1.
.
Liebherr Mobile Crane
Category: Mobile
Lifting Capacity: 1,200 metric tons
Liebherr LTM 11200-9.1 สร้างโดย บริษัท Liebherr Group เยอรมัน
เป็นเครนที่เคลื่อนที่ได้ ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ยังมีบูมยืดไสลด์ที่ยาวที่สุดในโลก
ที่ยืดออกไปได้ไกลถึง 100 เมตร
ตั้งอยู่บนรถบรรทุกดับเบิ้ลแค็บ
และสามารถยกของได้ 1,200 เมตริกตัน
เทียบเท่ากับรถยนต์เกือบ 700 คัน
แต่สำหรับเครนตัวนี้
ก็ยังไม่ใช่เครนที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก
เมื่อเทียบกับเครนที่อยู่ประจำที่
2.
SSCV Thiaf
.
Category: Crane vessel
Lifting Capacity: 14,200 metric tonnes
เรือเครนที่ใหญ่ที่สุดที่มีอยู่คือ
Thialf
ใหญ่มากจนเป็นเรือขนส่งในบางครั้ง
มีลูกเรือประจำการหลายร้อยคน
Thialf มีเครนสองตัวที่มีกำลังยก
น้ำหนักสูงสุด 14,200 เมตริกตัน
เครนตัวนี้ทำงานอยู่ในฟยอร์ด
และช่วยติดตั้งเสางานสะพาน Erasmus
ใน Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์
.
SSCV Thialf : Largest Crane Vessel in the World
3.
Taisun Gantry Crane
.
Category: Gantry
Lifting capacity: 20,000 metric tons
Taisun เป็นเครนตั้งอยู่กับที่
ยกของได้มากที่สุดในโลก
ตั้งอยู่ในมณฑลซานตง ประเทศจีน
สามารถยกของได้ 20,000 เมตริกตัน
ได้รับการบันทึกการอย่างเป็นทางการ
ใน
Guinness Book of World Records
Construction of world's largest crane TAISUN
4.
Kockums “Tears of Malmö” Crane
.
Category: Gantry
Lifting Capacity: ???
Kockums Crane ขนาดมหึมา
เดิมตั้งอยู่ในเมือง Malmö ประเทศสวีเดน
มีตำนานในเรื่องขนาดและความแข็งแรง
เป็นหมุดหมาย Landmark
/เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูด
คนที่อยากรู้อยากเห็น
จากระยะใกล้และระยะไกล
ว่าเครนตัวนี้ยกของได้หนักเท่าไหร่
ตัวเลขที่เป็นทางการไม่กี่พันเมตริกตัน
ในปี 2002 เครนตัวนี้ถูกขายแล้วย้ายไปที่เกาหลี
เพื่อเป็นหนึ่งในเครนยักษ์ใหญ่
Goliath จำนวนหลายตัว
ที่อู่ต่อเรือของ
Hyundai Heavy Industries ใน Ulsan
เครนตัวนี้มีฉายาว่า
Tears of Malmö
เรื่องราวเริ่มจากชาวเมืองสวีเดนต่างร้องไห้
เมื่อเครนอันเป็นที่รักของชาวเมืองถูกรื้อถอน
แม้ว่า Kockums Crane ไม่ติดตำแหน่งสถิติระดับโลก
แต่ก็เป็นเครนหนึ่งเดียวในโลก
ที่สามารถทำให้ชาวบ้านสวีเดนร้องไห้ได้
.
Kockumskranen, timelapse
ภาพร่างการติดตั้งเครนชุดนี้
พื้นที่ส่วนที่ยังเหลืออยู่ บริเวณอู่ต่อเรือ Kockums หลังจากย้ายเครนออกไปแล้ว
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/32RqCtI
เพิ่มเติม
Liebherr-LR 13000 installing platform legs
of the Aeolus in Bremerhaven
.
เครนที่ทรงพลังที่สุด Liebherr LR 13000
บริหารโดย Mammoet ระหว่างทำงานใน Bremerhaven ประเทศเยอรมนี
กำลังยกกังหันลมจากเรือ Aeolus ยาว 87 เมตร น้ำหนัก 920 ตัน
Aeolus เป็นเรือเอนกประสงค์ที่มีความยาว 139 เมตร และกว้าง 38 เมตร
เพื่อนำไปติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง
งานนี้ LR 13000 มาพร้อมกับ PowerBoom และใช้ระยะบูมทั้งหมด
.
.
Liebherr LR 13000
Category: crawler crane
Lifting Capacity: 3,000 metric tons
เครนตีนตะขาบใหญ่ที่สุดในโลก
มีบูมยาว 140 เมตร
ประจำที่อู่ต่อเรือ Lloyd shipyard ใน Bremerhaven
นอกจากยกของหนักได้แล้ว ต้องวางของหนักลงอย่างแม่นยำด้วย
ผลงานครั้งสำคัญคือ ยกของสูง 45 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
และใช้ยกกังหันลมที่มีขนาดสูง กับท่อ/ของงานชุดเจาะน้ำมันในเม็กซิโก
.
.
หมายเหตุ
เครนตามภาษากฏกระทรวงฯ รัฐบาลไทย เรียกว่าปั่นจั่น (Cranes or Derricks)
หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกของขึ้นลงตามแนวดิ่ง
และเคลื่อนย้ายของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ
เครนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
เครนเหนือศีรษะและเครนขาสูง (Overhead-Gentry Cranes)
เครนหอสูง (Tower Cranes)
รถเครน เรือเครน (Mobile Cranes)
เครนแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท
เครนรถตีนตะขาบ (Crawler Crane) เป็นเครนรถ ล้อตีนตะขาบ
บูมส่วนมากเป็นแบบบูมสาน เหมาะสมกับการใช้ในไซด์งานที่บุกเบิกใหม่
พื้นที่ยังไม่ถูกบดอัด ติดหล่มยาก แต่ไม่แนะนำให้ใช้งานแบบวิ่งต่อเนื่อง
เป็นระยะทางคราวละหลายร้อยเมตร
เพราะจะทำให้ชุดกลไกของล้อสึกเร็ว เสียหายเร็วกว่าอายุใช้งานปกติ
การเคลื่อนย้ายฯ จึงต้องแยกส่วนและขนถ่ายด้วยรถบรรทุกหนัก
ใช้เครนเคลื่อนที่ล้อยางประกอบช่วยประกอบหน้าไซด์งาน
เครนรถแบบทรัคเครน (Truck Crane) เครนรถล้อยาง
สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก วิ่งเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง
ข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้ เลี้ยวได้มุมแคบ พื้นที่ใช้งานต้องถูกบดอัดแล้วเท่านั้น
เครนรถแบบราฟเตอเรน (Rough Terrian Crane) เครนล้อยาง
ขับเคลื่อนทุกล้อ ทำงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ได้
หากติดหล่มมีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้
แต่ไม่สมบุกสมบันเหมือนเครนล้อตีนตะขาบ
วิ่งข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้ แต่ใช้ความเร็วได้ต่ำกว่าทรัคเครน
เครนรถตีนตะขาบ (Crawler Crane) เครนรถแบบ Truck Crane
และ Rough Terrian Crane เครนรถแบบออลเทอเรนเครน
(All Terrian Crane) เครนรถล้อยางขับเคลื่อนทุกล้อ
สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก ทำงานในพื้นที่ขรุขระ หรือพื้นที่สมบุกสมบันได้
หากเทียบจะสมบุกสมบันได้น้อยกว่าเครนรถแบบตีนตะขาบ
บูมเฟรมเป็นท่อน ๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก
มุมเลี้ยวแคบควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าพื้นที่กีดขวางมุมหักศอก องศาเลี้ยวน้อย ๆ ได้ดี
เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane) เครนติดรถบรรทุก
มีสภาพทั่วไปเป็นรถบรรทุกทั่วไป การออกแบบทั้งหมดเป็นรถบรรทุกใช้งานเพื่อบรรทุก
เพียงแต่ติดตั้งเครนร่วมด้วย สามารถยกของขึ้นลงได้ด้วยตนเอง
คนไทยมักเรียกว่ารถเฮียบ เพราะรถบรรทุกติดเครน
ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยในคราวแรกเป็นยี่ห้อเฮียบ HIAB
รถบรรทุกติดเครน (Truck Loader Crane) เครนหอสูง (Tower Crane)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศรีษะ (Overhead Crane)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง (Gantry Crane Semi Gantry Crane)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศรีษะแบบรางเดี่ยว (Mono Rail Overhead Crane)
เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane or Wall Crane)
เครนหอสูง (Tower Crane) ใช้ในงานก่อสร้าง
ความสามารถสูงสุดและความสมดุลในการยก
จะถูกออกแบบเป็นไปตามทฤษฏีของคาน
ภาระงาน = แรง X ระยะทาง ฉะนั้นจะออกแบบให้มีนำหนักถ่วง (Counter Weight)
ส่วนปลายตรงกันข้ามกับแขนบูมยก
เครนหอสูงและเครนรางเลื่อนไฟฟ้า (Tower Crane Electric Overhead Travelling Crane EOHT)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง (Gantry Crane or Simi Gantry Crane)
ระบบการทำงานเหมือนกับเครนรางเลื่อนไฟฟ้า
พื้นฐานการเคลื่อนที่ขนย้ายของได้หกทิศทาง
ต่างกันที่เครนรางเลื่อนไฟฟ้าถูกติดตั้งรางวิ่ง (Crane Run Way) ไว้กับโครงสร้างสูงกว่าระดับพื้น
แต่เครนเลื่อนไฟฟ้าแบบขาหยั่ง จะมีรางอยู่ที่ระดับพื้น และยืนเฟรมขาขึ้น
ไปรองรับส่วนปลายสะพานเครน (Bridge Beam)
หากมีขาคู่ เรียกว่า Gantry Crane
กรณีมีขาข้างเดียวและอีกข้างหนึ่งมีรางเลื่อน
อยู่กับโครงสร้างสูงจากระดับพื้น
กึ่งเครนรางเลื่อนไฟฟ้า กึ่ง Gantry Crane เราเรียกว่า Simi-Gantry Crane
เครนขาสูง (Gantry Crane) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail Crane)
การทำงานคล้ายกับเครนรางเลื่อนทั่วไป ส่วนที่ต่างออกไปคือมีรางวิ่งเพียงรางเดียว
ด้วยการออกแบบลักษณะดังนี้ จึงทำงานได้แค่สี่ทิศทางคือ
เดินหน้า ถอยหลัง ตามแนวดิ่งขึ้น และตามแนวดิ่งลง
อีกสองทิศทางคือความแนวขวางซ้ายและตามแนวขวางขวาขนย้ายของไม่ได้
ซึ่งซ้ายขวานี้เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศีรษะจะขนย้ายได้
เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane)
เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane or Wall Crane)
ส่วนมากเป็นเครนขนาดเล็ก ความสามารถในการยกไม่เกิน 10 ตัน
ที่พบเห็นส่วนมากจะถูกติดตั้งคันบูมไว้กับโครงสร้างหลักของอาคาร
หรือยืนเสาคอลัมน์ขึ้นมาเพื่อติดตั้งคันบูม
และคันบูมสวิงใช้งานได้ในรัศมีมุมกวาดครึ่งวงกลมหรือ 180 องศา
©
รณรงค์ แสงตะเกียง
เครนสี่ประเภทที่มีชื่อเสียงระดับโลก
.
Liebherr Mobile Crane
Category: Mobile
Lifting Capacity: 1,200 metric tons
Liebherr LTM 11200-9.1 สร้างโดย บริษัท Liebherr Group เยอรมัน
เป็นเครนที่เคลื่อนที่ได้ ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ยังมีบูมยืดไสลด์ที่ยาวที่สุดในโลก
ที่ยืดออกไปได้ไกลถึง 100 เมตร
ตั้งอยู่บนรถบรรทุกดับเบิ้ลแค็บ
และสามารถยกของได้ 1,200 เมตริกตัน
เทียบเท่ากับรถยนต์เกือบ 700 คัน
แต่สำหรับเครนตัวนี้
ก็ยังไม่ใช่เครนที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก
เมื่อเทียบกับเครนที่อยู่ประจำที่
2.
SSCV Thiaf
.
Category: Crane vessel
Lifting Capacity: 14,200 metric tonnes
เรือเครนที่ใหญ่ที่สุดที่มีอยู่คือ Thialf
ใหญ่มากจนเป็นเรือขนส่งในบางครั้ง
มีลูกเรือประจำการหลายร้อยคน
Thialf มีเครนสองตัวที่มีกำลังยก
น้ำหนักสูงสุด 14,200 เมตริกตัน
เครนตัวนี้ทำงานอยู่ในฟยอร์ด
และช่วยติดตั้งเสางานสะพาน Erasmus
ใน Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์
.
SSCV Thialf : Largest Crane Vessel in the World
3.
Taisun Gantry Crane
.
Category: Gantry
Lifting capacity: 20,000 metric tons
Taisun เป็นเครนตั้งอยู่กับที่
ยกของได้มากที่สุดในโลก
ตั้งอยู่ในมณฑลซานตง ประเทศจีน
สามารถยกของได้ 20,000 เมตริกตัน
ได้รับการบันทึกการอย่างเป็นทางการ
ใน Guinness Book of World Records
Construction of world's largest crane TAISUN
4.
Kockums “Tears of Malmö” Crane
.
Category: Gantry
Lifting Capacity: ???
Kockums Crane ขนาดมหึมา
เดิมตั้งอยู่ในเมือง Malmö ประเทศสวีเดน
มีตำนานในเรื่องขนาดและความแข็งแรง
เป็นหมุดหมาย Landmark
/เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูด
คนที่อยากรู้อยากเห็น
จากระยะใกล้และระยะไกล
ว่าเครนตัวนี้ยกของได้หนักเท่าไหร่
ตัวเลขที่เป็นทางการไม่กี่พันเมตริกตัน
ในปี 2002 เครนตัวนี้ถูกขายแล้วย้ายไปที่เกาหลี
เพื่อเป็นหนึ่งในเครนยักษ์ใหญ่ Goliath จำนวนหลายตัว
ที่อู่ต่อเรือของ Hyundai Heavy Industries ใน Ulsan
เครนตัวนี้มีฉายาว่า Tears of Malmö
เรื่องราวเริ่มจากชาวเมืองสวีเดนต่างร้องไห้
เมื่อเครนอันเป็นที่รักของชาวเมืองถูกรื้อถอน
แม้ว่า Kockums Crane ไม่ติดตำแหน่งสถิติระดับโลก
แต่ก็เป็นเครนหนึ่งเดียวในโลก
ที่สามารถทำให้ชาวบ้านสวีเดนร้องไห้ได้
.
Kockumskranen, timelapse
ภาพร่างการติดตั้งเครนชุดนี้
พื้นที่ส่วนที่ยังเหลืออยู่ บริเวณอู่ต่อเรือ Kockums หลังจากย้ายเครนออกไปแล้ว
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/32RqCtI
เพิ่มเติม
Liebherr-LR 13000 installing platform legs
of the Aeolus in Bremerhaven
.
เครนที่ทรงพลังที่สุด Liebherr LR 13000
บริหารโดย Mammoet ระหว่างทำงานใน Bremerhaven ประเทศเยอรมนี
กำลังยกกังหันลมจากเรือ Aeolus ยาว 87 เมตร น้ำหนัก 920 ตัน
Aeolus เป็นเรือเอนกประสงค์ที่มีความยาว 139 เมตร และกว้าง 38 เมตร
เพื่อนำไปติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง
งานนี้ LR 13000 มาพร้อมกับ PowerBoom และใช้ระยะบูมทั้งหมด
.
.
Liebherr LR 13000
Category: crawler crane
Lifting Capacity: 3,000 metric tons
เครนตีนตะขาบใหญ่ที่สุดในโลก
มีบูมยาว 140 เมตร
ประจำที่อู่ต่อเรือ Lloyd shipyard ใน Bremerhaven
นอกจากยกของหนักได้แล้ว ต้องวางของหนักลงอย่างแม่นยำด้วย
ผลงานครั้งสำคัญคือ ยกของสูง 45 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
และใช้ยกกังหันลมที่มีขนาดสูง กับท่อ/ของงานชุดเจาะน้ำมันในเม็กซิโก
.
David and Goliath, a colour lithograph by Osmar Schindler (c. 1888)
.
หมายเหตุ
เครนตามภาษากฏกระทรวงฯ รัฐบาลไทย เรียกว่าปั่นจั่น (Cranes or Derricks)
หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกของขึ้นลงตามแนวดิ่ง
และเคลื่อนย้ายของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ
เครนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
เครนเหนือศีรษะและเครนขาสูง (Overhead-Gentry Cranes)
เครนหอสูง (Tower Cranes)
รถเครน เรือเครน (Mobile Cranes)
เครนแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท
เครนรถตีนตะขาบ (Crawler Crane) เป็นเครนรถ ล้อตีนตะขาบ
บูมส่วนมากเป็นแบบบูมสาน เหมาะสมกับการใช้ในไซด์งานที่บุกเบิกใหม่
พื้นที่ยังไม่ถูกบดอัด ติดหล่มยาก แต่ไม่แนะนำให้ใช้งานแบบวิ่งต่อเนื่อง
เป็นระยะทางคราวละหลายร้อยเมตร
เพราะจะทำให้ชุดกลไกของล้อสึกเร็ว เสียหายเร็วกว่าอายุใช้งานปกติ
การเคลื่อนย้ายฯ จึงต้องแยกส่วนและขนถ่ายด้วยรถบรรทุกหนัก
ใช้เครนเคลื่อนที่ล้อยางประกอบช่วยประกอบหน้าไซด์งาน
เครนรถแบบทรัคเครน (Truck Crane) เครนรถล้อยาง
สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก วิ่งเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง
ข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้ เลี้ยวได้มุมแคบ พื้นที่ใช้งานต้องถูกบดอัดแล้วเท่านั้น
เครนรถแบบราฟเตอเรน (Rough Terrian Crane) เครนล้อยาง
ขับเคลื่อนทุกล้อ ทำงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ได้
หากติดหล่มมีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้
แต่ไม่สมบุกสมบันเหมือนเครนล้อตีนตะขาบ
วิ่งข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้ แต่ใช้ความเร็วได้ต่ำกว่าทรัคเครน
เครนรถตีนตะขาบ (Crawler Crane) เครนรถแบบ Truck Crane
และ Rough Terrian Crane เครนรถแบบออลเทอเรนเครน
(All Terrian Crane) เครนรถล้อยางขับเคลื่อนทุกล้อ
สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก ทำงานในพื้นที่ขรุขระ หรือพื้นที่สมบุกสมบันได้
หากเทียบจะสมบุกสมบันได้น้อยกว่าเครนรถแบบตีนตะขาบ
บูมเฟรมเป็นท่อน ๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก
มุมเลี้ยวแคบควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าพื้นที่กีดขวางมุมหักศอก องศาเลี้ยวน้อย ๆ ได้ดี
เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane) เครนติดรถบรรทุก
มีสภาพทั่วไปเป็นรถบรรทุกทั่วไป การออกแบบทั้งหมดเป็นรถบรรทุกใช้งานเพื่อบรรทุก
เพียงแต่ติดตั้งเครนร่วมด้วย สามารถยกของขึ้นลงได้ด้วยตนเอง
คนไทยมักเรียกว่ารถเฮียบ เพราะรถบรรทุกติดเครน
ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยในคราวแรกเป็นยี่ห้อเฮียบ HIAB
รถบรรทุกติดเครน (Truck Loader Crane) เครนหอสูง (Tower Crane)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศรีษะ (Overhead Crane)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง (Gantry Crane Semi Gantry Crane)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศรีษะแบบรางเดี่ยว (Mono Rail Overhead Crane)
เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane or Wall Crane)
เครนหอสูง (Tower Crane) ใช้ในงานก่อสร้าง
ความสามารถสูงสุดและความสมดุลในการยก
จะถูกออกแบบเป็นไปตามทฤษฏีของคาน
ภาระงาน = แรง X ระยะทาง ฉะนั้นจะออกแบบให้มีนำหนักถ่วง (Counter Weight)
ส่วนปลายตรงกันข้ามกับแขนบูมยก
เครนหอสูงและเครนรางเลื่อนไฟฟ้า (Tower Crane Electric Overhead Travelling Crane EOHT)
เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง (Gantry Crane or Simi Gantry Crane)
ระบบการทำงานเหมือนกับเครนรางเลื่อนไฟฟ้า
พื้นฐานการเคลื่อนที่ขนย้ายของได้หกทิศทาง
ต่างกันที่เครนรางเลื่อนไฟฟ้าถูกติดตั้งรางวิ่ง (Crane Run Way) ไว้กับโครงสร้างสูงกว่าระดับพื้น
แต่เครนเลื่อนไฟฟ้าแบบขาหยั่ง จะมีรางอยู่ที่ระดับพื้น และยืนเฟรมขาขึ้น
ไปรองรับส่วนปลายสะพานเครน (Bridge Beam)
หากมีขาคู่ เรียกว่า Gantry Crane
กรณีมีขาข้างเดียวและอีกข้างหนึ่งมีรางเลื่อน
อยู่กับโครงสร้างสูงจากระดับพื้น
กึ่งเครนรางเลื่อนไฟฟ้า กึ่ง Gantry Crane เราเรียกว่า Simi-Gantry Crane
เครนขาสูง (Gantry Crane) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail Crane)
การทำงานคล้ายกับเครนรางเลื่อนทั่วไป ส่วนที่ต่างออกไปคือมีรางวิ่งเพียงรางเดียว
ด้วยการออกแบบลักษณะดังนี้ จึงทำงานได้แค่สี่ทิศทางคือ
เดินหน้า ถอยหลัง ตามแนวดิ่งขึ้น และตามแนวดิ่งลง
อีกสองทิศทางคือความแนวขวางซ้ายและตามแนวขวางขวาขนย้ายของไม่ได้
ซึ่งซ้ายขวานี้เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศีรษะจะขนย้ายได้
เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane)
เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane or Wall Crane)
ส่วนมากเป็นเครนขนาดเล็ก ความสามารถในการยกไม่เกิน 10 ตัน
ที่พบเห็นส่วนมากจะถูกติดตั้งคันบูมไว้กับโครงสร้างหลักของอาคาร
หรือยืนเสาคอลัมน์ขึ้นมาเพื่อติดตั้งคันบูม
และคันบูมสวิงใช้งานได้ในรัศมีมุมกวาดครึ่งวงกลมหรือ 180 องศา
© รณรงค์ แสงตะเกียง