ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 7
กองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอออกสมุทรยาตราครั้งแรกใน พ.ศ. ๑๙๔๘ แต่ก่อนหน้านั้นเจิ้งเหอได้ส่งขันทีหลายคนเป็นทูตไปยังประเทศต่างๆ เพื่อสำรวจเส้นทางล่วงหน้าก่อนจะออกเดินทางจริง โดยพบว่าใน ค.ศ. ๑๔๐๓ (พ.ศ. ๑๙๔๖) มีขันทีหลี่ซิ่ง (李興) เป็นราชทูตเดินทางมายังสยาม
มีหลักฐานว่ากองเรือมหาสมบัติได้เดินทางมาเยือนสยามในสมุทรยาตราครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๑๙๕๑) ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๑๙๕๓) ครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๑๙๖๔-๑๙๖๖) และครั้งที่ ๗ (พ.ศ. ๑๙๗๔-๑๙๗๖)
เมื่อเทียบกับปีครองราชย์ของกษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ตรงกับรัชกาลสมเด็จเจ้าพระญารามถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา)
นักประวัติศาสตร์หลายท่านสันนิษฐานว่าการเข้ามาเยือนของกองเรือมหาสมบัติมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการผลัดแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาจากสมเด็จพระญารามแห่งราชวงศ์ละโว้-อโยธยา มาเป็นสมเด็จพระนครอินทร์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะพิจารณาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อถือกันว่ามีความถูกต้องมากที่สุดที่ระบุว่ามีการผลัดแผ่นดินใน พ.ศ. ๑๙๕๒ ไล่เลี่ยกับการสมุทรยาตราครั้งที่ ๒ พอดี
“ศักราช ๗๗๑ ฉลูศ่กสมเดจพรรามเจ้าเจามีความพีโรดแกเจาเสนาบดี แลทานใหกุมเจาเสนาบดี ๆ หนีรอดแลขามใปอยูฟากปทำคูจามนั้น แลเจาเสนาบดีจีงใหใปเชืญสํมเดจพระอีนทราชาเจามาแตเมอีงสุพรรณํบุรียวาจ่ย่กเขามาเอาพระณะครรศีรอยุท่ยาถวาย ครั้นแลสมเดจพระอีนทราชาเสดจ่มาเถีงใซ้ จีงเจัาเสนาบดียกพลเขัาปล้นเอาพระนครศรีอยุทธยาได้ จีงเชีญสํมเดจพระอีนทราชาเจัาขึนเสวยราชสํมบัดดี”
(ศักราช ๗๗๑ (พ.ศ. ๑๙๕๒) ฉลูศก สมเด็จพระรามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี เจ้าเสนาบดีหนีรอดแลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรีว่าจะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุทธยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอินทราชาเสด็จมาถึงไซร้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ)
ด้วยระยะเวลาที่สอดคล้องกันทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนครอินทร์ในฐานะกษัตริย์เมืองสุพรรณภูมิทรงอาศัยความสัมพันธ์อันดีที่ทรงมีกับราชสำนักต้าหมิงมาอย่างยาวนาน อาศัยกำลังของเจิ้งเหอและกองเรือมหาสมบัติในการ “กดดัน” ราชสำนักอยุทธยาของสมเด็จพระญารามจนทำให้สมเด็จพระนครอินทร์ได้เป็นพระมหากษัตริย์แทน และส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะต้าหมิงต้องการสนับสนุนสมเด็จพระนครอินทร์ที่มีไมตรีมานาน จึงให้ความช่วยเหลือ
บ้างก็สันนิษฐานว่าเพราะเจิ้งเหอให้เกียรติกับสมเด็จพระนครอินทร์ที่สุพรรณบุรีมากกว่าราชสำนักอยุทธยาทำให้สมเด็จพระญารามไม่พอพระทัย เลยน่าจะเป็นเหตุของการสั่งจับกุมเจ้าเสนาบดีจนเกิดการผลัดแผ่นดินหลังจากเจิ้งเหอออกจากอยุทธยาไปแล้วบ้าง
อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่ากองเรือมหาสมบัติไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการครองราชย์ของเจ้านครอินทร์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ข้อที่ ๑ โดยปกติ หากกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอมีปฏิบัติการทางทหาร หรือมีการแทรกแซงทางการเมืองในหัวเมืองที่ไปเยือน มักมีบันทึกเป็นลายหลักอักษรกล่าวไว้อย่างละเอียดเสมอ เช่นการปราบปรามกลุ่มโจรสลัดเฉินจู่อี้ (陳祖義) ในช่องแคบมะละกาในสมุทยาตราครั้งที่ ๑, การสถาปนาพระเจ้ามานาวิกรม (Manavikraman 馬那必加剌滿) ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งคาลิคัทรวมถึงการประดิษฐานศิลาจารึกสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐในสมุทรยาตราครั้งที่ ๒ และใช้กำลังทหารปราบปรามแห่งจับกุมอลเกศวรและการประดิษฐานจารึกสามภาษาที่ลังกาในสมุทรยาตราครั้งที่ ๓
ถ้ากองเรือมหาสมบัติมีการแทรกแซงทางการเมืองในราชสำนักอยุทธยาจนถึงกับเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินจริงก็ควรจะมีการบันทึกไว้บ้าง แต่กลับไม่ปรากฏการกล่าวถึงในหลักฐานจีนเลย ไม่ว่าจะเป็นเอกสารราชสำนักอย่างหมิงสือลู่ หรือบันทึกของผู้ที่เดินทางไปในสยามร่วมกับกองเรือมหาสมบัติอย่างหม่าฮวน (馬歡) ที่เป็นล่าม (ซึ่งมากับสมุทรยาตราครั้งที่ ๓) และเฟ่ยซิ่น (费信) ที่เป็นนายทหารต่างไม่มีระบุไว้
ข้อที่ ๒ ผู้เขียนเห็นว่าศักราชระยะเวลาครองราชย์ของสมเด็จพระนครอินทร์ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ระบุว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๖๗ น่าจะมีปัญหา เพราะหมิงสือลู่ระบุว่าสมเด็จพระนครอินทร์ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยามาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๑๙๓๘ โดยต้าหมิงส่งไปอยุทธยาใน พ.ศ. ๑๙๓๙ ส่งไปเพื่อถ่ายทอดราชโองการต่อเจ้านครอินทร์ที่ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุทธยา (https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1495904333806365/) และพระองค์สวรรคตโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (三賴波磨剌札的賴 ซานไล่ปอม๋อหลาจ๋าตี้ไล่) ผู้เป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติแทนและได้รายงานไปยังต้าหมิงในต้น พ.ศ. ๑๙๕๙
ระยะเวลาครองราชย์ของสมเด็จพระนครอินทร์ในหมิงสือลู่คือช่วง พ.ศ. ๑๙๓๘-๑๙๕๙ รวมได้ราว ๒๐ ปี สอดคล้องกับหลักฐานสองชิ้น คือพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) ที่แต่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง และสังคีติยวงศ์ที่แต่งโดยพระพิมลธรรมในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งทั้งสองเอกสารนี้น่าเชื่อว่ามีที่มาจากเอกสารเดียวกัน เพราะเนื้อหาใกล้เคียงกันอยู่หลายส่วน และเอกสารสองชิ้นนี้ยังมีศักราชในสมัยสมเด็จพระราเมศวรและสมเด็จพระญารามที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณศักราชพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาตอนต้นให้สอดคล้องกับในหมิงสือลู่ได้ มีแต่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ศักราชของพระเจ้าแผ่นดินอยุทธยาตอนต้นไม่สอดคล้องกับหลักฐานอื่น
ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้อ่านจาดลิ้งก์ครับ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1493196067410525/
แม้จะมีผู้พยายามอธิบายให้อิงตามศักราชในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่า ราชสำนักต้าหมิงอาจไม่ทราบว่าสมัยอยุทธยาตอนต้นแยกเป็นสองขั้วอำนาจคือราชสำนักที่อยุทธยาและสุพรรณภูมิ ทำให้อาจเข้าใจผิดและนำมาปะปนกัน โดยเข้าใจว่ากษัตริย์ที่ครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๓๘ ซึ่งพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ระบุว่าคือสมเด็จพระญาราม เข้าใจผิดว่าคือสมเด็จพระนครอินทร์แห่งสุพรรณภูมิที่ขึ้นเป็นกษัตริย์อยุทธยาแล้ว
หรือบ้างก็อธิบายว่าที่หมิงสือลู่บอกว่าสมเด็จนครอินทร์ครองราชย์เป็นกษัตริย์อยุทธยาใน พ.ศ. ๑๙๓๘ จริงๆ น่าจะครองราชย์กษัตริย์เมืองสุพรรณภูมิใน พ.ศ. ๑๙๓๘ ต่อจากพระบิดาที่เป็นกษัตริย์สุพรรณภูมิอยู่ก่อน (ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นอนุชาของขุนหลวงพ่องั่ว เพื่อจะให้ตรงกับพงศาวดารสมัยหลังว่าเจ้านครอินทร์เป็นหลานขุนหลวงพ่องั่ว) แต่ได้กล่าวในตอนที่ ๑ (https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1474820292581436/) แล้วว่าเรื่องนี้เกิดจากการแปลหลักฐานจีนผิดพลาดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลักฐานจีนระบุชัดเจนว่าสมเด็จพระนครอินทร์เป็นโอรสและรัชทายาทของขุนหลวงพ่องั่ว และทรงครองเมืองสุพรรณภูมิมาก่อน พ.ศ. ๑๙๒๐ แล้ว
แต่แม้จะอธิบายว่าราชสำนักของสมเด็จพระญารามจะใช้ชื่อสมเด็จพระนครอินทร์ในการติดต่อกับจีน ผู้เขียนยังเห็นว่าเป็นไปได้ยากที่จีนจะเอาพระราชโองการแต่งตั้งและตราตั้งไปส่งผิดมือสำหรับเจ้านายที่มีความสัมพันธ์กันมานาน
หรือถ้าจะบอกว่าจีนยกย่องแต่สมเด็จพระนครอินทร์ที่เมืองสุพรรณภูมิโดยละเลยสมเด็จพระญาราม ก็ไม่มีหลักฐานว่ามีคณะทูตต้าหมิงเคยเดินทางจากอยุทธยาไปไกลถึงสุพรรณภูมิ และดูเป็นไปได้ยากที่จีนจะไม่เข้าหาสมเด็จพระญารามที่เป็นผู้ปกครองโดยกรุงศรีอยุทธยาตรง แม้จะมีการบอกว่าสมเด็จพระนครอินทร์ในเวลานั้นอาจจะมีบารมีสูงกว่าก็ตาม ซึ่งในหลักฐานจีนก็ไม่เคยให้ภาพเลยว่ามีการแบ่งฝั่งฝ่ายของพระราชวงศ์ในเวลานั้น
และยังมีปัญหาในเรื่องระยะเวลาครองราชย์ฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ไม่สัมพันธ์กับหลักฐานอื่นตามที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องปีสวรรคตของสมเด็จพระนครอินทร์ที่มีการระบุพระนามพระเจ้าแผ่นดินองค์ถัดไปอย่างชัดเจน
ข้อที่ ๓ หมิงสือลู่รับรู้ว่าสมเด็จพระนครอินทร์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๓๘ และมีการพระราชทานพระราชลัญจกรโลโตประจำตำแหน่งใน พ.ศ. ๑๙๔๑ เป็นการบ่งบอกว่าราชสำนักต้าหมิงยอมรับสมเด็จพระนครอินทร์ในฐานะประมุขแห่งกรุงศรีอยุทธยาอย่างถูกต้อง (ในที่นี้จะเป็นสมเด็จพระนครอินทร์จริงหรือไม่ใช่ประเด็น) ในเมื่อต้าหมิงคิดว่าสมเด็จพระนครอินทร์เป็นกษัตริย์มาโดยตลอด จะมีความจำเป็นอะไรที่ต้าหมิงอาศัยกองเรือมหาสมบัติช่วย “กดดัน” ให้สมเด็จพระนครอินทร์ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๕๒ อีก ซึ่งอย่างที่กล่าวก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนรองรับในเรื่องนี้
ข้อที่ ๔ หมิงสือลู่เป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีการเรียบเรียงจากจดหมายเหตุราชการ พระราชโองการ หรือหมายรับสั่งที่บันทึกแบบวันต่อวัน มีการระบุวันเดือนปีอย่างละเอียดชัดเจน ยากจะมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องของวันเวลาได้ ในขณะที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่พบล้วนแต่เป็นพงศาวดารที่เรียบเรียงในสมัยหลัง ฉบับที่ค้นพบในปัจจุบันก็มีร่องรอยว่าเป็นฉบับที่คัดลอกในสมัยหลัง ไม่ใช่ฉบับหลวงดั้งเดิมในสมัยกรุงศรีอยุทธยา เหตุการณ์ในสมัยอยุทธยาตอนต้นส่วนใหญ่ระบุแต่เหตุการณ์ศักราชคร่าวๆ ไม่มีวันที่ชัดเจน และด้วยความที่เหตุการณ์สมัยอยุทธยาตอนต้นมีระยะคลาดเคลื่อนจากหลักฐานอื่นๆ มาก จึงเป็นไปได้ที่พงศาวดารฉบับนี้ (ซึ่งถูกเชื่อถือกันว่าศักราชเที่ยงตรงกว่าฉบับอื่น) ก็อาจมีศักราชคลาดเคลื่อนได้สมัยอยุทธยาตอนต้นได้เช่นกัน ไม่ต่างจากพงศาวดารที่ชำระสมัยหลังฉบับอื่นๆ ที่บางช่วงศักราชถูกต้อง บางช่วงคลาดเคลื่อน
โดยสรุปแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าสมเด็จพระนครอินทร์ครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๑๙๓๘ – ๑๙๕๘ ตามที่หมิงสือลู่ระบุ และเห็นว่ากองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอที่เข้ามาในอยุทธยาในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๑ – ๑๙๕๒ ไม่น่ามีบทบาทอะไรในการผลัดแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาเลย แต่เข้าเจริญสัมพันธไมตรีและทำการค้าตามปกติเท่านั้น
นอกจากเรื่องการค้า มีการศึกษาว่าเหตุที่กองเรือมหาสมบัติเข้ามาเยือนกรุงศรีอยุทธยาในครั้งนั้นมีจุดประสงค์ในการสนับสนุนอยุทธยาในการทำสงครามกับกัมพูชา เนื่องจากก่อนหน้านั้นต้าหมิงได้ทำสงครามรุกรานและผนวกอันหนานหรือไดเวียตไว้ในอำนาจ ต้าหมิงจึงไม่ต้องการสร้างศัตรูกับรัฐทางตอนใต้ของอันหนานอีก กับการห้ามปรามไม่ให้อยุทธยารุกรานมะละกาตามคำร้องขอของพระเจ้าปรเมศวร
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1509742669089198/
มีหลักฐานว่ากองเรือมหาสมบัติได้เดินทางมาเยือนสยามในสมุทรยาตราครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๑๙๕๑) ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๑๙๕๓) ครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๑๙๖๔-๑๙๖๖) และครั้งที่ ๗ (พ.ศ. ๑๙๗๔-๑๙๗๖)
เมื่อเทียบกับปีครองราชย์ของกษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ตรงกับรัชกาลสมเด็จเจ้าพระญารามถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา)
นักประวัติศาสตร์หลายท่านสันนิษฐานว่าการเข้ามาเยือนของกองเรือมหาสมบัติมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการผลัดแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาจากสมเด็จพระญารามแห่งราชวงศ์ละโว้-อโยธยา มาเป็นสมเด็จพระนครอินทร์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะพิจารณาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อถือกันว่ามีความถูกต้องมากที่สุดที่ระบุว่ามีการผลัดแผ่นดินใน พ.ศ. ๑๙๕๒ ไล่เลี่ยกับการสมุทรยาตราครั้งที่ ๒ พอดี
“ศักราช ๗๗๑ ฉลูศ่กสมเดจพรรามเจ้าเจามีความพีโรดแกเจาเสนาบดี แลทานใหกุมเจาเสนาบดี ๆ หนีรอดแลขามใปอยูฟากปทำคูจามนั้น แลเจาเสนาบดีจีงใหใปเชืญสํมเดจพระอีนทราชาเจามาแตเมอีงสุพรรณํบุรียวาจ่ย่กเขามาเอาพระณะครรศีรอยุท่ยาถวาย ครั้นแลสมเดจพระอีนทราชาเสดจ่มาเถีงใซ้ จีงเจัาเสนาบดียกพลเขัาปล้นเอาพระนครศรีอยุทธยาได้ จีงเชีญสํมเดจพระอีนทราชาเจัาขึนเสวยราชสํมบัดดี”
(ศักราช ๗๗๑ (พ.ศ. ๑๙๕๒) ฉลูศก สมเด็จพระรามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี เจ้าเสนาบดีหนีรอดแลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรีว่าจะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุทธยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอินทราชาเสด็จมาถึงไซร้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ)
ด้วยระยะเวลาที่สอดคล้องกันทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนครอินทร์ในฐานะกษัตริย์เมืองสุพรรณภูมิทรงอาศัยความสัมพันธ์อันดีที่ทรงมีกับราชสำนักต้าหมิงมาอย่างยาวนาน อาศัยกำลังของเจิ้งเหอและกองเรือมหาสมบัติในการ “กดดัน” ราชสำนักอยุทธยาของสมเด็จพระญารามจนทำให้สมเด็จพระนครอินทร์ได้เป็นพระมหากษัตริย์แทน และส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะต้าหมิงต้องการสนับสนุนสมเด็จพระนครอินทร์ที่มีไมตรีมานาน จึงให้ความช่วยเหลือ
บ้างก็สันนิษฐานว่าเพราะเจิ้งเหอให้เกียรติกับสมเด็จพระนครอินทร์ที่สุพรรณบุรีมากกว่าราชสำนักอยุทธยาทำให้สมเด็จพระญารามไม่พอพระทัย เลยน่าจะเป็นเหตุของการสั่งจับกุมเจ้าเสนาบดีจนเกิดการผลัดแผ่นดินหลังจากเจิ้งเหอออกจากอยุทธยาไปแล้วบ้าง
อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่ากองเรือมหาสมบัติไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการครองราชย์ของเจ้านครอินทร์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ข้อที่ ๑ โดยปกติ หากกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอมีปฏิบัติการทางทหาร หรือมีการแทรกแซงทางการเมืองในหัวเมืองที่ไปเยือน มักมีบันทึกเป็นลายหลักอักษรกล่าวไว้อย่างละเอียดเสมอ เช่นการปราบปรามกลุ่มโจรสลัดเฉินจู่อี้ (陳祖義) ในช่องแคบมะละกาในสมุทยาตราครั้งที่ ๑, การสถาปนาพระเจ้ามานาวิกรม (Manavikraman 馬那必加剌滿) ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งคาลิคัทรวมถึงการประดิษฐานศิลาจารึกสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐในสมุทรยาตราครั้งที่ ๒ และใช้กำลังทหารปราบปรามแห่งจับกุมอลเกศวรและการประดิษฐานจารึกสามภาษาที่ลังกาในสมุทรยาตราครั้งที่ ๓
ถ้ากองเรือมหาสมบัติมีการแทรกแซงทางการเมืองในราชสำนักอยุทธยาจนถึงกับเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินจริงก็ควรจะมีการบันทึกไว้บ้าง แต่กลับไม่ปรากฏการกล่าวถึงในหลักฐานจีนเลย ไม่ว่าจะเป็นเอกสารราชสำนักอย่างหมิงสือลู่ หรือบันทึกของผู้ที่เดินทางไปในสยามร่วมกับกองเรือมหาสมบัติอย่างหม่าฮวน (馬歡) ที่เป็นล่าม (ซึ่งมากับสมุทรยาตราครั้งที่ ๓) และเฟ่ยซิ่น (费信) ที่เป็นนายทหารต่างไม่มีระบุไว้
ข้อที่ ๒ ผู้เขียนเห็นว่าศักราชระยะเวลาครองราชย์ของสมเด็จพระนครอินทร์ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ระบุว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๖๗ น่าจะมีปัญหา เพราะหมิงสือลู่ระบุว่าสมเด็จพระนครอินทร์ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยามาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๑๙๓๘ โดยต้าหมิงส่งไปอยุทธยาใน พ.ศ. ๑๙๓๙ ส่งไปเพื่อถ่ายทอดราชโองการต่อเจ้านครอินทร์ที่ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุทธยา (https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1495904333806365/) และพระองค์สวรรคตโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (三賴波磨剌札的賴 ซานไล่ปอม๋อหลาจ๋าตี้ไล่) ผู้เป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติแทนและได้รายงานไปยังต้าหมิงในต้น พ.ศ. ๑๙๕๙
ระยะเวลาครองราชย์ของสมเด็จพระนครอินทร์ในหมิงสือลู่คือช่วง พ.ศ. ๑๙๓๘-๑๙๕๙ รวมได้ราว ๒๐ ปี สอดคล้องกับหลักฐานสองชิ้น คือพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) ที่แต่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง และสังคีติยวงศ์ที่แต่งโดยพระพิมลธรรมในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งทั้งสองเอกสารนี้น่าเชื่อว่ามีที่มาจากเอกสารเดียวกัน เพราะเนื้อหาใกล้เคียงกันอยู่หลายส่วน และเอกสารสองชิ้นนี้ยังมีศักราชในสมัยสมเด็จพระราเมศวรและสมเด็จพระญารามที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณศักราชพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาตอนต้นให้สอดคล้องกับในหมิงสือลู่ได้ มีแต่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ศักราชของพระเจ้าแผ่นดินอยุทธยาตอนต้นไม่สอดคล้องกับหลักฐานอื่น
ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้อ่านจาดลิ้งก์ครับ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1493196067410525/
แม้จะมีผู้พยายามอธิบายให้อิงตามศักราชในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่า ราชสำนักต้าหมิงอาจไม่ทราบว่าสมัยอยุทธยาตอนต้นแยกเป็นสองขั้วอำนาจคือราชสำนักที่อยุทธยาและสุพรรณภูมิ ทำให้อาจเข้าใจผิดและนำมาปะปนกัน โดยเข้าใจว่ากษัตริย์ที่ครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๓๘ ซึ่งพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ระบุว่าคือสมเด็จพระญาราม เข้าใจผิดว่าคือสมเด็จพระนครอินทร์แห่งสุพรรณภูมิที่ขึ้นเป็นกษัตริย์อยุทธยาแล้ว
หรือบ้างก็อธิบายว่าที่หมิงสือลู่บอกว่าสมเด็จนครอินทร์ครองราชย์เป็นกษัตริย์อยุทธยาใน พ.ศ. ๑๙๓๘ จริงๆ น่าจะครองราชย์กษัตริย์เมืองสุพรรณภูมิใน พ.ศ. ๑๙๓๘ ต่อจากพระบิดาที่เป็นกษัตริย์สุพรรณภูมิอยู่ก่อน (ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นอนุชาของขุนหลวงพ่องั่ว เพื่อจะให้ตรงกับพงศาวดารสมัยหลังว่าเจ้านครอินทร์เป็นหลานขุนหลวงพ่องั่ว) แต่ได้กล่าวในตอนที่ ๑ (https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1474820292581436/) แล้วว่าเรื่องนี้เกิดจากการแปลหลักฐานจีนผิดพลาดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลักฐานจีนระบุชัดเจนว่าสมเด็จพระนครอินทร์เป็นโอรสและรัชทายาทของขุนหลวงพ่องั่ว และทรงครองเมืองสุพรรณภูมิมาก่อน พ.ศ. ๑๙๒๐ แล้ว
แต่แม้จะอธิบายว่าราชสำนักของสมเด็จพระญารามจะใช้ชื่อสมเด็จพระนครอินทร์ในการติดต่อกับจีน ผู้เขียนยังเห็นว่าเป็นไปได้ยากที่จีนจะเอาพระราชโองการแต่งตั้งและตราตั้งไปส่งผิดมือสำหรับเจ้านายที่มีความสัมพันธ์กันมานาน
หรือถ้าจะบอกว่าจีนยกย่องแต่สมเด็จพระนครอินทร์ที่เมืองสุพรรณภูมิโดยละเลยสมเด็จพระญาราม ก็ไม่มีหลักฐานว่ามีคณะทูตต้าหมิงเคยเดินทางจากอยุทธยาไปไกลถึงสุพรรณภูมิ และดูเป็นไปได้ยากที่จีนจะไม่เข้าหาสมเด็จพระญารามที่เป็นผู้ปกครองโดยกรุงศรีอยุทธยาตรง แม้จะมีการบอกว่าสมเด็จพระนครอินทร์ในเวลานั้นอาจจะมีบารมีสูงกว่าก็ตาม ซึ่งในหลักฐานจีนก็ไม่เคยให้ภาพเลยว่ามีการแบ่งฝั่งฝ่ายของพระราชวงศ์ในเวลานั้น
และยังมีปัญหาในเรื่องระยะเวลาครองราชย์ฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ไม่สัมพันธ์กับหลักฐานอื่นตามที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องปีสวรรคตของสมเด็จพระนครอินทร์ที่มีการระบุพระนามพระเจ้าแผ่นดินองค์ถัดไปอย่างชัดเจน
ข้อที่ ๓ หมิงสือลู่รับรู้ว่าสมเด็จพระนครอินทร์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๓๘ และมีการพระราชทานพระราชลัญจกรโลโตประจำตำแหน่งใน พ.ศ. ๑๙๔๑ เป็นการบ่งบอกว่าราชสำนักต้าหมิงยอมรับสมเด็จพระนครอินทร์ในฐานะประมุขแห่งกรุงศรีอยุทธยาอย่างถูกต้อง (ในที่นี้จะเป็นสมเด็จพระนครอินทร์จริงหรือไม่ใช่ประเด็น) ในเมื่อต้าหมิงคิดว่าสมเด็จพระนครอินทร์เป็นกษัตริย์มาโดยตลอด จะมีความจำเป็นอะไรที่ต้าหมิงอาศัยกองเรือมหาสมบัติช่วย “กดดัน” ให้สมเด็จพระนครอินทร์ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๕๒ อีก ซึ่งอย่างที่กล่าวก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนรองรับในเรื่องนี้
ข้อที่ ๔ หมิงสือลู่เป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีการเรียบเรียงจากจดหมายเหตุราชการ พระราชโองการ หรือหมายรับสั่งที่บันทึกแบบวันต่อวัน มีการระบุวันเดือนปีอย่างละเอียดชัดเจน ยากจะมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องของวันเวลาได้ ในขณะที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่พบล้วนแต่เป็นพงศาวดารที่เรียบเรียงในสมัยหลัง ฉบับที่ค้นพบในปัจจุบันก็มีร่องรอยว่าเป็นฉบับที่คัดลอกในสมัยหลัง ไม่ใช่ฉบับหลวงดั้งเดิมในสมัยกรุงศรีอยุทธยา เหตุการณ์ในสมัยอยุทธยาตอนต้นส่วนใหญ่ระบุแต่เหตุการณ์ศักราชคร่าวๆ ไม่มีวันที่ชัดเจน และด้วยความที่เหตุการณ์สมัยอยุทธยาตอนต้นมีระยะคลาดเคลื่อนจากหลักฐานอื่นๆ มาก จึงเป็นไปได้ที่พงศาวดารฉบับนี้ (ซึ่งถูกเชื่อถือกันว่าศักราชเที่ยงตรงกว่าฉบับอื่น) ก็อาจมีศักราชคลาดเคลื่อนได้สมัยอยุทธยาตอนต้นได้เช่นกัน ไม่ต่างจากพงศาวดารที่ชำระสมัยหลังฉบับอื่นๆ ที่บางช่วงศักราชถูกต้อง บางช่วงคลาดเคลื่อน
โดยสรุปแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าสมเด็จพระนครอินทร์ครองราชย์ในช่วง พ.ศ. ๑๙๓๘ – ๑๙๕๘ ตามที่หมิงสือลู่ระบุ และเห็นว่ากองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอที่เข้ามาในอยุทธยาในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๑ – ๑๙๕๒ ไม่น่ามีบทบาทอะไรในการผลัดแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาเลย แต่เข้าเจริญสัมพันธไมตรีและทำการค้าตามปกติเท่านั้น
นอกจากเรื่องการค้า มีการศึกษาว่าเหตุที่กองเรือมหาสมบัติเข้ามาเยือนกรุงศรีอยุทธยาในครั้งนั้นมีจุดประสงค์ในการสนับสนุนอยุทธยาในการทำสงครามกับกัมพูชา เนื่องจากก่อนหน้านั้นต้าหมิงได้ทำสงครามรุกรานและผนวกอันหนานหรือไดเวียตไว้ในอำนาจ ต้าหมิงจึงไม่ต้องการสร้างศัตรูกับรัฐทางตอนใต้ของอันหนานอีก กับการห้ามปรามไม่ให้อยุทธยารุกรานมะละกาตามคำร้องขอของพระเจ้าปรเมศวร
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1509742669089198/
ความคิดเห็นที่ 8
หลักฐานลายลักษณ์อักษรของไทยไม่เคยบันทึกเรื่องกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหออย่างชัดเจน แต่เชื่อกันว่าเจิ้งเหอมีความสัมพันธ์กับหลวงพ่อโตซำปอกง ที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เจิ้งเหอได้นำกองเรือมหาสมบัติออกสมุทรยาตราจากเมืองจีนไปยังนานาประเทศ และในบางประเทศเช่น มาเลเซียหรืออินโดนีเซียก็จะมีเรื่องเล่าหรือตำนานที่เชื่อมโยงไปยังตัวเจิ้งเหออยู่ รวมถึงประเทศไทยซึ่งมีหลักฐานว่าเจิ้งเหอเคยนำกองเรือมหาสมบัติเข้ามาเยือนกรุงศรีอยุทธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนครอินทร์ และยังปรากฏว่าชื่อ “ซำปอ” หรือ “ซานเป่า” (三寶) ที่เป็นฉายาของเจิ้งเหอถูกนำไปใช้เรียกเป็นชื่อของหลวงพ่อโตพระประธานวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อซำปอกง” (三寶公)
ชื่อนี้เข้าใจว่าเป็นชื่อที่เรียกขานมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้ว เพราะปรากฏในเอกสาร “ภูมิสถานกรุงศรีอยุทธยา” เอกสารในหอหลวงที่กล่าวถึงสภาพแวดล้อมของกรุงศรีอยุทธยาที่เข้าใจว่าเรียบเรียงในสมัยรัตนโกสินทร์โดยผู้ที่อยู่ทันสมัยกรุงเก่า กล่าวถึงหลวงพ่อโตของวัดพนัญเชิงว่าเป็นหนึ่งใน “หลัก” ของกรุงศรีอยุทธยาที่อยู่นอกพระนคร โดยเรียกชื่อว่า “พระประธารวัดเจ้าพะแนงเชิงของพระเจ้าสามโปเตียน” ซึ่ง “สามโป” เข้าใจว่าคนไทยเรียกเพี้ยนมาจาก “ซำปอ” ในภาษาจีนนั่นเอง
ในที่นี้จึงน่าวิเคราะห์ว่าเหตุใดหลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิงมีความเกี่ยวข้องอะไรกับเจิ้งเหอ จึงถูกเรียกขานด้วยชื่อนี้
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ มีพระพักตร์รูปสี่เหลี่ยมตามแบบศิลปะอู่ทองซึ่งน่าจะมีอายุตั้งแต่ก่อนสมัยอยุทธยาถึงอยุทธยาตอนต้น ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ชำระสมัยสมเด็จพระนารายณ์เรียกหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงว่า “พระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง” และระบุว่าแรกสถาปนาในจุลศักราช ๖๘๖ (พ.ศ. ๑๘๖๗) ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาถึง ๒๖ ปี จึงมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่กว่าเจิ้งเหออยู่มาก
คำว่า “พแนงเชิง” จิตร ภูมิศักดิ์อธิบายว่าเป็นภาษาเขมร แปลว่า “ขัดสมาธิ” จึงเข้าใจว่าเป็นชื่อดั้งเดิมของหลวงพ่อโตที่เรียกตามพุทธลักษณะที่นั่งขัดสมาธิ ก่อนที่จะเพี้ยนมาเป็น “พนัญเชิง” ในปัจจุบัน
ส่วนพงศาวดารเหนือซึ่งเป็นเอกสารที่เรียบเรียงตำนานเกี่ยวกับรัฐต่างๆ ก่อนสมัยอยุทธยาก็ได้กล่าวถึงตำนานของวัดพนัญเชิงเอาไว้เช่นเดียวกัน โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าสายน้ำผึ้งแห่งกรุงศรีอยุทธยาเสด็จลงเรือไปถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนเห็นว่าเป็นผู้มีบุตรจึงยกพระธิดาบุญธรรมชื่อพระนางสร้อยดอกหมากให้เป็นอัครมเหสี รวมถึงแต่งสำเภา ๕ ลำพร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ให้จีน ๕๐๐ คนติดตามมายังกรุงศรีอยุทธยาด้วย แต่เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าวังแล้วไม่ยอมเสด็จไปรับพระนางสร้อยดอกหมากทำให้พระนางน้อยพระทัย พอรุ่งเช้าพระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงเสด็จมาเชิญพระนางก็ไม่ยอมไป จนพระเจ้าสายน้ำผึ้งสัพยอกว่าไม่ไปแล้วก็อยู่นี่ พระนางสร้อยดอกหมากเสียพระทัยจึงกลั้นใจตาย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงเชิญศพมาพระราชทานพระเพลิงที่แหลมบางกะจะสถาปนาเป็นพระอารามชื่อ “วัดพระเจ้าพระนางเชิง”
เรื่องราวในพงศาวดารเหนือเป็นเรื่องเล่าเชิง “ตำนาน” (myth) หรือ “มุขปาฐะ” (oral tradition) คงยากจะยึดถือเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตามในตำนานก็มักจะมีเรื่องจริงสอดแทรกอยู่เสมอ และเป็นไปได้ที่อาจจะเชื่อมโยงกับกับกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอด้วย
ในมะละกาซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่กองเรือมหาสมบัติเคยเดินทางไปถึง ก็มีตำนานที่ใกล้เคียงกับเรื่องพระนางสร้อยดอกหมากของไทย คือตำนานเรื่องเจ้าหญิงจีนชื่อฮังลิโป (漢麗寶 Hang Li Bo สำเนี่ยงจีนกลางอ่าน ฮั่นลี่เป่า) ได้เดินทางมาอภิเษกเป็นมเหสีของสุลต่านมันซูร์ ชาห์ (Mansur Shah) แห่งมะละกา โดยมีข้าราชการชาวจีนติดตามมาตั้งรกรากอยู่ด้วยจำนวนมาก และบริเวณตำหนักที่ประทับของเจ้าหญิงฮังลิโป ในเวลาต่อมาถูกเรียกว่าภูเขาซำปอกง หรือ ซานเป่าซาน (三寶山) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจิ้งเหอหรือซำปอกงซึ่งเป็นผู้พานางเข้ามา และมีการสร้างศาลเจ้าซำปอกงอยู่ในบริเวณเดียวกัน
ไม่มีหลักฐานของจีนระบุว่าจักรพรรดิจีนเคยพระราชทานพระธิดาให้กับอยุทธยาหรือมะละกาจริงอย่างมนตำนานทั้งสองเรื่อง แต่ในที่นี้น่าจะเป็นตำนานที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุทธยากับมะละกาที่มีต่อจีนในสมัยโบราณ โดยอาจสะท้อนการที่ชาวจีนโพ้นทะเลได้มาแต่งงานกับชนพื้นเมืองและได้ตั้งรกรากอยู่สืบมา ซึ่งก็พบหลักฐานว่าเคยมีลูกเรือของกองเรือมหาสมบัติได้ตั้งรกรากมีครอบครัวอยู่ที่มะละกา
จุดเชื่อมโยงของเรื่องราวของพระนางสร้อยดอกหมากแห่งวัดพนัญเชิงกับกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหออีกประการ น่าจะเป็นด้วยบริเวณที่ตั้งของวัดพนัญเชิงอยู่ที่ “แหลมบางกะจะ” ซึ่งเป็นท่าจอดเรือทางตะวันออกเฉียงใต้เกาะเมืองกรุงศรีอยุทธยามาตั้งแต่โบราณ โดยบางกะจะเป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักจนทำให้เกิดเป็นน้ำวนขึ้น จึงปรากฏเรียกว่าเป็น “บ้านน้ำวน” ปรากฏเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ตำบลสำเภาล่ม” ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะในอดีตมีเรือสำเภาล่มเพราะน้ำวนจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่าบริเวณที่เป็นที่จอดเรือสำเภามาแต่อดีต
จากการศึกษาโบราณคดีใต้น้ำยังได้มีการขุดพบโบราณวัตถุจากเรือที่จมอยู่ใต้ท้องแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดไก่เตี้ยพฤฒารามราษฎร์บำรุง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดพนัญเชิงและตำบลสำเภาล่มลงมาทางใต้ (คนละฟากแม่น้ำ) ราว ๕ กิโลเมตร ได้แก่เครื่องถ้วยสังคโลก เชือกเถาวัลย์ อาวุธ รวมไปถึงก้านและปีกของสมอเรือโบราณ รวมถึงท่อนไม้ยาว ๑๐ เมตรที่สันนิษฐานว่าจะเป็นเสากระโดงของเรือสำเภาขนาดใหญ่
นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสาร “ภูมิสถานกรุงศรีอยุทธยา” ได้กล่าวถึงเรือสินค้าจำนวนมากที่ได้มาเทียบท่าที่บางกะจะ ความว่า
“บ้านน้ำวนบางกะจะเรือปากไต้ปากกว้างสามวาสิบเอดศอก ลูกค้าจีนแขกทอดสมอขายน้ำตานกรวดน้ำตานทราย สาคูกำมะถันจันแดงหวายตะค้ากะแซงตานีสรรพเครื่องปากไต้ แลลูกค้าไทจินนั่งร้านแพขายสรรพสิ่งของต่าง ๆ กัน”
จึงเห็นได้ว่าบริเวณแหลมบางกะจะเป็นท่าจอดเรือและที่ตั้งแพขายค้าของพ่อค้าโดยเฉพาะชาวจีน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีชุมชนของชาวจีนอยู่ในบริเวณนั้นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วด้วย ซึ่งดูสัมพันธ์กับตำนานพระนางสร้อยดอกมากที่เกี่ยวกับจีนอยู่มาก
จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณวัดพนัญเชิงเป็นแหล่งค้าขายที่สัมพันธ์กับชาวจีนมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา ก็มีความเป็นไปได้ที่กองเรือมหาสมบัติบางส่วนของเจิ้งเหอซึ่งเคยเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุทธยา น่าจะเคยมาเทียบท่าในบริเวณบางกะจะด้วย จึงได้ปรากฏร่องรอยเกี่ยวกับเจิ้งเหอในวัดพนัญเชิงดังที่กล่าวมา
หลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นที่น่าจะเชื่อมโยงเจิ้งเหอเข้ากับวัดพนัญเชิงคือ หนังสือตงซีหยางเข่า (東西洋考) หรือ “การสำรวจย่านทะเลตะวันออกและตะวันตก” เรียบเรียงโดยบัณฑิตสมัยราชวงศ์หมิงชื่อจางเซี่ย (張燮) ใน ค.ศ. ๑๕๘๗ (พ.ศ. ๒๑๓๐) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุทธยา ได้บรรยายเกี่ยวกับเจิ้งเหอและกรุงศรีอยุทธยาไว้ว่า
“ในสมัยนั้น เมืองสยามได้เอาชื่อเจิ้งเหอมาตั้งชื่ออ่าวว่าอ่าวซำปอกง นัยว่าทำให้อ่าวนั้นปลอดจระเข้ และด่านตรวจที่ ๒ ที่จะเข้าไปกรุงศรีอยุธยามีศาลสำหรับบูชาเจิ้งเหอ และเจิ้งเหอได้สร้างวัดไว้ในกรุงศรีอยุทธยา วัดนั้นใหญ่โตสวยงามมาก มีพระพุทธรูปสูงเท่าหลังคาบ้าน”
วัดในอยุทธยาที่มีหลักฐานความเชื่อมโยงกับเจิ้งเหอก็มีเพียงวัดเดียวคือวัดพนัญเชิงที่เรียกหลวงพ่อโตพระประธานว่า “ซำปอกง” และ จากข้อความที่ระบุว่า “มีพระพุทธรูปสูงเท่าหลังคาบ้าน” ก็ดูสอดคล้องกับขนาดของหลวงพ่อโตที่ใหญ่โตมากโดยมีหน้าตักกว้าง ๒๐.๗๑ เมตร และมีความสูงจากชายพระชงฆ์ถึงพระรัศมี ๑๙ เมตร เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และแม้พื้นฐานครอบครัวจะเป็นมุสลิม แต่ก็มีหลักฐานว่าเจิ้งเหอก็นับถือศาสนาพุทธด้วย โดยใน ค.ศ. ๑๔๐๓ (พ.ศ. ๑๙๔๖) เจิ้งเหอได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดยได้รับศีลจากพระเต้าเหยี่ยน (道衍) พระภิกษุที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น และได้รับฉายาทางพุทธว่า “ฝูจี๋เสียง” (福吉祥) นอกจากนี้ก็มีหลักฐานว่าเจิ้งเหอมีเคยสร้างพระธาตุทองคำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยภายในบรรจุม้วนกระดาษจารึกตัวอักษรด้วยผงทองคำเป็นพระสูตรสัทธรรมปุณฑริกสูตรด้วย จึงสะท้อนความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาของเจิ้งเหอได้เป็นอย่างดี
เจิ้งเหอคงไม่ได้เป็นผู้สร้างวัดนี้ตามที่หลักฐานจีนกล่าว เพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือปรากฏในพงศาวดารว่าหลวงพ่อโตพระประธานถูกสร้างมาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงแล้ว ซึ่งก็ควรมีการสร้างพระอารามเป็นถาวรวัตถุไว้ควบคู่กันก่อนแล้วเช่นเดียวกัน แต่หากตีความจากหนังสือตงซีหยางเข่าประกอบกับหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของเจิ้งเหอ ก็อาจเป็นไปได้ที่เจิ้งเหออาจมีส่วนร่วมในการบูรณะปฏิสังขรณ์หรือบริจาคทรัพย์ในการสร้างพระอารามของวัดพนัญเชิงและหลวงพ่อโตในคราวที่กองเรือมหาสมบัติเข้ามาที่กรุงศรีอยุทธยา
อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวจีนในกรุงศรีอยุทธยาที่นับถือการอุทิศผลประโยชน์เพื่อพุทธศาสนาของเจิ้งเหอในครั้งนั้น หรืออาจเป็นด้วยมีความเลื่อมใสในวีรกรรมสมุทรยาตราของเจิ้งเหอ จึงได้เรียกขานหลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิงว่า “ซำปอกง” โดยอาจเพื่อเป็นการบ่งบอกว่าซำปอกงหรือเจิ้งเหอเป็นผู้บูรณะ หรืออาจเพื่อให้เป็นตัวแทนของเจิ้งเหอสำหรับการเคารพสักการะ
ซึ่งคำว่า “ซำปอ” หรือ “ซานเป่า” ก็แปลตรงตัวได้ว่า “แก้วสามประการ” หรือ “ไตรรัตน์” มีความหมายตรงกับพระรัตนตรัยในพุทธศาสนาพอดี จึงอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวจีนพุทธในกรุงศรีอยุทธยาเลือกนำชื่อนี้มาใช้เรียกขานองค์หลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิง
ภายหลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” ซึ่งมีความหมายตรงกับ “ซำปอกง” ในภาษาจีนนั่นเองครับ
เรื่องเจิ้งเหอมีส่วนในการปฏิสังขรณ์วัดพนัญเชิงที่กล่าวมาในตอนนี้ยังมีหลักฐานไม่ชัดเจน จึงทำได้เพียงการสันนิษฐานเป็นส่วนใหญ่ และอาจจะต้องหาหลักฐานที่ชัดเจนมาสอบทานในอนาคตต่อไปครับ
รายละเอียดอ่านได้ที่เพจของผมครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1511623982234400/
เจิ้งเหอได้นำกองเรือมหาสมบัติออกสมุทรยาตราจากเมืองจีนไปยังนานาประเทศ และในบางประเทศเช่น มาเลเซียหรืออินโดนีเซียก็จะมีเรื่องเล่าหรือตำนานที่เชื่อมโยงไปยังตัวเจิ้งเหออยู่ รวมถึงประเทศไทยซึ่งมีหลักฐานว่าเจิ้งเหอเคยนำกองเรือมหาสมบัติเข้ามาเยือนกรุงศรีอยุทธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนครอินทร์ และยังปรากฏว่าชื่อ “ซำปอ” หรือ “ซานเป่า” (三寶) ที่เป็นฉายาของเจิ้งเหอถูกนำไปใช้เรียกเป็นชื่อของหลวงพ่อโตพระประธานวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อซำปอกง” (三寶公)
ชื่อนี้เข้าใจว่าเป็นชื่อที่เรียกขานมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้ว เพราะปรากฏในเอกสาร “ภูมิสถานกรุงศรีอยุทธยา” เอกสารในหอหลวงที่กล่าวถึงสภาพแวดล้อมของกรุงศรีอยุทธยาที่เข้าใจว่าเรียบเรียงในสมัยรัตนโกสินทร์โดยผู้ที่อยู่ทันสมัยกรุงเก่า กล่าวถึงหลวงพ่อโตของวัดพนัญเชิงว่าเป็นหนึ่งใน “หลัก” ของกรุงศรีอยุทธยาที่อยู่นอกพระนคร โดยเรียกชื่อว่า “พระประธารวัดเจ้าพะแนงเชิงของพระเจ้าสามโปเตียน” ซึ่ง “สามโป” เข้าใจว่าคนไทยเรียกเพี้ยนมาจาก “ซำปอ” ในภาษาจีนนั่นเอง
ในที่นี้จึงน่าวิเคราะห์ว่าเหตุใดหลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิงมีความเกี่ยวข้องอะไรกับเจิ้งเหอ จึงถูกเรียกขานด้วยชื่อนี้
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ มีพระพักตร์รูปสี่เหลี่ยมตามแบบศิลปะอู่ทองซึ่งน่าจะมีอายุตั้งแต่ก่อนสมัยอยุทธยาถึงอยุทธยาตอนต้น ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ชำระสมัยสมเด็จพระนารายณ์เรียกหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงว่า “พระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง” และระบุว่าแรกสถาปนาในจุลศักราช ๖๘๖ (พ.ศ. ๑๘๖๗) ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาถึง ๒๖ ปี จึงมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่กว่าเจิ้งเหออยู่มาก
คำว่า “พแนงเชิง” จิตร ภูมิศักดิ์อธิบายว่าเป็นภาษาเขมร แปลว่า “ขัดสมาธิ” จึงเข้าใจว่าเป็นชื่อดั้งเดิมของหลวงพ่อโตที่เรียกตามพุทธลักษณะที่นั่งขัดสมาธิ ก่อนที่จะเพี้ยนมาเป็น “พนัญเชิง” ในปัจจุบัน
ส่วนพงศาวดารเหนือซึ่งเป็นเอกสารที่เรียบเรียงตำนานเกี่ยวกับรัฐต่างๆ ก่อนสมัยอยุทธยาก็ได้กล่าวถึงตำนานของวัดพนัญเชิงเอาไว้เช่นเดียวกัน โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าสายน้ำผึ้งแห่งกรุงศรีอยุทธยาเสด็จลงเรือไปถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนเห็นว่าเป็นผู้มีบุตรจึงยกพระธิดาบุญธรรมชื่อพระนางสร้อยดอกหมากให้เป็นอัครมเหสี รวมถึงแต่งสำเภา ๕ ลำพร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ให้จีน ๕๐๐ คนติดตามมายังกรุงศรีอยุทธยาด้วย แต่เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าวังแล้วไม่ยอมเสด็จไปรับพระนางสร้อยดอกหมากทำให้พระนางน้อยพระทัย พอรุ่งเช้าพระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงเสด็จมาเชิญพระนางก็ไม่ยอมไป จนพระเจ้าสายน้ำผึ้งสัพยอกว่าไม่ไปแล้วก็อยู่นี่ พระนางสร้อยดอกหมากเสียพระทัยจึงกลั้นใจตาย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงเชิญศพมาพระราชทานพระเพลิงที่แหลมบางกะจะสถาปนาเป็นพระอารามชื่อ “วัดพระเจ้าพระนางเชิง”
เรื่องราวในพงศาวดารเหนือเป็นเรื่องเล่าเชิง “ตำนาน” (myth) หรือ “มุขปาฐะ” (oral tradition) คงยากจะยึดถือเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตามในตำนานก็มักจะมีเรื่องจริงสอดแทรกอยู่เสมอ และเป็นไปได้ที่อาจจะเชื่อมโยงกับกับกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอด้วย
ในมะละกาซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐที่กองเรือมหาสมบัติเคยเดินทางไปถึง ก็มีตำนานที่ใกล้เคียงกับเรื่องพระนางสร้อยดอกหมากของไทย คือตำนานเรื่องเจ้าหญิงจีนชื่อฮังลิโป (漢麗寶 Hang Li Bo สำเนี่ยงจีนกลางอ่าน ฮั่นลี่เป่า) ได้เดินทางมาอภิเษกเป็นมเหสีของสุลต่านมันซูร์ ชาห์ (Mansur Shah) แห่งมะละกา โดยมีข้าราชการชาวจีนติดตามมาตั้งรกรากอยู่ด้วยจำนวนมาก และบริเวณตำหนักที่ประทับของเจ้าหญิงฮังลิโป ในเวลาต่อมาถูกเรียกว่าภูเขาซำปอกง หรือ ซานเป่าซาน (三寶山) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจิ้งเหอหรือซำปอกงซึ่งเป็นผู้พานางเข้ามา และมีการสร้างศาลเจ้าซำปอกงอยู่ในบริเวณเดียวกัน
ไม่มีหลักฐานของจีนระบุว่าจักรพรรดิจีนเคยพระราชทานพระธิดาให้กับอยุทธยาหรือมะละกาจริงอย่างมนตำนานทั้งสองเรื่อง แต่ในที่นี้น่าจะเป็นตำนานที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุทธยากับมะละกาที่มีต่อจีนในสมัยโบราณ โดยอาจสะท้อนการที่ชาวจีนโพ้นทะเลได้มาแต่งงานกับชนพื้นเมืองและได้ตั้งรกรากอยู่สืบมา ซึ่งก็พบหลักฐานว่าเคยมีลูกเรือของกองเรือมหาสมบัติได้ตั้งรกรากมีครอบครัวอยู่ที่มะละกา
จุดเชื่อมโยงของเรื่องราวของพระนางสร้อยดอกหมากแห่งวัดพนัญเชิงกับกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหออีกประการ น่าจะเป็นด้วยบริเวณที่ตั้งของวัดพนัญเชิงอยู่ที่ “แหลมบางกะจะ” ซึ่งเป็นท่าจอดเรือทางตะวันออกเฉียงใต้เกาะเมืองกรุงศรีอยุทธยามาตั้งแต่โบราณ โดยบางกะจะเป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักจนทำให้เกิดเป็นน้ำวนขึ้น จึงปรากฏเรียกว่าเป็น “บ้านน้ำวน” ปรากฏเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ตำบลสำเภาล่ม” ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะในอดีตมีเรือสำเภาล่มเพราะน้ำวนจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่าบริเวณที่เป็นที่จอดเรือสำเภามาแต่อดีต
จากการศึกษาโบราณคดีใต้น้ำยังได้มีการขุดพบโบราณวัตถุจากเรือที่จมอยู่ใต้ท้องแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดไก่เตี้ยพฤฒารามราษฎร์บำรุง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดพนัญเชิงและตำบลสำเภาล่มลงมาทางใต้ (คนละฟากแม่น้ำ) ราว ๕ กิโลเมตร ได้แก่เครื่องถ้วยสังคโลก เชือกเถาวัลย์ อาวุธ รวมไปถึงก้านและปีกของสมอเรือโบราณ รวมถึงท่อนไม้ยาว ๑๐ เมตรที่สันนิษฐานว่าจะเป็นเสากระโดงของเรือสำเภาขนาดใหญ่
นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสาร “ภูมิสถานกรุงศรีอยุทธยา” ได้กล่าวถึงเรือสินค้าจำนวนมากที่ได้มาเทียบท่าที่บางกะจะ ความว่า
“บ้านน้ำวนบางกะจะเรือปากไต้ปากกว้างสามวาสิบเอดศอก ลูกค้าจีนแขกทอดสมอขายน้ำตานกรวดน้ำตานทราย สาคูกำมะถันจันแดงหวายตะค้ากะแซงตานีสรรพเครื่องปากไต้ แลลูกค้าไทจินนั่งร้านแพขายสรรพสิ่งของต่าง ๆ กัน”
จึงเห็นได้ว่าบริเวณแหลมบางกะจะเป็นท่าจอดเรือและที่ตั้งแพขายค้าของพ่อค้าโดยเฉพาะชาวจีน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีชุมชนของชาวจีนอยู่ในบริเวณนั้นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วด้วย ซึ่งดูสัมพันธ์กับตำนานพระนางสร้อยดอกมากที่เกี่ยวกับจีนอยู่มาก
จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณวัดพนัญเชิงเป็นแหล่งค้าขายที่สัมพันธ์กับชาวจีนมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา ก็มีความเป็นไปได้ที่กองเรือมหาสมบัติบางส่วนของเจิ้งเหอซึ่งเคยเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุทธยา น่าจะเคยมาเทียบท่าในบริเวณบางกะจะด้วย จึงได้ปรากฏร่องรอยเกี่ยวกับเจิ้งเหอในวัดพนัญเชิงดังที่กล่าวมา
หลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นที่น่าจะเชื่อมโยงเจิ้งเหอเข้ากับวัดพนัญเชิงคือ หนังสือตงซีหยางเข่า (東西洋考) หรือ “การสำรวจย่านทะเลตะวันออกและตะวันตก” เรียบเรียงโดยบัณฑิตสมัยราชวงศ์หมิงชื่อจางเซี่ย (張燮) ใน ค.ศ. ๑๕๘๗ (พ.ศ. ๒๑๓๐) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุทธยา ได้บรรยายเกี่ยวกับเจิ้งเหอและกรุงศรีอยุทธยาไว้ว่า
“ในสมัยนั้น เมืองสยามได้เอาชื่อเจิ้งเหอมาตั้งชื่ออ่าวว่าอ่าวซำปอกง นัยว่าทำให้อ่าวนั้นปลอดจระเข้ และด่านตรวจที่ ๒ ที่จะเข้าไปกรุงศรีอยุธยามีศาลสำหรับบูชาเจิ้งเหอ และเจิ้งเหอได้สร้างวัดไว้ในกรุงศรีอยุทธยา วัดนั้นใหญ่โตสวยงามมาก มีพระพุทธรูปสูงเท่าหลังคาบ้าน”
วัดในอยุทธยาที่มีหลักฐานความเชื่อมโยงกับเจิ้งเหอก็มีเพียงวัดเดียวคือวัดพนัญเชิงที่เรียกหลวงพ่อโตพระประธานว่า “ซำปอกง” และ จากข้อความที่ระบุว่า “มีพระพุทธรูปสูงเท่าหลังคาบ้าน” ก็ดูสอดคล้องกับขนาดของหลวงพ่อโตที่ใหญ่โตมากโดยมีหน้าตักกว้าง ๒๐.๗๑ เมตร และมีความสูงจากชายพระชงฆ์ถึงพระรัศมี ๑๙ เมตร เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และแม้พื้นฐานครอบครัวจะเป็นมุสลิม แต่ก็มีหลักฐานว่าเจิ้งเหอก็นับถือศาสนาพุทธด้วย โดยใน ค.ศ. ๑๔๐๓ (พ.ศ. ๑๙๔๖) เจิ้งเหอได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดยได้รับศีลจากพระเต้าเหยี่ยน (道衍) พระภิกษุที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น และได้รับฉายาทางพุทธว่า “ฝูจี๋เสียง” (福吉祥) นอกจากนี้ก็มีหลักฐานว่าเจิ้งเหอมีเคยสร้างพระธาตุทองคำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยภายในบรรจุม้วนกระดาษจารึกตัวอักษรด้วยผงทองคำเป็นพระสูตรสัทธรรมปุณฑริกสูตรด้วย จึงสะท้อนความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาของเจิ้งเหอได้เป็นอย่างดี
เจิ้งเหอคงไม่ได้เป็นผู้สร้างวัดนี้ตามที่หลักฐานจีนกล่าว เพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือปรากฏในพงศาวดารว่าหลวงพ่อโตพระประธานถูกสร้างมาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงแล้ว ซึ่งก็ควรมีการสร้างพระอารามเป็นถาวรวัตถุไว้ควบคู่กันก่อนแล้วเช่นเดียวกัน แต่หากตีความจากหนังสือตงซีหยางเข่าประกอบกับหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของเจิ้งเหอ ก็อาจเป็นไปได้ที่เจิ้งเหออาจมีส่วนร่วมในการบูรณะปฏิสังขรณ์หรือบริจาคทรัพย์ในการสร้างพระอารามของวัดพนัญเชิงและหลวงพ่อโตในคราวที่กองเรือมหาสมบัติเข้ามาที่กรุงศรีอยุทธยา
อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวจีนในกรุงศรีอยุทธยาที่นับถือการอุทิศผลประโยชน์เพื่อพุทธศาสนาของเจิ้งเหอในครั้งนั้น หรืออาจเป็นด้วยมีความเลื่อมใสในวีรกรรมสมุทรยาตราของเจิ้งเหอ จึงได้เรียกขานหลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิงว่า “ซำปอกง” โดยอาจเพื่อเป็นการบ่งบอกว่าซำปอกงหรือเจิ้งเหอเป็นผู้บูรณะ หรืออาจเพื่อให้เป็นตัวแทนของเจิ้งเหอสำหรับการเคารพสักการะ
ซึ่งคำว่า “ซำปอ” หรือ “ซานเป่า” ก็แปลตรงตัวได้ว่า “แก้วสามประการ” หรือ “ไตรรัตน์” มีความหมายตรงกับพระรัตนตรัยในพุทธศาสนาพอดี จึงอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวจีนพุทธในกรุงศรีอยุทธยาเลือกนำชื่อนี้มาใช้เรียกขานองค์หลวงพ่อโตแห่งวัดพนัญเชิง
ภายหลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” ซึ่งมีความหมายตรงกับ “ซำปอกง” ในภาษาจีนนั่นเองครับ
เรื่องเจิ้งเหอมีส่วนในการปฏิสังขรณ์วัดพนัญเชิงที่กล่าวมาในตอนนี้ยังมีหลักฐานไม่ชัดเจน จึงทำได้เพียงการสันนิษฐานเป็นส่วนใหญ่ และอาจจะต้องหาหลักฐานที่ชัดเจนมาสอบทานในอนาคตต่อไปครับ
รายละเอียดอ่านได้ที่เพจของผมครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1511623982234400/
ความคิดเห็นที่ 10
หลักฐานว่าด้วยการเดินทางมายังสยามของกองเรือมหาสมบัติเจิ้งเหอ
หมิงสือลู่ (明實錄) ระบุว่า ในรัชศกหย่งเล่อปีที่ ๖ เดือน ๙ วันที่กุ๋ยโหย่ว (๑๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๔๐๘) ระบุว่า
癸酉,太監鄭和等賫敕使古里、滿剌加、蘇門答剌、阿魯、加異勒、爪哇、暹羅、占城、柯枝、阿撥把丹、小柯蘭、南巫里、甘巴里諸國,賜其國王錦綺、紗羅。
วันกุ๋ยโหย่ว หัวหน้าขันทีเจิ้งเหอและคณะรับพระราชโองการเป็นราชทูตเดินทางไปยัง กู๋หลี่ (คาลิคัต) หม่านหลาเจีย (มะละกา) ซูเหมินต๋าหลา (สมุทระ) อาหลู่ (อารู) เจียอี๋เลย (เมืองท่าชายฝั่งตะวันออกปลายคาบสมุทรอินเดีย) เจ่าวา (ชวา) เซียนหลัว (สยาม) จ้านเฉิง (จามปา) เคอจือ (โกชิ) อาโปป่าตาน (อัห์มดาบาด) เสี่ยวเคอหลาน (โคลัม) หนานอูหลี่ (ลัมบรี) กานปาหลี่ (กันยากุมารี) นานาประเทศ ไปพระราชทานผ้าทอลาย ผ้าไหมเนื้อละเอียด แพรต่วนแด่กษัตริย์ประเทศนั้นๆ”
ตรงกับหมิงสื่อ (明史) หรือพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ ๓๒๔ ตอนประเทศสยาม ระบุว่า
六年八月命中官張原送還國,賜王幣帛,令厚恤被殺者之家。九月,中官鄭和使其國,其王遣使貢方物,謝前罪。
(รัชศกหย่งเล่อ) ปีที่ ๖ เดือน ๘ มีพระราชโองการให้ส่งขันทีจางหยวนกลับไปยังประเทศนั้น พระราชทานเงินทองผ้าไหม....เดือน ๙ ขันทีเจิ้งเหอเป็นราชทูตไปยังประเทศนั้น กษัตริย์ประเทศนั้นส่งราชทูตและเครื่องบรรณาการและสิ่งของต่างๆ เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ (ที่ไปรุกรานมะละกากับสุมาตราก่อนหน้านี้)
หมิงสือลู่ รัชศกหย่งเล่อปีที่ ๒๐ เดือนแปด วันเหรินอิ๋น (๓ กันยายน ค.ศ. ๑๔๒๒) ระบุว่า
中官鄭和等使諸番國還。暹羅、蘇門答剌、哈丹等國悉遣使隨和貢方物。
ขันทีเจิ้งเหอและคณะที่ถูกส่งไปยังประเทศฟานทั้งหลายกลับมา เซียนหลัว ซูเหมินต๋าหลา ฮาตาน (เอเด็น) และราชทูตประเทศอื่นๆ ติดตามเหอมาถวายบรรณาการและสิ่งของต่างๆ
หมิงสื่อลู่ รัชศกเซฺวียนเต๋อปีที่ ๖ เดือน ๒ วันเหรินอิ๋น (๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๔๓๑) ระบุว่า
滿喇加國頭目巫寶赤納等至京,言「國王欲躬來朝貢,但為暹羅國王所阻。暹羅素欲侵害本國,本國欲奏,無能書者。今王令臣三人潛附蘇門答喇貢舟來京,乞朝廷遣人諭暹羅王無肆欺凌,不勝感恩之至。」上命行在禮部賜賫巫寶赤納等,遣附太監鄭和舟還國。令和齎敕諭暹羅國王,曰:「朕主宰天下,一視同仁。爾能恭事朝廷,屢遣使朝貢,朕用爾嘉。比聞滿喇加國王欲躬來朝而阻於王國,以朕度之,必非王意,皆王左右之人不能深思遠慮,阻絕道路,與鄰邦啟釁,斯豈長保富貴之道?王宜恪遵朕命,睦鄰通好,省諭下人,勿肆侵侮,則王能敬天事大,保國安民,和睦鄰境,以副朕同仁之心。」禮部言:「諸番貢使例有賜予,巫寶赤納非有貢物,給賞無例。」上曰:「遠人數萬里外來訴不平,豈可不賞!」遂賜紵絲、襲衣、綵帶、表裏、綿布,悉如他國貢使例。
ประมุขแห่งประเทศหมานหล่าเจียอู่เป่าชื่อน่าและคณะเดินทางมายังราชธานี กราบทูลว่า อาณาจักร(หมานหล่าเจีย)ประสงค์มาถวายบรรณาการแด่ราชสำนัก แต่ถูกขัดขวางโดยกษัตริย์แห่งเซียนหลัว เซียนหลัวต้องการจะโจมตีรุกรานประเทศนี้ ประเทศนี้ต้องการถวายฎีกา แต่หาผู้เขียนไม่ได้ บัดนี้กษัตริย์มีพระราชโองการให้ขุนนางสามคนแอบเดินทางมากับเรือบรรณาการของซูเหมินต๋าหลามายังราชธานี ขอร้องให้ราชสำนักส่งคนไปสั่งสอนกษัตริย์แห่งเซียนหลัวยุติความยโสโอหังไม่ให้กดขี่รังแก จะเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ มีพระราชโองการให้กรมพิธีการพระราชทานสิ่งของแก่อู่เป่าชื่อน่าและคณะ ให้เดินทางขึ้นเรือไปพร้อมกับหัวหน้าขันทีเจิ้งเหอกลับไปยังประเทศของตน มีพระราชโองการให้เหออัญเชิญพระราชโองการไปสั่งสอนกษัตริย์แห่งเซียนหลัว ความว่า........
หมิงสื่อ เล่มที่ ๓๐๔ ตอนชีวประวัติเจิ้งเหอ ระบุว่า
和經事三朝,先後七奉使,所歷占城、爪哇、真臘、舊港、暹羅、古裏、滿剌加、渤泥、蘇門答剌、阿魯、柯枝、大葛蘭、小葛蘭、西洋瑣裏、瑣裏、加異勒、阿撥把丹、南巫裏、甘把裏、錫蘭山、喃渤利、彭亨、急蘭丹、忽魯謨斯、比剌、溜山、孫剌、木骨都束、麻林、剌撒、祖法兒、沙裏灣泥、竹步、榜葛剌、天方、黎伐、那孤兒,凡三十餘國。
เหอรับราชการสามรัชกาล ทำหน้าที่ราชทูต ๗ ครั้ง เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้แก่ จ้านเฉิง(จามปา) เจ่าหวา(ชวา) เจินล่า(กัมพูชา) จิ้วกั่ง(ปาเล็มบัง) เซียนหลัว(สยาม) กู๋หลี่(คาลิคัท) หม่านหลาเจีย(มะละกา) โป๋หนี(บูรไน) ซูเหมินต๋าหลา(สุมาตรา) อาหลู่(อารู) เคอจือ(โกชิ) ต้าเก๋อหลาน เสี่ยวเก๋อหลาน ซีหยางสว่อหลี่ สว่อหลี่ เจียอี้เลย(ชายฝั่งตะวันออกปลายคาบสมุทรอินเดีย) อาโปป่าตาน หนานอูหลี่(ลัมบี ในอินเดีย) กานป๋าหลี่(กันยากุมารี) ซีหลานซาน(ศรีลังกา) หนานโป๋หลี่ เผิงเหิง(ปะหัง) จี๋หลานตาน(กลันตัน) ฮูหลู่โม๋ซือ (ฮอร์มุซ ในอิหร่าน) ปี่ล๋า ลิวซาน(มัลดีฟ) ซุนหลา(โซฟาลา ในโมซัมบิก) มู่กู่โตวซู่(โมกาดิชู ในโซมาเลีย) หมาหลิน(มาลินดี ในเคนยา) หลาซา(ในคาบสมุทรอาหรับ) จู๋ฝ่าเออร์(ซาฟาร์ ในเยเมน) ซาหลี่วานหนี(ราส์ชาร์วันอิน ในเยเมน) จู๋ปู้(ในโซมาเลีย) ป่างเก๋อหลา(เบงกอล) เทียนฟาง(เมกกะ) หลีฝา น่ากูเอ๋อร์(นากูร์ ในอินเดีย) รวมมากกว่า ๓๐ ประเทศ
หมิงสื่อ เล่มที่ ๓๒๔ ตอนประเทศสยาม ระบุว่า
其國有三寶廟,祀中官鄭和
ประเทศนั้นมีศาลเจ้าซานเป่า สำหรับสักการะขันทีเจิ้งเหอ
นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานการเดินทางเข้ามาในสยามของเจิ้งเหอในเอกสาร ตงซีหยางเข่า《東西洋考》หรือ บันทึกเรื่องประเทศในมหาสมุทรตะวันออกและตะวันตก เรียบเรียงโดยบัณฑิตสมัยราชวงศ์หมิงชื่อจางเซี่ย (張燮) ในรัชศกว่านลี่ (萬曆)
ในเล่มที่ ๒ บันทึกเรื่องประเทศในมหาสมุทรตะวันตก (西洋列國考) ตอนประเทศสยาม ได้บรรยายถึงสถานที่บริเวณกรุงศรีอยุทธยาที่เกี่ยวกับเจิ้งเหอไว้ ๔ แห่ง
錫門 華人出入必經之處,鄭和為建卓楔,扁曰天竺國。
ประตูดีบุก : สถานที่ที่ชาวจีนต้องใช้เดินทางเข้าออก เจิ้งเหอสร้างเสาตั้งไว้ จารึกภาษาชมพูทวีป
禮拜寺 永樂間,鄭和所建寺,甚宏麗,佛高與屋齊。
พระวิหาร : ในรัชศกหย่งเล่อ เจิ้งเหอให้สร้างวิหาร ใหญ่โตงดงามมาก พระพุทธรูปมีขนาดสูงใหญ่เท่าบ้าน
三寶廟 在第二關,祀太監鄭和。
ศาลซานเป่า : ตั้งอยู่ ณ ด่านที่สอง สำหรับสักการะหัวหน้าขันทีเจิ้งเหอ
西塔 其塔無合尖,聞夷人初建塔,功成,鄭和令削去之,後屢緝不能就。
เจดีย์ตะวันตก : ตัวเจดีย์ไม่มียอดทั้งหมด ได้ยินว่าชาวอี๋ (ชนพื้นเมือง) เป็นผูสร้างเจดีย์ขึ้นจนสำเร็จ เจิ้งเหอสั่งให้ตัดทิ้ง หลังจากนั้นมีผู้ซ่อมอีกหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ
หมิงสือลู่ (明實錄) ระบุว่า ในรัชศกหย่งเล่อปีที่ ๖ เดือน ๙ วันที่กุ๋ยโหย่ว (๑๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๔๐๘) ระบุว่า
癸酉,太監鄭和等賫敕使古里、滿剌加、蘇門答剌、阿魯、加異勒、爪哇、暹羅、占城、柯枝、阿撥把丹、小柯蘭、南巫里、甘巴里諸國,賜其國王錦綺、紗羅。
วันกุ๋ยโหย่ว หัวหน้าขันทีเจิ้งเหอและคณะรับพระราชโองการเป็นราชทูตเดินทางไปยัง กู๋หลี่ (คาลิคัต) หม่านหลาเจีย (มะละกา) ซูเหมินต๋าหลา (สมุทระ) อาหลู่ (อารู) เจียอี๋เลย (เมืองท่าชายฝั่งตะวันออกปลายคาบสมุทรอินเดีย) เจ่าวา (ชวา) เซียนหลัว (สยาม) จ้านเฉิง (จามปา) เคอจือ (โกชิ) อาโปป่าตาน (อัห์มดาบาด) เสี่ยวเคอหลาน (โคลัม) หนานอูหลี่ (ลัมบรี) กานปาหลี่ (กันยากุมารี) นานาประเทศ ไปพระราชทานผ้าทอลาย ผ้าไหมเนื้อละเอียด แพรต่วนแด่กษัตริย์ประเทศนั้นๆ”
ตรงกับหมิงสื่อ (明史) หรือพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ ๓๒๔ ตอนประเทศสยาม ระบุว่า
六年八月命中官張原送還國,賜王幣帛,令厚恤被殺者之家。九月,中官鄭和使其國,其王遣使貢方物,謝前罪。
(รัชศกหย่งเล่อ) ปีที่ ๖ เดือน ๘ มีพระราชโองการให้ส่งขันทีจางหยวนกลับไปยังประเทศนั้น พระราชทานเงินทองผ้าไหม....เดือน ๙ ขันทีเจิ้งเหอเป็นราชทูตไปยังประเทศนั้น กษัตริย์ประเทศนั้นส่งราชทูตและเครื่องบรรณาการและสิ่งของต่างๆ เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ (ที่ไปรุกรานมะละกากับสุมาตราก่อนหน้านี้)
หมิงสือลู่ รัชศกหย่งเล่อปีที่ ๒๐ เดือนแปด วันเหรินอิ๋น (๓ กันยายน ค.ศ. ๑๔๒๒) ระบุว่า
中官鄭和等使諸番國還。暹羅、蘇門答剌、哈丹等國悉遣使隨和貢方物。
ขันทีเจิ้งเหอและคณะที่ถูกส่งไปยังประเทศฟานทั้งหลายกลับมา เซียนหลัว ซูเหมินต๋าหลา ฮาตาน (เอเด็น) และราชทูตประเทศอื่นๆ ติดตามเหอมาถวายบรรณาการและสิ่งของต่างๆ
หมิงสื่อลู่ รัชศกเซฺวียนเต๋อปีที่ ๖ เดือน ๒ วันเหรินอิ๋น (๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๔๓๑) ระบุว่า
滿喇加國頭目巫寶赤納等至京,言「國王欲躬來朝貢,但為暹羅國王所阻。暹羅素欲侵害本國,本國欲奏,無能書者。今王令臣三人潛附蘇門答喇貢舟來京,乞朝廷遣人諭暹羅王無肆欺凌,不勝感恩之至。」上命行在禮部賜賫巫寶赤納等,遣附太監鄭和舟還國。令和齎敕諭暹羅國王,曰:「朕主宰天下,一視同仁。爾能恭事朝廷,屢遣使朝貢,朕用爾嘉。比聞滿喇加國王欲躬來朝而阻於王國,以朕度之,必非王意,皆王左右之人不能深思遠慮,阻絕道路,與鄰邦啟釁,斯豈長保富貴之道?王宜恪遵朕命,睦鄰通好,省諭下人,勿肆侵侮,則王能敬天事大,保國安民,和睦鄰境,以副朕同仁之心。」禮部言:「諸番貢使例有賜予,巫寶赤納非有貢物,給賞無例。」上曰:「遠人數萬里外來訴不平,豈可不賞!」遂賜紵絲、襲衣、綵帶、表裏、綿布,悉如他國貢使例。
ประมุขแห่งประเทศหมานหล่าเจียอู่เป่าชื่อน่าและคณะเดินทางมายังราชธานี กราบทูลว่า อาณาจักร(หมานหล่าเจีย)ประสงค์มาถวายบรรณาการแด่ราชสำนัก แต่ถูกขัดขวางโดยกษัตริย์แห่งเซียนหลัว เซียนหลัวต้องการจะโจมตีรุกรานประเทศนี้ ประเทศนี้ต้องการถวายฎีกา แต่หาผู้เขียนไม่ได้ บัดนี้กษัตริย์มีพระราชโองการให้ขุนนางสามคนแอบเดินทางมากับเรือบรรณาการของซูเหมินต๋าหลามายังราชธานี ขอร้องให้ราชสำนักส่งคนไปสั่งสอนกษัตริย์แห่งเซียนหลัวยุติความยโสโอหังไม่ให้กดขี่รังแก จะเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ มีพระราชโองการให้กรมพิธีการพระราชทานสิ่งของแก่อู่เป่าชื่อน่าและคณะ ให้เดินทางขึ้นเรือไปพร้อมกับหัวหน้าขันทีเจิ้งเหอกลับไปยังประเทศของตน มีพระราชโองการให้เหออัญเชิญพระราชโองการไปสั่งสอนกษัตริย์แห่งเซียนหลัว ความว่า........
หมิงสื่อ เล่มที่ ๓๐๔ ตอนชีวประวัติเจิ้งเหอ ระบุว่า
和經事三朝,先後七奉使,所歷占城、爪哇、真臘、舊港、暹羅、古裏、滿剌加、渤泥、蘇門答剌、阿魯、柯枝、大葛蘭、小葛蘭、西洋瑣裏、瑣裏、加異勒、阿撥把丹、南巫裏、甘把裏、錫蘭山、喃渤利、彭亨、急蘭丹、忽魯謨斯、比剌、溜山、孫剌、木骨都束、麻林、剌撒、祖法兒、沙裏灣泥、竹步、榜葛剌、天方、黎伐、那孤兒,凡三十餘國。
เหอรับราชการสามรัชกาล ทำหน้าที่ราชทูต ๗ ครั้ง เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้แก่ จ้านเฉิง(จามปา) เจ่าหวา(ชวา) เจินล่า(กัมพูชา) จิ้วกั่ง(ปาเล็มบัง) เซียนหลัว(สยาม) กู๋หลี่(คาลิคัท) หม่านหลาเจีย(มะละกา) โป๋หนี(บูรไน) ซูเหมินต๋าหลา(สุมาตรา) อาหลู่(อารู) เคอจือ(โกชิ) ต้าเก๋อหลาน เสี่ยวเก๋อหลาน ซีหยางสว่อหลี่ สว่อหลี่ เจียอี้เลย(ชายฝั่งตะวันออกปลายคาบสมุทรอินเดีย) อาโปป่าตาน หนานอูหลี่(ลัมบี ในอินเดีย) กานป๋าหลี่(กันยากุมารี) ซีหลานซาน(ศรีลังกา) หนานโป๋หลี่ เผิงเหิง(ปะหัง) จี๋หลานตาน(กลันตัน) ฮูหลู่โม๋ซือ (ฮอร์มุซ ในอิหร่าน) ปี่ล๋า ลิวซาน(มัลดีฟ) ซุนหลา(โซฟาลา ในโมซัมบิก) มู่กู่โตวซู่(โมกาดิชู ในโซมาเลีย) หมาหลิน(มาลินดี ในเคนยา) หลาซา(ในคาบสมุทรอาหรับ) จู๋ฝ่าเออร์(ซาฟาร์ ในเยเมน) ซาหลี่วานหนี(ราส์ชาร์วันอิน ในเยเมน) จู๋ปู้(ในโซมาเลีย) ป่างเก๋อหลา(เบงกอล) เทียนฟาง(เมกกะ) หลีฝา น่ากูเอ๋อร์(นากูร์ ในอินเดีย) รวมมากกว่า ๓๐ ประเทศ
หมิงสื่อ เล่มที่ ๓๒๔ ตอนประเทศสยาม ระบุว่า
其國有三寶廟,祀中官鄭和
ประเทศนั้นมีศาลเจ้าซานเป่า สำหรับสักการะขันทีเจิ้งเหอ
นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานการเดินทางเข้ามาในสยามของเจิ้งเหอในเอกสาร ตงซีหยางเข่า《東西洋考》หรือ บันทึกเรื่องประเทศในมหาสมุทรตะวันออกและตะวันตก เรียบเรียงโดยบัณฑิตสมัยราชวงศ์หมิงชื่อจางเซี่ย (張燮) ในรัชศกว่านลี่ (萬曆)
ในเล่มที่ ๒ บันทึกเรื่องประเทศในมหาสมุทรตะวันตก (西洋列國考) ตอนประเทศสยาม ได้บรรยายถึงสถานที่บริเวณกรุงศรีอยุทธยาที่เกี่ยวกับเจิ้งเหอไว้ ๔ แห่ง
錫門 華人出入必經之處,鄭和為建卓楔,扁曰天竺國。
ประตูดีบุก : สถานที่ที่ชาวจีนต้องใช้เดินทางเข้าออก เจิ้งเหอสร้างเสาตั้งไว้ จารึกภาษาชมพูทวีป
禮拜寺 永樂間,鄭和所建寺,甚宏麗,佛高與屋齊。
พระวิหาร : ในรัชศกหย่งเล่อ เจิ้งเหอให้สร้างวิหาร ใหญ่โตงดงามมาก พระพุทธรูปมีขนาดสูงใหญ่เท่าบ้าน
三寶廟 在第二關,祀太監鄭和。
ศาลซานเป่า : ตั้งอยู่ ณ ด่านที่สอง สำหรับสักการะหัวหน้าขันทีเจิ้งเหอ
西塔 其塔無合尖,聞夷人初建塔,功成,鄭和令削去之,後屢緝不能就。
เจดีย์ตะวันตก : ตัวเจดีย์ไม่มียอดทั้งหมด ได้ยินว่าชาวอี๋ (ชนพื้นเมือง) เป็นผูสร้างเจดีย์ขึ้นจนสำเร็จ เจิ้งเหอสั่งให้ตัดทิ้ง หลังจากนั้นมีผู้ซ่อมอีกหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์
อาวุธยุทโธปกรณ์
:: ในปี ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) เจิ้งเหอนำทัพเรือ 300 ลำบุกประเทศไทย
และมีการแวะเวียนมาประเทศไทย สมัยนั้นตรงกับสมัยใดของไทย
ประเทศไทยมีการบันทึกประวัติศาสตร์ตอนนี้ไว้หรือไม่อย่างไรครับ ???
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้