.
.
ภาพวาดโครงการเรือรบ Project Habakkuk
.
.
.
SHIP OF ICE - Project Habbakuk
.
.
คนเราเวลาที่สิ้นหวังต่างเรียกร้อง
ให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาที่สิ้นหวัง
แต่ไม่มีเวลาใดในประวัติศาสตร์ที่สิ้นหวัง
เท่ากับเวลาที่ประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก
ถูกกำหนดให้ทำลายล้างซึ่งกันและกัน
นั่นคือ ช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง
ฝ่ายพันธมิตรกำลังขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็น
ในการสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหาร/กองทัพเรือ
หนึ่งในนั้นคือ เหล็ก
ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
กองเรืออังกฤษกำลังต่อสู้กับ
กองเรือดำน้ำ U Boat ของเยอรมัน
เรือขนส่งของพันธมิตรที่เดินทางข้ามมหาสมุทร
มักจะถูกสกัดและจมโดยเรือดำน้ำเยอรมัน
ในอัตรา/จำนวนเรือที่น่าตกใจ
เครื่องบินแม้ว่าสามารถปกป้องเรือได้
แต่ไม่สามารถนำไปใช้กลางมหาสมุทรได้
หากไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน
เพราะเรือต้องมีขนาดใหญ่มาก
และต้องใช้เหล็กจำนวนมหาศาลในการผลิต
ซึ่งขาดแคลนมากในช่วงเวลานั้น
เรื่องที่จำเป็นคือ วิธีที่เครื่องบินลงจอด
และเติมน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ใช้ทรัพยากร
ในสภาวะที่ตึงเครียด/หวาดกลัวมากเกินไป
.
.
.
Geoffrey Pyke
.
นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ
Geoffrey Pyke
ซึ่งทำงานที่สำนักงานใหญ่ของ
Combined Operations
ในฐานะที่ปรึกษาของหัวหน้าทีม
Lord Mountbatten
ได้เสนอแนวคิดที่ยอดเยี่ยม
สร้างเรือบรรทุกเครื่องบินจากน้ำแข็ง
น้ำแข็งนั้นแข็งโดยธรรมชาติ
มันไม่จม และถ้าเกิดความเสียหายใด ๆ
ก็สามารถซ่อมแซมได้ง่าย ๆ ทันที
เพียงแค่ใช้น้ำแช่แข็งเสริมก้อนน้ำแข็งใหม่เข้าที่
.
.
.
Lord Mountbatten
.
Geoffrey Pyke ผู้ซึ่งชอบความคิดที่เจ๋งนี้
แนะนำให้ตัดภูเขาน้ำแข็งอาร์กติกก้อนใหญ่
แล้วลากลงไปในมหาสมุทร เมื่อปรับระดับพื้นผิว
น้ำแข็งจะทำหน้าที่เป็นแท่นลงจอด
และหากสามารถเจาะรูตรงกลางได้
มันจะเป็นที่ที่เหมาะสำหรับที่จอดของเครื่องบิน
.
.
.
Winston Churchill
นายกรัฐมนตรี ช่วง WWII
.
.
ในที่สุด Geoffrey Pyke ก็เสนอแนวคิดนี้
ให้ Lord Mountbatten ซึ่งสามารถโน้มน้าวให้
Winston Churchill เชื่อว่าสงครามจะเอาชนะได้ด้วยน้ำแข็ง
Winston Churchill จึงอนุมัติให้ลงมือทำ
โครงการนี้มีชื่อรหัสว่า โครงการ Habakkuk
ซึ่งเป็นการอ้างอิงคำหนึ่งจากคัมภีร์ไบเบิล
"... ประหลาดใจอย่างยิ่ง
เพราะ ฉันจะทำอะไรบางอย่าง
ในสมัยของคุณ ซึ่งคุณจะไม่ทำ
จงเชื่อแม้ว่า ท่านจะถูกบอกเล่า
” (Habakkuk 1:5, NIV)
เรือบรรทุกเครื่องบินที่ Geoffrey Pyke
จินตนาการไว้จะมีความยาว 2,000 ฟุต กว้าง 300 ฟุต
และมีน้ำหนักมากกว่า 2 ล้านตัน
ลำตัวจะป้องกันตอร์ปิโดมีความหนา 40 ฟุต
ติดตั้งป้อมปืนแบบ 2 ลำกล้องจำนวน 40 กระบอก
และปืนต่อต้านอากาศยานเบาจำนวนมาก
ลานบินสามารถรองรับเครื่องบินทิ้งระเบิด
หรือเครื่องบินรบได้มากถึง 150 ลำ
แต่มีปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ น้ำแข็งละลาย
แต่ Geoffrey Pyke ก็มีวิธีแก้ปัญหาเช่นกัน
ระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ภายใน
ที่ประกอบด้วยเครือข่ายท่อที่ซับซ้อน
จะปั๊มสารทำความเย็นที่แช่เย็นไว้ทั่วทั้งเรือ
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งละลาย
.
.
.
.
.
ในไม่ช้าก็มีการสร้างเรือต้นแบบ
เรือมีความยาว 60 ฟุต หนัก 1,000 ตัน
สร้างบนทะเลสาบ Patricia
ในเทือกเขา Rockies ของแคนาดา
ระบบทำความเย็นขนาดหนึ่งแรงม้า
ช่วยทำให้เรือเย็นเพียงพอ
ทีจะใช้งานได้ตลอดฤดูร้อน
แต่ในระหว่างการทดสอบ
ปัญหาใหม่บางอย่างเกิดขึ้น
แม้ว่าน้ำแข็งจะแข็ง แต่ก็เปราะ
นอกจากนั้น น้ำแข็งจะเปลี่ยนรูป
ภายใต้ความกดดันระดับหนึ่ง
เรือขนาดใหญ่เท่ากับ Habakkuk
อาจจะจมลงได้ด้วยน้ําหนักของตัวม้นเอง
และแล้วโอกาสที่แก้ป้ญหานี้ได้
นักวิจัยสองคนจาก
Polytechnic Institute of Brooklyn
ในรัฐ New York ได้ค้นพบความก้าวหน้าว่า
ถ้านำไม้หรือขี้เลื่อยผสมกับน้ำแล้วแช่แข็ง
วัสดุที่ได้จะแข็งแกร่งกว่าน้ำแข็งทั่วไปถึง 14 เท่า
และแข็งแกร่งกว่าคอนกรีต
ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า
วัสดุใหม่นี้มีความทนทานสูงต่อแรงกด
การบิ่น และแม้แต่กระสุน
และสามารถกลึงได้เหมือนไม้
และหล่อเป็นรูปร่างเหมือนโลหะ
และเมื่อแช่ในน้ำ จะกลายเป็นเปลือก
หุ้มฉนวนของเยื่อไม้เปียกบนพื้นผิว
ที่ป้องกันภายในจากการหลอมเหลวเพิ่มเติม
วัสดุมหัศจรรย์นี้มีชื่อว่า
Pykrete
เพื่อเป็นเกียรติแก่ Geoffrey Pyke
.
.
.
Shooting Pykrete
.
.
.
ในปี 1942 มีเรื่องเล่าวว่า ในวันหนึ่ง
ขณะที่ Churchill กำลังอาบน้ำอยู่ในบ้าน
เมื่อ Lord Mountbatten มีเรื่องรีบร้อน
จึงเข้าไปในห้องน้ำและได้ทิ้งก้อน pykrete
ลงในอ่างอาบน้ำ หลายนาทีต่อมา
ทั้งสองคนต่างมองด้วยยความประหลาดใจ
เมื่อน้ำแข็งไม่ละลายในน้ำอุ่น(อ่างอาบน้ำ)
ในการประชุม Quebec Conference 1943
มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกเรื่องหนึ่ง
เกี่ยวข้องกับการสาธิตอย่างกระตือรือร้นของ
Lord Mountbatten ซึ่งได้รับการขยายความซ้ำ
โดยพยานจำนวนหนึ่งที่เห็นเหตุการณ์ในวันนั้น
Lord Mountbatten ได้นำก้อนน้ำแข็ง 2 ก้อน
ก้อนหนึ่งทำจากน้ำแข็ง
และอีกอันทำจาก Pykrete
แล้ววางทั้งสองก้อนนี้ไว้บนพื้น
จากนั้นก็ดึงปืนพกออกมา
แล้วยิงใส่ก้อนน้ำแข็งจนแตกเป็นเสี่ยง
ต่อมาก็หันปืนไปยิ่งใส่ก้อน Pykrete
แต่กระสุนกระเด็นออกจาก Pykrete
และส่งเสียงดังวิ้ง ๆ ราวกับผึ้งโกรธ
จนคนรอบข้างต่างได้ยินเสียงนี้
ลูกกระสุนยังถากขากางเกง
ของ
Admiral Ernest King
แล้วไปจอดสนิทที่กำแพงบ้าน
.
.
.
Admiral Ernest King
.
.
.
วัสดุที่น่าอัศจรรย์นี้
คือ สิ่งที่ Geoffrey Pyke ต้องการอย่างมาก
ในการต่อยอดกับความสำเร็จของโครงการนี้
การออกแบบและแผนสำหรับการสร้าง
เรือบรรทุกเครื่องบินกำลังเร่งรุดไปข้างหน้า
เรือ Habakkuk แต่ละลำ มีวัสดุที่กำหนดไว้แล้ว
คือ ใช้เยื่อไม้ 300,000 ตัน
ฉนวนไฟเบอร์บอร์ด 25,000 ตัน
ไม้ 35,000 ตัน และเหล็ก 10,000 ตัน
ต้นทุนประมาณการกำหนดที่ 700,000 ปอนด์
แต่เมื่อการออกแบบ/งานสร้างคืบหน้าแล้ว
กลับกลายเป็นว่า ต้องมีการเสริมเหล็กมากขึ้น
รวมถึงฉนวนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และค่าใช้จ่ายประมาณการก็เพิ่มสูงขึ้น
เป็น 2.5 ล้านปอนด์ (มากกว่า 100 ล้านปอนด์ในเงินปัจจุบัน)
การบังคับเลี้ยวก็ทำได้ยากมาก
เพราะเรือลำใหญ่มาก มีความคล่องตัวจำกัด
และความเร็วสูงสุดเพียง 6 น็อต
ซึ่งกองทัพเรือสรุปว่า ช้าเกินแกง/ช้าเกินไป
แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด คือ ตัววัตถุดิบ
เพราะ เหล็ก กับ ไม้ ต่างขาดแคลน
และการสร้างเรื่อ Habakkuk เพีบงหนึ่งลำ
จะสร้างผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตกระดาษ
(กระดาษจำเป็นต้องใช้มากในยุคนั้น)
ทั้งยังเพิ่มความซับซ้อนของการสร้าง ฉนวน
และการทำความเย็นโครงสร้างขนาดใหญ่
ยังต้องใช้เวลาและกำลังคนจำนวนมาก
ซึ่งไม่พร้อมจ่ายทั้งกำลังคน กำลังเงิน
(เงินถึง งานถึง เงินเพิ่ม งานเพิ่ม
ไร้เงิน ไร้งาน ไร้กำลังใจ ทำงาน)
ในที่สุด โครงการ Habakkuk
ก็ถูกยกเลิกไป แล้วไปทำเรื่องอื่นแทน
ที่มีผลทางปฏิบัติมากขึ้นกว่าเดิม
เช่นการตั้งสนามบินใน Azores
เพื่ออำนวยความสะดวกในการล่าเรือ U-boat
ในมหาสมุทรแอตแลนติก
พร้อมกับขยายเวลาเดินเรือรบขนาดใหญ่
ให้มีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ขึ้น
พร้อมกองเรือคุ้มกันอีกจำนวนมาก
ทุกวันนี้ มีเพียงชิ้นส่วนเดียวที่จับต้องได้
ของโครงการ Habakkuk
จมอยู่ที่ด้านล่างสุดของ Patricia Lake
ใน Alberta ประเทศแคนาดา
ต้นแบบได้รับการทดสอบสร้างเบื้องต้น
การสำรวจด้วยการดำน้ำไปพื้นที่ในปี 1985
พบว่า ลำตัวเรือที่หุ้มด้วยผนังไม้
ท่อน้ำเย็นที่เดินอย่างยุ่งเหยิงรอบตัวเรือ
พร้อมกับน้ำมันดินที่ใช้เป็นฉนวนส่วนหนึ่ง
รวมทั้งแผ่นเหล็กที่จมอยู่ใต้น้ำ
กลายเป็นอนุสรณ์สถานโครงการที่ล้มเหลว
.
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3JpEeRN
https://bit.ly/3d1dqLp
https://bit.ly/3zoP1a4
https://bit.ly/3QeI4iy
https://bit.ly/3brS0Xp
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ในวันเดินสวนสนามที่กรุงเทพฯ
Lord Louis Mountbatten เป็นประธานร่วมกับ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
โดยมีขบวนเสรีไทย ร่วมกับ กองทัพพันธมิตร
เพราะไทยไม่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
การประกาศสงครามร่วมกับญี่ปุ่นเป็นโมฆะ
จนเป็นที่มาของวลี Siamese Talk
ของ นสพ.อุสา(USA) ที่รู้จักแฝดคู่ อิน จัน
ข้อต่อสู้ของไทยเรื่องสงครามเป็นโมฆะ
เพราะ นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้สำเร็จราชการ
ไม่ได้ลงนามร่วมด้วยในวันประกาศสงคราม
เพราะอยู่ยุดยาในวันนั้น ลงเรือกลับมาไม่ทัน
และไม่ได้ลงนามให้สัตยาบันในภายหลัง
นายปรีดี พนมยงค์ ยังได้ฝากเงินไว้ที่สหรัฐ
จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเสรีไทย
ที่ มรว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าที่สหรัฐ/อังกฤษ
มีการฝึกเสรีไทยจากทหารอังกฤษ และสหรัฐ
มาแทรกซึกและต่อต้านทหารญี่ปุ่นในไทย
รวมทั้งสหรัฐต้องการให้ไทยเป็นรัฐกันชน
ไข่แดง ท่ามกลางไข่ขาวรัฐอาณานิคมรอบข้าง
และอยากมีอิทธิพลในเขตภูมิภาคนี้
จึงสนับสนุนไทยเต็มที่ในเรื่องนี้
รายละเอียด
จอมพล ป.พิบูลสงคราม แง่มุมประวัติศาสตร์
โครงการ Habakkuk เรือรบอังกฤษสร้างจากน้ำแข็ง
.
ภาพวาดโครงการเรือรบ Project Habakkuk
.
.
.
SHIP OF ICE - Project Habbakuk
.
คนเราเวลาที่สิ้นหวังต่างเรียกร้อง
ให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาที่สิ้นหวัง
แต่ไม่มีเวลาใดในประวัติศาสตร์ที่สิ้นหวัง
เท่ากับเวลาที่ประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก
ถูกกำหนดให้ทำลายล้างซึ่งกันและกัน
นั่นคือ ช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง
ฝ่ายพันธมิตรกำลังขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็น
ในการสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหาร/กองทัพเรือ
หนึ่งในนั้นคือ เหล็ก
ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
กองเรืออังกฤษกำลังต่อสู้กับ
กองเรือดำน้ำ U Boat ของเยอรมัน
เรือขนส่งของพันธมิตรที่เดินทางข้ามมหาสมุทร
มักจะถูกสกัดและจมโดยเรือดำน้ำเยอรมัน
ในอัตรา/จำนวนเรือที่น่าตกใจ
เครื่องบินแม้ว่าสามารถปกป้องเรือได้
แต่ไม่สามารถนำไปใช้กลางมหาสมุทรได้
หากไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน
เพราะเรือต้องมีขนาดใหญ่มาก
และต้องใช้เหล็กจำนวนมหาศาลในการผลิต
ซึ่งขาดแคลนมากในช่วงเวลานั้น
เรื่องที่จำเป็นคือ วิธีที่เครื่องบินลงจอด
และเติมน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ใช้ทรัพยากร
ในสภาวะที่ตึงเครียด/หวาดกลัวมากเกินไป
.
.
Geoffrey Pyke
.
นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Geoffrey Pyke
ซึ่งทำงานที่สำนักงานใหญ่ของ
Combined Operations
ในฐานะที่ปรึกษาของหัวหน้าทีม
Lord Mountbatten
ได้เสนอแนวคิดที่ยอดเยี่ยม
สร้างเรือบรรทุกเครื่องบินจากน้ำแข็ง
น้ำแข็งนั้นแข็งโดยธรรมชาติ
มันไม่จม และถ้าเกิดความเสียหายใด ๆ
ก็สามารถซ่อมแซมได้ง่าย ๆ ทันที
เพียงแค่ใช้น้ำแช่แข็งเสริมก้อนน้ำแข็งใหม่เข้าที่
.
.
Lord Mountbatten
.
Geoffrey Pyke ผู้ซึ่งชอบความคิดที่เจ๋งนี้
แนะนำให้ตัดภูเขาน้ำแข็งอาร์กติกก้อนใหญ่
แล้วลากลงไปในมหาสมุทร เมื่อปรับระดับพื้นผิว
น้ำแข็งจะทำหน้าที่เป็นแท่นลงจอด
และหากสามารถเจาะรูตรงกลางได้
มันจะเป็นที่ที่เหมาะสำหรับที่จอดของเครื่องบิน
.
.
Winston Churchill
นายกรัฐมนตรี ช่วง WWII
.
ในที่สุด Geoffrey Pyke ก็เสนอแนวคิดนี้
ให้ Lord Mountbatten ซึ่งสามารถโน้มน้าวให้
Winston Churchill เชื่อว่าสงครามจะเอาชนะได้ด้วยน้ำแข็ง
Winston Churchill จึงอนุมัติให้ลงมือทำ
โครงการนี้มีชื่อรหัสว่า โครงการ Habakkuk
ซึ่งเป็นการอ้างอิงคำหนึ่งจากคัมภีร์ไบเบิล
"... ประหลาดใจอย่างยิ่ง
เพราะ ฉันจะทำอะไรบางอย่าง
ในสมัยของคุณ ซึ่งคุณจะไม่ทำ
จงเชื่อแม้ว่า ท่านจะถูกบอกเล่า
” (Habakkuk 1:5, NIV)
เรือบรรทุกเครื่องบินที่ Geoffrey Pyke
จินตนาการไว้จะมีความยาว 2,000 ฟุต กว้าง 300 ฟุต
และมีน้ำหนักมากกว่า 2 ล้านตัน
ลำตัวจะป้องกันตอร์ปิโดมีความหนา 40 ฟุต
ติดตั้งป้อมปืนแบบ 2 ลำกล้องจำนวน 40 กระบอก
และปืนต่อต้านอากาศยานเบาจำนวนมาก
ลานบินสามารถรองรับเครื่องบินทิ้งระเบิด
หรือเครื่องบินรบได้มากถึง 150 ลำ
แต่มีปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ น้ำแข็งละลาย
แต่ Geoffrey Pyke ก็มีวิธีแก้ปัญหาเช่นกัน
ระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ภายใน
ที่ประกอบด้วยเครือข่ายท่อที่ซับซ้อน
จะปั๊มสารทำความเย็นที่แช่เย็นไว้ทั่วทั้งเรือ
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำแข็งละลาย
.
.
.
ในไม่ช้าก็มีการสร้างเรือต้นแบบ
เรือมีความยาว 60 ฟุต หนัก 1,000 ตัน
สร้างบนทะเลสาบ Patricia
ในเทือกเขา Rockies ของแคนาดา
ระบบทำความเย็นขนาดหนึ่งแรงม้า
ช่วยทำให้เรือเย็นเพียงพอ
ทีจะใช้งานได้ตลอดฤดูร้อน
แต่ในระหว่างการทดสอบ
ปัญหาใหม่บางอย่างเกิดขึ้น
แม้ว่าน้ำแข็งจะแข็ง แต่ก็เปราะ
นอกจากนั้น น้ำแข็งจะเปลี่ยนรูป
ภายใต้ความกดดันระดับหนึ่ง
เรือขนาดใหญ่เท่ากับ Habakkuk
อาจจะจมลงได้ด้วยน้ําหนักของตัวม้นเอง
และแล้วโอกาสที่แก้ป้ญหานี้ได้
นักวิจัยสองคนจาก Polytechnic Institute of Brooklyn
ในรัฐ New York ได้ค้นพบความก้าวหน้าว่า
ถ้านำไม้หรือขี้เลื่อยผสมกับน้ำแล้วแช่แข็ง
วัสดุที่ได้จะแข็งแกร่งกว่าน้ำแข็งทั่วไปถึง 14 เท่า
และแข็งแกร่งกว่าคอนกรีต
ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า
วัสดุใหม่นี้มีความทนทานสูงต่อแรงกด
การบิ่น และแม้แต่กระสุน
และสามารถกลึงได้เหมือนไม้
และหล่อเป็นรูปร่างเหมือนโลหะ
และเมื่อแช่ในน้ำ จะกลายเป็นเปลือก
หุ้มฉนวนของเยื่อไม้เปียกบนพื้นผิว
ที่ป้องกันภายในจากการหลอมเหลวเพิ่มเติม
วัสดุมหัศจรรย์นี้มีชื่อว่า Pykrete
เพื่อเป็นเกียรติแก่ Geoffrey Pyke
.
.
Shooting Pykrete
.
.
ในปี 1942 มีเรื่องเล่าวว่า ในวันหนึ่ง
ขณะที่ Churchill กำลังอาบน้ำอยู่ในบ้าน
เมื่อ Lord Mountbatten มีเรื่องรีบร้อน
จึงเข้าไปในห้องน้ำและได้ทิ้งก้อน pykrete
ลงในอ่างอาบน้ำ หลายนาทีต่อมา
ทั้งสองคนต่างมองด้วยยความประหลาดใจ
เมื่อน้ำแข็งไม่ละลายในน้ำอุ่น(อ่างอาบน้ำ)
ในการประชุม Quebec Conference 1943
มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกเรื่องหนึ่ง
เกี่ยวข้องกับการสาธิตอย่างกระตือรือร้นของ
Lord Mountbatten ซึ่งได้รับการขยายความซ้ำ
โดยพยานจำนวนหนึ่งที่เห็นเหตุการณ์ในวันนั้น
Lord Mountbatten ได้นำก้อนน้ำแข็ง 2 ก้อน
ก้อนหนึ่งทำจากน้ำแข็ง
และอีกอันทำจาก Pykrete
แล้ววางทั้งสองก้อนนี้ไว้บนพื้น
จากนั้นก็ดึงปืนพกออกมา
แล้วยิงใส่ก้อนน้ำแข็งจนแตกเป็นเสี่ยง
ต่อมาก็หันปืนไปยิ่งใส่ก้อน Pykrete
แต่กระสุนกระเด็นออกจาก Pykrete
และส่งเสียงดังวิ้ง ๆ ราวกับผึ้งโกรธ
จนคนรอบข้างต่างได้ยินเสียงนี้
ลูกกระสุนยังถากขากางเกง
ของ Admiral Ernest King
แล้วไปจอดสนิทที่กำแพงบ้าน
.
.
Admiral Ernest King
.
.
วัสดุที่น่าอัศจรรย์นี้
คือ สิ่งที่ Geoffrey Pyke ต้องการอย่างมาก
ในการต่อยอดกับความสำเร็จของโครงการนี้
การออกแบบและแผนสำหรับการสร้าง
เรือบรรทุกเครื่องบินกำลังเร่งรุดไปข้างหน้า
เรือ Habakkuk แต่ละลำ มีวัสดุที่กำหนดไว้แล้ว
คือ ใช้เยื่อไม้ 300,000 ตัน
ฉนวนไฟเบอร์บอร์ด 25,000 ตัน
ไม้ 35,000 ตัน และเหล็ก 10,000 ตัน
ต้นทุนประมาณการกำหนดที่ 700,000 ปอนด์
แต่เมื่อการออกแบบ/งานสร้างคืบหน้าแล้ว
กลับกลายเป็นว่า ต้องมีการเสริมเหล็กมากขึ้น
รวมถึงฉนวนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และค่าใช้จ่ายประมาณการก็เพิ่มสูงขึ้น
เป็น 2.5 ล้านปอนด์ (มากกว่า 100 ล้านปอนด์ในเงินปัจจุบัน)
การบังคับเลี้ยวก็ทำได้ยากมาก
เพราะเรือลำใหญ่มาก มีความคล่องตัวจำกัด
และความเร็วสูงสุดเพียง 6 น็อต
ซึ่งกองทัพเรือสรุปว่า ช้าเกินแกง/ช้าเกินไป
แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด คือ ตัววัตถุดิบ
เพราะ เหล็ก กับ ไม้ ต่างขาดแคลน
และการสร้างเรื่อ Habakkuk เพีบงหนึ่งลำ
จะสร้างผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตกระดาษ
(กระดาษจำเป็นต้องใช้มากในยุคนั้น)
ทั้งยังเพิ่มความซับซ้อนของการสร้าง ฉนวน
และการทำความเย็นโครงสร้างขนาดใหญ่
ยังต้องใช้เวลาและกำลังคนจำนวนมาก
ซึ่งไม่พร้อมจ่ายทั้งกำลังคน กำลังเงิน
(เงินถึง งานถึง เงินเพิ่ม งานเพิ่ม
ไร้เงิน ไร้งาน ไร้กำลังใจ ทำงาน)
ในที่สุด โครงการ Habakkuk
ก็ถูกยกเลิกไป แล้วไปทำเรื่องอื่นแทน
ที่มีผลทางปฏิบัติมากขึ้นกว่าเดิม
เช่นการตั้งสนามบินใน Azores
เพื่ออำนวยความสะดวกในการล่าเรือ U-boat
ในมหาสมุทรแอตแลนติก
พร้อมกับขยายเวลาเดินเรือรบขนาดใหญ่
ให้มีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ขึ้น
พร้อมกองเรือคุ้มกันอีกจำนวนมาก
ทุกวันนี้ มีเพียงชิ้นส่วนเดียวที่จับต้องได้
ของโครงการ Habakkuk
จมอยู่ที่ด้านล่างสุดของ Patricia Lake
ใน Alberta ประเทศแคนาดา
ต้นแบบได้รับการทดสอบสร้างเบื้องต้น
การสำรวจด้วยการดำน้ำไปพื้นที่ในปี 1985
พบว่า ลำตัวเรือที่หุ้มด้วยผนังไม้
ท่อน้ำเย็นที่เดินอย่างยุ่งเหยิงรอบตัวเรือ
พร้อมกับน้ำมันดินที่ใช้เป็นฉนวนส่วนหนึ่ง
รวมทั้งแผ่นเหล็กที่จมอยู่ใต้น้ำ
กลายเป็นอนุสรณ์สถานโครงการที่ล้มเหลว
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3JpEeRN
https://bit.ly/3d1dqLp
https://bit.ly/3zoP1a4
https://bit.ly/3QeI4iy
https://bit.ly/3brS0Xp
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เรือสร้างจากคอนกรีต
.
.
.
เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ
.
.
.
SS Baychimo เรือผีที่แล่นได้ไกลและนานที่สุดในโลก
.
.
.
HMS Zubian (Zulu+Nubian) เรือพิฆาตไฮบริดลำแรกของโลก
.
.
.
เรือจิ๋วทรงพลังสหรัฐอเมริกาใช้ลากเรือดำน้ำ/เรือรบ
.
.
.
เรือดำน้ำจีนดำดิ่งได้ลึกที่สุดในโลก
.
.
.
.
รัชกาลที่ 8 เสด็จฯออกรับการตรวจพล
สวนสนามของกองกำลังเสรีไทย กับ
ทหารฝ่ายสัมพันธมิตร 2489
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ในวันเดินสวนสนามที่กรุงเทพฯ
Lord Louis Mountbatten เป็นประธานร่วมกับ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
โดยมีขบวนเสรีไทย ร่วมกับ กองทัพพันธมิตร
เพราะไทยไม่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
การประกาศสงครามร่วมกับญี่ปุ่นเป็นโมฆะ
จนเป็นที่มาของวลี Siamese Talk
ของ นสพ.อุสา(USA) ที่รู้จักแฝดคู่ อิน จัน
ข้อต่อสู้ของไทยเรื่องสงครามเป็นโมฆะ
เพราะ นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้สำเร็จราชการ
ไม่ได้ลงนามร่วมด้วยในวันประกาศสงคราม
เพราะอยู่ยุดยาในวันนั้น ลงเรือกลับมาไม่ทัน
และไม่ได้ลงนามให้สัตยาบันในภายหลัง
นายปรีดี พนมยงค์ ยังได้ฝากเงินไว้ที่สหรัฐ
จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเสรีไทย
ที่ มรว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าที่สหรัฐ/อังกฤษ
มีการฝึกเสรีไทยจากทหารอังกฤษ และสหรัฐ
มาแทรกซึกและต่อต้านทหารญี่ปุ่นในไทย
รวมทั้งสหรัฐต้องการให้ไทยเป็นรัฐกันชน
ไข่แดง ท่ามกลางไข่ขาวรัฐอาณานิคมรอบข้าง
และอยากมีอิทธิพลในเขตภูมิภาคนี้
จึงสนับสนุนไทยเต็มที่ในเรื่องนี้
รายละเอียด จอมพล ป.พิบูลสงคราม แง่มุมประวัติศาสตร์