1.
.
ระหว่างปีค. ศ. 1405 ถึง 1433 ในยุคราชวงศ์หมิง
เจิ้งเหอขันทีในราชสำนักของราชวงศ์หมิง
ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่ห่างไกลถึง 7 ครั้ง
เดินทางไปไกลถึงแอฟริกาตะวันออกและตะวันออกกลาง
การเดินทางเหล่านี้รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์จีนว่า
เป็นการเดินทางแสดงแสนยานุภาพของจีน
ด้วยกองเรือขนาดมหึมาหลายร้อยลำ
บรรทุกลูกเรือจำนวนกว่า 28,000 คน
พร้อมทั้งสมบัติต่าง ๆ จำนวนมหาศาล
จุดประสงค์ของการเดินทาง คือ
แสดงแสนยานุภาพและความมั่งคั่งของจีน
สู่สายตาชาวโลกภายนอก
รวมทั้งสร้างอำนาจควบคุมการค้าทางทะเล
เจิ้งเหออุทิศชีวิตถึง 28 ปี
ให้กับการเดินเรือทางทะเล
จนกระทั่งเสียชีวิตในระหว่างทาง
หรือไม่นานหลังจากการเดินทางครั้งที่ 7
และครั้งสุดท้ายเมื่อเจิ้งเหอกลับมาจีนแล้ว
จักรพรรดิพระองค์ใหม่ก็ไม่สนใจการผจญภัยทางเรือ
ที่รัฐบาลจีนเคยให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
อู่ต่อเรือมหาสมบัติในเมืองนานกิง
ซึ่งกองเรือขนาดใหญ่ถูกสร้างขึ้นที่นี่ก็ถูกทิ้งร้าง
และเสื่อมสลายไปกับกาลเวลาในเวลาต่อมา
.
2.
แบบจำลองเรือมหาสมบัติขนาดกลาง
(ยาว 63.25 ม.) ของกองเรือเจิ้งเหอ
ในนานกิง สร้างในปี 2005
ตัวเรือคอนกรีต ด้านในปูแผ่นไม้
.
หากบันทึกตามประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า
เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอมีขนาดมหึมา
มีเสากระโดงเรือ 9 เสาและมีขนาด 4 ชั้น
สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 500 คน
รวมถึงสินค้าจำนวนมากในท้องเรือเพื่อเป็นอับเฉาเรือ
เรือมีความยาวถึง 137 เมตร (450 ฟุต)
และมีความกว้าง 55 เมตร (180 ฟุต)
ซึ่งมีความยาวมากกว่า 2 เท่าของเรือในยุโรปในเวลานั้น
แต่บางแหล่งข้อมุลอ้างว่า เรือยาวกว่า 180 เมตร (600 ฟุต)
นักวิชาการสมัยใหม่ให้เหตุผลว่า
เรือของเจิ้งเหอคงทนอยู่ได้ไม่นาน
เพราะเรือไม้ที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้
จะเกินขีดจำกัดโครงสร้างทางวิศวกรรม
เพราะขนาดเรือไม้ที่เทอะทะมาก
ยิ่งเจอสภาวะทะเลที่ปั่นป่วน
ไม้กระดานอาจจะบิดตัวหรืองอเด้งไปมา
จนทำให้ลำเรือแตกหักน้ำทะเลเข้าไปได้
เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่บันทึกในประวัติศาสตร์
เรือไม้ที่มีขนาดความยาวถึง 100 เมตร
เช่น เรือ
schooner Wyoming
ก็ยังเกิดอาการไม้บิดงอและโก่งตัว
จนจมลงท้องทะเลตอนเจอพายุหนัก
.
3.
Schooner Wyoming in 1917
.
จนถึงศตวรรษที่ 19
จึงจะมีเรือโครงสร้างเรือทำด้วยเหล็กที่มีความยาว 126 เมตร
และใช้เครื่องจักรไอน้ำแทนใบเรือผ้าใบที่อาศัยแรงลม
อย่างไรก็ตามนักวิชาการต่างยอมรับว่า
เรือมหาสมบัติมีขนาดใหญ่มาก
คาดว่าจะมีความยาวระหว่าง 119–124 เมตร (390–408 ฟุต)
แต่การประมาณการเชิงอนุรักษ์(เผื่อเหลือเผื่อขาด)
คาวดว่ามีความยาวประมาณ 60–76 เมตร (200–250 ฟุต) )
เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับเรืออื่น ๆ แล้ว
เรือมหาสมบัติมีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาว
ที่ทำให้เรือมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวเรือเป็นรูปตัว V กระดูกงูยาว
และมีอับเฉาเรือบรรทุกของขนาดหนักได้
ทำให้เรือกินน้ำทะเลได้ลึกมากขึ้น
พร้อมติดตั้งสมอเรือขนาดยักษ์ด้านข้างหลายอัน
เพื่อถ่วงน้ำหนักเรือและสร้างความสมดุล
นอกจากนี้หางเสือเรือยังยกขึ้นยกลงได้
เพื่อใช้เวลาเดินเรือให้กินน้ำลึกน้ำตื้น
ในปี 2005 มีการสร้างแบบจำลองเรือมหาสมบัติ
ที่ย่อขนาด/สัดส่วนเรือขนาดกลางลำหนึ่งของเจิ้งเหอ
ตั้งประดับไว้ในใจกลางเมืองนานกิง
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mtXOPH
https://bit.ly/2WtEOWT
https://bit.ly/3rcTuI8
.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
สมอเรือพบที่อู่ต่อเรือสมัยเจิ้งเหอ
13.
Ships of the Fra Mauro map (1460)
14.
ภาพพิมพ์แกะไม้ของจีน เรือเจิ้งเหอ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17
15.
สำเนาภาพประกอบของเรือเจิ้งเหอ
ที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
การเดินทางไปทางทิศตะวันตก
ของหนังสือ Heavenly Princess Classics ในปี 1420
ภาพอันล้ำค่านี้เป็นบันทึกภาพแรกสุด
ของเรือสมบัติของเจิ้งเหอ
16.
เรือสำเภาสี่เสาจากตำราของอู่ต่อเรือหลงเจียง
อู่ต่อเรือเดียวกันที่สร้างเรือมหาสมบัติในปี 1553
17.
ภาพร่างเรือของ Cheng Ho
ใน Ying-Yai Sheng-Lan
ของ หม่าฮวน Ma Huan (1433)
.
https://on.natgeo.com/2WvAF4Q
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
การต่อเรือไม้เป็นศาสตร์เป็นศิลป์อย่างหนึ่ง
จขกท. เคยไปดูชาวบ้านต่อเรือไม้แถวจะนะ
เห็นชาวบ้านเอาไม้มาลอยน้ำก่อน ดูการจม/ลอย
ด้านที่จมจะทำเครื่องหมายว่าด้านปลายไม้
เพราะธรรมชาติของไม้ด้านโคนต้น
เนื้อไม้จะมีใยที่หนาแน่น/น้ำหนักมากกว่าปลาย
จากนั้นนำไม้ขึ้นจากน้ำผึ่งลมจนแห้งสนิท
การต่อเรือจะต่อช่วงฤดูร้อน
เพราะไม้หดตัวเต็มที่แล้ว
สังเกตตอนหน้าฝน ประตูไม้ ลิ้นชักไม้ มักจะฝืด
เพราะไม้เก็บกักความชื้นขยายตัวขึ้นนิดเดียว
ก็มีผลต่อการเปิดปิดประตู ลิ้นชัก มากแล้ว
ในตอนหน้าร้อน การสร้างเรือชาวบ้านก็จะวางผัง
ให้ไม้ที่หนักกว่าอยู่ด้านท้ายเรือ
นัยว่าท้ายจมลึกกว่าและบังคับเรือง่ายกว่า
การต่อเรือแบบนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
ที่มีการสอนสั่งสืบทอดกันมานานแล้ว
ไม้ที่นิยมต่อเรือคือ ไม้ตะเคียน เนื้อแน่น น้ำหนักดี
เพราะไม้มีรสขม เพรียงไม่ชอบ เลยไม่เกาะ
จะเห็นว่ามีคนค้นพบเรือตะเคียนไม้ขุดหลายแห่งมาก
แต่เดิมเป็นไม้ตะเคียนเป็นไม้ต้องห้าม ห้ามชาวบ้านตัด
สงวนไว้สำหรับเรือหลวง/เรือพระภิกษุเท่านั้น
ครั้นจะห้ามด้วยกฎหมายก็ลำบาก
เพราะสยามทุกสิ่งศักดิ์สิทธิ์หมดยกเว้นกฎหมาย
เลยตัองสร้างเรื่องสร้างตำนานผีสางนางไม้ไว้หลอกหลอน
คนมักจะกลังเกรงยำเกรงกว่ากฎหมาย
ที่มักจะเอื้อมมือไม่ถึงในบ้านป่าเมืองเถื่อน
.
.
แซ่หม่า อีกท่านที่โด่งดัง
แต่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น แซ่เจิ้ง คือ เจิ้งเหอ หรือ ซำเปากง
แต่อีกนัยหนึ่ง ชาวมุสลิมนอกกำแพงเมืองจีนที่นับถือ นบี มะหะหมัด
ตั้งแซ่ว่า หม่า เป็นการนอบน้อมเคารพท่านทางหนึ่ง
จะเห็นว่าคนมุสลิมจำนวนมากใช้ แซ่หม่า
ตามตำนานเล่าว่า มีคำทำนายจากโหรหลวงว่า
คนแซ่หม่า จะทำลายราชวงศ์
แต่ท่านเป็นขันที/นายทหารคนสนิทของจักรพรรดิ์
จักรพรรดิ์หมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า หย่งเล่อ
จึงพระราชทานแซ่เจิ้ง ให้กับท่านเพื่อเป็นการแก้เคล็ด
ดังจะเห็นได้จากกูโบร์(ที่ฝังศพ)
ปู่และพ่อของท่าน ยังมีคำนำหน้าว่า หม่า
ที่มา
https://goo.gl/RJV7KL
ตามตำนานเล่าว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอ
เพื่อประกาศแสนยานุภาพของจักรวรรดิ์จีน
จะเห็นได้จากบางครั้งมีการ ยกทัพเข้าตีบางเมืองที่แข็งข้อ
และจับราชาประเทศนั้นไปลงโทษที่เมืองจีน
มีอารักษณ์เป็นผู้หญิงชื่อ
หม่าฮวน
ที่จดบันทึกเรื่องราวและเมืองต่าง ๆ ไว้มากที่สุด
ตามตำนานว่าเธอปลอมเป็นผู้ชายเพื่อเดินทางรับใช้เจิ้งเหอ
และเธอเคยต้องโทษประหารชีวิตเพราะอยู่ฝ่ายพ่ายแพ้
ในศึกชิงบัลลังค์ระหว่างองค์ชาย 4 กับองค์ชาย 14
แต่เจิ้งเหอขอชีวิตเธอไว้เพราะเสียดายความรู้
ความสามารถด้านอักษรศาตร์และการเป็นล่ามภาษาได้หลายภาษา
ส่วนเรื่องที่สำคัญคือ การสืบหาองค์ชาย 4
ที่หลบหนีหายไปจากเมืองหลวงหลังจากการยึดอำนาจของ
คาดว่า อาจจะหลบหนีหายไปที่ประเทศรอบนอกเมืองจีน
เพราะตอนปฏิวัติพระราชวังไฟไหม้ แต่ไม่มีใครพบศพองค์ชายสี่
สุดท้ายเจอในเมืองจีน บวชเป็นพระภิกษุชราภาพแล้ว
เลยปล่อยเลยตามเลยไม่สนใจเพราะหมดอำนาจราชศักดิ์
ไร้อิทธิพลและลูกน้องแล้วจึงปล่อยให้แก่ตายไปเอง
แต่ไม่พ้นการควบคุมตรวจสอบของทางการเช่นกัน
จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า หย่งเล่อ
คือ องค์ชายสิบสี่ที่แย่งชิงบรรลังค์จากองค์ชายสี่กับ องค์ชายสิบสี่
โดยได้รับการสนับสนุนจากเจิ้งเหอหัวหน้าขันที
ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า เจิ้งเหอ
แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็คือ ซันเป่ากง หรือ ซำปอกง (三寶公/三宝公)
ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ
เจ้าพ่อซำปอกง (ซานเป่ากง) วัดซำปอกง
หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกง
ที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด
กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่ง
ได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร
แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีน
ไว้ที่หน้าวิหารว่า ซำปอฮุดกง
ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น ซำปอกง
จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง
และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา
ด้วยเหตุนี้มีนักประวัติศาสตร์บางท่าน
สันนิษฐานว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ
ทว่าการที่เจิ้งเหอไปฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่า
เจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก
เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็กเพราะแพ้สงคราม
หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ
ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล
วงศ์ลือเกียรติ
อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ประทานให้
เจิ้งชงหลิ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ
จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448
คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม
ทั้งนี้ยังมี หม่าต้วน แม่ทัพกองพล 93 ที่แตกทัพจากจีนแดง
มาตั้งรกรากบนดอยวารี ที่ภาคเหนือของไทย
ลูกหลานท่านต่างใช้นามสกุลไทยแล้ว
มีอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานของท่านที่นั่น
ที่มา
https://goo.gl/9MXghL
เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ
.
ระหว่างปีค. ศ. 1405 ถึง 1433 ในยุคราชวงศ์หมิง
เจิ้งเหอขันทีในราชสำนักของราชวงศ์หมิง
ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่ห่างไกลถึง 7 ครั้ง
เดินทางไปไกลถึงแอฟริกาตะวันออกและตะวันออกกลาง
การเดินทางเหล่านี้รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์จีนว่า
เป็นการเดินทางแสดงแสนยานุภาพของจีน
ด้วยกองเรือขนาดมหึมาหลายร้อยลำ
บรรทุกลูกเรือจำนวนกว่า 28,000 คน
พร้อมทั้งสมบัติต่าง ๆ จำนวนมหาศาล
จุดประสงค์ของการเดินทาง คือ
แสดงแสนยานุภาพและความมั่งคั่งของจีน
สู่สายตาชาวโลกภายนอก
รวมทั้งสร้างอำนาจควบคุมการค้าทางทะเล
เจิ้งเหออุทิศชีวิตถึง 28 ปี
ให้กับการเดินเรือทางทะเล
จนกระทั่งเสียชีวิตในระหว่างทาง
หรือไม่นานหลังจากการเดินทางครั้งที่ 7
และครั้งสุดท้ายเมื่อเจิ้งเหอกลับมาจีนแล้ว
จักรพรรดิพระองค์ใหม่ก็ไม่สนใจการผจญภัยทางเรือ
ที่รัฐบาลจีนเคยให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
อู่ต่อเรือมหาสมบัติในเมืองนานกิง
ซึ่งกองเรือขนาดใหญ่ถูกสร้างขึ้นที่นี่ก็ถูกทิ้งร้าง
และเสื่อมสลายไปกับกาลเวลาในเวลาต่อมา
.
แบบจำลองเรือมหาสมบัติขนาดกลาง
(ยาว 63.25 ม.) ของกองเรือเจิ้งเหอ
ในนานกิง สร้างในปี 2005
ตัวเรือคอนกรีต ด้านในปูแผ่นไม้
.
หากบันทึกตามประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า
เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอมีขนาดมหึมา
มีเสากระโดงเรือ 9 เสาและมีขนาด 4 ชั้น
สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 500 คน
รวมถึงสินค้าจำนวนมากในท้องเรือเพื่อเป็นอับเฉาเรือ
เรือมีความยาวถึง 137 เมตร (450 ฟุต)
และมีความกว้าง 55 เมตร (180 ฟุต)
ซึ่งมีความยาวมากกว่า 2 เท่าของเรือในยุโรปในเวลานั้น
แต่บางแหล่งข้อมุลอ้างว่า เรือยาวกว่า 180 เมตร (600 ฟุต)
นักวิชาการสมัยใหม่ให้เหตุผลว่า
เรือของเจิ้งเหอคงทนอยู่ได้ไม่นาน
เพราะเรือไม้ที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้
จะเกินขีดจำกัดโครงสร้างทางวิศวกรรม
เพราะขนาดเรือไม้ที่เทอะทะมาก
ยิ่งเจอสภาวะทะเลที่ปั่นป่วน
ไม้กระดานอาจจะบิดตัวหรืองอเด้งไปมา
จนทำให้ลำเรือแตกหักน้ำทะเลเข้าไปได้
เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่บันทึกในประวัติศาสตร์
เรือไม้ที่มีขนาดความยาวถึง 100 เมตร
เช่น เรือ schooner Wyoming
ก็ยังเกิดอาการไม้บิดงอและโก่งตัว
จนจมลงท้องทะเลตอนเจอพายุหนัก
.
Schooner Wyoming in 1917
.
จนถึงศตวรรษที่ 19
จึงจะมีเรือโครงสร้างเรือทำด้วยเหล็กที่มีความยาว 126 เมตร
และใช้เครื่องจักรไอน้ำแทนใบเรือผ้าใบที่อาศัยแรงลม
อย่างไรก็ตามนักวิชาการต่างยอมรับว่า
เรือมหาสมบัติมีขนาดใหญ่มาก
คาดว่าจะมีความยาวระหว่าง 119–124 เมตร (390–408 ฟุต)
แต่การประมาณการเชิงอนุรักษ์(เผื่อเหลือเผื่อขาด)
คาวดว่ามีความยาวประมาณ 60–76 เมตร (200–250 ฟุต) )
เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับเรืออื่น ๆ แล้ว
เรือมหาสมบัติมีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาว
ที่ทำให้เรือมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวเรือเป็นรูปตัว V กระดูกงูยาว
และมีอับเฉาเรือบรรทุกของขนาดหนักได้
ทำให้เรือกินน้ำทะเลได้ลึกมากขึ้น
พร้อมติดตั้งสมอเรือขนาดยักษ์ด้านข้างหลายอัน
เพื่อถ่วงน้ำหนักเรือและสร้างความสมดุล
นอกจากนี้หางเสือเรือยังยกขึ้นยกลงได้
เพื่อใช้เวลาเดินเรือให้กินน้ำลึกน้ำตื้น
ในปี 2005 มีการสร้างแบบจำลองเรือมหาสมบัติ
ที่ย่อขนาด/สัดส่วนเรือขนาดกลางลำหนึ่งของเจิ้งเหอ
ตั้งประดับไว้ในใจกลางเมืองนานกิง
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mtXOPH
https://bit.ly/2WtEOWT
https://bit.ly/3rcTuI8
.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
สมอเรือพบที่อู่ต่อเรือสมัยเจิ้งเหอ
13.
Ships of the Fra Mauro map (1460)
14.
ภาพพิมพ์แกะไม้ของจีน เรือเจิ้งเหอ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17
15.
สำเนาภาพประกอบของเรือเจิ้งเหอ
ที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่
การเดินทางไปทางทิศตะวันตก
ของหนังสือ Heavenly Princess Classics ในปี 1420
ภาพอันล้ำค่านี้เป็นบันทึกภาพแรกสุด
ของเรือสมบัติของเจิ้งเหอ
16.
เรือสำเภาสี่เสาจากตำราของอู่ต่อเรือหลงเจียง
อู่ต่อเรือเดียวกันที่สร้างเรือมหาสมบัติในปี 1553
17.
ภาพร่างเรือของ Cheng Ho
ใน Ying-Yai Sheng-Lan
ของ หม่าฮวน Ma Huan (1433)
.
https://on.natgeo.com/2WvAF4Q
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
การต่อเรือไม้เป็นศาสตร์เป็นศิลป์อย่างหนึ่ง
จขกท. เคยไปดูชาวบ้านต่อเรือไม้แถวจะนะ
เห็นชาวบ้านเอาไม้มาลอยน้ำก่อน ดูการจม/ลอย
ด้านที่จมจะทำเครื่องหมายว่าด้านปลายไม้
เพราะธรรมชาติของไม้ด้านโคนต้น
เนื้อไม้จะมีใยที่หนาแน่น/น้ำหนักมากกว่าปลาย
จากนั้นนำไม้ขึ้นจากน้ำผึ่งลมจนแห้งสนิท
การต่อเรือจะต่อช่วงฤดูร้อน
เพราะไม้หดตัวเต็มที่แล้ว
สังเกตตอนหน้าฝน ประตูไม้ ลิ้นชักไม้ มักจะฝืด
เพราะไม้เก็บกักความชื้นขยายตัวขึ้นนิดเดียว
ก็มีผลต่อการเปิดปิดประตู ลิ้นชัก มากแล้ว
ในตอนหน้าร้อน การสร้างเรือชาวบ้านก็จะวางผัง
ให้ไม้ที่หนักกว่าอยู่ด้านท้ายเรือ
นัยว่าท้ายจมลึกกว่าและบังคับเรือง่ายกว่า
การต่อเรือแบบนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
ที่มีการสอนสั่งสืบทอดกันมานานแล้ว
ไม้ที่นิยมต่อเรือคือ ไม้ตะเคียน เนื้อแน่น น้ำหนักดี
เพราะไม้มีรสขม เพรียงไม่ชอบ เลยไม่เกาะ
จะเห็นว่ามีคนค้นพบเรือตะเคียนไม้ขุดหลายแห่งมาก
แต่เดิมเป็นไม้ตะเคียนเป็นไม้ต้องห้าม ห้ามชาวบ้านตัด
สงวนไว้สำหรับเรือหลวง/เรือพระภิกษุเท่านั้น
ครั้นจะห้ามด้วยกฎหมายก็ลำบาก
เพราะสยามทุกสิ่งศักดิ์สิทธิ์หมดยกเว้นกฎหมาย
เลยตัองสร้างเรื่องสร้างตำนานผีสางนางไม้ไว้หลอกหลอน
คนมักจะกลังเกรงยำเกรงกว่ากฎหมาย
ที่มักจะเอื้อมมือไม่ถึงในบ้านป่าเมืองเถื่อน
.
.
แซ่หม่า อีกท่านที่โด่งดัง
แต่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น แซ่เจิ้ง คือ เจิ้งเหอ หรือ ซำเปากง
แต่อีกนัยหนึ่ง ชาวมุสลิมนอกกำแพงเมืองจีนที่นับถือ นบี มะหะหมัด
ตั้งแซ่ว่า หม่า เป็นการนอบน้อมเคารพท่านทางหนึ่ง
จะเห็นว่าคนมุสลิมจำนวนมากใช้ แซ่หม่า
ตามตำนานเล่าว่า มีคำทำนายจากโหรหลวงว่า
คนแซ่หม่า จะทำลายราชวงศ์
แต่ท่านเป็นขันที/นายทหารคนสนิทของจักรพรรดิ์
จักรพรรดิ์หมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า หย่งเล่อ
จึงพระราชทานแซ่เจิ้ง ให้กับท่านเพื่อเป็นการแก้เคล็ด
ดังจะเห็นได้จากกูโบร์(ที่ฝังศพ)
ปู่และพ่อของท่าน ยังมีคำนำหน้าว่า หม่า
ที่มา https://goo.gl/RJV7KL
ตามตำนานเล่าว่า การเดินเรือของเจิ้งเหอ
เพื่อประกาศแสนยานุภาพของจักรวรรดิ์จีน
จะเห็นได้จากบางครั้งมีการ ยกทัพเข้าตีบางเมืองที่แข็งข้อ
และจับราชาประเทศนั้นไปลงโทษที่เมืองจีน
มีอารักษณ์เป็นผู้หญิงชื่อ หม่าฮวน
ที่จดบันทึกเรื่องราวและเมืองต่าง ๆ ไว้มากที่สุด
ตามตำนานว่าเธอปลอมเป็นผู้ชายเพื่อเดินทางรับใช้เจิ้งเหอ
และเธอเคยต้องโทษประหารชีวิตเพราะอยู่ฝ่ายพ่ายแพ้
ในศึกชิงบัลลังค์ระหว่างองค์ชาย 4 กับองค์ชาย 14
แต่เจิ้งเหอขอชีวิตเธอไว้เพราะเสียดายความรู้
ความสามารถด้านอักษรศาตร์และการเป็นล่ามภาษาได้หลายภาษา
ส่วนเรื่องที่สำคัญคือ การสืบหาองค์ชาย 4
ที่หลบหนีหายไปจากเมืองหลวงหลังจากการยึดอำนาจของ
คาดว่า อาจจะหลบหนีหายไปที่ประเทศรอบนอกเมืองจีน
เพราะตอนปฏิวัติพระราชวังไฟไหม้ แต่ไม่มีใครพบศพองค์ชายสี่
สุดท้ายเจอในเมืองจีน บวชเป็นพระภิกษุชราภาพแล้ว
เลยปล่อยเลยตามเลยไม่สนใจเพราะหมดอำนาจราชศักดิ์
ไร้อิทธิพลและลูกน้องแล้วจึงปล่อยให้แก่ตายไปเอง
แต่ไม่พ้นการควบคุมตรวจสอบของทางการเช่นกัน
จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า หย่งเล่อ
คือ องค์ชายสิบสี่ที่แย่งชิงบรรลังค์จากองค์ชายสี่กับ องค์ชายสิบสี่
โดยได้รับการสนับสนุนจากเจิ้งเหอหัวหน้าขันที
ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า เจิ้งเหอ
แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็คือ ซันเป่ากง หรือ ซำปอกง (三寶公/三宝公)
ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ
เจ้าพ่อซำปอกง (ซานเป่ากง) วัดซำปอกง
หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกง
ที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด
กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่ง
ได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร
แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีน
ไว้ที่หน้าวิหารว่า ซำปอฮุดกง
ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น ซำปอกง
จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง
และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา
ด้วยเหตุนี้มีนักประวัติศาสตร์บางท่าน
สันนิษฐานว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ
ทว่าการที่เจิ้งเหอไปฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่า
เจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก
เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็กเพราะแพ้สงคราม
หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ
ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ
อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ประทานให้
เจิ้งชงหลิ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ
จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448
คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม
ทั้งนี้ยังมี หม่าต้วน แม่ทัพกองพล 93 ที่แตกทัพจากจีนแดง
มาตั้งรกรากบนดอยวารี ที่ภาคเหนือของไทย
ลูกหลานท่านต่างใช้นามสกุลไทยแล้ว
มีอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานของท่านที่นั่น
ที่มา https://goo.gl/9MXghL
.