1.
✲
© Andrew McAlister
✲
โดยทั่วไปเมื่อนึกถึงยุทโธปกรณ์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
มักจะนึกถึงรถถังที่มีป้อมปืนใหญ่
หรือเครื่องบินรบเพรียวบางพร้อมขีปนาวุธ
หรือเรือรบกองทัพเรือขนาดใหญ่ที่มีอำนาจการยิงสูงมาก
แต่ยังมีอีกด้านหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐ
คือ หน่วยสนับสนุนและหน่วยเสริมกองทัพเรือ
ซึ่งมีจุดประสงค์เดียวคือ อุดช่องว่าง
ไม่ให้มีช่องโหว่ในเรื่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
แต่ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า ศัตรูจะเจาะเข้ามาไม่ได้ง่าย ๆ
กองทัพเรือสหรัฐมีการใช้เรือลากจูงสนับสนุน
เป็นเรือลากจูงที่เล็กที่สุดของกองทัพสหรัฐ และน่ารักมาก
ดังนั้น เรือลำนี้น่าจะเป็น
เรือที่เล็กที่สุด
ที่กองทัพเรือสหรัฐยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
เรือลำนี้คือ Barrier Boat หรือ Dozer Boat หรือ Boomin Beaver
เรือมีความยาวประมาณ 16–19 ฟุต (แต่บางลำยาวถึง 40 ฟุต)
ทำให้เรือลำเล็กมีขนาดเท่ากับรถยนต์ Ford F-150 โดยประมาณ
แต่ทรงพลังมากกว่ารถยนต์ Ford F-150 เล็กน้อย
2.
✲
© Andrew McAlister
✲
3.
✲
© Andrew McAlister
✲
✲
ตาม Marine Link เรือลากจูงขนาดเล็กรุ่นนี้
สร้างขึ้นโดย บริษัท Chuck’s Boat and Drive
กองทัพเรือสหรัฐได้มอบหมายให้บริษัทนี้
ต่อเรือลากจูงขนาดเล็กจำนวน 40 ลำ
เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายเรือรบหรือเรือดำน้ำ
และทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านอื่น ๆ
เดิมเรือลากจูงแบบนี้จะต่อขึ้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมป่าไม้
ว่ากันว่าสามารถลากจูงท่อนซุงขนาด 30,000 ปอนด์(13.6 ตัน)
เทียบเท่ากับรถบรรทุกน้ำมันขนาดกลาง15 คิว (ลบ.เมตร)
ลากไปมาในแม่น้ำได้อย่างสบาย ๆ
การออกแบบเรือลำให้เป็นเรือสนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐ
และมีประโยชน์ตามที่ต้องการตรงตามวัตถุประสงค์
เรือลากจูงก็ให้พลังด้วยเครื่องยนต์ 10.8 ลิตร 455 แรงม้า
เรือลำนี้ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
Cummins QSM 11
เป็นเครื่องยนต์ 6 สูบแถวเรียง 24 วาวล์ ขนาด 10.8 ลิตร
ที่สามารถรีดพลังงานได้ประมาณ 425 แรงม้า
ที่ 1,800 รอบ/นาทีในการทำงานปานกลาง/ต่อเนื่อง
แรงม้าขนาดนี้เพียงพอที่จะฉุด/ลากจูงเรือดำน้ำหรือเรือรบ
ที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวมันเองได้หลายร้อยเท่า
เรือลำนี้สร้างด้วยตัวถังเหล็กขนาด 1/4 นิ้ว
และจะมีความหนาเพิ่มขึ้นเป็น 3/4 นิ้วในพื้นที่สำคัญโดยรอบ
เมื่อรวมกับกระดูกงูแล้วจะหนัก 80,000 ปอนด์ (36,3 ตัน)
เหมาะสำหรับการยกขึ้นคานเรือเพื่อการบำรุงรักษา
น้ำหนักเรือขนาดนี้จัดว่า จิ๊บจิ๊บ
เพราะมีเครนขนาดยักษ์ยกของได้ตั้งแต่ 1,200 ตัน ถึง 20,000 ตัน
ที่มา
เครนสี่ประเภทที่มีชื่อเสียงระดับโลก
มีการหุ้มด้วยยางกันกระแทก D-rubber ขนาด 8 นิ้ว
ช่วยปกป้องผิวเรือจากการถูกเรือใหญ่กว่ากระแทกใส่
ที่ประจำการกัปตันเรือทำจากอลูมิเนียม
พร้อมกับอุปกรณ์นำทางอิเล็กทรอนิกส์ของ
Raymarine ครบชุด
รวมถึงวิทยุ VHF เรดาร์ระบบตรวจวัดความลึก GPS
และระบบเตือนไฟที่มีสัญญาณไฟสีแดงติดตั้งบนหลังคาเรือ
เพื่อเตือนให้เรืออื่น ๆ มองเห็นได้
เครื่องตรวจวัด
Elkhart Brass Sidewinder ตั้งอยู่ด้านหลังที่นั่งกัปตันเรือ
และตัวรอกไฮดรอลิก
Bloom Series 1000 ติดตั้งอยู่ที่เสาท้าย
การออกแบบเรือลากจูงแบบนี้ในอดีต
เพื่อดึง/ลากจูงท่อนไม้ซุงขนาดใหญ่ในแม่น้ำ
และอาจจะเจอกับปัญหาที่ทำให้ตัวถังเรือเสียหายได้
ดังนั้นจึงต้องมีการเสริม/ป้องกันเพิ่มเติม
สาเหตุสำคัญที่กองทัพเรือสหรัฐ
ตัดสินใจสร้างเรือลากจูงขนาดจิ๋วนี้
เพราะประโยชน์สูง ประหยัดสุด
มีจุดคุ้มทุนมากกว่าเรือลากจูงแบบเดิม
มีต้นทุนการบำรุงรักษาไม่มาก
ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ น้อยกว่า
และยังมีลูกเรือน้อยกว่าเรือแบบเดิมด้วย
4.
✲
© Nukls
✲
5.
✲
© Imgur
✲
✲
นอกจากหน้าที่ชักลาก/ดึงเรือดำน้ำหรือเรือรบแล้ว
ยังมีหน้าที่เสริมอีกอย่างหนึ่งคือ
ดึงสิ่งกีดขวาง/ทำหน้าป้องกันรอบ ๆ ฐานทัพเรือ
ทำหน้าเปิดปิดประตูทางเข้าออกของเรือรบ/เรือดำน้ำในบางจุด
แม้ว่าขนาดของเรือลำนี้จะดูเล็กจิ๋ว
แต่ความสามารถเหนือความคาดหมาย
คือ ช่วยลากจูงและนำทางเรือดำน้ำนิวเคลียร์
ซึ่งเป็นงานช้าง/สำคัญอย่างยิ่งของกองทัพเรือสหรัฐ
มีเรื่องที่เหลือเชื่อคือ
เรือ Boomin Beaver มีการปลดระวาง
จากกองทัพเรือสหรัฐเป็นระยะ ๆ
พร้อมกับให้ประชาชนประมูลซื้อไปครอบครองได้
ในเดือนมิถุนายน 2006
เว็บไซต์ประมูลของรัฐบาล อธิบายว่า
Boomin Beaver เดิมออกแบบมา
สำหรับอุตสาหกรรมตัดไม้เชิงพาณิชย์
เพื่อล่องแพและดึงท่อนซุงที่ลอยน้ำ
กองทัพเรือสหรัฐฯใช้เรือเพื่อเปิด/ปิด
สิ่งกีดขวางรอบ ๆ ฐานทัพเรือ
ประกาศการประมูลยังระบุว่า
Boomin Beaver ประมูลขายรวม
เครื่องยนต์ดีเซล Cummins 6BTA5.9
ที่มีกำลัง 260 แรงม้าพร้อมระบบส่งกำลัง ZF
ลำล่าสุดนี้มีคนประมูลซื้อไปได้
ในราคา 100,025 เหรียญสหรัฐรวมค่าธรรมเนียม
(3,000,750 บาท(30 บาท/เหรียญสหรัฐ)
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/32OxrMB
https://bit.ly/31M7Cx4
https://bit.ly/2EWTjNb
✲
✲
6
✲
© U.S. Navy
✲
7
✲
© Pelznickel
✲
8.
✲
© James Almeida
✲
9.
✲
10.
✲
Ford F-150
✲
11.
✲
12.
✲
13.
✲
14.
✲
15.
✲
16.
✲
17.
✲
18.

✲
✲
เรื่องเล่าไร้สาระ
เรือขนาดจิ๋วของไทย น่าจะเป็น เรืออีโปง
สร้างก็ง่าย แค่ใช้ต้นตาลผ่าซีก
แล้วทำการขุดให้เป็นร่อง/ที่นั่งคนพายเรือ
ในอดีตมักจะใช้ไฟสุมเผาแกนใน
เพราะเครื่องมือเหล็กหายากกว่าทุกวันนี้
เรืออีโปงมักจะมีขนาดไม่ได้มาตรฐานเท่าใดนัก
แล้วแต่ขนาดต้นตาลที่หาได้ตามท้องนา
หลายปีก่อน จขกท.เคยไปนั่งเรืออีโปง
ที่คลองย่อยในแม่น้ำอ่างทอง
(จำชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอไม่ได้ เพราะนานมากแล้ว)
เรืออีโปงลำเล็กมาก อายุเรือก็มากพอ ๆ กับป้าที่พายเรือให้นั่ง
ตอนนั่งก็ต้องระมัดระวัง เพราะเรือโคลงเคลงได้ง่ายกว่าเรืออื่น ๆ
ไม่เหมาะเวลาเรือหางยาววิ่งผ่าน
หลายปีก่อนเพื่อนชวนจขกท. ไปดูชาวเรือต่อเรือที่กระบี่
ช่างต่อเรือชาวบ้านจะเอาไม้ที่จะมาต่อเรือแช่น้ำสักพัก
ถ้าด้านไหนจมก็จะทำเครื่องหมายไว้
แสดงว่าด้านที่จมหนักกว่าและเป็นช่วงปลายลำต้น
ที่เนื้อไม้มักจะแน่นและหนักกว่าไม้ช่วงกลางช่วงบน
ด้านที่หนักกว่าจะวางไว้แถวท้ายเรือ
ช่างต่อเรือบอกว่าทำให้เรือสมดุลย์ หนักท้าย แล่นดี
✲
✲
ไม้ที่นิยมต่อเรือคือ
ไม้ตะเคียน
เพราะไม้มีรสขม เพรียงไม่ชอบกิน/เกาะลำเรือ
เดิมเป็นไม้หวงห้ามทางราชการไทย
การตัดไม้ตะเคียนทำได้เฉพาะต่อเรือหลวงเท่านั้น
แต่ห้ามด้วยกฎหมายคนไม่ค่อยกล้ว
เพราะรายได้จากลักลอบตัดไม้ตะเคียนดีมาก
และกฎหมายในอดีตมีช่องโหว่ รูรั่วมาก การฉ้อราษฏร์บังหลวงก็มาก
จึงสร้างตำนานผีสางนางไม้ หลอกคนให้กล้วผี ได้ผลมากกว่าขู่ด้วยกฎหมาย
ไม้สัก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีสารเคมีบางอย่างที่มอดปลวกกัดแล้วตาย
แต่ที่ภาคใต้ รศ.
ภิญโญ สุวรรณคีรี
เคยบรรยายว่า ไม้สักเกินกว่าร้อยปี
มอดปลวก ก็เริ่มกัดกินไม้สักได้แล้ว
เพราะสารเคมีในเนื้อไม้หมดสภาพแล้ว
เครื่องเรือนไม้สักของบ้านภริยาก็โดนมอดไชแล้วเช่นกัน
น่าจะอากาศแถวนี้ร้อนชื้น มีฝนตกทุกเดือน
เดือนไหนฝนไม่ตก ชาวบ้านมักจะถามกันว่า แล้งมากี่วันแล้ว
อากาศแถวนี้ไม่กระทบแล้ง กระทบหนาว แบบภาคเหนือ ภาคอีสาน
ซึ่งพวกมอด ปลวก อยู่ไม่เย็น อยู่ไม่เป็นสุขแบบภาคใต้
ไม้เต็ง เป็นไม้เนื้อแข็ง แน่น และหนัก
จะมีอายุทนถึกมาก 400 ปียังสบายสบาย
ไม้สักขาว จีน/ญี่ปุ่น/ยุโรปเรียกกัน
มาจากไม้ยางพาราเก่าอายุ 20 ปีขึ้นไป
ที่ล้มเพื่อขายที่ดิน/ปลูกทดแทน
นำมาอัดน้ำยาผ่านระบบไอน้ำในเตาอบแรงดันสูง
อายุการใช้งานก็ราว 20 ปี เริ่มขึ้นเสี้ยนดำ
และมอดปลวกเริ่มกิน เพราะน้ำยาหมดสภาพแล้ว
เรือจิ๋วทรงพลังสหรัฐอเมริกาใช้ลากเรือดำน้ำ/เรือรบ
✲
© Andrew McAlister
✲
โดยทั่วไปเมื่อนึกถึงยุทโธปกรณ์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
มักจะนึกถึงรถถังที่มีป้อมปืนใหญ่
หรือเครื่องบินรบเพรียวบางพร้อมขีปนาวุธ
หรือเรือรบกองทัพเรือขนาดใหญ่ที่มีอำนาจการยิงสูงมาก
แต่ยังมีอีกด้านหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐ
คือ หน่วยสนับสนุนและหน่วยเสริมกองทัพเรือ
ซึ่งมีจุดประสงค์เดียวคือ อุดช่องว่าง
ไม่ให้มีช่องโหว่ในเรื่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
แต่ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า ศัตรูจะเจาะเข้ามาไม่ได้ง่าย ๆ
กองทัพเรือสหรัฐมีการใช้เรือลากจูงสนับสนุน
เป็นเรือลากจูงที่เล็กที่สุดของกองทัพสหรัฐ และน่ารักมาก
ดังนั้น เรือลำนี้น่าจะเป็น เรือที่เล็กที่สุด
ที่กองทัพเรือสหรัฐยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
เรือลำนี้คือ Barrier Boat หรือ Dozer Boat หรือ Boomin Beaver
เรือมีความยาวประมาณ 16–19 ฟุต (แต่บางลำยาวถึง 40 ฟุต)
ทำให้เรือลำเล็กมีขนาดเท่ากับรถยนต์ Ford F-150 โดยประมาณ
แต่ทรงพลังมากกว่ารถยนต์ Ford F-150 เล็กน้อย
✲
© Andrew McAlister
✲
3.
✲
© Andrew McAlister
✲
✲
ตาม Marine Link เรือลากจูงขนาดเล็กรุ่นนี้
สร้างขึ้นโดย บริษัท Chuck’s Boat and Drive
กองทัพเรือสหรัฐได้มอบหมายให้บริษัทนี้
ต่อเรือลากจูงขนาดเล็กจำนวน 40 ลำ
เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายเรือรบหรือเรือดำน้ำ
และทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านอื่น ๆ
เดิมเรือลากจูงแบบนี้จะต่อขึ้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมป่าไม้
ว่ากันว่าสามารถลากจูงท่อนซุงขนาด 30,000 ปอนด์(13.6 ตัน)
เทียบเท่ากับรถบรรทุกน้ำมันขนาดกลาง15 คิว (ลบ.เมตร)
ลากไปมาในแม่น้ำได้อย่างสบาย ๆ
การออกแบบเรือลำให้เป็นเรือสนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐ
และมีประโยชน์ตามที่ต้องการตรงตามวัตถุประสงค์
เรือลากจูงก็ให้พลังด้วยเครื่องยนต์ 10.8 ลิตร 455 แรงม้า
เรือลำนี้ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Cummins QSM 11
เป็นเครื่องยนต์ 6 สูบแถวเรียง 24 วาวล์ ขนาด 10.8 ลิตร
ที่สามารถรีดพลังงานได้ประมาณ 425 แรงม้า
ที่ 1,800 รอบ/นาทีในการทำงานปานกลาง/ต่อเนื่อง
แรงม้าขนาดนี้เพียงพอที่จะฉุด/ลากจูงเรือดำน้ำหรือเรือรบ
ที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวมันเองได้หลายร้อยเท่า
เรือลำนี้สร้างด้วยตัวถังเหล็กขนาด 1/4 นิ้ว
และจะมีความหนาเพิ่มขึ้นเป็น 3/4 นิ้วในพื้นที่สำคัญโดยรอบ
เมื่อรวมกับกระดูกงูแล้วจะหนัก 80,000 ปอนด์ (36,3 ตัน)
เหมาะสำหรับการยกขึ้นคานเรือเพื่อการบำรุงรักษา
น้ำหนักเรือขนาดนี้จัดว่า จิ๊บจิ๊บ
เพราะมีเครนขนาดยักษ์ยกของได้ตั้งแต่ 1,200 ตัน ถึง 20,000 ตัน
ที่มา เครนสี่ประเภทที่มีชื่อเสียงระดับโลก
มีการหุ้มด้วยยางกันกระแทก D-rubber ขนาด 8 นิ้ว
ช่วยปกป้องผิวเรือจากการถูกเรือใหญ่กว่ากระแทกใส่
ที่ประจำการกัปตันเรือทำจากอลูมิเนียม
พร้อมกับอุปกรณ์นำทางอิเล็กทรอนิกส์ของ Raymarine ครบชุด
รวมถึงวิทยุ VHF เรดาร์ระบบตรวจวัดความลึก GPS
และระบบเตือนไฟที่มีสัญญาณไฟสีแดงติดตั้งบนหลังคาเรือ
เพื่อเตือนให้เรืออื่น ๆ มองเห็นได้
เครื่องตรวจวัด Elkhart Brass Sidewinder ตั้งอยู่ด้านหลังที่นั่งกัปตันเรือ
และตัวรอกไฮดรอลิก Bloom Series 1000 ติดตั้งอยู่ที่เสาท้าย
การออกแบบเรือลากจูงแบบนี้ในอดีต
เพื่อดึง/ลากจูงท่อนไม้ซุงขนาดใหญ่ในแม่น้ำ
และอาจจะเจอกับปัญหาที่ทำให้ตัวถังเรือเสียหายได้
ดังนั้นจึงต้องมีการเสริม/ป้องกันเพิ่มเติม
สาเหตุสำคัญที่กองทัพเรือสหรัฐ
ตัดสินใจสร้างเรือลากจูงขนาดจิ๋วนี้
เพราะประโยชน์สูง ประหยัดสุด
มีจุดคุ้มทุนมากกว่าเรือลากจูงแบบเดิม
มีต้นทุนการบำรุงรักษาไม่มาก
ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ น้อยกว่า
และยังมีลูกเรือน้อยกว่าเรือแบบเดิมด้วย
✲
© Nukls
✲
5.
✲
© Imgur
✲
✲
นอกจากหน้าที่ชักลาก/ดึงเรือดำน้ำหรือเรือรบแล้ว
ยังมีหน้าที่เสริมอีกอย่างหนึ่งคือ
ดึงสิ่งกีดขวาง/ทำหน้าป้องกันรอบ ๆ ฐานทัพเรือ
ทำหน้าเปิดปิดประตูทางเข้าออกของเรือรบ/เรือดำน้ำในบางจุด
แม้ว่าขนาดของเรือลำนี้จะดูเล็กจิ๋ว
แต่ความสามารถเหนือความคาดหมาย
คือ ช่วยลากจูงและนำทางเรือดำน้ำนิวเคลียร์
ซึ่งเป็นงานช้าง/สำคัญอย่างยิ่งของกองทัพเรือสหรัฐ
มีเรื่องที่เหลือเชื่อคือ
เรือ Boomin Beaver มีการปลดระวาง
จากกองทัพเรือสหรัฐเป็นระยะ ๆ
พร้อมกับให้ประชาชนประมูลซื้อไปครอบครองได้
ในเดือนมิถุนายน 2006
เว็บไซต์ประมูลของรัฐบาล อธิบายว่า
Boomin Beaver เดิมออกแบบมา
สำหรับอุตสาหกรรมตัดไม้เชิงพาณิชย์
เพื่อล่องแพและดึงท่อนซุงที่ลอยน้ำ
กองทัพเรือสหรัฐฯใช้เรือเพื่อเปิด/ปิด
สิ่งกีดขวางรอบ ๆ ฐานทัพเรือ
ประกาศการประมูลยังระบุว่า
Boomin Beaver ประมูลขายรวม
เครื่องยนต์ดีเซล Cummins 6BTA5.9
ที่มีกำลัง 260 แรงม้าพร้อมระบบส่งกำลัง ZF
ลำล่าสุดนี้มีคนประมูลซื้อไปได้
ในราคา 100,025 เหรียญสหรัฐรวมค่าธรรมเนียม
(3,000,750 บาท(30 บาท/เหรียญสหรัฐ)
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/32OxrMB
https://bit.ly/31M7Cx4
https://bit.ly/2EWTjNb
✲
6
✲
© U.S. Navy
✲
7
✲
© Pelznickel
✲
8.
✲
© James Almeida
✲
9.
✲
10.
✲
Ford F-150
✲
11.
✲
12.
✲
13.
✲
14.
✲
15.
✲
16.
✲
17.
✲
18.
✲
เรื่องเล่าไร้สาระ
เรือขนาดจิ๋วของไทย น่าจะเป็น เรืออีโปง
สร้างก็ง่าย แค่ใช้ต้นตาลผ่าซีก
แล้วทำการขุดให้เป็นร่อง/ที่นั่งคนพายเรือ
ในอดีตมักจะใช้ไฟสุมเผาแกนใน
เพราะเครื่องมือเหล็กหายากกว่าทุกวันนี้
เรืออีโปงมักจะมีขนาดไม่ได้มาตรฐานเท่าใดนัก
แล้วแต่ขนาดต้นตาลที่หาได้ตามท้องนา
หลายปีก่อน จขกท.เคยไปนั่งเรืออีโปง
ที่คลองย่อยในแม่น้ำอ่างทอง
(จำชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอไม่ได้ เพราะนานมากแล้ว)
เรืออีโปงลำเล็กมาก อายุเรือก็มากพอ ๆ กับป้าที่พายเรือให้นั่ง
ตอนนั่งก็ต้องระมัดระวัง เพราะเรือโคลงเคลงได้ง่ายกว่าเรืออื่น ๆ
ไม่เหมาะเวลาเรือหางยาววิ่งผ่าน
หลายปีก่อนเพื่อนชวนจขกท. ไปดูชาวเรือต่อเรือที่กระบี่
ช่างต่อเรือชาวบ้านจะเอาไม้ที่จะมาต่อเรือแช่น้ำสักพัก
ถ้าด้านไหนจมก็จะทำเครื่องหมายไว้
แสดงว่าด้านที่จมหนักกว่าและเป็นช่วงปลายลำต้น
ที่เนื้อไม้มักจะแน่นและหนักกว่าไม้ช่วงกลางช่วงบน
ด้านที่หนักกว่าจะวางไว้แถวท้ายเรือ
ช่างต่อเรือบอกว่าทำให้เรือสมดุลย์ หนักท้าย แล่นดี
✲
ไม้ที่นิยมต่อเรือคือ ไม้ตะเคียน
เพราะไม้มีรสขม เพรียงไม่ชอบกิน/เกาะลำเรือ
เดิมเป็นไม้หวงห้ามทางราชการไทย
การตัดไม้ตะเคียนทำได้เฉพาะต่อเรือหลวงเท่านั้น
แต่ห้ามด้วยกฎหมายคนไม่ค่อยกล้ว
เพราะรายได้จากลักลอบตัดไม้ตะเคียนดีมาก
และกฎหมายในอดีตมีช่องโหว่ รูรั่วมาก การฉ้อราษฏร์บังหลวงก็มาก
จึงสร้างตำนานผีสางนางไม้ หลอกคนให้กล้วผี ได้ผลมากกว่าขู่ด้วยกฎหมาย
ไม้สัก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีสารเคมีบางอย่างที่มอดปลวกกัดแล้วตาย
แต่ที่ภาคใต้ รศ. ภิญโญ สุวรรณคีรี
เคยบรรยายว่า ไม้สักเกินกว่าร้อยปี
มอดปลวก ก็เริ่มกัดกินไม้สักได้แล้ว
เพราะสารเคมีในเนื้อไม้หมดสภาพแล้ว
เครื่องเรือนไม้สักของบ้านภริยาก็โดนมอดไชแล้วเช่นกัน
น่าจะอากาศแถวนี้ร้อนชื้น มีฝนตกทุกเดือน
เดือนไหนฝนไม่ตก ชาวบ้านมักจะถามกันว่า แล้งมากี่วันแล้ว
อากาศแถวนี้ไม่กระทบแล้ง กระทบหนาว แบบภาคเหนือ ภาคอีสาน
ซึ่งพวกมอด ปลวก อยู่ไม่เย็น อยู่ไม่เป็นสุขแบบภาคใต้
ไม้เต็ง เป็นไม้เนื้อแข็ง แน่น และหนัก
จะมีอายุทนถึกมาก 400 ปียังสบายสบาย
ไม้สักขาว จีน/ญี่ปุ่น/ยุโรปเรียกกัน
มาจากไม้ยางพาราเก่าอายุ 20 ปีขึ้นไป
ที่ล้มเพื่อขายที่ดิน/ปลูกทดแทน
นำมาอัดน้ำยาผ่านระบบไอน้ำในเตาอบแรงดันสูง
อายุการใช้งานก็ราว 20 ปี เริ่มขึ้นเสี้ยนดำ
และมอดปลวกเริ่มกิน เพราะน้ำยาหมดสภาพแล้ว
✲
พาไปดูเขาขุดเรืออีโปงแบบโบราณ
✲
✲
✲
ประเภทเรือต่อของไทย
✲
✲