ผลโหวต : นายกฯ "ไม่ควร" อยู่เกิน 8 ปี 93.17% จาก "เสียงประชาชน" 3.7 แสนเสียงร่วมกดโหวต
https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/178959
แถลงผลโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งที่ 2 นายกฯ "ไม่ควร" อยู่เกิน 8 ปี 93.17% ขณะ "ควรอยู่" 6.83% จากประชาชนที่ร่วมกดโหวตเกือบ 3.7 แสนคน
ตามที่เครือข่ายนักวิชาการ "เสียงประชาชน" 8 มหาวิทยาลัย ร่วมกับทีวีดิจิตอลและสื่อออนไลน์ 8 สื่อ จัดให้มีการโหวต "
เสียงประชาชน" ครั้งที่ 2 เรื่อง 8 ปีนายกรัฐมนตรี ทางโทรศัพท์มือถือ โดยมีกติกาคือ โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่องหนึ่งเลขหมาย โหวตได้หนึ่งครั้ง ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น
บัดนี้ การโหวตได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน และสื่อที่ร่วมโครงการ จึงขอแถลงผลให้ทราบดังต่อไปนี้
1. จำนวนการโหวตทั้งหมดคือ 374,063 โหวต โดยเป็นการโหวตในประเทศไทย 369,484 โหวต จากต่างประเทศ 4,579 โหวต ทั้งนี้ มีการโหวตที่ไม่สมบูรณ์อีก 1,438 ครั้ง
2. จากคำถามที่ถามประชาชนว่า
"การวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในฐานะประชาชน ท่านเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปีหรือไม่?"
ผลการโหวตคือ มีผู้ตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ไม่ควร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี จำนวน 348,511 โหวต คิดเป็น 93.17% และตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ควร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี จำนวน 25,552 โหวต คิดเป็น 6.83%
3. การโหวตนี้ไม่มีผลใด ๆ ในทางกฎหมาย และไม่สามารถสรุปได้ว่า ประชาชนทั้งประเทศ 93.17% เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ไม่ควร" เป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี เพราะนี่คือผลการโหวตของประชาชนที่มาโหวตจากโทรศัพท์มือถือจำนวน 374,063 หมายเลขเท่านั้น
แต่สามารถสรุปได้ว่า จากการเปิดให้ประชาชนโหวต โดยฝ่ายที่เห็นว่า พล.อ.
ประยุทธ์ ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี และฝ่ายที่เห็นว่า พล.อ.
ประยุทธ์ ไม่ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี มีโอกาสในการโหวตอย่างเสมอกัน
ผลการโหวตคือ 93.17% เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ไม่ควร" เป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี
4. พล.อ.
ประยุทธ์ จะเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกินกว่าวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หรือไม่? เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของการโหวต "
เสียงประชาชน" คือการเปิดให้ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความสะดวก อยู่ที่ใดก็โหวตได้ไม่ต้องเดินทาง และไม่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระ
แม้ว่าการโหวต "
เสียงประชาชน" ครั้งที่ 2 จะมีผู้โหวตน้อยกว่าครั้งแรก เนื่องจากคำถามมีความซับซ้อนกว่า ทั้งยังดำเนินการในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่จำนวนการโหวต 374,063 ครั้งถือว่าเป็นจำนวนการเข้าร่วมทางออนไลน์ที่มากที่สุดอีกครั้ง จะเป็นรองก็เพียงการโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งแรกที่มีผู้โหวต 524,086 โหวต เท่านั้น
เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน และทีวีดิจิตอลและสื่อออนไลน์ที่ร่วมโครงการ ขอขอบพระคุณประชาชนทุกท่านที่มาร่วมโหวต และขอบคุณสื่อต่าง ๆ อื่น ๆ ทั้งหมดที่ช่วยประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำให้ "
เสียงประชาชน" ได้ดังขึ้นมาในประเทศไทยของเรา เพื่อจะนำไปสู่การฟัง "เสียงประชาชน" ให้มากขึ้น และพัฒนาไปสู่การมี "
ประชาธิปไตยโดยตรง" ให้มากขึ้นต่อไปในอนาคต
ตัวแทนน.ศ. ยื่นฟ้อง 'บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.' จี้ยกเลิก ม.9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชี้ละเมิดสิทธิเพิ่มโทษชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3519992
ตัวแทนกลุ่มนักศึกษา ยื่นฟ้อง ‘บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.’ ขอศาลเเพ่งสั่งยก ยกเลิก ม.9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ‘นรเศรษฐ์’ ชี้เป็นกฎหมายลักไก่ละเมิดสิทธิเพิ่มโทษการชุมนุม
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นาย
นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ตัวแทนภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนพร้อมด้วย
เจนิสษา แสงอรุณ นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,นาย
พศิน ยินดี ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นาย
วชิรวิทย์ เทศศรีเมือง ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ,นาย
สิรภพ อัตโตหิ นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,นาย
ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ เป็นประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่,นาย
เชษฐา กลิ่นดี สมาชิกสภานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นาย
ณพกิตติ์ มะโนชัย นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
เป็นโจทก์ที่ 1-7 ยื่นฟ้อง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.
เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เป็นจำเลยที่ 1-2
โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งยกเลิก มาตรา 9 พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 ฯ พร้อมยื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินฯเพื่อคุ้มครองชั่วคราว
นาย
นรเศรษฐ์ กล่าวว่าในส่วนเนื้อหาที่ยื่นฟ้องวันนี้ เนื่องจากประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีการระบุว่าในสถานการณ์ฉุกเฉินให้นำพ.ร.บ.ชุมนุมฯมาบังคับใช้โดยอนุโลมเปรียบเสมือนการลักไก่เพิ่มโทษให้การชุมนุมสาธารณะมีโทษที่หนักขึ้น เดิมทีตามพ.ร.บชุมนุมฯ ถ้าชุมนุมสาธารณะและมีการแจ้งชุมนุมโดยไม่ชอบโทษปรับจะไม่เกิน 10,000 บาทแต่ถ้าตามข้อกำหนดประกาศฉบับนี้จะถูกอัตราโทษจำคุก 2 ปีปรับไม่เกิน 40,000 บาทซึ่งเป็นการออกกฎหมายลำดับรองไปเพิ่มโทษกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
ถ้าตามพ.ร.บการชุมนุมสาธารณะกลไกการร้องขอให้เลิกการชุมนุมต้องผ่านศาลเท่านั้น ต้องร้องต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดแต่ประกาศและข้อกำหนดฉบับนี้บอกว่าให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสามารถออกแบบแผนต่างๆได้ในการสั่งเรื่องการชุมนุมโดยไม่ต้องผ่านกลไกของศาลจึงเป็น 2 ประเด็นหลักที่มายื่นฟ้องวันนี้และจะขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราวสั่งไม่ให้บังคับใช้ข้อกำหนดฉบับนี้
นาย
นรเศรษฐ์ กล่าวต่อว่า วันที่ 23 และ 24 สิงหาคมนี้จะมีการชุมนุมสาธารณะ ติดตามกรณีที่พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชาดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ จึงตั้งข้อสังเกตว่า หากมีการปล่อยให้ใช้ข้อกำหนดฉบับนี้อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงไม่ทราบว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ที่มีการออกประกาศในลักษณะนี้ในช่วงนี้
ด้าน
เจนิสษา กล่าวว่า ตัวข้อกำหนดในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินและตัวประกาศที่ประกาศของผู้บัญชาการทหารสูงสุดมีความไม่เป็นธรรมต่อประชาชนเนื่องจากว่าเป็นการลักไก่เพิ่มโทษและยังมีการอ้างว่าการที่ใช้ประกาศรวมถึงข้อกำหนดเหล่านี้เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการตั้งข้อสังเกตว่าใช้เพื่อควบคุมโรคหรือควบคุมสิ่งใดใช้เพื่อควบคุมการชุมนุมที่เป็นสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนหรือไม่จึงเป็นเหตุผลหลักที่ต้องมายื่นฟ้อง
แฮชแท็ก นายกเถื่อน เป็นกระแสในโซเชียล คนแสดงความเห็น นายกฯ นั่งเก้าอี้ 8 ปี
https://www.thairath.co.th/news/society/2478957
โซเชียลแสดงความเห็น #นายกเถื่อน เป็นกระแสในโลกโซเชียล หลังสารพัดม็อบ เคลื่อนไหวกดดัน "ประยุทธ์" กรณีดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี
วันที่ 22 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงนี้กระแสการเมืองในบ้านเราดูเหมือนจะร้อนแรง เมื่อสารพัดม็อบ กลุ่มผู้ชุมนุม ผลัดเปลี่ยนกันมารวมตัวที่หน้าทำเนียบฯ รัฐบาล เคลื่อนไหวกดดัน กรณีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกฯ ซึ่งต้องเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2565 ไม่ได้ตอบคำถามสื่อเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ขณะที่ นาย
อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมวลชนกลุ่มต่างๆ ที่จะเดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบว่า นายกรัฐมนตรีและฝ่ายความมั่นคงยังไม่ได้สั่งการอะไร เพียงแต่ให้ทุกฝ่ายเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในโลกโซเชียล มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ พล.อ.
ประยุทธ์ ซึ่งจะครบวาระ 8 ปี เร็วๆ นี้ พร้อมกับติดแฮชแท็ก
#นายกเถื่อน จนกลายเป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่นิยม ในโลกทวิตเตอร์อยู่ในขณะนี้.
JJNY : ผลโหวต: จาก"เสียงปชช."│ตัวแทนน.ศ.ยื่นฟ้อง'ตู่-ผบ.ทสส.'│แฮชแท็กนายกเถื่อนเป็นกระแส│แท็กซี่ชงปรับอัตราค่าโดยสารใหม่
https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/178959
แถลงผลโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งที่ 2 นายกฯ "ไม่ควร" อยู่เกิน 8 ปี 93.17% ขณะ "ควรอยู่" 6.83% จากประชาชนที่ร่วมกดโหวตเกือบ 3.7 แสนคน
ตามที่เครือข่ายนักวิชาการ "เสียงประชาชน" 8 มหาวิทยาลัย ร่วมกับทีวีดิจิตอลและสื่อออนไลน์ 8 สื่อ จัดให้มีการโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งที่ 2 เรื่อง 8 ปีนายกรัฐมนตรี ทางโทรศัพท์มือถือ โดยมีกติกาคือ โทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่องหนึ่งเลขหมาย โหวตได้หนึ่งครั้ง ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น
บัดนี้ การโหวตได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน และสื่อที่ร่วมโครงการ จึงขอแถลงผลให้ทราบดังต่อไปนี้
1. จำนวนการโหวตทั้งหมดคือ 374,063 โหวต โดยเป็นการโหวตในประเทศไทย 369,484 โหวต จากต่างประเทศ 4,579 โหวต ทั้งนี้ มีการโหวตที่ไม่สมบูรณ์อีก 1,438 ครั้ง
2. จากคำถามที่ถามประชาชนว่า "การวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในฐานะประชาชน ท่านเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปีหรือไม่?"
ผลการโหวตคือ มีผู้ตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ไม่ควร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี จำนวน 348,511 โหวต คิดเป็น 93.17% และตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ควร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี จำนวน 25,552 โหวต คิดเป็น 6.83%
3. การโหวตนี้ไม่มีผลใด ๆ ในทางกฎหมาย และไม่สามารถสรุปได้ว่า ประชาชนทั้งประเทศ 93.17% เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ไม่ควร" เป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี เพราะนี่คือผลการโหวตของประชาชนที่มาโหวตจากโทรศัพท์มือถือจำนวน 374,063 หมายเลขเท่านั้น
แต่สามารถสรุปได้ว่า จากการเปิดให้ประชาชนโหวต โดยฝ่ายที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี และฝ่ายที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี มีโอกาสในการโหวตอย่างเสมอกัน ผลการโหวตคือ 93.17% เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ "ไม่ควร" เป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี
4. พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกินกว่าวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หรือไม่? เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของการโหวต "เสียงประชาชน" คือการเปิดให้ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความสะดวก อยู่ที่ใดก็โหวตได้ไม่ต้องเดินทาง และไม่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระ
แม้ว่าการโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งที่ 2 จะมีผู้โหวตน้อยกว่าครั้งแรก เนื่องจากคำถามมีความซับซ้อนกว่า ทั้งยังดำเนินการในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่จำนวนการโหวต 374,063 ครั้งถือว่าเป็นจำนวนการเข้าร่วมทางออนไลน์ที่มากที่สุดอีกครั้ง จะเป็นรองก็เพียงการโหวต "เสียงประชาชน" ครั้งแรกที่มีผู้โหวต 524,086 โหวต เท่านั้น
เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน และทีวีดิจิตอลและสื่อออนไลน์ที่ร่วมโครงการ ขอขอบพระคุณประชาชนทุกท่านที่มาร่วมโหวต และขอบคุณสื่อต่าง ๆ อื่น ๆ ทั้งหมดที่ช่วยประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำให้ "เสียงประชาชน" ได้ดังขึ้นมาในประเทศไทยของเรา เพื่อจะนำไปสู่การฟัง "เสียงประชาชน" ให้มากขึ้น และพัฒนาไปสู่การมี "ประชาธิปไตยโดยตรง" ให้มากขึ้นต่อไปในอนาคต
ตัวแทนน.ศ. ยื่นฟ้อง 'บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.' จี้ยกเลิก ม.9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ชี้ละเมิดสิทธิเพิ่มโทษชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3519992
ตัวแทนกลุ่มนักศึกษา ยื่นฟ้อง ‘บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.’ ขอศาลเเพ่งสั่งยก ยกเลิก ม.9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ‘นรเศรษฐ์’ ชี้เป็นกฎหมายลักไก่ละเมิดสิทธิเพิ่มโทษการชุมนุม
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ตัวแทนภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนพร้อมด้วยเจนิสษา แสงอรุณ นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,นาย พศิน ยินดี ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นายวชิรวิทย์ เทศศรีเมือง ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ,นายสิรภพ อัตโตหิ นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,นาย ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ เป็นประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่,นายเชษฐา กลิ่นดี สมาชิกสภานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นายณพกิตติ์ มะโนชัย นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
เป็นโจทก์ที่ 1-7 ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เป็นจำเลยที่ 1-2
โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งยกเลิก มาตรา 9 พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 ฯ พร้อมยื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินฯเพื่อคุ้มครองชั่วคราว
นายนรเศรษฐ์ กล่าวว่าในส่วนเนื้อหาที่ยื่นฟ้องวันนี้ เนื่องจากประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีการระบุว่าในสถานการณ์ฉุกเฉินให้นำพ.ร.บ.ชุมนุมฯมาบังคับใช้โดยอนุโลมเปรียบเสมือนการลักไก่เพิ่มโทษให้การชุมนุมสาธารณะมีโทษที่หนักขึ้น เดิมทีตามพ.ร.บชุมนุมฯ ถ้าชุมนุมสาธารณะและมีการแจ้งชุมนุมโดยไม่ชอบโทษปรับจะไม่เกิน 10,000 บาทแต่ถ้าตามข้อกำหนดประกาศฉบับนี้จะถูกอัตราโทษจำคุก 2 ปีปรับไม่เกิน 40,000 บาทซึ่งเป็นการออกกฎหมายลำดับรองไปเพิ่มโทษกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
ถ้าตามพ.ร.บการชุมนุมสาธารณะกลไกการร้องขอให้เลิกการชุมนุมต้องผ่านศาลเท่านั้น ต้องร้องต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดแต่ประกาศและข้อกำหนดฉบับนี้บอกว่าให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสามารถออกแบบแผนต่างๆได้ในการสั่งเรื่องการชุมนุมโดยไม่ต้องผ่านกลไกของศาลจึงเป็น 2 ประเด็นหลักที่มายื่นฟ้องวันนี้และจะขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราวสั่งไม่ให้บังคับใช้ข้อกำหนดฉบับนี้
นายนรเศรษฐ์ กล่าวต่อว่า วันที่ 23 และ 24 สิงหาคมนี้จะมีการชุมนุมสาธารณะ ติดตามกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ จึงตั้งข้อสังเกตว่า หากมีการปล่อยให้ใช้ข้อกำหนดฉบับนี้อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงไม่ทราบว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ที่มีการออกประกาศในลักษณะนี้ในช่วงนี้
ด้าน เจนิสษา กล่าวว่า ตัวข้อกำหนดในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินและตัวประกาศที่ประกาศของผู้บัญชาการทหารสูงสุดมีความไม่เป็นธรรมต่อประชาชนเนื่องจากว่าเป็นการลักไก่เพิ่มโทษและยังมีการอ้างว่าการที่ใช้ประกาศรวมถึงข้อกำหนดเหล่านี้เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการตั้งข้อสังเกตว่าใช้เพื่อควบคุมโรคหรือควบคุมสิ่งใดใช้เพื่อควบคุมการชุมนุมที่เป็นสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนหรือไม่จึงเป็นเหตุผลหลักที่ต้องมายื่นฟ้อง
แฮชแท็ก นายกเถื่อน เป็นกระแสในโซเชียล คนแสดงความเห็น นายกฯ นั่งเก้าอี้ 8 ปี
https://www.thairath.co.th/news/society/2478957
โซเชียลแสดงความเห็น #นายกเถื่อน เป็นกระแสในโลกโซเชียล หลังสารพัดม็อบ เคลื่อนไหวกดดัน "ประยุทธ์" กรณีดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี
วันที่ 22 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงนี้กระแสการเมืองในบ้านเราดูเหมือนจะร้อนแรง เมื่อสารพัดม็อบ กลุ่มผู้ชุมนุม ผลัดเปลี่ยนกันมารวมตัวที่หน้าทำเนียบฯ รัฐบาล เคลื่อนไหวกดดัน กรณีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกฯ ซึ่งต้องเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2565 ไม่ได้ตอบคำถามสื่อเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ขณะที่ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมวลชนกลุ่มต่างๆ ที่จะเดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบว่า นายกรัฐมนตรีและฝ่ายความมั่นคงยังไม่ได้สั่งการอะไร เพียงแต่ให้ทุกฝ่ายเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในโลกโซเชียล มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งจะครบวาระ 8 ปี เร็วๆ นี้ พร้อมกับติดแฮชแท็ก #นายกเถื่อน จนกลายเป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่นิยม ในโลกทวิตเตอร์อยู่ในขณะนี้.