช้จุดยืนที่เป็นกลางมากกว่า โดยเวียดนามและลาว เช่นเดียวกับไทย ต่างงดออกเสียงในที่ประชุมสหประชาชาติในเดือนตุลาคม ในญัตติประณามความพยายามของรัสเซีย ในการผนวก 4 แคว้นของยูเครนที่พวกเขายึดครองมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
มุมมองที่แตกต่างนี้นำมาซึ่งการถกเถียงกันเกี่ยวกับแถลงการณ์ของที่ประชุม ในขณะที่อียูกดดันให้ใช้ภาษาประณามมอสโกหนักหน่วงกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ขั้นท้ายสุด ระบุเพียงว่า "สมาชิกส่วนใหญ่" ตำหนิสงครามของรัสเซีย แต่ยอมรับว่ามีมุมมองอื่นและการประเมินที่ต่างออกไปเช่นกัน
https://mgronline.com/around/detail/9650000118752
นายกฯโพสต์ข้ามโลก รายงานไฮไลต์ประชุมอาเซียน-สหภาพยุโรป ร่วมหารือ 2 แนวทาง ชูยุโรปคู่ค้าอันดับ 3 พร้อมเสนอ 2 หลักการใหญ่นำพายั่งยืน
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ระบุว่า เมื่อวานนี้ (14 ธ.ค.65) เป็นวันที่สองในภารกิจต่างประเทศของผม ซึ่งเป็นไฮไลต์ของการเดินทางมาครั้งนี้ คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน - สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน - สหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม โดยมีประเด็นสำคัญที่จะหารือกัน ได้แก่ 1. ร่วมกันหาแนวทางสร้างความเข้มแข็งในฐานะ "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" (Strategic Partnership) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป 2. แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นความท้าทายของโลก เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคง การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล
การประชุมนี้ มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าลำดับที่ 3 ของอาเซียน (สถิติปี 2564) รองจากจีนและสหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างกัน อยู่ที่ 215.9 พันล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของอาเซียน และสหภาพยุโรปเป็นผู้ลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) ลำดับที่ 1 ของอาเซียน โดยมีมูลค่า 144 พันล้านยูโร
ดังนั้น ประเด็นที่หยิบยกมาหารือกันในครั้งนี้ ผมในฐานะที่เป็นผู้แทนชาวไทยทั้งประเทศ ได้นำเสนอการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่โลกใบนี้ ด้วยแนวคิดที่ว่า "อาเซียน-อียู : ร่วมกันสร้างสรรค์ บันดาลก้าวหน้า นำพายั่งยืน" โดยมี 2 หลักการสำคัญ คือ..👇
1. หลักการด้านความมั่นคง โดยความท้าทายของโลกในปัจจุบัน คือ ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งผมได้นำเสนอว่า
(1) การสร้างบรรยากาศการอยู่ร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ และการลดความเสี่ยง-ลดการเผชิญหน้า จะเป็นแนวทางสู่สันติภาพ ที่เป็นทางออก และคำตอบสุดท้าย ของการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
(2) เราต้องแยกพื้นที่ "ความขัดแย้ง" ออกจาก "ความร่วมมือ" คือ สงวนพื้นที่สำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านเศรษฐกิจ ให้กับผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่าย
2. หลักการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ-โลกร้อน-การเปลี่ยนแปลงสีเขียว ซึ่งเป็นทั้งความรับผิดชอบและรับผลกระทบร่วมกัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ผมจึงได้นำเสนอแนวทาง 4 ข้อ ดังนี้
(1) สมควรสร้างกลไกการทำงาน และเวทีประสานงาน สำหรับการทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ ใกล้ชิดกัน เพื่อสร้างโลกที่เข้มแข็ง และสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ให้มวลมนุษยชาติ
(2) ไทยยินดีเป็นกำลังสำคัญ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหารโลก ในปีหน้า และขอเชิญทุกผู้แทนประเทศเข้าร่วม
(3) เราควรตั้งเป้าหมายร่วมกันในเรื่องสิ่งแวดล้อม และการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยขอให้สหภาพยุโรปได้สนับสนุนขีดความสามารถของอาเซียน ทั้งด้านเทคนิคและเงินทุน ในเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนไม่นำมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนความพยายามของอาเซียนในเรื่องนี้
(4) เราควรแสวงหาแนวทางการส่งเสริมให้ภาคเอกชน เข้ามามี่สวนร่วมในการลงทุน ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมาตรการราคาคาร์บอน รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวปฏิบัติที่ดีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการลดคาร์บอน
ซึ่งทั้ง 2 หลักการนี้ ประเทศไทยได้ยึดถือเป็นหลักพื้นฐานมาโดยตลอด และได้นำไปสู่การปฏิบัติแล้ว จนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี อาทิ (1) การผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในทุกภาคส่วนของประเทศ และในเวทีการประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพ (2) การขับเคลื่อนนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเต็มรูปแบบ ครบวงจร ทั้งมาตรการทางภาษี มาตรการส่งเสริมการลงทุน ไม่ใช่เพียงตัวรถ แต่ครอบคลุมเรื่องชิ้นส่วน-อะไหล่-แบตเตอรี่ไฟฟ้า-สถานีชาร์จด้วย มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นต้น ซึ่งกำลังพลิกโฉมประเทศไทยสู่การเป็นฐานการผลิต EV ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และ (3) การปรับโครงสร้างพลังงาน โดยลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน-พลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) เป็นต้น
ผมเชื่อว่าพลังแห่งความร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาชนของอาเซียน สหภาพยุโรป และชาวโลกในภาพรวม โดยในระยะเปลี่ยนผ่าน จำเป็นต้องอาศัยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนทั้งโลก ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อทั้งชนรุ่นเรา และรุ่นลูกหลานในวันข้างหน้า ซึ่งเราต้องเริ่มต้นทันที ตั้งแต่วันนี้นะครับ
https://www.naewna.com/politic/698256
บิ๊กตู่" เดินทางถึงไทยเร็วกว่ากำหนด 1ชั่วโมง
วันที่ 15 ธ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางออกจากกรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม แล้ว ภายหลังเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN - EU Commemorative Summit) โดยตามกำหนดการจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และคณะจะเดินทางกลับมาถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ ในเวลา 15.30 น.
ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินทางมาถึงประเทศไทยเร็วกว่ากำหนดราว 1ชั่วโมง โดยคาดว่าจะมาถึงประเทศไทยในเวลา 14.30 น. ภายหลังเดินทางออกจากราชอาณาจักรเบลเยียม เมื่อเวลา 22.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น
https://siamrath.co.th/n/407531
จบภารกิจการเดินทางไปประชุมกลุ่มอาเซียน-สหภาพยุโรปอย่างเรียบร้อยดี
กลุ่มอาเซียนเป็นกลุ่มที่มีความเป็นตัวเองสูง แม้จะไม่เห็นด้วยกับสงครามยูเครน-รัสเซีย ส่วนใหญ่ก็วางตัวเป็นกลาง ไม่รุมประนามตามสหภาพยุโรป
เป็นไปตามแนวทางประเทศไทยที่ไม่เลือกข้าง นายกฯลุงตู่ท่านโพสต์เรื่องราวต่างๆที่ท่านไปประชุมมาให้รับทราบกัน
นายกฯกลับไทยวันนี้แล้ว....โดยสวัสดิภาพค่ะ
🧡มาลาริน🧡EUลงทุนหมื่นล้าน กดดันอาเซียน 'อย่าเลือกข้างรัสเซีย-จีน' แต่ไร้ผล/โพสต์ข้ามโลก! นายกฯรายงานการประชุม จบภารกิจ
สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศลงทุนระดับหมื่นล้านยูโรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวันพุธ (14 ธ.ค.) ในขณะที่พวกผู้นำหาทางกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ณ ที่ประชุมหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตสงครามยูเครนและความท้าทายต่างๆ จากจีน ในนั้นรวมถึงในแง่ข้อตกลงการค้าร่วมที่หยุดนิ่งมานาน ซึ่งทางอียูหวังคืนสู่โต๊ะเจรจากับทั้งไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมนี้มีมุมมองที่ต่างกันในเรื่องสงครามของรัสเซียในยูเครน และความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดกับจีน ในเรื่องเส้นทางการขนส่งทางเรือสำคัญสำหรับการค้าโลก
สหภาพยุโรปพยายามผลักดันทางการทูตมานานสำหรับกระตุ้นแนวรบโลกต่อต้านรัสเซีย หลังจากปฏิบัติการรุกรานยูเครนของมอสโก ก่อคลื่นความช็อกทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองไปทั่วโลก
แต่กระนั้น 10 ชาติเอเซียน ซึ่งมี 9 ชาติเข้าร่วม หลังคณะรัฐประหารของพม่าไม่ได้รับเชิญ มีความเห็นแตกต่างกันในแนวทางตอบสนองต่อสงครามของรัสเซียในยูเครน
สิงคโปร์ เดินเคียงข้างตะวันตกที่กำหนดมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่วนเวียดนามและลาว ซึ่งมีความสัมพันธ์ด้านการทหารใกล้ชิดกับมอสโก ใช้จุดยืนที่เป็นกลางมากกว่า โดยเวียดนามและลาว เช่นเดียวกับไทย ต่างงดออกเสียงในที่ประชุมสหประชาชาติในเดือนตุลาคม ในญัตติประณามความพยายามของรัสเซีย ในการผนวก 4 แคว้นของยูเครนที่พวกเขายึดครองมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
มุมมองที่แตกต่างนี้นำมาซึ่งการถกเถียงกันเกี่ยวกับแถลงการณ์ของที่ประชุม ในขณะที่อียูกดดันให้ใช้ภาษาประณามมอสโกหนักหน่วงกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ขั้นท้ายสุด ระบุเพียงว่า "สมาชิกส่วนใหญ่" ตำหนิสงครามของรัสเซีย แต่ยอมรับว่ามีมุมมองอื่นและการประเมินที่ต่างออกไปเช่นกัน
https://mgronline.com/around/detail/9650000118752
นายกฯโพสต์ข้ามโลก รายงานไฮไลต์ประชุมอาเซียน-สหภาพยุโรป ร่วมหารือ 2 แนวทาง ชูยุโรปคู่ค้าอันดับ 3 พร้อมเสนอ 2 หลักการใหญ่นำพายั่งยืน
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ระบุว่า เมื่อวานนี้ (14 ธ.ค.65) เป็นวันที่สองในภารกิจต่างประเทศของผม ซึ่งเป็นไฮไลต์ของการเดินทางมาครั้งนี้ คือ การประชุมสุดยอดอาเซียน - สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน - สหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม โดยมีประเด็นสำคัญที่จะหารือกัน ได้แก่ 1. ร่วมกันหาแนวทางสร้างความเข้มแข็งในฐานะ "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" (Strategic Partnership) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป 2. แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นความท้าทายของโลก เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคง การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล
การประชุมนี้ มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าลำดับที่ 3 ของอาเซียน (สถิติปี 2564) รองจากจีนและสหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างกัน อยู่ที่ 215.9 พันล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของอาเซียน และสหภาพยุโรปเป็นผู้ลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) ลำดับที่ 1 ของอาเซียน โดยมีมูลค่า 144 พันล้านยูโร
ดังนั้น ประเด็นที่หยิบยกมาหารือกันในครั้งนี้ ผมในฐานะที่เป็นผู้แทนชาวไทยทั้งประเทศ ได้นำเสนอการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่โลกใบนี้ ด้วยแนวคิดที่ว่า "อาเซียน-อียู : ร่วมกันสร้างสรรค์ บันดาลก้าวหน้า นำพายั่งยืน" โดยมี 2 หลักการสำคัญ คือ..👇
1. หลักการด้านความมั่นคง โดยความท้าทายของโลกในปัจจุบัน คือ ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งผมได้นำเสนอว่า
(1) การสร้างบรรยากาศการอยู่ร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ และการลดความเสี่ยง-ลดการเผชิญหน้า จะเป็นแนวทางสู่สันติภาพ ที่เป็นทางออก และคำตอบสุดท้าย ของการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
(2) เราต้องแยกพื้นที่ "ความขัดแย้ง" ออกจาก "ความร่วมมือ" คือ สงวนพื้นที่สำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านเศรษฐกิจ ให้กับผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่าย
2. หลักการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ-โลกร้อน-การเปลี่ยนแปลงสีเขียว ซึ่งเป็นทั้งความรับผิดชอบและรับผลกระทบร่วมกัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ผมจึงได้นำเสนอแนวทาง 4 ข้อ ดังนี้
(1) สมควรสร้างกลไกการทำงาน และเวทีประสานงาน สำหรับการทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ ใกล้ชิดกัน เพื่อสร้างโลกที่เข้มแข็ง และสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ให้มวลมนุษยชาติ
(2) ไทยยินดีเป็นกำลังสำคัญ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหารโลก ในปีหน้า และขอเชิญทุกผู้แทนประเทศเข้าร่วม
(3) เราควรตั้งเป้าหมายร่วมกันในเรื่องสิ่งแวดล้อม และการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยขอให้สหภาพยุโรปได้สนับสนุนขีดความสามารถของอาเซียน ทั้งด้านเทคนิคและเงินทุน ในเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนไม่นำมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนความพยายามของอาเซียนในเรื่องนี้
(4) เราควรแสวงหาแนวทางการส่งเสริมให้ภาคเอกชน เข้ามามี่สวนร่วมในการลงทุน ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมาตรการราคาคาร์บอน รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวปฏิบัติที่ดีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการลดคาร์บอน
ซึ่งทั้ง 2 หลักการนี้ ประเทศไทยได้ยึดถือเป็นหลักพื้นฐานมาโดยตลอด และได้นำไปสู่การปฏิบัติแล้ว จนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี อาทิ (1) การผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในทุกภาคส่วนของประเทศ และในเวทีการประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพ (2) การขับเคลื่อนนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเต็มรูปแบบ ครบวงจร ทั้งมาตรการทางภาษี มาตรการส่งเสริมการลงทุน ไม่ใช่เพียงตัวรถ แต่ครอบคลุมเรื่องชิ้นส่วน-อะไหล่-แบตเตอรี่ไฟฟ้า-สถานีชาร์จด้วย มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นต้น ซึ่งกำลังพลิกโฉมประเทศไทยสู่การเป็นฐานการผลิต EV ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และ (3) การปรับโครงสร้างพลังงาน โดยลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน-พลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) เป็นต้น
ผมเชื่อว่าพลังแห่งความร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาชนของอาเซียน สหภาพยุโรป และชาวโลกในภาพรวม โดยในระยะเปลี่ยนผ่าน จำเป็นต้องอาศัยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนทั้งโลก ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อทั้งชนรุ่นเรา และรุ่นลูกหลานในวันข้างหน้า ซึ่งเราต้องเริ่มต้นทันที ตั้งแต่วันนี้นะครับ
https://www.naewna.com/politic/698256
บิ๊กตู่" เดินทางถึงไทยเร็วกว่ากำหนด 1ชั่วโมง
วันที่ 15 ธ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางออกจากกรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม แล้ว ภายหลังเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN - EU Commemorative Summit) โดยตามกำหนดการจากเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และคณะจะเดินทางกลับมาถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ ในเวลา 15.30 น.
ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินทางมาถึงประเทศไทยเร็วกว่ากำหนดราว 1ชั่วโมง โดยคาดว่าจะมาถึงประเทศไทยในเวลา 14.30 น. ภายหลังเดินทางออกจากราชอาณาจักรเบลเยียม เมื่อเวลา 22.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น
https://siamrath.co.th/n/407531
จบภารกิจการเดินทางไปประชุมกลุ่มอาเซียน-สหภาพยุโรปอย่างเรียบร้อยดี
กลุ่มอาเซียนเป็นกลุ่มที่มีความเป็นตัวเองสูง แม้จะไม่เห็นด้วยกับสงครามยูเครน-รัสเซีย ส่วนใหญ่ก็วางตัวเป็นกลาง ไม่รุมประนามตามสหภาพยุโรป
เป็นไปตามแนวทางประเทศไทยที่ไม่เลือกข้าง นายกฯลุงตู่ท่านโพสต์เรื่องราวต่างๆที่ท่านไปประชุมมาให้รับทราบกัน
นายกฯกลับไทยวันนี้แล้ว....โดยสวัสดิภาพค่ะ