พรุ่งนี้! วีระ-สมชัย บุก ป.ป.ช.ยื่นเอาผิด ส.ส.พรรคเล็กกลุ่ม 16 รับเงินเดือน 1 แสนบาท มั่นใจมีสิทธิตายยกรัง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3489883
พรุ่งนี้! วีระ-สมชัย บุก ป.ป.ช.ยื่นเอาผิด ส.ส.พรรคเล็กกลุ่ม 16 รับเงินเดือน 1 แสนบาท มั่นใจมีสิทธิตายยกรัง
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. นาย
วีระ สมความคิด ประธานยุทธศาสตร์แผนงานต้านคอร์รัปชั่น พรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
ในวันที่ 5 ส.ค.นี้ ตนและนายสมชัย ศรีสุทธิยากร จะไปยื่นเรื่องกล่าวหา ส.ส.พรรคเล็กกลุ่ม 16 กับพวก ซึ่งรวมถึงผู้ให้ ผู้บงการ ต่อเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีมีข่าวรับเงินเดือนจำนวน 100,000 บาท งานนี้มีสิทธิตายยกรัง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02KAsL1T1rWeMKz97zwKtjusZeTAALcmnYuZqnFvuUkFYjrZ6smbJoftJr913vYuoHl&id=100003292227570
ธกส.เผยราคาหมูอาจปรับขึ้นเดือนนี้ หลังต้นทุนพุ่งไม่หยุด
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/304216
ธกส.ส่งสัญญาณราคาหมู มีแนวโน้มปรับขึ้นในเดือนนี้ หลังต้นทุนอาหารสัตว์และค่าขนส่งพุ่งไม่หยุด
นาย
สมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.เปิดเผยการคาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า หลายตัวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ที่ต้องจับตา คือ ราคาหมู ซึ่งศูนย์วิจัย ธกส.คาดว่าราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นไปอยู่ที่ 103-104.39 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.14 - 1.35 และสูงกว่าราคาที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ ตรึงไว้ที่ 100 บาท
เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นมาก หลังการเปิดประเทศ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการต่าง ๆ ทั้ง ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงเรียน และสถานศึกษา กลับมาเปิดได้ตามปกติ ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงยังสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้ง ค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูอยู่ในมีทิศทางขาต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องจับตาว่าสมาคมผู้เลี้ยงหมูฯ จะตรึงราคาไว้ที่กิโลฯ 100 บาท ต่อไป ไหวหรือไม่ ลุ้นกันวันพรุ่งนี้ (5 ส.ค.)
รับชมทางยูทูปที่ :
https://youtu.be/eNBIKVCAvDI
“หมอชลน่าน” รับ สภาล่ม มีนัยยะทางการเมือง ยัน “เพื่อไทย” ไม่ร่วมสังฆกรรมสูตรหารปาร์ตี้สิสต์ 500
https://www.matichon.co.th/politics/news_3489057
“หมอชลน่าน” รับ สภาล่ม มีนัยยะทางการเมือง ยัน “เพื่อไทย” ไม่ร่วมสังฆกรรมสูตรหารปาร์ตี้สิสต์ 500 ลั่น ไม่ใช่เกมแต่เป็นกลไกที่เหมาะสม เหน็บ ไม่ใช่นั่งเป็นองค์ประชุมแล้วทำงานได้ดี หากทำงานไม่ดีแต่ไปยกย่องบอกทำดี ไม่เห็นด้วย
เมื่อเวลา 12.20 น. วันที่ 4 สิงหาคม นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการประชุมร่วมรัฐสภาล่มเมื่อวานนี้ (3 สิงหาคม) มีนัยยะทางการเมืองที่จะเข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… หรือไม่ ว่า ยอมรับตรงๆ ว่ามีนัยยะทางการเมือง ซึ่งการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการออกกฎหมายต้องพิจารณาตัวกฎหมายเป็นหลัก ถ้าเห็นว่ากฎหมายที่กำลังพิจารราอยู่มีปัญหาไม่สามารถออกมาเป็นกฎหมายได้ จึงใช้กลไกมาตรา 132 ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นทางออกทางหนึ่งและเป็นกลไกระงับยับยั้งกฎหมายที่เห็นว่าไม่ชอบ หรือออกไปใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งเขาก็เปิดช่องไว้ และกฎหมายลูกกำหนดระยะเวลาว่าจะต้องพิจารณาภายใน 180 วัน ถ้าพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้นำกฎหมายที่เสนอในวาระแรกนำมาบังคับใช้เลย
นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า พรรค พท.มีเจตนารมณ์เมื่อแพ้โหวตมาตรา 23 แล้วตามที่กฎหมายเสนอโดยคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) นำไปปรับปรุงแก้ไข แต่ว่ามีการสั่งการให้พลิกกลับไปใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม บัตร 2 หารด้วย 500 สิ่งที่เราคิดในการทำหน้าที่มาโดยตลอดเพื่อให้กฎหมายที่ถูกเสนอมาโดยชอบกลับมาบังคับใช้ให้ได้ ซึ่งมีอยู่ 3 แนวทางคือ 1.ปล่อยให้มีการพิจารณาลงมติในวาระ 3 หาร 500 แล้วไปรอคำทักท้วงของกกต. ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลฎีกา 2.คว่ำในวาระ 3 และ 3.ใช้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 โดย 3 ทางเลือกพรรคพท.คิดมาแต่แรกว่าทางเลือกที่ 1 จะดีกว่าทางเลือกอื่น เพราะแนวทางที่ 2 และแนวทางที่ 3 สุ่มเสี่ยงที่เขาจะอ้างในการไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญขัดกันกับกฎหมายลูกไม่ได้ จึงนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบัตรใบเดียว หาร 500 ได้ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดภาพแบบนั้น
“ดังนั้น แนวทางที่ 1 เราเองก็ไม่แน่ใจว่ากกต.กับศาลจะทักท้วงหรือไม่ แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชอบแนวทางที่ 3 เพราะเราได้ประโยชน์สูงสุด แต่กระบวนการตรากฎหมายมันไม่ชอบ ส่วนสมาชิกรัฐสภาจะมาร่วมกับเรา เราไม่ได้เป็นผู้โน้มนาวชักจูง เพราะเรายืนอยู่มาจุดนี้ตลอดทั้งหมดจึงไม่ใช่เกมแต่เป็นกลไกรัฐสภาในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด มันเป็นร่างที่ครม.เสนอมา ครม.ควรจะต้องอับอาย แม้แต่ร่างตัวเองที่ไปปรับแก้ไขในวาระ 2 ไปหักร่างตัวเอง กกต.เสนอมา คุณก็ไปหักในวาระที่ 2 นี่เป็นเจนารมณ์เราตั้งแต่แรก ไม่ได้เป็นเกมเมื่อวาน แต่ถ้าตีว่าเป็นเกมเราก็ไม่ได้เกี่ยวกับเกมเมื่อวาน แต่เป็นทางเดินของเรา ส่วนใครจะมาร่วมกับเราก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง” นพ.
ชลน่าน กล่าว
เมื่อถามว่า พรรค พท.จะยื้อให้ครบเวลา 180 วันหรือไม่ นพ.
ชลน่าน กล่าวว่า เรายืนยันเจตนารมณ์นี้มาแต่แรก เพียงแต่เราไม่ได้ประกาศเท่านั้น ซึ่งในกมธ. เราก็สู้มาโดยตลออดว่าเราไม่เห็นด้วย ยื่งปรับแก้ยิ่งมีปัญหา เราก็สงวนความเห็นและมาสู้ในสภาต่อ ฉะนั้น เกม พท.ที่วางไว้เรายืดประโยชน์สูงสุดด้วยความชอบตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับในการตรากฎหมายขึ้นมา เราไม่ได้ยึดติดว่าจะหารอะไร แต่บังเอิญว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขมาให้ใช้สูตรหาร 100 แล้วก็ต้องเป็นไปตามนั้น
เมื่อถามว่า ในสัปดาห์หน้าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เราก็สู้แบบนี้ต่อ ส่วนใครจะมาร่วมกับเราไม่ใช่ประเด็นที่เราเป็นผู้ไปกำหนด เพราะเราเป็นเสียงข้างน้อย ถ้าสังเกตว่าเมื่อวานถ้าสมาชิกไม่ร่วมกับพรรค พท. มันก็ไม่เกิดเหตุการณ์ใช้กลไกสภาระงับยับยั้งกฎหมายที่ไม่ชอบได้ ตนจึงมีความมั่นใจว่าสมาชิกส่วนหนึ่งเห็นแล้วว่ามันไม่ชอบจึงใช้แนวทางนี้ ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์และเอกสิทธิ์ของสมาชิกที่จะลงมติหรือไม่ลงมติ
“การทำหน้าที่ในสภา การไม่เป็นองค์ประชุมและไม่ลงมติ ถือเป็นกลไกการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ดีไม่ดีขอให้ดูที่ผลที่เกิดขึ้น ถ้าผลที่เกิดขึ้นดีกับประเทศชาติ ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ดี ไม่ใช่ว่านั่งประชุมแล้วนั่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือให้เขาแล้วทำงานได้ดี ทำงานแล้วมันไม่ดีกับประเทศชาติแล้วไปยกย่องว่าทำงานได้ดี ผมไม่เห็นด้วย” นพ.
ชลน่าน กล่าว
"เบญจา" ดักทาง หากรัฐหวดม็อบ 10 ส.ค. เชื่อ กระทบภาพลักษณ์ช่วงเลือกตั้ง
https://www.thairath.co.th/news/politic/2464221
"เบญจา" ดักทาง หากรัฐหวดม็อบอีก เชื่อ กระทบภาพลักษณ์ช่วงเลือกตั้ง เตือน อย่าใช้ความรุนแรง คะแนนเสียงตก ชี้ ถึงเวลา "ภูมิใจไทย-ปชป." ถอนสมอรัฐบาล อ้าง ส.ส.พรรคร่วมฯ อยากถอนตัว เหตุเล่นเกมทำสภาล่ม ไร้ศักดิ์ศรี
วันที่ 4 ส.ค. 65 น.ส.
เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ประเมินสถานการณ์ กรณีแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นัดชุมนุม 10 ส.ค. ที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และการชุมนุมต่างๆ ในช่วงใกล้เข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ว่า เห็นปฏิกิริยาความพยายามโต้ตอบของรัฐ ลิดรอนเสรีภาพการแสดงออก ของชาวบ้านที่อัดอั้นค่าครองชีพ ราคาพลังงาน ข้าวยากหมากแพง การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่กี่วันมานี้ ต้องการควบคุม จำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุม รัฐบาลกังวล กลัว จากสถานะที่ไม่มั่นคง ง่อนแง่ รวมกับเรื่อง 8 ปี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม การถ่วงรั้ง ดึงกฎหมายลูกในรัฐสภา รัฐบาลพยายามทำเพื่ออำนาจทางการเมืองตัวเอง มากกว่าทำเพื่อประชาชน แม้แต่เรื่องกลับไปกลับมาในการแก้รัฐธรรมนูญ ถามว่า หากมีการจับกุมคุมขังเยาวชน ในช่วงโหมดเลือกตั้ง จะกระทบคะแนนเสียงหรือไม่ โดยเฉพาะพรรคอะไหล่ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ ท่วงทำนอง ท่าที ภาษาข่าวบอกว่า แตกแบงก์พัน แตกพรรคใหม่ มีข้อสังเกต เพื่อสนับสนุน พล.อ.
ประยุทธ์ เป็นนายกฯ สืบทอดอำนาจ ความพยายามกดทับ กดปราบ ไม่ใช่แค่ 3-4 ปีนี้ แต่คือตลอด 8 ปี ของการอยู่ในตำแหน่งนายกฯ หากกระทำความรุนแรงในที่ชุมนุม จะส่งผลต่อภาพลักษณ์และความมั่นคงของรัฐบาลแน่ๆ
เมื่อถามว่า ภาพการใช้ความรุนแรง เช่น ใช้กระสุนยาง แก๊สน้ำตา ช่วงใกล้เลือกตั้ง กระทบไปถึงพรรคร่วมรัฐบาลด้วยไหม หรือกระทบแค่คะแนนเสียง พปชร. น.ส.
เบญจา ตอบว่า ปฏิเสธไม่ได้เลย ควรฟังเสียงเรียกร้องของยุคสมัยของเยาวชนคนหนุ่มสาว
น.ส.
เบญจา กล่าวต่อว่า พรรคร่วมต้องเลิกเป็นขาตั้งนั่งร้าน ถ้าเป็นไปได้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ มันมีผลอย่างมากต่อการสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคของตัวเองในลักษณะของทำหน้าที่เป็นตัวแทนเสียงเรียกร้องประชาชน จริงๆ หากถามว่า ถ้ามีใช้ความรุนแรงซ้ำอีก ควรถอนไหม ทั้งภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์นั้น เราเห็นความรุนแรงกับผู้ชุมนุม แต่พรรคร่วมกลับไม่รู้สึก กลับวางเฉย ช่วงที่เหลืออีกไม่มาก วางเฉยแบบนั้นไม่ได้แล้ว ต้องมีกระบวนการทบทวน ในการเมืองสมัยหน้า มันมีความไม่แน่นอนในการรวมกลุ่มกันจัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมน่าจะเห็นแล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมาพรรคที่เป็นฝ่ายนำในการจัดตั้งรัฐบาลตกต่ำขนาดไหน ต้องฝากเรื่องนี้ไปถึงพรรคร่วมที่เป็นนั่งร้าน สุดท้ายแล้วเอาผลประโยชน์ใครเป็นที่ตั้ง ถ้าทำเพื่อผลประโยชน์ประชาชนจริงๆ ควรฟังเสียงชาวบ้าน ถอนตัวจากรัฐบาลได้แล้ว
"ที่จริงในสภาฯ ได้พูดคุยกับผู้แทนพรรคร่วมหลายคน อึดอัดใจมาก เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา โดยอ้างอิงตามผู้มีอำนาจ สภาฯดูไม่มีศักดิ์ศรี หลายคนรู้สึกว่า สภาฯมันดูไม่ได้เป็นสภาฯอันทรงเกียรติอีกต่อไป สภานี้ไปทำตามนโยบายของผู้มีอำนาจเท่านั้น ไม่ได้มองถึงคนที่เลือกเขามา หลายคนอดอัดใจ แต่ติดที่ต้องทำตามมติพรรค จริงๆ ถ้าหลายคนส่งเสียงไปถึงพรรคตัวเอง ได้น่าจะเป็นเรื่องดีในการสร้างความชอบธรรมให้พรรคตัวเองด้วย เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอนตัวออกจากรัฐบาล จากที่คุยกันส่วนบุคคล ได้เห็นความตั้งใจในเรื่องของการอยากจะถอนตัวไหม ก็มีจริงๆ แต่พอเป็นมติพรรคอาจยาก รู้อยู่ว่ายาก แต่คงต้องเรียกร้องให้ตัดสินใจ โดยเฉพาะการกลับไปกลับมาของผู้มีอำนาจเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ" น.ส.
เบญจา กล่าว.
JJNY : 5in1 พรุ่งนี้!ยื่นเอาผิดพรรคเล็ก│หมูอาจขึ้นเดือนนี้│“หมอชลน่าน”รับสภาล่มมีนัยยะ│"เบญจา"ดักทาง│น้ำมันโลกเเตะ 90$
https://www.matichon.co.th/politics/news_3489883
พรุ่งนี้! วีระ-สมชัย บุก ป.ป.ช.ยื่นเอาผิด ส.ส.พรรคเล็กกลุ่ม 16 รับเงินเดือน 1 แสนบาท มั่นใจมีสิทธิตายยกรัง
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. นายวีระ สมความคิด ประธานยุทธศาสตร์แผนงานต้านคอร์รัปชั่น พรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
ในวันที่ 5 ส.ค.นี้ ตนและนายสมชัย ศรีสุทธิยากร จะไปยื่นเรื่องกล่าวหา ส.ส.พรรคเล็กกลุ่ม 16 กับพวก ซึ่งรวมถึงผู้ให้ ผู้บงการ ต่อเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีมีข่าวรับเงินเดือนจำนวน 100,000 บาท งานนี้มีสิทธิตายยกรัง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02KAsL1T1rWeMKz97zwKtjusZeTAALcmnYuZqnFvuUkFYjrZ6smbJoftJr913vYuoHl&id=100003292227570
ธกส.เผยราคาหมูอาจปรับขึ้นเดือนนี้ หลังต้นทุนพุ่งไม่หยุด
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/304216
ธกส.ส่งสัญญาณราคาหมู มีแนวโน้มปรับขึ้นในเดือนนี้ หลังต้นทุนอาหารสัตว์และค่าขนส่งพุ่งไม่หยุด
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.เปิดเผยการคาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า หลายตัวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ที่ต้องจับตา คือ ราคาหมู ซึ่งศูนย์วิจัย ธกส.คาดว่าราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นไปอยู่ที่ 103-104.39 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.14 - 1.35 และสูงกว่าราคาที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ ตรึงไว้ที่ 100 บาท
เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นมาก หลังการเปิดประเทศ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการต่าง ๆ ทั้ง ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงเรียน และสถานศึกษา กลับมาเปิดได้ตามปกติ ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงยังสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้ง ค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูอยู่ในมีทิศทางขาต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องจับตาว่าสมาคมผู้เลี้ยงหมูฯ จะตรึงราคาไว้ที่กิโลฯ 100 บาท ต่อไป ไหวหรือไม่ ลุ้นกันวันพรุ่งนี้ (5 ส.ค.)
รับชมทางยูทูปที่ : https://youtu.be/eNBIKVCAvDI
“หมอชลน่าน” รับ สภาล่ม มีนัยยะทางการเมือง ยัน “เพื่อไทย” ไม่ร่วมสังฆกรรมสูตรหารปาร์ตี้สิสต์ 500
https://www.matichon.co.th/politics/news_3489057
“หมอชลน่าน” รับ สภาล่ม มีนัยยะทางการเมือง ยัน “เพื่อไทย” ไม่ร่วมสังฆกรรมสูตรหารปาร์ตี้สิสต์ 500 ลั่น ไม่ใช่เกมแต่เป็นกลไกที่เหมาะสม เหน็บ ไม่ใช่นั่งเป็นองค์ประชุมแล้วทำงานได้ดี หากทำงานไม่ดีแต่ไปยกย่องบอกทำดี ไม่เห็นด้วย
เมื่อเวลา 12.20 น. วันที่ 4 สิงหาคม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการประชุมร่วมรัฐสภาล่มเมื่อวานนี้ (3 สิงหาคม) มีนัยยะทางการเมืองที่จะเข้าสู่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… หรือไม่ ว่า ยอมรับตรงๆ ว่ามีนัยยะทางการเมือง ซึ่งการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการออกกฎหมายต้องพิจารณาตัวกฎหมายเป็นหลัก ถ้าเห็นว่ากฎหมายที่กำลังพิจารราอยู่มีปัญหาไม่สามารถออกมาเป็นกฎหมายได้ จึงใช้กลไกมาตรา 132 ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นทางออกทางหนึ่งและเป็นกลไกระงับยับยั้งกฎหมายที่เห็นว่าไม่ชอบ หรือออกไปใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งเขาก็เปิดช่องไว้ และกฎหมายลูกกำหนดระยะเวลาว่าจะต้องพิจารณาภายใน 180 วัน ถ้าพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้นำกฎหมายที่เสนอในวาระแรกนำมาบังคับใช้เลย
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า พรรค พท.มีเจตนารมณ์เมื่อแพ้โหวตมาตรา 23 แล้วตามที่กฎหมายเสนอโดยคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) นำไปปรับปรุงแก้ไข แต่ว่ามีการสั่งการให้พลิกกลับไปใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม บัตร 2 หารด้วย 500 สิ่งที่เราคิดในการทำหน้าที่มาโดยตลอดเพื่อให้กฎหมายที่ถูกเสนอมาโดยชอบกลับมาบังคับใช้ให้ได้ ซึ่งมีอยู่ 3 แนวทางคือ 1.ปล่อยให้มีการพิจารณาลงมติในวาระ 3 หาร 500 แล้วไปรอคำทักท้วงของกกต. ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลฎีกา 2.คว่ำในวาระ 3 และ 3.ใช้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 132 โดย 3 ทางเลือกพรรคพท.คิดมาแต่แรกว่าทางเลือกที่ 1 จะดีกว่าทางเลือกอื่น เพราะแนวทางที่ 2 และแนวทางที่ 3 สุ่มเสี่ยงที่เขาจะอ้างในการไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญขัดกันกับกฎหมายลูกไม่ได้ จึงนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบัตรใบเดียว หาร 500 ได้ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดภาพแบบนั้น
“ดังนั้น แนวทางที่ 1 เราเองก็ไม่แน่ใจว่ากกต.กับศาลจะทักท้วงหรือไม่ แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชอบแนวทางที่ 3 เพราะเราได้ประโยชน์สูงสุด แต่กระบวนการตรากฎหมายมันไม่ชอบ ส่วนสมาชิกรัฐสภาจะมาร่วมกับเรา เราไม่ได้เป็นผู้โน้มนาวชักจูง เพราะเรายืนอยู่มาจุดนี้ตลอดทั้งหมดจึงไม่ใช่เกมแต่เป็นกลไกรัฐสภาในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด มันเป็นร่างที่ครม.เสนอมา ครม.ควรจะต้องอับอาย แม้แต่ร่างตัวเองที่ไปปรับแก้ไขในวาระ 2 ไปหักร่างตัวเอง กกต.เสนอมา คุณก็ไปหักในวาระที่ 2 นี่เป็นเจนารมณ์เราตั้งแต่แรก ไม่ได้เป็นเกมเมื่อวาน แต่ถ้าตีว่าเป็นเกมเราก็ไม่ได้เกี่ยวกับเกมเมื่อวาน แต่เป็นทางเดินของเรา ส่วนใครจะมาร่วมกับเราก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง” นพ.ชลน่าน กล่าว
เมื่อถามว่า พรรค พท.จะยื้อให้ครบเวลา 180 วันหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เรายืนยันเจตนารมณ์นี้มาแต่แรก เพียงแต่เราไม่ได้ประกาศเท่านั้น ซึ่งในกมธ. เราก็สู้มาโดยตลออดว่าเราไม่เห็นด้วย ยื่งปรับแก้ยิ่งมีปัญหา เราก็สงวนความเห็นและมาสู้ในสภาต่อ ฉะนั้น เกม พท.ที่วางไว้เรายืดประโยชน์สูงสุดด้วยความชอบตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับในการตรากฎหมายขึ้นมา เราไม่ได้ยึดติดว่าจะหารอะไร แต่บังเอิญว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขมาให้ใช้สูตรหาร 100 แล้วก็ต้องเป็นไปตามนั้น
เมื่อถามว่า ในสัปดาห์หน้าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เราก็สู้แบบนี้ต่อ ส่วนใครจะมาร่วมกับเราไม่ใช่ประเด็นที่เราเป็นผู้ไปกำหนด เพราะเราเป็นเสียงข้างน้อย ถ้าสังเกตว่าเมื่อวานถ้าสมาชิกไม่ร่วมกับพรรค พท. มันก็ไม่เกิดเหตุการณ์ใช้กลไกสภาระงับยับยั้งกฎหมายที่ไม่ชอบได้ ตนจึงมีความมั่นใจว่าสมาชิกส่วนหนึ่งเห็นแล้วว่ามันไม่ชอบจึงใช้แนวทางนี้ ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์และเอกสิทธิ์ของสมาชิกที่จะลงมติหรือไม่ลงมติ
“การทำหน้าที่ในสภา การไม่เป็นองค์ประชุมและไม่ลงมติ ถือเป็นกลไกการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ดีไม่ดีขอให้ดูที่ผลที่เกิดขึ้น ถ้าผลที่เกิดขึ้นดีกับประเทศชาติ ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ดี ไม่ใช่ว่านั่งประชุมแล้วนั่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือให้เขาแล้วทำงานได้ดี ทำงานแล้วมันไม่ดีกับประเทศชาติแล้วไปยกย่องว่าทำงานได้ดี ผมไม่เห็นด้วย” นพ.ชลน่าน กล่าว
"เบญจา" ดักทาง หากรัฐหวดม็อบ 10 ส.ค. เชื่อ กระทบภาพลักษณ์ช่วงเลือกตั้ง
https://www.thairath.co.th/news/politic/2464221
"เบญจา" ดักทาง หากรัฐหวดม็อบอีก เชื่อ กระทบภาพลักษณ์ช่วงเลือกตั้ง เตือน อย่าใช้ความรุนแรง คะแนนเสียงตก ชี้ ถึงเวลา "ภูมิใจไทย-ปชป." ถอนสมอรัฐบาล อ้าง ส.ส.พรรคร่วมฯ อยากถอนตัว เหตุเล่นเกมทำสภาล่ม ไร้ศักดิ์ศรี
วันที่ 4 ส.ค. 65 น.ส.เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ประเมินสถานการณ์ กรณีแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นัดชุมนุม 10 ส.ค. ที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และการชุมนุมต่างๆ ในช่วงใกล้เข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ว่า เห็นปฏิกิริยาความพยายามโต้ตอบของรัฐ ลิดรอนเสรีภาพการแสดงออก ของชาวบ้านที่อัดอั้นค่าครองชีพ ราคาพลังงาน ข้าวยากหมากแพง การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่กี่วันมานี้ ต้องการควบคุม จำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุม รัฐบาลกังวล กลัว จากสถานะที่ไม่มั่นคง ง่อนแง่ รวมกับเรื่อง 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม การถ่วงรั้ง ดึงกฎหมายลูกในรัฐสภา รัฐบาลพยายามทำเพื่ออำนาจทางการเมืองตัวเอง มากกว่าทำเพื่อประชาชน แม้แต่เรื่องกลับไปกลับมาในการแก้รัฐธรรมนูญ ถามว่า หากมีการจับกุมคุมขังเยาวชน ในช่วงโหมดเลือกตั้ง จะกระทบคะแนนเสียงหรือไม่ โดยเฉพาะพรรคอะไหล่ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ ท่วงทำนอง ท่าที ภาษาข่าวบอกว่า แตกแบงก์พัน แตกพรรคใหม่ มีข้อสังเกต เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ สืบทอดอำนาจ ความพยายามกดทับ กดปราบ ไม่ใช่แค่ 3-4 ปีนี้ แต่คือตลอด 8 ปี ของการอยู่ในตำแหน่งนายกฯ หากกระทำความรุนแรงในที่ชุมนุม จะส่งผลต่อภาพลักษณ์และความมั่นคงของรัฐบาลแน่ๆ
เมื่อถามว่า ภาพการใช้ความรุนแรง เช่น ใช้กระสุนยาง แก๊สน้ำตา ช่วงใกล้เลือกตั้ง กระทบไปถึงพรรคร่วมรัฐบาลด้วยไหม หรือกระทบแค่คะแนนเสียง พปชร. น.ส.เบญจา ตอบว่า ปฏิเสธไม่ได้เลย ควรฟังเสียงเรียกร้องของยุคสมัยของเยาวชนคนหนุ่มสาว
น.ส.เบญจา กล่าวต่อว่า พรรคร่วมต้องเลิกเป็นขาตั้งนั่งร้าน ถ้าเป็นไปได้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ มันมีผลอย่างมากต่อการสร้างความชอบธรรมให้กับพรรคของตัวเองในลักษณะของทำหน้าที่เป็นตัวแทนเสียงเรียกร้องประชาชน จริงๆ หากถามว่า ถ้ามีใช้ความรุนแรงซ้ำอีก ควรถอนไหม ทั้งภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์นั้น เราเห็นความรุนแรงกับผู้ชุมนุม แต่พรรคร่วมกลับไม่รู้สึก กลับวางเฉย ช่วงที่เหลืออีกไม่มาก วางเฉยแบบนั้นไม่ได้แล้ว ต้องมีกระบวนการทบทวน ในการเมืองสมัยหน้า มันมีความไม่แน่นอนในการรวมกลุ่มกันจัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมน่าจะเห็นแล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมาพรรคที่เป็นฝ่ายนำในการจัดตั้งรัฐบาลตกต่ำขนาดไหน ต้องฝากเรื่องนี้ไปถึงพรรคร่วมที่เป็นนั่งร้าน สุดท้ายแล้วเอาผลประโยชน์ใครเป็นที่ตั้ง ถ้าทำเพื่อผลประโยชน์ประชาชนจริงๆ ควรฟังเสียงชาวบ้าน ถอนตัวจากรัฐบาลได้แล้ว
"ที่จริงในสภาฯ ได้พูดคุยกับผู้แทนพรรคร่วมหลายคน อึดอัดใจมาก เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา โดยอ้างอิงตามผู้มีอำนาจ สภาฯดูไม่มีศักดิ์ศรี หลายคนรู้สึกว่า สภาฯมันดูไม่ได้เป็นสภาฯอันทรงเกียรติอีกต่อไป สภานี้ไปทำตามนโยบายของผู้มีอำนาจเท่านั้น ไม่ได้มองถึงคนที่เลือกเขามา หลายคนอดอัดใจ แต่ติดที่ต้องทำตามมติพรรค จริงๆ ถ้าหลายคนส่งเสียงไปถึงพรรคตัวเอง ได้น่าจะเป็นเรื่องดีในการสร้างความชอบธรรมให้พรรคตัวเองด้วย เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอนตัวออกจากรัฐบาล จากที่คุยกันส่วนบุคคล ได้เห็นความตั้งใจในเรื่องของการอยากจะถอนตัวไหม ก็มีจริงๆ แต่พอเป็นมติพรรคอาจยาก รู้อยู่ว่ายาก แต่คงต้องเรียกร้องให้ตัดสินใจ โดยเฉพาะการกลับไปกลับมาของผู้มีอำนาจเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ" น.ส.เบญจา กล่าว.