ประชาธิปไตยสองสี :ใบตองแห้ง EP25 I พนัส ทัศนียานนท์ I ปฏิวัติ vs ปฏิรูป Progressive vs Pragmatic
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4804612
รายการประชาธิปไตยสองสี ตอนที่ 25 สนทนา
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ประเด็นว่าด้วย ปฏิวัติ vs ปฏิรูป Progressive vs Pragmatic และความเป็นไปได้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เผยแพร่ เสาร์ 21 ก.ย. 2567 เวลา 20.00 น.
เอกชนหวั่นยืนดอกเบี้ยดันบาทแข็งแตะ 31 บาท ฉุดส่งออก-ท่องเที่ยววูบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4805125
เอกชนหวั่นยืนดอกเบี้ยดันบาทแข็งแตะ 31 บาท ฉุดส่งออก-ท่องเที่ยววูบ
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ณ วันที่ 21 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 32.91 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าแข็งค่าขึ้นรุนแรงมาก ความกังวลคือ เราจะเห็นค่าเงินบาทแข็งแตะระดับ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยลงแรงกว่า 0.50% ส่งผลต่อเงินบาทให้แข็งค่ามากขึ้นอีก กระทบต่อภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงนี้ หากได้รับผลกระทบจากค่าเงิน จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่เติบโตได้เท่าที่ควร
นาย
เกรียงไกร กล่าวว่า ผลกระทบต่อการส่งออก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปแล้วอยู่ในขั้นตอนการเรียกชำระค่าสินค้า เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทแล้ว ผู้ส่งออกจะได้รับเงินลดลง เพราะค่าเงินแข็งค่าเงินบาทขึ้น แทนที่จะมีกำไรก็อาจน้อยลงหรือไม่ได้กำไรในการค้าขาย และ 2.กลุ่มที่อยู่ระหว่างการเจรจาขายสินค่า ต้องปรับราคาขายใหม่ เมื่อมีการปรับราคาขึ้นลูกค้าก็มักจะไม่ยอม ทำให้การส่งออกสินค้าไทยมีความยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศที่ปรับลดลง เนื่องจากสินค้าไทยมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น สามารถซื้อจากที่อื่นทดแทนได้
นาย
เกรียงไกรกล่าวว่า ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับที่เหมาะสม แม้ค่าเงินไม่ได้อ่อนค่ามากนัก ก็จะเป็นส่วนสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น เพราะการจับจ่ายใช้สอยคล่องตัว ยกตัวอย่างญี่ปุ่น ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงมาก ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปช้อปปิ้งในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น และการส่งออกสดใสมากขึ้นด้วย ทำให้หากนักท่องเที่ยวต่างชาติแลกเงินได้น้อยกว่าเดิม ต้องจ่ายสูงขึ้นเพื่อมาเที่ยวไทย ก็อาจเปลี่ยนใจไปเที่ยวที่ประเทศอื่นแทนได้
นายเ
กรียงไกรกล่าวว่า มาตรการช่วยเหลืออื่นๆ หากไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยลงจริง ยังมองไม่เห็นเครื่องมืออื่นใดเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน ในการลดภาระด้านต้นทุนการเงิน อาทิ ผู้ส่งออก ที่ค้าขายแล้วได้กำไรลดลงหรือแทบไม่เหลือกำไร ในต่างประเทศมีการใช้มาตรการชดเชยให้กับผู้ส่งออกในบางส่วน แต่ประเทศไทยไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ นอกจากนี้ หากย้อนมองอดีตที่ผ่านมา ดอกเบี้ยของไทยจะเดินตามสหรัฐ เราไม่ได้เดินนำไปก่อน เมื่อสหรัฐมีการปรับลดดอกเบี้ย หรือปรับขึ้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะรอประเมินผลสักระยะก่อนจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้วิ่งตามไป แต่เราต้องสร้างสมดุลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากสุด
“
ธปท.คงได้เห็นภาพใหญ่ในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่สิ่งที่ต้องดูในตอนนี้คือ ภาวะระยะสั้น เพราะปัญหาหนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ต้องแก้ไขก็จริง แต่ถือเป็นคนละส่วนกับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่มีเพียงการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งต้องพยายามในการรักษาไว้ให้ได้ การจะนำมาปนกันทั้งหมด คงไม่ได้ตอบโจทย์มากนัก เพราะปัญหาหนี้มีหลายรูปแบบมาก ทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้นอกระบบ และการก่อหนี้ใหม่เพิ่ม ซึ่งการเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้ง่ายมากขนาดนั้น ทำให้ในภาพรวมกำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ต้องขอนโยบายทั้งด้านการเงินและการคลังที่สอดคล้องกัน รวมถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ต้องใช้ระยะเวลาด้วย” นาย
เกรียงไกรกล่าว
ประธานสภาอุตฯ ภาคตะวันออก ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรง 400 มีแค่ต่างด้าวได้ประโยชน์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9424649
ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเขต 2ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ400 บาท ชี้แรงงานต่างด้าวได้ประโยชน์ แต่ไทยเกิน 400 บาทแล้ว ขณะผลลบทำให้ไทยสู้ต่างชาติอย่างเวียตนามไม่ได้ เหตุค่าแรงต่ำกว่า,เอฟทีเอมากกว่า วัยทำงานมากกว่า
นาย
พิพัฒน์ ฤกษ์สหกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเขต 2 (ปราจีนบุรี,สระแก้ว,จันทบุรี และตราด) เปิดเผยถึง การที่รัฐบาลมีนโยบายในการผลักดันให้ค่าแรงขั้นต่ำสูงถึงวันละ 400 บาท นั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงขึ้นต่ำต่ำกว่าประเทศไทย
เช่น ประเทศเวียดนาม หรือประเทศอื่นๆ ต้องยอมรับว่า วันนี้ ค่าแรง/วันของแรงงานไทยสูงกว่า 400 บาท/วันแล้ว ซี่งหากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน แรงงานของไทยก็ไม่ได้ประโยชน์ แต่แรงงานต่างด้าวจะได้ประโยชน์ในเรื่องนี้ไปเต็มๆ ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานต่างด้าวเป็นหลักจะต้องรับภาระค่าแรงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
อาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยมาก และในอนาคตอาจจะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศ อื่นๆที่มีค่าแรงต่ำกว่าไทย เช่น ประเทศเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของไทยและต่างประเทศได้หันไปลงทุนในประเทศเวียดนามจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะค่าแรงขั้นต่ำต่ำกว่าไทย แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ดีกว่าไทยในหลายแรง
“เวียดนามวันนี้กลายเป็นประเทศที่น่าลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากเเห่งหนึ่งของโลก เพราะปัจจัยต่างๆเอื้อหนุน ทั้งค่าแรงขั้นต่ำไม่สูง ค่าไฟฟ้าก็ถูกกว่าไทย การทำFTA ก็มากประเทศกว่าไทย ประชากรวัยแรงงานก็มากกว่าไทย
เสถียรภาพทางการเมืองก็นิ่งและมีเสถียรภาพ ซึ่งเมื่อเทียบกับไทยแล้วประเทศไทยยังเป็นรองเวียตนามในหลายด้าน หากประเทศไทยขึ้นค่าแรงอีก จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆมาก สุดท้ายแล้วนักลงทุนจะหันไปลงทุนในประเทศอื่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งในไทยก็จะย้ายฐานการผลิตไปด้วย”
ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเขต 2 กล่าวเสริมว่า ในข้อเท็จจริงคณะกรรมการไตรภาคีในเรื่องแรงงานทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคก็มีการประชุมกันแล้ว ล่าสุดเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และมีมติไม่ขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาท และให้แต่ละจังหวัดไปพิจารณากันว่า แต่ละจังหวัดจะขึ้นไม่เหมือนกัน และขึ้นไม่ถึง 400 บาท/วัน
โดยจังหวัดตราดได้มีการประชุมล่าสุดไปแล้ว ว่าจะขึ้นอีก 3 บาท/วัน จากเดิมวันละ 347 บาท ขึ้นเป็น 350 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานคนไทยค่าแรงสูงเกินกว่า 400 บาทแล้ว ซึ่งแรงงานไทยจะเป็นแรงวางที่มีฝีมือ แต่แรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานที่ไม่มีฝีมือ และได้รับค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว หากจะขึ้นเป็น 400 บาทตามที่นัฐบาลประกาศหรือต้องการแรงงานไทยก็ไม่ได้ประโยชน์จะได้ประโยชน์ที่แรงงานต่างด้าวเท่านั้น
JJNY : ปฏิวัติ vs ปฏิรูป│เอกชนหวั่นยืนดอกเบี้ย│ปธ.สภาอุต ตอ.ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรง│คาบสมุทรโนโตะเผชิญสภาพอากาศเลวร้าย
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4804612
รายการประชาธิปไตยสองสี ตอนที่ 25 สนทนา พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ประเด็นว่าด้วย ปฏิวัติ vs ปฏิรูป Progressive vs Pragmatic และความเป็นไปได้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เผยแพร่ เสาร์ 21 ก.ย. 2567 เวลา 20.00 น.
เอกชนหวั่นยืนดอกเบี้ยดันบาทแข็งแตะ 31 บาท ฉุดส่งออก-ท่องเที่ยววูบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4805125
เอกชนหวั่นยืนดอกเบี้ยดันบาทแข็งแตะ 31 บาท ฉุดส่งออก-ท่องเที่ยววูบ
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ณ วันที่ 21 กันยายน 2567 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 32.91 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าแข็งค่าขึ้นรุนแรงมาก ความกังวลคือ เราจะเห็นค่าเงินบาทแข็งแตะระดับ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยลงแรงกว่า 0.50% ส่งผลต่อเงินบาทให้แข็งค่ามากขึ้นอีก กระทบต่อภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงนี้ หากได้รับผลกระทบจากค่าเงิน จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่เติบโตได้เท่าที่ควร
นายเกรียงไกร กล่าวว่า ผลกระทบต่อการส่งออก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปแล้วอยู่ในขั้นตอนการเรียกชำระค่าสินค้า เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทแล้ว ผู้ส่งออกจะได้รับเงินลดลง เพราะค่าเงินแข็งค่าเงินบาทขึ้น แทนที่จะมีกำไรก็อาจน้อยลงหรือไม่ได้กำไรในการค้าขาย และ 2.กลุ่มที่อยู่ระหว่างการเจรจาขายสินค่า ต้องปรับราคาขายใหม่ เมื่อมีการปรับราคาขึ้นลูกค้าก็มักจะไม่ยอม ทำให้การส่งออกสินค้าไทยมีความยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศที่ปรับลดลง เนื่องจากสินค้าไทยมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น สามารถซื้อจากที่อื่นทดแทนได้
นายเกรียงไกรกล่าวว่า ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับที่เหมาะสม แม้ค่าเงินไม่ได้อ่อนค่ามากนัก ก็จะเป็นส่วนสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น เพราะการจับจ่ายใช้สอยคล่องตัว ยกตัวอย่างญี่ปุ่น ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงมาก ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปช้อปปิ้งในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น และการส่งออกสดใสมากขึ้นด้วย ทำให้หากนักท่องเที่ยวต่างชาติแลกเงินได้น้อยกว่าเดิม ต้องจ่ายสูงขึ้นเพื่อมาเที่ยวไทย ก็อาจเปลี่ยนใจไปเที่ยวที่ประเทศอื่นแทนได้
นายเกรียงไกรกล่าวว่า มาตรการช่วยเหลืออื่นๆ หากไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยลงจริง ยังมองไม่เห็นเครื่องมืออื่นใดเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน ในการลดภาระด้านต้นทุนการเงิน อาทิ ผู้ส่งออก ที่ค้าขายแล้วได้กำไรลดลงหรือแทบไม่เหลือกำไร ในต่างประเทศมีการใช้มาตรการชดเชยให้กับผู้ส่งออกในบางส่วน แต่ประเทศไทยไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ นอกจากนี้ หากย้อนมองอดีตที่ผ่านมา ดอกเบี้ยของไทยจะเดินตามสหรัฐ เราไม่ได้เดินนำไปก่อน เมื่อสหรัฐมีการปรับลดดอกเบี้ย หรือปรับขึ้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะรอประเมินผลสักระยะก่อนจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้วิ่งตามไป แต่เราต้องสร้างสมดุลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากสุด
“ธปท.คงได้เห็นภาพใหญ่ในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่สิ่งที่ต้องดูในตอนนี้คือ ภาวะระยะสั้น เพราะปัญหาหนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ต้องแก้ไขก็จริง แต่ถือเป็นคนละส่วนกับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่มีเพียงการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งต้องพยายามในการรักษาไว้ให้ได้ การจะนำมาปนกันทั้งหมด คงไม่ได้ตอบโจทย์มากนัก เพราะปัญหาหนี้มีหลายรูปแบบมาก ทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้นอกระบบ และการก่อหนี้ใหม่เพิ่ม ซึ่งการเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้ง่ายมากขนาดนั้น ทำให้ในภาพรวมกำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ต้องขอนโยบายทั้งด้านการเงินและการคลังที่สอดคล้องกัน รวมถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ต้องใช้ระยะเวลาด้วย” นายเกรียงไกรกล่าว
ประธานสภาอุตฯ ภาคตะวันออก ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรง 400 มีแค่ต่างด้าวได้ประโยชน์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9424649
ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเขต 2ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ400 บาท ชี้แรงงานต่างด้าวได้ประโยชน์ แต่ไทยเกิน 400 บาทแล้ว ขณะผลลบทำให้ไทยสู้ต่างชาติอย่างเวียตนามไม่ได้ เหตุค่าแรงต่ำกว่า,เอฟทีเอมากกว่า วัยทำงานมากกว่า
นายพิพัฒน์ ฤกษ์สหกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเขต 2 (ปราจีนบุรี,สระแก้ว,จันทบุรี และตราด) เปิดเผยถึง การที่รัฐบาลมีนโยบายในการผลักดันให้ค่าแรงขั้นต่ำสูงถึงวันละ 400 บาท นั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงขึ้นต่ำต่ำกว่าประเทศไทย
เช่น ประเทศเวียดนาม หรือประเทศอื่นๆ ต้องยอมรับว่า วันนี้ ค่าแรง/วันของแรงงานไทยสูงกว่า 400 บาท/วันแล้ว ซี่งหากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน แรงงานของไทยก็ไม่ได้ประโยชน์ แต่แรงงานต่างด้าวจะได้ประโยชน์ในเรื่องนี้ไปเต็มๆ ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานต่างด้าวเป็นหลักจะต้องรับภาระค่าแรงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
อาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยมาก และในอนาคตอาจจะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศ อื่นๆที่มีค่าแรงต่ำกว่าไทย เช่น ประเทศเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของไทยและต่างประเทศได้หันไปลงทุนในประเทศเวียดนามจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะค่าแรงขั้นต่ำต่ำกว่าไทย แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ดีกว่าไทยในหลายแรง
“เวียดนามวันนี้กลายเป็นประเทศที่น่าลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากเเห่งหนึ่งของโลก เพราะปัจจัยต่างๆเอื้อหนุน ทั้งค่าแรงขั้นต่ำไม่สูง ค่าไฟฟ้าก็ถูกกว่าไทย การทำFTA ก็มากประเทศกว่าไทย ประชากรวัยแรงงานก็มากกว่าไทย
เสถียรภาพทางการเมืองก็นิ่งและมีเสถียรภาพ ซึ่งเมื่อเทียบกับไทยแล้วประเทศไทยยังเป็นรองเวียตนามในหลายด้าน หากประเทศไทยขึ้นค่าแรงอีก จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆมาก สุดท้ายแล้วนักลงทุนจะหันไปลงทุนในประเทศอื่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งในไทยก็จะย้ายฐานการผลิตไปด้วย”
ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเขต 2 กล่าวเสริมว่า ในข้อเท็จจริงคณะกรรมการไตรภาคีในเรื่องแรงงานทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคก็มีการประชุมกันแล้ว ล่าสุดเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และมีมติไม่ขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาท และให้แต่ละจังหวัดไปพิจารณากันว่า แต่ละจังหวัดจะขึ้นไม่เหมือนกัน และขึ้นไม่ถึง 400 บาท/วัน
โดยจังหวัดตราดได้มีการประชุมล่าสุดไปแล้ว ว่าจะขึ้นอีก 3 บาท/วัน จากเดิมวันละ 347 บาท ขึ้นเป็น 350 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานคนไทยค่าแรงสูงเกินกว่า 400 บาทแล้ว ซึ่งแรงงานไทยจะเป็นแรงวางที่มีฝีมือ แต่แรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานที่ไม่มีฝีมือ และได้รับค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว หากจะขึ้นเป็น 400 บาทตามที่นัฐบาลประกาศหรือต้องการแรงงานไทยก็ไม่ได้ประโยชน์จะได้ประโยชน์ที่แรงงานต่างด้าวเท่านั้น