ที่มา:ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2557
ผู้เขียน:สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์
เจิ้งเหอ (ค.ศ. 1371-1433) มีนามเดิมว่า หม่าเหอ หรือที่บุคคลส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดีในนาม “ซำปอกง” ถือกำเนิดในครอบครัวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในตำบลคุนหยาง นครคุนหมิง แห่งมณฑลยูนนาน มีชื่อตามแบบชาวมุสลิม ที่เป็นภาษาอาหรับว่า “ฮัจญ์ มาห์มุด ซัมซ์” (Hajji Mahmud Shams)
บรรพบุรุษของเจิ้งเหอนั้นเป็นคนเชื้อสายเปอร์เซียเผ่าเซมูร์ (Semur) ต่อมาได้อพยพย้ายเข้ามาอาศัยในแผ่นดินจีนช่วงสมัยราชวงศ์หยวน และได้ปรับเปลี่ยนชื่อแซ่เป็นแบบธรรมเนียมจีนในเวลาต่อมาโดยใช้หม่า เป็นแซ่ของตระกูล เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในจีน ส่วนแซ่เจิ้ง เป็นแซ่ที่ได้รับพระราชทานในภายหลัง
ในปีรัชศกหงอู่ที่ 14 (ค.ศ. 1381) รัชสมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ได้ทรงยกทัพมากวาดล้างกองกำลังของมองโกลแห่งราชวงศ์หยวนที่ยังปักหลักอยู่ในแถบยูนนาน โดยมีแม่ทัพฟูโหย่วเต้อ เป็นผู้ควบคุมบัญชาการ ท่ามกลางความวุ่นวายของสงคราม เจิ้งเหอที่ขณะนั้นมีวัยเพียง 10 ปี ต้องตกเป็นเชลยศึกของกองทัพหมิง ต่อมาในปี ค.ศ. 1368 ถูกตอนเป็นขันที ทำงานรับใช้ในราชสำนักขององค์ชายจูตี้ ซึ่งต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่
เจิ้งเหอถวายงานรับใช้องค์ชายจูตี้ด้วยความจงรักภักดี มีความเชื่อกันว่าเจิ้งเหอมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์ชายจูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิ จนกระทั่งได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าขันที นอกจากนั้นแล้วเจิ้งเหอยังได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของราชสำนักหมิงที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่หลายประการ ตามพระราชประสงค์ขององค์จักรพรรดิ การออกสมุทรยาตราทั้ง 2 ครั้งของเจิ้งเหอ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 28 ปี เดินทางผ่านประเทศต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศ เป็นระยะทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร
เจิ้งเหอ เป็นนักเดินเรือที่ยิ่งใหญ่ในราชสำนักหมิง อีกทั้งมีเส้นทางการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจยิ่ง จากครอบครัวมุสลิมที่อาศัยในแถบตะวันตกของจีน ถูกจับเป็นเชลยศึก และถูกเกณฑ์เป็นทาสขันที ต่อมาได้ไต่เต้าจนเป็นมหาขันที กระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชากองเรือมหาสมบัติ ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้มีการศึกษาชีวประวัติเจิ้งเหอกันอย่างกว้างขวาง บทความนี้เป็นเพียงภาพสะท้อนความเชื่อในพุทธศาสนาของเจิ้งเหอ ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงในวงวิชาการกันอย่างแพร่หลาย
ภาพจาก:
https://mfa.gov.lk/
https://thechinaproject.com/
“เจิ้งเหอ” ขันทีอิสลามชาวจีน ผู้เลื่อมใสพุทธศาสนา
ผู้เขียน:สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์
เจิ้งเหอ (ค.ศ. 1371-1433) มีนามเดิมว่า หม่าเหอ หรือที่บุคคลส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดีในนาม “ซำปอกง” ถือกำเนิดในครอบครัวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในตำบลคุนหยาง นครคุนหมิง แห่งมณฑลยูนนาน มีชื่อตามแบบชาวมุสลิม ที่เป็นภาษาอาหรับว่า “ฮัจญ์ มาห์มุด ซัมซ์” (Hajji Mahmud Shams)
บรรพบุรุษของเจิ้งเหอนั้นเป็นคนเชื้อสายเปอร์เซียเผ่าเซมูร์ (Semur) ต่อมาได้อพยพย้ายเข้ามาอาศัยในแผ่นดินจีนช่วงสมัยราชวงศ์หยวน และได้ปรับเปลี่ยนชื่อแซ่เป็นแบบธรรมเนียมจีนในเวลาต่อมาโดยใช้หม่า เป็นแซ่ของตระกูล เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในจีน ส่วนแซ่เจิ้ง เป็นแซ่ที่ได้รับพระราชทานในภายหลัง
ในปีรัชศกหงอู่ที่ 14 (ค.ศ. 1381) รัชสมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ได้ทรงยกทัพมากวาดล้างกองกำลังของมองโกลแห่งราชวงศ์หยวนที่ยังปักหลักอยู่ในแถบยูนนาน โดยมีแม่ทัพฟูโหย่วเต้อ เป็นผู้ควบคุมบัญชาการ ท่ามกลางความวุ่นวายของสงคราม เจิ้งเหอที่ขณะนั้นมีวัยเพียง 10 ปี ต้องตกเป็นเชลยศึกของกองทัพหมิง ต่อมาในปี ค.ศ. 1368 ถูกตอนเป็นขันที ทำงานรับใช้ในราชสำนักขององค์ชายจูตี้ ซึ่งต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่
เจิ้งเหอถวายงานรับใช้องค์ชายจูตี้ด้วยความจงรักภักดี มีความเชื่อกันว่าเจิ้งเหอมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์ชายจูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิ จนกระทั่งได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าขันที นอกจากนั้นแล้วเจิ้งเหอยังได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของราชสำนักหมิงที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่หลายประการ ตามพระราชประสงค์ขององค์จักรพรรดิ การออกสมุทรยาตราทั้ง 2 ครั้งของเจิ้งเหอ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 28 ปี เดินทางผ่านประเทศต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศ เป็นระยะทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร
เจิ้งเหอ เป็นนักเดินเรือที่ยิ่งใหญ่ในราชสำนักหมิง อีกทั้งมีเส้นทางการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจยิ่ง จากครอบครัวมุสลิมที่อาศัยในแถบตะวันตกของจีน ถูกจับเป็นเชลยศึก และถูกเกณฑ์เป็นทาสขันที ต่อมาได้ไต่เต้าจนเป็นมหาขันที กระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชากองเรือมหาสมบัติ ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้มีการศึกษาชีวประวัติเจิ้งเหอกันอย่างกว้างขวาง บทความนี้เป็นเพียงภาพสะท้อนความเชื่อในพุทธศาสนาของเจิ้งเหอ ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงในวงวิชาการกันอย่างแพร่หลาย
ภาพจาก: https://mfa.gov.lk/
https://thechinaproject.com/