คู่มือลงจากตำแหน่ง จบปม 8 ปี เก้าอี้ "บิ๊กตู่" ยิ่งอยู่นาน อาจยิ่งฉ้อฉลมาก
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2470341
24 ส.ค. 2565 ใกล้เข้ามาทุกที กับประเด็น 8 ปี การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ”บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะลงจากตำแหน่งหรือไม่ ท่ามกลางข้อถกเถียงจากบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ให้นับการทำหน้าที่หลังการรัฐประหาร ตั้งแต่ 24 ส.ค. 2557 ก็เท่ากับว่าวันที่ 23 ส.ค. 2565 นี้ จะบริหารประเทศครบ 8 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปีมิได้ ส่วนอีกฝ่ายออกมาแย้ง ต้องนับเริ่มแรกตั้งแต่วันโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2562
เมื่อการนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบิ๊กตู่ ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด และจะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ คงเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย หรืออีกแนวทางหนึ่งไม่ต้องรอให้ศาลวินิจฉัย จากแรงกดดันเริ่มมีมากขึ้นให้
”บิ๊กตู่” ลงจากตำแหน่ง เพราะเผชิญกับวิกฤติศรัทธา จนคะแนนนิยมตกต่ำลงต่อเนื่อง แทบไม่เหลือความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดนี้ ก็น่าจะพิจารณาตัวเองด้วยการลาออก หรือยุบสภา ก่อนวันที่ 24 ส.ค. น่าจะดูสง่างามมากกว่า และไม่สร้างความปวดหัวกวนใจให้กับ
”บิ๊กตู่” อีกต่อไป
ทางเลือกใดจะดีที่สุดสำหรับพล.อ.
ประยุทธ์ ในการลงจากหลังเสือ และก้าวลงจากอำนาจอย่างสง่างาม จากคำแนะนำของ ”
รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส” คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ระบุว่า อยากจะถามพล.อ.
ประยุทธ์ จะใช้คู่มือใดลงจากตำแหน่ง ระหว่างด้านกฎหมาย หรือกฎมหาชน หากในด้านกฎหมายพบว่าที่ผ่านมาพล.อ.
ประยุทธ์ มักพูดอยู่เป็นประจำขอให้ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย แต่การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557 และอีกครั้งวันที่ 9 ส.ค. 2560 ซึ่งทั้งสองกรณีได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และตามมาตรา 158 ในรัฐธรรมนูญ ระบุนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีไม่ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่ถ้านับรวมกันแล้วห้ามเกิน 8 ปี
แม้รัฐธรรมนูญ 2560 อาจไม่เจาะจงเฉพาะพล.อ.
ประยุทธ์ แต่เมื่อย้อนไปในสมัย
ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกและสมัยที่สอง รวมกันแล้ว 6 ปีเศษ หากจะดำรงตำแหน่งอีกก็ได้ไม่เกิน 2 ปี และสาเหตุที่รัฐธรรมนูญกำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 8 ปี เพื่อไม่ให้ผูกขาดอำนาจ เพราะการอยู่ในตำแหน่งนานอาจเพลิดเพลินกับการอยู่ในอำนาจ ทำให้การบริหารประเทศมีปัญหาได้
“ตรงนี้ต้องบอกว่าถ้าดูตามกฎหมาย ไม่ว่ามุมใดก็ตาม ลุงตู่จะครบ 8 ปี ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ เพราะมาตรา 264 ระบุว่าคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แสดงว่าลุงตู่ อยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้อย่างสมบรูณ์ จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควรใช้เวลาช่วงนี้ไต่ลงจากตำแหน่งอย่างสวยๆ เท่ๆ จะดีกว่า ถ้าดึงดันจะเจ็บตัวเหมือนรุ่นพี่ อย่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลถนอม กิตติขจร ที่จบไม่สวยเลย แต่ถ้าดูตัวอย่างป๋าเปรม ยอมลงจากตำแหน่งเมื่อครบ 8 ปี ก็จบสวย หากยังคงตะแบงอยู่ในตำแหน่งต่อไป ก็ไม่สง่างาม หรือถ้าผ่านการวินิจฉัยของศาลใดๆ ก็ไม่สง่างาม”
หรือพล.อ.
ประยุทธ์ จะใช้คู่มือลงจากตำแหน่งโดยกฎมหาชน เพราะการจะอยู่ในตำแหน่งได้ต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากประชาชน แต่ผลสำรวจประชาชนของนิด้าโพลพบว่า คนส่วนใหญ่ 64.25% ของกลุ่มตัวอย่าง ระบุนายกรัฐมนตรีควรพ้นจากตำแหน่ง ไม่เกิน 24 ส.ค.นี้ นั่นแปลว่า ประชาชนพอแล้วกับพล.อ.
ประยุทธ์ หรือจะใช้คำว่าแลนด์สไลด์ก็ได้ เหมือนชนะเลือกตั้งขาดลอยเกิน 60% ซึ่งประชาชนออกมาบอกว่า ควรไปได้แล้ว แม้กระทั่งผลสำรวจนายกฯ ในดวงใจของนิด้าโพล พบว่า 25% ให้
แพทองธาร ชินวัตร ส่วนพล.อ.
ประยุทธ์ อันดับ 4 อยู่ที่ 11% ไม่สามารถครองใจประชาชน จึงไม่ควรอยู่ต่อ เพราะไม่ได้อยู่ในสายตาประชาชนตามกฎมหาชน
จากการตีความผลสำรวจประชาชนทั้ง 2 โพล แสดงว่าคนต้องการให้พล.อ.
ประยุทธ์ ลงจากตำแหน่งดีๆ ถ้าไม่เช่นนั้นจะออกมาบนท้องถนนขับไล่ จึงควรประกาศลงจากตำแหน่งเหมือนพล.อ.
เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นการลงอย่างสวยงาม พร้อมเสียงปรบมือของผู้คน และอย่าลืมว่านักการเมืองอยู่ได้เพราะประชาชน โดยส่วนตัวมองว่าพล.อ.
ประยุทธ์ จะดึงดันอยู่ในตำแหน่งอย่างแน่อน จากความพยายามไปยุ่งเกี่ยวเรื่องสูตรหาร 500 แต่เมื่อเจอประเด็นแจกกล้วย ก็ไม่เข็ดมายุ่งต่อสูตรหาร 100
“ท่านไม่เข็ด และยังท้าทายให้ถามศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมั่นใจว่ารอด จึงไม่กลัว อยากฝากคำกล่าวของลอร์ด แอคตัน นักการเมืองและนักเขียนชาวอังกฤษ ว่า Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely แปลว่า อำนาจนำไปสู่ความฉ้อฉล และอำนาจที่เบ็ดเสร็จยิ่งทำให้ฉ้อฉลได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นการที่ลุงตู่ อยู่ในตำแหน่งนานจะทำให้ยิ่งฉ้อฉลมากโดยไม่รู้ตัว จากอำนาจที่สะสมทำให้คนเสียคน”.
อ.นิด้า ชี้ 8 ปีประยุทธ์ จะเป็นต้นเหตุวิกฤตการเมืองรอบใหม่ หากไม่ทำตามเจตนารมณ์ รธน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_3502008
อ.นิด้า ชี้ 8 ปี ประยุทธ์ จะเป็นต้นเหตุวิกฤตการเมืองรอบใหม่ หากไม่ทำตามเจตนารมณ์ รธน.
เมื่อวันที่ 11 ส.ค. รศ.ดร.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แสดงความเห็นวาระ 8 ปีของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอันเป็นที่มาของการบัญญัติเช่นนี้ได้นับการเขียนไว้ในหนังสือ “คำมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” หน้า 275 ย่อหน้าสุดท้ายความว่า
“การกำหนดระยะเวลา แปดปีไว้ก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันจะเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤตทางการเมืองได้”
คำถามคือ นานเกินไปนั้นกี่ปี
คำตอบก็ปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 158 อย่างชัดเจนแล้วคือ หากเกิน 8 ปี ก็ถือว่านานเกินไป
ความเป็นจริงที่ไม่มีใครสามารถบิดเบือนได้คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องกันครบ 8 ปี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 อย่างแน่นอน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดหรือการตีความแบบใดที่ล้มล้างความจริงประการนี้ได้
ดังนั้น พลเอก ประยุทธ์ก็ใกล้จะเข้าข่ายผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวนานเกินไป ตามที่ระบุเอาไว้ในเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
ประกอบกับ สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันก็มีร่องรอยหลักฐานการปรากฏตัวของวิกฤตทางการเมือง อันเนื่องมาจากการผูกขาดอำนาจที่ยาวนานเกินไปของพลเอก ประยุทธ์ ด้วยเหตุนี้การดำรงตำแหน่งต่อไปของพลเอก ประยุทธ์ โดยไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงทำให้พลเอกประยุทธ์มีโอกาสกลายเป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่ในสังคมได้
การตัดสินใจของพลเอก ประยุทธ์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤตการเมือง หรือเร่งเร้าให้เกิดวิกฤตทางการเมือง
หากตัดสินใจ ยุติการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ วิกฤตทางการเมืองที่กำลังก่อตัวก็อาจบรรเทาลงและสลายไปได้
แต่หากตัดสินใจอยู่ในอำนาจต่อไป โดยไม่ให้ความสำคัญกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ วิกฤตการเมืองครั้งใหม่ในอนาคตอันใกล้ก็มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเกิดขึ้น
https://www.facebook.com/PhichainaBhuket/posts/pfbid0Ye42AEejHd9wX3fBnndjMyiiGyNfRcKxEta7y22oWkBrFtZ2y8SLhtm8y8dqjDMml
‘อังคณา’ ชี้ไทยให้ อดีต ปธน.ศรีลังกา เข้าประเทศ สะท้อนมาตรฐานแนวปฏิบัติ ทีโรฮีนจา-อุยกูร์?
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3502499
‘อังคณา’ ชี้ไทยให้ ‘อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา’ เข้าประเทศ สะท้อนมาตรฐานแนวปฏิบัติ ทีโรฮีนจา-อุยกูร์?
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม นาง
อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในสมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหาย (WGEID) กล่าวถึงกรณีที่ นาย
โคฐาภยะ ราชปักษะ อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา จะเดินทางเข้าไทยวันนี้ว่า กรณีที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้อดีตประธานาธิบดีศรีลังกาที่มีข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และถูกประชาชนขับไล่ เข้าพักอาศัยในประเทศไทยระหว่างการขอลี้ภัยไปประเทศที่ 3 อาจทำให้เกิดคำถามถึงมาตรฐานแนวปฏิบัติของประเทศไทยที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือการผลักดันผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิงจากความขัดแย้ง หรือความรุนแรงในประเทศต่างๆ ที่อาจเผชิญอันตรายกลับประเทศของตน ทั้งกรณีประชาชนที่หนีภัยการสู้รบที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา กรณีโรฮีนจา อุยกูร์ และอื่นๆ
นาง
อังคณากล่าวว่า ข้อท้าทายที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกรณีให้ที่พักพิงอดีตประธานาธิบดีศรีลังกาคือการประท้วงขององค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงข้อเรียกร้องให้ส่งตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนกลับไปรับโทษ โดยเฉพาะกรณี “
การบังคับให้บุคคลสูญหาย” ของประชาชนชาวศรีลังกาที่เกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี
ราชปักษา
ขณะที่
แชนแนลนิวส์เอเชีย สื่อสิงคโปร์รายงานอ้างการเปิดเผยของหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมว่า นายโคฐาภยะเดินทางออกจากสิงคโปร์แล้วในวันเดียวกันนี้ หลังจากพักอยู่ในประเทศราว 1 เดือน
https://www.facebook.com/angkhana.nee/posts/pfbid02qpGS4z5pHFU8PGRGVMBc7u2VYPizDipfEsdzF7armBamVvKwv6c1TTV9p4gzrmenl
วันจ่าย "สารทจีน" เงียบมาก แม่ค้าโอด ศก.แย่ ลูกค้าเงินหด ของแพงทุกอย่าง
https://www.komchadluek.net/news/local/525882
พ่อค้า แม่ค้า ตลาดศูนย์การค้า กำแพงเพชร โอดบรรยากาศ ซื้อของไหว้บรรพบุรุษ เทศกาล "สารทจีน" เงียบเหงา ไม่คึกคักเท่าที่ควร สินค้าขึ้นราคาทุกอย่าง สวนทางเงินในกระเป๋าของลูกค้า
11 ส.ค.2565 ผู้สื่อข่าว รายงานบรรยากาศการจับจ่ายซื้อของเพื่อเตรียมไหว้ในช่วงเทศกาลสารทจีน จากตลาดศูนย์การค้า จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ จ.กำแพงเพชร มีสินค้าทุกชนิดครบครัน ในวันจ่ายสารทจีนปีนี้
จากการสำรวจพบว่าบรรยากาศการซื้อขายไม่คึกคักเท่าที่ควร สินค้าที่ใช้ในสำหรับไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษทุกอย่างวางขายเต็มตลาด แต่คนที่มาเดินหาซื้อของไม่มาก
ไม่ว่าจะเป็นร้านขายเครื่องเซ่นไหว้กระดาษเงินกระดาษทอง แผงขายเป็ดพะโล้ปีนี้ราคาขึ้นเล็กน้อยตกตัวละ 380 บาท ส่วนไก่ไทยต้มแล้วตัวละ 200 บาท หมูไหว้ชิ้นละ 220 บาท ขนมเข่งโลละ 120 บาท ขนมเทียนโลละ 140-160 บาท
ส่วนผลไม้ เช่นลำไยลำไยขนาดเบอร์ใหญ่โลละ 40 บาท ส้มโลละ 100 บาท แอปเปิ้ลลูกละ 15 บาท เงาะโลละ 40 บาทเป็นต้น
โดยเฉพาะขนมเข่งและขนมเทียนปกติในวันสารทจีนจะขายได้ทั้งตลาดไม่ต่ำกว่า 10 ตัน แต่ปีนี้มีเหลือแค่ไม่กี่ร้านร้านละเล็กน้อยเท่านั้น เช่นเดียวกับเป็ดพะโล้และไก่ต้มสุกซึ่งทุกปีจะขายกันดี แต่ปีนี้ยอดขายตกลงอย่างมาก
พ่อค้าและแม่ค้าต่างบอกว่าปีนี้ของทุกอย่างขึ้นราคา ดังนั้นจึงส่งผลกับผู้บริโภคที่ต้องซื้อของลดลง สาเหตุคงเพราะการแพร่ระบาดของโควิด -19 รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่คนไม่ค่อยมีเงินจับจ่ายใช้สอย
JJNY : 5in1 คู่มือลงจากตำแหน่ง│อ.นิด้าชี้8ปีประยุทธ์│‘อังคณา’ชี้สะท้อนมาตรฐาน│"สารทจีน" เงียบมาก│พบติดเชื้อ“เลย์วี”ในจีน
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2470341
24 ส.ค. 2565 ใกล้เข้ามาทุกที กับประเด็น 8 ปี การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ”บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะลงจากตำแหน่งหรือไม่ ท่ามกลางข้อถกเถียงจากบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ให้นับการทำหน้าที่หลังการรัฐประหาร ตั้งแต่ 24 ส.ค. 2557 ก็เท่ากับว่าวันที่ 23 ส.ค. 2565 นี้ จะบริหารประเทศครบ 8 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปีมิได้ ส่วนอีกฝ่ายออกมาแย้ง ต้องนับเริ่มแรกตั้งแต่วันโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2562
เมื่อการนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบิ๊กตู่ ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด และจะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ คงเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย หรืออีกแนวทางหนึ่งไม่ต้องรอให้ศาลวินิจฉัย จากแรงกดดันเริ่มมีมากขึ้นให้ ”บิ๊กตู่” ลงจากตำแหน่ง เพราะเผชิญกับวิกฤติศรัทธา จนคะแนนนิยมตกต่ำลงต่อเนื่อง แทบไม่เหลือความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดนี้ ก็น่าจะพิจารณาตัวเองด้วยการลาออก หรือยุบสภา ก่อนวันที่ 24 ส.ค. น่าจะดูสง่างามมากกว่า และไม่สร้างความปวดหัวกวนใจให้กับ ”บิ๊กตู่” อีกต่อไป
ทางเลือกใดจะดีที่สุดสำหรับพล.อ.ประยุทธ์ ในการลงจากหลังเสือ และก้าวลงจากอำนาจอย่างสง่างาม จากคำแนะนำของ ”รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส” คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ระบุว่า อยากจะถามพล.อ.ประยุทธ์ จะใช้คู่มือใดลงจากตำแหน่ง ระหว่างด้านกฎหมาย หรือกฎมหาชน หากในด้านกฎหมายพบว่าที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ มักพูดอยู่เป็นประจำขอให้ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย แต่การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557 และอีกครั้งวันที่ 9 ส.ค. 2560 ซึ่งทั้งสองกรณีได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และตามมาตรา 158 ในรัฐธรรมนูญ ระบุนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีไม่ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่ถ้านับรวมกันแล้วห้ามเกิน 8 ปี
แม้รัฐธรรมนูญ 2560 อาจไม่เจาะจงเฉพาะพล.อ.ประยุทธ์ แต่เมื่อย้อนไปในสมัยชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกและสมัยที่สอง รวมกันแล้ว 6 ปีเศษ หากจะดำรงตำแหน่งอีกก็ได้ไม่เกิน 2 ปี และสาเหตุที่รัฐธรรมนูญกำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 8 ปี เพื่อไม่ให้ผูกขาดอำนาจ เพราะการอยู่ในตำแหน่งนานอาจเพลิดเพลินกับการอยู่ในอำนาจ ทำให้การบริหารประเทศมีปัญหาได้
“ตรงนี้ต้องบอกว่าถ้าดูตามกฎหมาย ไม่ว่ามุมใดก็ตาม ลุงตู่จะครบ 8 ปี ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ เพราะมาตรา 264 ระบุว่าคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แสดงว่าลุงตู่ อยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้อย่างสมบรูณ์ จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควรใช้เวลาช่วงนี้ไต่ลงจากตำแหน่งอย่างสวยๆ เท่ๆ จะดีกว่า ถ้าดึงดันจะเจ็บตัวเหมือนรุ่นพี่ อย่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพลถนอม กิตติขจร ที่จบไม่สวยเลย แต่ถ้าดูตัวอย่างป๋าเปรม ยอมลงจากตำแหน่งเมื่อครบ 8 ปี ก็จบสวย หากยังคงตะแบงอยู่ในตำแหน่งต่อไป ก็ไม่สง่างาม หรือถ้าผ่านการวินิจฉัยของศาลใดๆ ก็ไม่สง่างาม”
หรือพล.อ.ประยุทธ์ จะใช้คู่มือลงจากตำแหน่งโดยกฎมหาชน เพราะการจะอยู่ในตำแหน่งได้ต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากประชาชน แต่ผลสำรวจประชาชนของนิด้าโพลพบว่า คนส่วนใหญ่ 64.25% ของกลุ่มตัวอย่าง ระบุนายกรัฐมนตรีควรพ้นจากตำแหน่ง ไม่เกิน 24 ส.ค.นี้ นั่นแปลว่า ประชาชนพอแล้วกับพล.อ.ประยุทธ์ หรือจะใช้คำว่าแลนด์สไลด์ก็ได้ เหมือนชนะเลือกตั้งขาดลอยเกิน 60% ซึ่งประชาชนออกมาบอกว่า ควรไปได้แล้ว แม้กระทั่งผลสำรวจนายกฯ ในดวงใจของนิด้าโพล พบว่า 25% ให้แพทองธาร ชินวัตร ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 4 อยู่ที่ 11% ไม่สามารถครองใจประชาชน จึงไม่ควรอยู่ต่อ เพราะไม่ได้อยู่ในสายตาประชาชนตามกฎมหาชน
จากการตีความผลสำรวจประชาชนทั้ง 2 โพล แสดงว่าคนต้องการให้พล.อ.ประยุทธ์ ลงจากตำแหน่งดีๆ ถ้าไม่เช่นนั้นจะออกมาบนท้องถนนขับไล่ จึงควรประกาศลงจากตำแหน่งเหมือนพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นการลงอย่างสวยงาม พร้อมเสียงปรบมือของผู้คน และอย่าลืมว่านักการเมืองอยู่ได้เพราะประชาชน โดยส่วนตัวมองว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะดึงดันอยู่ในตำแหน่งอย่างแน่อน จากความพยายามไปยุ่งเกี่ยวเรื่องสูตรหาร 500 แต่เมื่อเจอประเด็นแจกกล้วย ก็ไม่เข็ดมายุ่งต่อสูตรหาร 100
“ท่านไม่เข็ด และยังท้าทายให้ถามศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมั่นใจว่ารอด จึงไม่กลัว อยากฝากคำกล่าวของลอร์ด แอคตัน นักการเมืองและนักเขียนชาวอังกฤษ ว่า Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely แปลว่า อำนาจนำไปสู่ความฉ้อฉล และอำนาจที่เบ็ดเสร็จยิ่งทำให้ฉ้อฉลได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นการที่ลุงตู่ อยู่ในตำแหน่งนานจะทำให้ยิ่งฉ้อฉลมากโดยไม่รู้ตัว จากอำนาจที่สะสมทำให้คนเสียคน”.
อ.นิด้า ชี้ 8 ปีประยุทธ์ จะเป็นต้นเหตุวิกฤตการเมืองรอบใหม่ หากไม่ทำตามเจตนารมณ์ รธน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_3502008
อ.นิด้า ชี้ 8 ปี ประยุทธ์ จะเป็นต้นเหตุวิกฤตการเมืองรอบใหม่ หากไม่ทำตามเจตนารมณ์ รธน.
เมื่อวันที่ 11 ส.ค. รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แสดงความเห็นวาระ 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอันเป็นที่มาของการบัญญัติเช่นนี้ได้นับการเขียนไว้ในหนังสือ “คำมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” หน้า 275 ย่อหน้าสุดท้ายความว่า
“การกำหนดระยะเวลา แปดปีไว้ก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันจะเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤตทางการเมืองได้”
คำถามคือ นานเกินไปนั้นกี่ปี
คำตอบก็ปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 158 อย่างชัดเจนแล้วคือ หากเกิน 8 ปี ก็ถือว่านานเกินไป
ความเป็นจริงที่ไม่มีใครสามารถบิดเบือนได้คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องกันครบ 8 ปี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 อย่างแน่นอน ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดหรือการตีความแบบใดที่ล้มล้างความจริงประการนี้ได้
ดังนั้น พลเอก ประยุทธ์ก็ใกล้จะเข้าข่ายผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวนานเกินไป ตามที่ระบุเอาไว้ในเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
ประกอบกับ สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันก็มีร่องรอยหลักฐานการปรากฏตัวของวิกฤตทางการเมือง อันเนื่องมาจากการผูกขาดอำนาจที่ยาวนานเกินไปของพลเอก ประยุทธ์ ด้วยเหตุนี้การดำรงตำแหน่งต่อไปของพลเอก ประยุทธ์ โดยไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงทำให้พลเอกประยุทธ์มีโอกาสกลายเป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่ในสังคมได้
การตัดสินใจของพลเอก ประยุทธ์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดวิกฤตการเมือง หรือเร่งเร้าให้เกิดวิกฤตทางการเมือง
หากตัดสินใจ ยุติการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ วิกฤตทางการเมืองที่กำลังก่อตัวก็อาจบรรเทาลงและสลายไปได้
แต่หากตัดสินใจอยู่ในอำนาจต่อไป โดยไม่ให้ความสำคัญกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ วิกฤตการเมืองครั้งใหม่ในอนาคตอันใกล้ก็มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเกิดขึ้น
https://www.facebook.com/PhichainaBhuket/posts/pfbid0Ye42AEejHd9wX3fBnndjMyiiGyNfRcKxEta7y22oWkBrFtZ2y8SLhtm8y8dqjDMml
‘อังคณา’ ชี้ไทยให้ อดีต ปธน.ศรีลังกา เข้าประเทศ สะท้อนมาตรฐานแนวปฏิบัติ ทีโรฮีนจา-อุยกูร์?
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3502499
‘อังคณา’ ชี้ไทยให้ ‘อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา’ เข้าประเทศ สะท้อนมาตรฐานแนวปฏิบัติ ทีโรฮีนจา-อุยกูร์?
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในสมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหาย (WGEID) กล่าวถึงกรณีที่ นายโคฐาภยะ ราชปักษะ อดีตประธานาธิบดีศรีลังกา จะเดินทางเข้าไทยวันนี้ว่า กรณีที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้อดีตประธานาธิบดีศรีลังกาที่มีข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และถูกประชาชนขับไล่ เข้าพักอาศัยในประเทศไทยระหว่างการขอลี้ภัยไปประเทศที่ 3 อาจทำให้เกิดคำถามถึงมาตรฐานแนวปฏิบัติของประเทศไทยที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือการผลักดันผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิงจากความขัดแย้ง หรือความรุนแรงในประเทศต่างๆ ที่อาจเผชิญอันตรายกลับประเทศของตน ทั้งกรณีประชาชนที่หนีภัยการสู้รบที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา กรณีโรฮีนจา อุยกูร์ และอื่นๆ
นางอังคณากล่าวว่า ข้อท้าทายที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญกรณีให้ที่พักพิงอดีตประธานาธิบดีศรีลังกาคือการประท้วงขององค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงข้อเรียกร้องให้ส่งตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนกลับไปรับโทษ โดยเฉพาะกรณี “การบังคับให้บุคคลสูญหาย” ของประชาชนชาวศรีลังกาที่เกิดขึ้นจำนวนมากในช่วงรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีราชปักษา
ขณะที่ แชนแนลนิวส์เอเชีย สื่อสิงคโปร์รายงานอ้างการเปิดเผยของหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมว่า นายโคฐาภยะเดินทางออกจากสิงคโปร์แล้วในวันเดียวกันนี้ หลังจากพักอยู่ในประเทศราว 1 เดือน
https://www.facebook.com/angkhana.nee/posts/pfbid02qpGS4z5pHFU8PGRGVMBc7u2VYPizDipfEsdzF7armBamVvKwv6c1TTV9p4gzrmenl
วันจ่าย "สารทจีน" เงียบมาก แม่ค้าโอด ศก.แย่ ลูกค้าเงินหด ของแพงทุกอย่าง
https://www.komchadluek.net/news/local/525882
พ่อค้า แม่ค้า ตลาดศูนย์การค้า กำแพงเพชร โอดบรรยากาศ ซื้อของไหว้บรรพบุรุษ เทศกาล "สารทจีน" เงียบเหงา ไม่คึกคักเท่าที่ควร สินค้าขึ้นราคาทุกอย่าง สวนทางเงินในกระเป๋าของลูกค้า
11 ส.ค.2565 ผู้สื่อข่าว รายงานบรรยากาศการจับจ่ายซื้อของเพื่อเตรียมไหว้ในช่วงเทศกาลสารทจีน จากตลาดศูนย์การค้า จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ จ.กำแพงเพชร มีสินค้าทุกชนิดครบครัน ในวันจ่ายสารทจีนปีนี้
จากการสำรวจพบว่าบรรยากาศการซื้อขายไม่คึกคักเท่าที่ควร สินค้าที่ใช้ในสำหรับไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษทุกอย่างวางขายเต็มตลาด แต่คนที่มาเดินหาซื้อของไม่มาก
ไม่ว่าจะเป็นร้านขายเครื่องเซ่นไหว้กระดาษเงินกระดาษทอง แผงขายเป็ดพะโล้ปีนี้ราคาขึ้นเล็กน้อยตกตัวละ 380 บาท ส่วนไก่ไทยต้มแล้วตัวละ 200 บาท หมูไหว้ชิ้นละ 220 บาท ขนมเข่งโลละ 120 บาท ขนมเทียนโลละ 140-160 บาท
ส่วนผลไม้ เช่นลำไยลำไยขนาดเบอร์ใหญ่โลละ 40 บาท ส้มโลละ 100 บาท แอปเปิ้ลลูกละ 15 บาท เงาะโลละ 40 บาทเป็นต้น
โดยเฉพาะขนมเข่งและขนมเทียนปกติในวันสารทจีนจะขายได้ทั้งตลาดไม่ต่ำกว่า 10 ตัน แต่ปีนี้มีเหลือแค่ไม่กี่ร้านร้านละเล็กน้อยเท่านั้น เช่นเดียวกับเป็ดพะโล้และไก่ต้มสุกซึ่งทุกปีจะขายกันดี แต่ปีนี้ยอดขายตกลงอย่างมาก
พ่อค้าและแม่ค้าต่างบอกว่าปีนี้ของทุกอย่างขึ้นราคา ดังนั้นจึงส่งผลกับผู้บริโภคที่ต้องซื้อของลดลง สาเหตุคงเพราะการแพร่ระบาดของโควิด -19 รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่คนไม่ค่อยมีเงินจับจ่ายใช้สอย