อ.นิติฯ มธ. ชี้บันทึกมีชัย คือเบาะแส บอกเจตนารมณ์ มัดบิ๊กตู่ ต้องพ้นวาระ 24 ส.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3499729
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม รศ.ดร.
มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กถึงวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ ว่า
การตีความตามเจตนารมณ์ เป็นหลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นพื้นฐานที่สุดในทุกระบบกฎหมาย การจะค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายใด ต้องไปค้นหาจากที่มาจากกฎหมายนั้น ซึ่งมักจะถูกบันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างกฎหมาย หรือในบันทึกหลักการ และเหตุผลของกฎหมาย แม้ว่า เจตนารมณ์ของผู้ร่างจะไม่ใช่อย่างเดียวกันกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเสมอไป แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมย่อมเป็นถือเป็นเบาะแสที่สำคัญที่สุดที่บ่งชี้ถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพราะฉะนั้น การค้นหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี จะต้องไปค้นหาจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แม้ว่าในประเด็นนี้ จะมีเพียงประธานที่ประชุม (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) และกรรมการบางคนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการตีความไว้ แต่เมื่อกรรมการคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านเป็นประการอื่น ย่อมถือได้ว่าที่ประชุมมีความเห็นพ้องต้องกันว่าวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีต้องนับรวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งนี้อยู่ก่อนที่รัฐธรรมนูญจะมีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องไม่เกิน 8 ปี
นอกจากนี้ การตีความให้วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องนับรวมเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ยังสอดคล้องกับการตีความตามจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ (หรือหลักกฎหมายทั่วไป) ของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความไปในทางจำกัดอำนาจฝ่ายบริหาร ไม่ให้มีการผูกขาดอำนาจจนกลายเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการ นี่เป็นเหตุผลที่รัฐธรรมนูญของรัฐประชาธิปไตยหลายรัฐจำกัดวาระการดำรงแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่างเด็ดขาด
หากศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์และตามจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ผลของการตีความไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565″
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid035Cy7htUmAbXm7VhwL6STG98YqBb9bgVkWoLS4qLYoUpfcbNBmBh3m2LCpcT3xA3il&id=100008333165973
โจ้ซัด ทัพเรือเปลี่ยนสเปค เครื่องยนต์เรือดำน้ำ ผิดข้อสัญญาเดิม
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7206641
ยุทธพงศ์ซัด ทัพเรือเปลี่ยนสเปค เครื่องยนต์เรือดำน้ำ ผิดจากข้อตกลงเดิม แก้ไขแบบนี้ไม่ได้ ชี้ไม่เคยมีที่ไหนในโลกแม้แต่จีนใช้ตัวนี้ วอนอย่าให้ไทยเป็นหนูทดลอง
วันที่ 10 ส.ค.2565 นาย
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีที่โฆษกกองทัพเรือ (ทร.) ออกมาระบุว่า บ.CSOC คู่สัญญาเตรียมเสนอติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 ในเรือดำน้ำแทนเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 396 ของเยอรมันว่า ในทางกฎหมายเครื่องยนต์เรือดำน้ำถือเป็นสาระสำคัญในสัญญา หากจะมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ เท่ากับสาระสำคัญของสัญญาผิดไปจากข้อตกลงเดิม แล้วจะมาบอกว่าเป็นการแก้ไขสัญญาแบบอนุโลมไม่ได้
ขอถามว่าในตอนแรกถ้าเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันไม่สำคัญ แล้วจะระบุไว้ในสัญญาตั้งแต่แรกทำไม ดังนั้น ทร.ต้องเคลียร์เรื่องนี้ให้กระจ่างเพราะเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันถือเป็นสาระสำคัญ
หาก ทร.เปลี่ยนเครื่องยนต์เท่ากับเป็นการลดสเปค และถือเป็นการแก้สัญญาในสาระสำคัญ ดังนั้นถ้า ทร.ยังกล้าเดินหน้าเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น CHD 620 แทน ซึ่งยังไม่เคยใช้ที่ไหนในโลกแม้แต่จีนเอง เท่ากับไทยเป็นหนูทดลองหรือไม่ แล้วจะเอาอะไรมาพิสูจน์ว่าเครื่องยนต์ดังกล่าวดีกว่าเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน
ก่อนหน้านี้พล.ร.อ.
สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร.ก็ยืนยันว่าต้องใช้เครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน รวมทั้งพล.อ.ป
ระยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหมก็ยืนยันว่าต้องใช้เครื่องยนต์ตามที่ระบุในสัญญา
ที่สำคัญโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นโครงการแบบจีทูจี ดังนั้นคนที่ต้องรับผิดชอบนอกจาก ทร.แล้ว ก็คือพล.อ.ประยุทธ์ที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ดังนั้นตนขอรอ ทร.ชี้แจงเรื่องดังกล่าวก่อน
หากยังดันทุรัง ตนจะต่อสู้เรื่องนี้ต่อไป
ส.อ.ท. หวั่นต้นทุนพุ่งกดดันขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตสาหกรรม
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1020124
ส.อ.ท. เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตฯ เดือน ก.ค. 2565 อยู่ที่ 89.0 เพิ่มขึ้น จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นหลังการเปิดประเทศ ยังหวั่นต้นทุนพุ่ง จากราคาวัตถุดิบและราคาพลังงาน รวมทั้งเงินเฟ้อที่กดดันอำนาจซื้อ แนะรัฐปรับขึ้นค่าแรงและค่าไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 89.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 86.3 ในเดือนมิ.ย. ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ด้วยปัจจัยบวกจากภาคการผลิตที่ขยายตัวจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค จากตลาดในประเทศและตลาดส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่การผ่อนคลายล็อกดาวน์เมืองสำคัญของจีนส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ การเปิดประเทศและการยกเลิก Thailand Pass ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นและช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก นอกจากนี้รายได้ในภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลดีต่อกำลังซื้อในส่วนภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนประกอบการลดลงเนื่องจากปัญหาราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน รวมถึงค่าขนส่ง ที่ยังทรงตัวในระดับสูง แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกในเดือนกรกฎาคมจะทยอยปรับตัวลดลงก็ตาม ขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อ ยังกดดันกำลังซื้อของประชาชน นอกจากนี้ความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคก่อสร้างชะลอตัวลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,238 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก 72.2% สถานการณ์การเมือง 40.3% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 35.5%
ส่วนปัจจัยที่มีความกังวล ลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน 80.7% เศรษฐกิจในประเทศ 51.8% สถานการณ์ระบาดของโควิด 50.1% และอัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ 32.0%
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 97.5 ในเดือนมิ.ย. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศรวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีความกังวลการกลับมาระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ รวมทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะกระทบต้นทุนด้านการเงิน ตลอดจนสถานการณ์สงครามรัสเซีย - ยูเครน ที่ยังมีความไม่แน่นอนส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบรวมถึงเศรษฐกิจโลก
โดย ส.อ.ท. มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ดังนี้
1. ขอให้ภาครัฐช่วยดูแลผลกระทบด้าน Supply Chain Shortage จากกรณีข้อพิพาทบริเวณช่องแคบไต้หวัน
2. ขอให้ภาครัฐพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งค่าไฟฟ้าอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
3. เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด และเชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค
4. เร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากกรณีรัฐบาล เมียนมาออกประกาศ ระงับการชำระหนี้ต่างประเทศ เช่น ชะลอการชำระหนี้หรือให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยยกเว้นเงินต้น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยเหลือนักลงทุนไทยและการให้สถาบันทางการเงินไทยในเมียนมาเข้ามาช่วยเหลือในการรับชำระหนี้เป็นเงินจ๊าด
JJNY : อ.นิติฯมธ.ชี้บันทึกมีชัยคือเบาะแส│โจ้ซัดทัพเรือเปลี่ยนสเปค│ส.อ.ท. หวั่นต้นทุนพุ่ง│สื่อนอกเผยอดีตปธน.ศรีลังกามาไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3499729
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กถึงวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ ว่า
การตีความตามเจตนารมณ์ เป็นหลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นพื้นฐานที่สุดในทุกระบบกฎหมาย การจะค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายใด ต้องไปค้นหาจากที่มาจากกฎหมายนั้น ซึ่งมักจะถูกบันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างกฎหมาย หรือในบันทึกหลักการ และเหตุผลของกฎหมาย แม้ว่า เจตนารมณ์ของผู้ร่างจะไม่ใช่อย่างเดียวกันกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเสมอไป แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมย่อมเป็นถือเป็นเบาะแสที่สำคัญที่สุดที่บ่งชี้ถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพราะฉะนั้น การค้นหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี จะต้องไปค้นหาจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แม้ว่าในประเด็นนี้ จะมีเพียงประธานที่ประชุม (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) และกรรมการบางคนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการตีความไว้ แต่เมื่อกรรมการคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านเป็นประการอื่น ย่อมถือได้ว่าที่ประชุมมีความเห็นพ้องต้องกันว่าวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีต้องนับรวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งนี้อยู่ก่อนที่รัฐธรรมนูญจะมีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องไม่เกิน 8 ปี
นอกจากนี้ การตีความให้วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องนับรวมเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ยังสอดคล้องกับการตีความตามจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ (หรือหลักกฎหมายทั่วไป) ของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความไปในทางจำกัดอำนาจฝ่ายบริหาร ไม่ให้มีการผูกขาดอำนาจจนกลายเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการ นี่เป็นเหตุผลที่รัฐธรรมนูญของรัฐประชาธิปไตยหลายรัฐจำกัดวาระการดำรงแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่างเด็ดขาด
หากศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์และตามจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ผลของการตีความไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565″
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid035Cy7htUmAbXm7VhwL6STG98YqBb9bgVkWoLS4qLYoUpfcbNBmBh3m2LCpcT3xA3il&id=100008333165973
โจ้ซัด ทัพเรือเปลี่ยนสเปค เครื่องยนต์เรือดำน้ำ ผิดข้อสัญญาเดิม
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7206641
ยุทธพงศ์ซัด ทัพเรือเปลี่ยนสเปค เครื่องยนต์เรือดำน้ำ ผิดจากข้อตกลงเดิม แก้ไขแบบนี้ไม่ได้ ชี้ไม่เคยมีที่ไหนในโลกแม้แต่จีนใช้ตัวนี้ วอนอย่าให้ไทยเป็นหนูทดลอง
วันที่ 10 ส.ค.2565 นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีที่โฆษกกองทัพเรือ (ทร.) ออกมาระบุว่า บ.CSOC คู่สัญญาเตรียมเสนอติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 ในเรือดำน้ำแทนเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 396 ของเยอรมันว่า ในทางกฎหมายเครื่องยนต์เรือดำน้ำถือเป็นสาระสำคัญในสัญญา หากจะมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ เท่ากับสาระสำคัญของสัญญาผิดไปจากข้อตกลงเดิม แล้วจะมาบอกว่าเป็นการแก้ไขสัญญาแบบอนุโลมไม่ได้
ขอถามว่าในตอนแรกถ้าเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันไม่สำคัญ แล้วจะระบุไว้ในสัญญาตั้งแต่แรกทำไม ดังนั้น ทร.ต้องเคลียร์เรื่องนี้ให้กระจ่างเพราะเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมันถือเป็นสาระสำคัญ
หาก ทร.เปลี่ยนเครื่องยนต์เท่ากับเป็นการลดสเปค และถือเป็นการแก้สัญญาในสาระสำคัญ ดังนั้นถ้า ทร.ยังกล้าเดินหน้าเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น CHD 620 แทน ซึ่งยังไม่เคยใช้ที่ไหนในโลกแม้แต่จีนเอง เท่ากับไทยเป็นหนูทดลองหรือไม่ แล้วจะเอาอะไรมาพิสูจน์ว่าเครื่องยนต์ดังกล่าวดีกว่าเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน
ก่อนหน้านี้พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร.ก็ยืนยันว่าต้องใช้เครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน รวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหมก็ยืนยันว่าต้องใช้เครื่องยนต์ตามที่ระบุในสัญญา
ที่สำคัญโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นโครงการแบบจีทูจี ดังนั้นคนที่ต้องรับผิดชอบนอกจาก ทร.แล้ว ก็คือพล.อ.ประยุทธ์ที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ดังนั้นตนขอรอ ทร.ชี้แจงเรื่องดังกล่าวก่อน
หากยังดันทุรัง ตนจะต่อสู้เรื่องนี้ต่อไป
ส.อ.ท. หวั่นต้นทุนพุ่งกดดันขีดความสามารถแข่งขันภาคอุตสาหกรรม
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1020124
ส.อ.ท. เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตฯ เดือน ก.ค. 2565 อยู่ที่ 89.0 เพิ่มขึ้น จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นหลังการเปิดประเทศ ยังหวั่นต้นทุนพุ่ง จากราคาวัตถุดิบและราคาพลังงาน รวมทั้งเงินเฟ้อที่กดดันอำนาจซื้อ แนะรัฐปรับขึ้นค่าแรงและค่าไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 89.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 86.3 ในเดือนมิ.ย. ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ด้วยปัจจัยบวกจากภาคการผลิตที่ขยายตัวจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค จากตลาดในประเทศและตลาดส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่การผ่อนคลายล็อกดาวน์เมืองสำคัญของจีนส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ การเปิดประเทศและการยกเลิก Thailand Pass ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นและช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก นอกจากนี้รายได้ในภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลดีต่อกำลังซื้อในส่วนภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนประกอบการลดลงเนื่องจากปัญหาราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน รวมถึงค่าขนส่ง ที่ยังทรงตัวในระดับสูง แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกในเดือนกรกฎาคมจะทยอยปรับตัวลดลงก็ตาม ขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อ ยังกดดันกำลังซื้อของประชาชน นอกจากนี้ความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคก่อสร้างชะลอตัวลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,238 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก 72.2% สถานการณ์การเมือง 40.3% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 35.5%
ส่วนปัจจัยที่มีความกังวล ลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน 80.7% เศรษฐกิจในประเทศ 51.8% สถานการณ์ระบาดของโควิด 50.1% และอัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ 32.0%
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 97.5 ในเดือนมิ.ย. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศรวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีความกังวลการกลับมาระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ รวมทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะกระทบต้นทุนด้านการเงิน ตลอดจนสถานการณ์สงครามรัสเซีย - ยูเครน ที่ยังมีความไม่แน่นอนส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบรวมถึงเศรษฐกิจโลก
โดย ส.อ.ท. มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ดังนี้
1. ขอให้ภาครัฐช่วยดูแลผลกระทบด้าน Supply Chain Shortage จากกรณีข้อพิพาทบริเวณช่องแคบไต้หวัน
2. ขอให้ภาครัฐพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งค่าไฟฟ้าอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
3. เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด และเชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค
4. เร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากกรณีรัฐบาล เมียนมาออกประกาศ ระงับการชำระหนี้ต่างประเทศ เช่น ชะลอการชำระหนี้หรือให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยยกเว้นเงินต้น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยเหลือนักลงทุนไทยและการให้สถาบันทางการเงินไทยในเมียนมาเข้ามาช่วยเหลือในการรับชำระหนี้เป็นเงินจ๊าด