ตำนานคน
แซ่เบ๊ (เบ๊ จัตวา) ที่มาจาก หมู่บ้านฮั่วเพ้ง
ตำบลเต่เอี๊ย อำเภอซัวเถา จังหวัดกวางตุ้ง
เรื่องเล่าเรื่องนี้รับฟังจากคำบอกเล่าจาก
แม่แซ่โง๊วที่รับฟังมาจากพ่อแซ่เบ๊
ปะติปะต่อกับความทรงจำที่ได้รับการบอกเล่าจากอีกหลายคน
และการวิเคราะห์สรุปส่วนตัวส่วนหนึ่ง
ด้วยความจำกัดทางด้านภาษาจีน/ความจำ
หากมีข้อบกพร่องผิดพลาดประการใด
ผู้เขียนบันทึกนี้ขอรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว
หากมีข้อมูลเพิ่มเติมประการใด
ก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ตำนานหฤโหด
คนแซ่เบ๊ ที่หมู่บ้านฮั่วเพ้ง ตำบลเต่เอี๊ย อำเภอซัวเถา
สมัยก่อนคนแต่ละแซ่มักจะอยู่กันเป็นหมู่บ้าน
หมู่บ้านไหนแซ่ไหนมากก็จะอยู่รวมตัวกัน
ใครมีพี่น้องผู้ชายมากกว่าก็จะได้เปรียบกว่า
เรียกว่าพวกมาก จะทำตนเป็นอันธพาล
ก็มักจะมีคนเกรงอกเกรงใจไม่อยากมีเรื่องด้วย
ที่ฮั่วเพ้ง เมืองจีนในยุคนั้น
วันร้ายคืนร้าย มีการทะเลาะเบาะแว้งขึ้นมา
ระหว่างคนแซ่เบ๊ กันคน
แซ่แซ่ มีการอาฆาตกัน
และคนแซ่แซ่ประกาศว่าจะมีการฆ่าล้างบางกันให้ดู
ตกเย็นนั้นก็มีข่าวลือกันว่า
บ้านไหนที่เป็นคนแซ่เบ๊ให้กากะบาดสีดำ
หรือเขียนวงกลมสีดำไว้หน้าประตูบ้าน
จริง ๆ ในท้องถิ่นก็ทราบกันแล้วว่า
บ้านไหนคนชื่อแซ่อะไรมีใครบ้าง
แต่นี่คือตำนานก็เขียนตามตำนาน
ในคืนนั้น พรรคพวกของคนแซ่แซ่
ก็เข้ามาฆ่าล้างบางกันจริง ๆ เรียกว่าตายยกแซ่เบ๊
ลูกหลานลูกเมียผู้หญิงผู้ชายเด็กเล็กคนชราที่แซ่เบ๊
ถูกฆ่าตายจนเกือบหมดสิ้น
เหลือคนสุดท้ายที่เป็นต้นสกุล หรือ เซียะโจ๊ว
ไม่แน่ใจว่าชื่อ ข่ง หรือ ซ่ง
เพราะประมาณแปดชั่วอายุคนแล้ว
จึงมีข้อห้ามลูกหลานตั้งชื่อเลียนแบบท่าน
หรือแม้ว่าจะให้เกียรติกับท่าน
เพราะมักจะไม่เจริญรุ่งเรืองหรือมีโรคภัยมาก
กลุ่มคนแซ่แซ่ที่มาไล่ล่าฆ่าฟันคนแซ่เบ๊
ไม่ต่างกับพวกฮูตูหรือทุ่ซซี่ ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันในราวันดา
พวกอินโดนีเซียที่ไล่ฆ่าคนเชื้อสายจีนแถวรอบนอก
คนไทยไล่ฆ่าคนจีนข้อหาอั้งยี่สมัยรัชกาลที่ 3
แถวพนัสนิคม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี มีในพงศาวดาร
เซียะโจ๊วนอนป่วยพะงาบ ๆ หลบอยู่ใต้เตียง
ทีแรกหลายคนจะฆ่าท่านทิ้งแล้ว แต่มีบางคนทักว่า
" ช่างมันเถอะ ยังไงมันก็ตายอยู่แล้ว ดูอาการมัน
หน้าตามัน ซีดเซียว เหลืองอ๋อย นอนพะงาบ ๆ อยู่
ไม่ช้าก็ตายแน่นอนอยู่แล้ว ไปฆ่าคนอื่นต่อ มันดีวะ "
เลยปล่อยท่านนอนป่วยที่ใต้เตียงตามเดิม
รุ่งขึ้นมีการมาตรวจสอบจากชาวบ้านละแวกใกล้เคียง
กรมการเมือง/ราชการบ้านเมืองก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก
เพราะสมัยนั้นอำนาจรัฐอ่อนแอ
ยิ่งไกลชุมชนเมืองก็ยิ่งเป็นง่อยไปโดยปริยาย
ท่านเลยรอดชีวิตแล้วหนีไปอยู่กับยายที่แซ่โง๊ว
ซึ่งหมู่บ้านนี้มีผู้ชายมากและมีอิทธิพลกับนักเลงพอตัว
ทำให้ท่านรอดชีวิตมาจนเผยแพร่ลูกหลานฮั่วเพ้งเบ๊
มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ช่วงท่านอยู่กับยายที่ดูแลเลี้ยงดูท่าน
ท่านเลี้ยงเป็ดขายไข่เป็ด ปรากฎว่าเป็ดออกไข่ให้วันละ 2 ฟอง
น่าจะมาจากสายพันธุ์ดี อาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์เพราะอยู่ใกล้กับทะเล
และการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
ทำให้ท่านมีฐานะการเงินและร่ำรวยมากขึ้น
สามารถแต่งงานมีลูกเมียขยายเชื้อสายจนแพร่หลาย
แล้วเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเดิมท่านเป็น ฮั่วเพ้ง แปลว่า สันติภาพ
เพื่อให้เป็นมงคลนามกับการอยู่อาศัยกับให้ลืมเรื่องในอดีต
เซียะโจ๊วบรรพบุรุษฮั่วเพ้งเบ๊
มีคำสาป/ข้อห้ามประจำสายสกุลคือ
ห้ามลูกหลานเหลนโหลนลื้อ ฯลฯ ทั้งหญิงและชาย
แต่งงานกับคน
แซ่แซ่ โดยเด็ดขาด
ใครไม่เชื่อคำห้ามขอให้ประสบแต่ภัยพิบัติวอดวาย
เพราะช่วงหลังแซ่เบ๊ยังได้รับการเบียดเบียนจากแซ่แซ่
แม้ว่าท่านจะมีข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองมากมายแล้วก็ตาม
ที่หาดใหญ่ แม่เล่าให้ฟังว่า
ลูกหลานฮั่วเพ้งเบ๊สองตระกูลไปแต่งงานกับคนแซ่แซ่
แม้ว่าจะมีคนทักท้วงแล้วก็ไม่ฟัง
สุดท้ายก็มีภัยพิบัติตามคำห้าม
การสู่ขอลูกสาว/ลูกชายของคนฮั่วเพ้งเบ๊
จะต้องถามแซ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงก่อนเสมอ
แต่เรื่องนี้อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล
แม่เล่าว่าพ่อรู้จักสนิทสนมกับชายหญิง 2 ครอบครัวในหาดใหญ่
มารู้ที่หลังว่าแซ่แซ่ แต่ทั้งสองคนต่างก็เป็นคนดี
แม่สรุปว่า ทุกสกุลทุกแซ่ต่างมีคนดีมีคนเลวไม่ต่างกันมากนัก
เรื่องนี้เคยสอบถามแม่ว่า แล้วที่คนแซ่เบ๊
จะมีมากมายขนาดนี้เป็นไปได้หรือ
ถ้าตามหลักวิชาของ ทอมัส โรเบิร์ต มาลธัส
ก็จะอธิบายได้ส่วนหนึ่ง หรือถ้าอีกแบบหนึ่งคือ
สมัยก่อนบ้านไหนไม่มีลูกชาย
ก็จะให้ลูกเขยมาอยู่ในบ้าน
ลูกที่เกิดจากฝ่ายหญิงของครอบครัว
ถ้าเป็นชายก็ให้ใช้แซ่ฝ่ายหญิงไปเลย
หรือ ข้าทาสบริวารใดที่เชื่อถือได้หรือซื่อสัตย์
ก็ให้ใช้แซ่ของสกุลตนเองได้เช่นกัน
หรือมีตำนาน ถังไทจงฮ่องเต้ ขึ้นครองราชย์ไม่นานนัก
บรรดานายทหารและผู้ติดตามหลายคนนับเป็นหมื่นครอบครัว
ขอใช้แซ่หลี เป็นเกียรติยศกับท่านและวงศ์ตระกูลสืบไป
ฮั่วเพ้งเบ๊ มีการขยายสายไปอีกที่
รอบหมู่บ้านมีหมู่บ้านคนแซ่โง๊วล้อมรอบ
ทำให้เรียกกันว่า ซากักเบ๊ หรือ ม้าสามขา
ต้นตระกูล นายกบรรหาร จะอยู่ที่หมู่บ้านนี้
ส่วนธรรมเนียมหรือความเชื่อแต่เดิมคือ
วันเช็งเม้งของลูกหลานฮั่วเพ้งเบ๊
จะแย่งกันปักธูปหน้าฮวงจุ๊ยเซียะโจ๊ว
พอพระอาทิตย์โผล่ขอบฟ้าในวันนั้น
ครอบครัวไหนปักได้ก่อน มักจะได้บุตรชาย
ทำให้มีการแย่งชิงกันมาก เรียกว่าเป็นประเพณี
แต่ที่ทราบคือ หลุมศพถูกทุบทิ้งและทำลายไปแล้ว
กลายเป็นที่นา/สาธารณประโยชน์สมัยคอมมิวนิสต์ปกครองจีน
ในยุคเมาเซตุง เมามันอำนาจในเมืองจีน
ต้องการทำลายล้างความเชื่อทุกอย่าง
ให้เชื่อพวกมันแต่ฝ่ายเดียว
เลวร้ายพอ ๆ กับเขมรแดง
คนฮั่วเพ้งเบ๊ ที่มาทำมาหากินในเมืองไทย
ส่วนมากจะมาเปิดร้านทอง ร้านขายอะหลั่ย โรงรับจำนำในกรุงเทพฯ
พอร่ำรวยก็มาร่วมก่อตั้งฮั่วเคี๊ยวปอเต็กเซี่ยงตึ้ง
ในยุคแรกในประวัติมูลนิธิปอเต็กตึ้ง
จะเห็นว่ามีกรรมการหลายคนที่แซ่เบ๊
จากคำบอกเล่าว่า ในยุคแรก ๆ ต้องมีคนแซ่เบ๊เป็นกรรมการร่วมประจำหนึ่งคน
แต่ต่อมามีการโยกย้ายสับเปลี่ยนจนตำแหน่งประจำในนี้หายไป
เพราะเงินมีมากก็มีคนบางคนอยากได้ตำแหน่ง
จะได้เลี้ยงช้างก็ค่อยเคี้ยวอ้อยช้างที่ตกหล่น
หรือเหลือบไรเห็บมักจะมีอยู่ตามตัวแม่วัวนมที่ยังเป็น ๆ อยู่
มีช่วงหนึ่งที่เงินทุนปอเต็กตึ้งขาดแคลน
กรรมการมูลนิธิที่มีคนแแซ่เบ๊หลายคน
ต่างบากหน้าไปขอพระราชทานเงินบริจาคจากรัชกาลที่ 6
เป็นเรื่องเสี่ยงต่อการคอขาดบาดตาย
เพราะในยุคนั้นมีการแอนตี้คนจีนพอสมควร
โดยมีวาทกรรมว่า คนจีนคือ คนยิวแห่งบูรพา
ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ในยุคสมัยนั้น
หรือตำราหนังสือสมัยก่อนที่มีการเขียนไว้
ข้าราชบริพารหรือพวกลูกขุนคอยพยัก
มักจะกีดกันหรือกลั่นแกล้งคนจีนในยุคนั้น
รัชกาลที่ 6 ทรงทศพิธราชธรรม
ได้ทรงบริจาคเงินก้อนหนึ่งมาช่วยเหลือมูลนิธิ
ทำให้มูลนิธิรอดตัวจากขาดทุนหมดเนื้อหมดตัวไปได้
และบริหารงานจนมีชื่อเสียงก้าวหน้าในปัจจุบัน
ฮั่วเพ้งเบ๊ ที่เป็นนักเลงหัวไม้หรือมาเฟีย
ที่ดังมากในภาพยนตร์เรื่อง
หม่าหย่งเจิน
มีตัวตนจริงมาจากฮั่วเพ้งเบ๊
เป็นคนแต้จิ๋วที่พาสมัครพรรคพวก
ไปทำมาหากินจนกลายเป็นมาเฟียที่ซังไห่(เซี่ยงไฮ้)
เรื่องนี้เคยถามหลานชาย
ลูกพี่ลูกน้องแม่ที่เป็นสตรีมาจากเซี่ยงไฮ้
ฟังพวกแกพูดภาษาจีนกลางสำเนียงฟังยากมาก
แกบอกว่าเป็นสำเนียงของที่นั่นเฉพาะ
และที่นั่นแกไม่อยากพูดภาษาแต้จิ๋วเลย
เพราะซังไห่มักจะดูถูกคนแต้จิ๋วว่า
เป็นพวกบ้านนอกรับจ้างทำทุกอย่างไม่เลือกอาชีพ
ข้อสำคัญชื่อเสียง นักเลงหัวไม้แต่เดิม
ทำให้คนเซี่ยงไฮ้ยังรังเกียจอยู่จนทุกวันนี้
คนแซ่เบ๊ที่เป็นขุนนางกังฉินในพงศาวดารก็มี
แต่จำเรื่องไม่ได้แล้วว่าเป็นเรื่องอะไร
ส่วนคำที่คนแซ่เบ๊ รังเกียจมากสุดถือว่าเป็นคำดูถูกคือ
การออกเสียงว่า
เบ้ มีนัยว่าเป็นคนรับใช้หรือทาสรับใช้เหมือนม้า
คำที่โกรธมากคือ
เล่าเบ๊ ม้าแก่ ที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว
ในไทยคนแซ่เบ๊มักจะพูดกันว่า
ถ้าทำดีจะเรียกว่า
ห่อเบ๊
มีอดีตนายกรัฐมนตรีไทย 2 ท่าน
ถ้าทำเลวจะเรียกว่า
เช๊าเบ๊
มีนักการเมืองทุจริตคดีคลองห่านกับเรื่องเลือกตั้ง
บางตำนานแซ่เบ๊สืบเชื้อสายมาจากพวกตะวันตกของจีน
หรือชนเผ่ากลุ่มน้อยเป็นพวกแขก
ดังจะเห็นได้จากรูปร่างหน้าตาว่าไม่เหมือนคนจีนผืนแผ่นดินใหญ่ทีเดียว
มีตาสองชั้น ตาสีน้ำตาล ไม่ใช่สีดำ ผมสีแดง หรือผมหยิกในบางคน
ลูกหลานบางคนจะหน้าตา ไม่ค่อยเหมือนคนจีนทั่ว ๆ ไป
ดูคล้าย ๆ กับคนมุสลิมจีนไปเลยก็มี
คนแซ่เบ๊ จะมีลักษณะเด่นอย่าง คือ
การเปลี่ยนมาใช้นามสกุลแบบไทย ๆ แล้ว
ยังมีการรักษารากศัพท์หรือแซ่เดิมไว้เช่น
อาชา สินธพ มโนมัย อัศวะ อัสสะ มานะ มาก
ส่วนแซ่เบ๊ บางแซ่จะมีตัวสะกดไม่เหมือนกัน
บางคนต้องการแยกจากครอบครัวเดิม
เพื่อไปตั้งรกรากใหม่/สายสกุลใหม่
บางคนต้องหาคดีความหรือเป็นผู้ร้ายแผ่นดิน
ไม่อยากให้ครอบครัวเดิมเดือดร้อนเสียชื่อเสียงหรือแซ่เสียหาย
จึงเปลี่ยนแซ่เสียใหม่โดยรักษารากฐานเดิมไว้
เพราะคนไม่มีรากเง่าหรือประวัติศาสตร์ครอบครัว
มักจะทำอะไรที่ไม่แคร์ใครหรือทำอะไรไม่ต้องห่วงหน้าพะวังหลัง
ข้อมูลเพิ่มเติม
คนแซ่เบ๊ (ไม้จัตวา) ตามคำเรียกคนแต้จิ้ว
หรือ หม่า ตามภาษาจีนกลาง
มีปรากฎคนมีชื่อเสียงในพงศาวดารแรกเริ่มของแซ่นี้
ในยุคสามก๊กในปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823
ตัวเลข 543 คริตศาสนา 1122 ฮิจเราะห์อิสลาม
หักออกจากพุทธศักราช หรือ 622 หักออกจากคริสตศักราช
หรือคศ.220-280 หรือ 359-399 ก่อนฮศ.
ม้าเฉียว หนึ่งในขุนพลยุคสามก๊ก
เกิดที่มณฑลซานซี ทิศตะวันออกของจีน
เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของม้าเท้ง เจ้าเมืองเสเหลียง
ม้าเฉียวนั้นเป็นที่รักใคร่ของชนกลุ่มน้อยทางภาคตะวันตก
ตั้งแต่เผ่าเกี๋ยง เผ่าตี๋ รวมถึงเผ่าซงหนู
จนถูกขนานนานได้ว่าเป็นเทพเจ้าของชนเผ่า
ทำให้หลายต่อหลายคนนิยมใช้แซ่เบ๊
แซ่เบ๊มีมายุคประมาณก่อนคริสตศักราช
เมืองที่นักรบกลุ่มนี้อาศัยอยู่
เป็นย่านตะวันตกของจีนหรือ
เรียกว่าพวกเผ่าอนารยชนหรือพวกนักรบบ้านนอก
นิยมการขี่ม้าทำศึกสงคราม
เรียกง่าย ๆ ว่าพวกนักรบอาชีพหรือนักรบรับจ้าง
แซ่หม่า มีมากในเขตซินเกียงหรือดินแดนนับถือศาสนาอิสลาม
เพราะส่วนหนึ่งนำมาจากพระนามศาสดานบี มะหะหมัด หรือ โมฮัมเหม็ด
มาตั้งเป็นศิริมงคลกับชื่อของพวกตน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://goo.gl/rvw7nO
แซ่ หม่า (สำเนียงจีนกลาง) หรือ แซ่เบ๊ (สำเนียงแต้จิ๋ว)
มีความหมายหรือ แปลว่า (1) ม้า (2) ติ้วนับจำนวน
(3) ใหญ่โต (4) นามสกุล (แซ่)
แซ่นี้เก็บอยู่ใน ทำเนียบร้อยแซ่ กระจายอยู่กว้างขวางอย่างยิ่ง
มีจำนวนคนมากมาย มีที่มา 4 ทาง
1. บรรพชนถือกำเนิดมาแต่สมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อน ค.ศ.)
จ้าวเซอ โอรสจ้าวอ๋อง ได้รับแต่งตั้งให้มีอิสริยยศเป็นหม่าฝูจุน
เจ้าแห่งหม่าฝู หม่าฝูอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองหานตานในมณฑลเหอเป่ย
ลูกหลานใช้ หม่าฝู เป็นแซ่ ภายหลังตัดเหลือแต่ หม่า ตัวเดียว
2. หม่าชิ่งเสียง คนสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234)
เดิมทีเป็นชนชาติทางตะวันตก ต่อมาเข้ามาตั้งภูมิลำเนาในเมืองหลินถาว
(อยู่มณฑลกานสูในปัจจุบัน) ใช้ หม่า เป็นแซ่
3. ย้วยไน่เหอ คนสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234)
บรรพบุรุษเป็นผู้ฝึกม้าให้ราชวงศ์จิน จึงเปลี่ยนแซ่เป็น หม่า
4. ชาวมุสลิมนอกกำแพงเมืองจีนที่นับถือ นบี มะหะหมัด
ตั้งแซ่ว่า หม่า เป็นการนอบน้อมเคารพท่านทางหนึ่ง
มีบุคคลแซ่ หม่า ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ เช่น
หม่าจิน นักประดิษฐ์เครื่องกลไกสมัยสามก๊ก ประดิษฐ์รถเข็มทิศ รถมังกรให้น้ำ
หม่าจื้อหยวน นักเขียนบทละครร้อง แต่งละครเรื่อง ฤดูใบไม้ร่วงในวังฮั่น
มีชื่อเสียงเท่าเทียมกับกวนฮั่นชิง ไป่ฝู่ เจิ้นกวงจู่ รวมเรียกเป็น 4 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งละครร้อง
หม่าจื้อจง นักคิดปฏิรูปชนชั้นนายทุนยุคใกล้ นักภาษาศาสตร์
เคยเสนอความเห็นให้ปฏิรูปการเมือง พัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมทุนนิยม
ค้นคว้าภาษาศาสตร์ของจีนอย่างลึกซึ้ง แต่งหนังสือชื่อ ว่าด้วยอักษรศาสตร์
เป็นข้อเขียนทางวิชาการเกี่ยวกับไวยากรณ์จีนอย่างค่อนข้างเป็นระบบเล่มแรกของจีน
แซ่นี้ มีสมาคมอยู่ในเมืองไทย มีชื่อว่า สมาคมมานะสัมพันธ์
ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ.2509 ตั้งอยู่ที่ 849/22-23 ถนนบรรทัดทอง จุฬาซอย 6
ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
ตำนานคนแซ่เบ๊
ตำบลเต่เอี๊ย อำเภอซัวเถา จังหวัดกวางตุ้ง
เรื่องเล่าเรื่องนี้รับฟังจากคำบอกเล่าจาก
แม่แซ่โง๊วที่รับฟังมาจากพ่อแซ่เบ๊
ปะติปะต่อกับความทรงจำที่ได้รับการบอกเล่าจากอีกหลายคน
และการวิเคราะห์สรุปส่วนตัวส่วนหนึ่ง
ด้วยความจำกัดทางด้านภาษาจีน/ความจำ
หากมีข้อบกพร่องผิดพลาดประการใด
ผู้เขียนบันทึกนี้ขอรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว
หากมีข้อมูลเพิ่มเติมประการใด
ก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ตำนานหฤโหด
คนแซ่เบ๊ ที่หมู่บ้านฮั่วเพ้ง ตำบลเต่เอี๊ย อำเภอซัวเถา
สมัยก่อนคนแต่ละแซ่มักจะอยู่กันเป็นหมู่บ้าน
หมู่บ้านไหนแซ่ไหนมากก็จะอยู่รวมตัวกัน
ใครมีพี่น้องผู้ชายมากกว่าก็จะได้เปรียบกว่า
เรียกว่าพวกมาก จะทำตนเป็นอันธพาล
ก็มักจะมีคนเกรงอกเกรงใจไม่อยากมีเรื่องด้วย
ที่ฮั่วเพ้ง เมืองจีนในยุคนั้น
วันร้ายคืนร้าย มีการทะเลาะเบาะแว้งขึ้นมา
ระหว่างคนแซ่เบ๊ กันคนแซ่แซ่ มีการอาฆาตกัน
และคนแซ่แซ่ประกาศว่าจะมีการฆ่าล้างบางกันให้ดู
ตกเย็นนั้นก็มีข่าวลือกันว่า
บ้านไหนที่เป็นคนแซ่เบ๊ให้กากะบาดสีดำ
หรือเขียนวงกลมสีดำไว้หน้าประตูบ้าน
จริง ๆ ในท้องถิ่นก็ทราบกันแล้วว่า
บ้านไหนคนชื่อแซ่อะไรมีใครบ้าง
แต่นี่คือตำนานก็เขียนตามตำนาน
ในคืนนั้น พรรคพวกของคนแซ่แซ่
ก็เข้ามาฆ่าล้างบางกันจริง ๆ เรียกว่าตายยกแซ่เบ๊
ลูกหลานลูกเมียผู้หญิงผู้ชายเด็กเล็กคนชราที่แซ่เบ๊
ถูกฆ่าตายจนเกือบหมดสิ้น
เหลือคนสุดท้ายที่เป็นต้นสกุล หรือ เซียะโจ๊ว
ไม่แน่ใจว่าชื่อ ข่ง หรือ ซ่ง
เพราะประมาณแปดชั่วอายุคนแล้ว
จึงมีข้อห้ามลูกหลานตั้งชื่อเลียนแบบท่าน
หรือแม้ว่าจะให้เกียรติกับท่าน
เพราะมักจะไม่เจริญรุ่งเรืองหรือมีโรคภัยมาก
กลุ่มคนแซ่แซ่ที่มาไล่ล่าฆ่าฟันคนแซ่เบ๊
ไม่ต่างกับพวกฮูตูหรือทุ่ซซี่ ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันในราวันดา
พวกอินโดนีเซียที่ไล่ฆ่าคนเชื้อสายจีนแถวรอบนอก
คนไทยไล่ฆ่าคนจีนข้อหาอั้งยี่สมัยรัชกาลที่ 3
แถวพนัสนิคม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี มีในพงศาวดาร
เซียะโจ๊วนอนป่วยพะงาบ ๆ หลบอยู่ใต้เตียง
ทีแรกหลายคนจะฆ่าท่านทิ้งแล้ว แต่มีบางคนทักว่า
" ช่างมันเถอะ ยังไงมันก็ตายอยู่แล้ว ดูอาการมัน
หน้าตามัน ซีดเซียว เหลืองอ๋อย นอนพะงาบ ๆ อยู่
ไม่ช้าก็ตายแน่นอนอยู่แล้ว ไปฆ่าคนอื่นต่อ มันดีวะ "
เลยปล่อยท่านนอนป่วยที่ใต้เตียงตามเดิม
รุ่งขึ้นมีการมาตรวจสอบจากชาวบ้านละแวกใกล้เคียง
กรมการเมือง/ราชการบ้านเมืองก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก
เพราะสมัยนั้นอำนาจรัฐอ่อนแอ
ยิ่งไกลชุมชนเมืองก็ยิ่งเป็นง่อยไปโดยปริยาย
ท่านเลยรอดชีวิตแล้วหนีไปอยู่กับยายที่แซ่โง๊ว
ซึ่งหมู่บ้านนี้มีผู้ชายมากและมีอิทธิพลกับนักเลงพอตัว
ทำให้ท่านรอดชีวิตมาจนเผยแพร่ลูกหลานฮั่วเพ้งเบ๊
มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ช่วงท่านอยู่กับยายที่ดูแลเลี้ยงดูท่าน
ท่านเลี้ยงเป็ดขายไข่เป็ด ปรากฎว่าเป็ดออกไข่ให้วันละ 2 ฟอง
น่าจะมาจากสายพันธุ์ดี อาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์เพราะอยู่ใกล้กับทะเล
และการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
ทำให้ท่านมีฐานะการเงินและร่ำรวยมากขึ้น
สามารถแต่งงานมีลูกเมียขยายเชื้อสายจนแพร่หลาย
แล้วเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเดิมท่านเป็น ฮั่วเพ้ง แปลว่า สันติภาพ
เพื่อให้เป็นมงคลนามกับการอยู่อาศัยกับให้ลืมเรื่องในอดีต
เซียะโจ๊วบรรพบุรุษฮั่วเพ้งเบ๊
มีคำสาป/ข้อห้ามประจำสายสกุลคือ
ห้ามลูกหลานเหลนโหลนลื้อ ฯลฯ ทั้งหญิงและชาย
แต่งงานกับคนแซ่แซ่ โดยเด็ดขาด
ใครไม่เชื่อคำห้ามขอให้ประสบแต่ภัยพิบัติวอดวาย
เพราะช่วงหลังแซ่เบ๊ยังได้รับการเบียดเบียนจากแซ่แซ่
แม้ว่าท่านจะมีข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองมากมายแล้วก็ตาม
ที่หาดใหญ่ แม่เล่าให้ฟังว่า
ลูกหลานฮั่วเพ้งเบ๊สองตระกูลไปแต่งงานกับคนแซ่แซ่
แม้ว่าจะมีคนทักท้วงแล้วก็ไม่ฟัง
สุดท้ายก็มีภัยพิบัติตามคำห้าม
การสู่ขอลูกสาว/ลูกชายของคนฮั่วเพ้งเบ๊
จะต้องถามแซ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงก่อนเสมอ
แต่เรื่องนี้อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล
แม่เล่าว่าพ่อรู้จักสนิทสนมกับชายหญิง 2 ครอบครัวในหาดใหญ่
มารู้ที่หลังว่าแซ่แซ่ แต่ทั้งสองคนต่างก็เป็นคนดี
แม่สรุปว่า ทุกสกุลทุกแซ่ต่างมีคนดีมีคนเลวไม่ต่างกันมากนัก
เรื่องนี้เคยสอบถามแม่ว่า แล้วที่คนแซ่เบ๊
จะมีมากมายขนาดนี้เป็นไปได้หรือ
ถ้าตามหลักวิชาของ ทอมัส โรเบิร์ต มาลธัส
ก็จะอธิบายได้ส่วนหนึ่ง หรือถ้าอีกแบบหนึ่งคือ
สมัยก่อนบ้านไหนไม่มีลูกชาย
ก็จะให้ลูกเขยมาอยู่ในบ้าน
ลูกที่เกิดจากฝ่ายหญิงของครอบครัว
ถ้าเป็นชายก็ให้ใช้แซ่ฝ่ายหญิงไปเลย
หรือ ข้าทาสบริวารใดที่เชื่อถือได้หรือซื่อสัตย์
ก็ให้ใช้แซ่ของสกุลตนเองได้เช่นกัน
หรือมีตำนาน ถังไทจงฮ่องเต้ ขึ้นครองราชย์ไม่นานนัก
บรรดานายทหารและผู้ติดตามหลายคนนับเป็นหมื่นครอบครัว
ขอใช้แซ่หลี เป็นเกียรติยศกับท่านและวงศ์ตระกูลสืบไป
ฮั่วเพ้งเบ๊ มีการขยายสายไปอีกที่
รอบหมู่บ้านมีหมู่บ้านคนแซ่โง๊วล้อมรอบ
ทำให้เรียกกันว่า ซากักเบ๊ หรือ ม้าสามขา
ต้นตระกูล นายกบรรหาร จะอยู่ที่หมู่บ้านนี้
ส่วนธรรมเนียมหรือความเชื่อแต่เดิมคือ
วันเช็งเม้งของลูกหลานฮั่วเพ้งเบ๊
จะแย่งกันปักธูปหน้าฮวงจุ๊ยเซียะโจ๊ว
พอพระอาทิตย์โผล่ขอบฟ้าในวันนั้น
ครอบครัวไหนปักได้ก่อน มักจะได้บุตรชาย
ทำให้มีการแย่งชิงกันมาก เรียกว่าเป็นประเพณี
แต่ที่ทราบคือ หลุมศพถูกทุบทิ้งและทำลายไปแล้ว
กลายเป็นที่นา/สาธารณประโยชน์สมัยคอมมิวนิสต์ปกครองจีน
ในยุคเมาเซตุง เมามันอำนาจในเมืองจีน
ต้องการทำลายล้างความเชื่อทุกอย่าง
ให้เชื่อพวกมันแต่ฝ่ายเดียว
เลวร้ายพอ ๆ กับเขมรแดง
คนฮั่วเพ้งเบ๊ ที่มาทำมาหากินในเมืองไทย
ส่วนมากจะมาเปิดร้านทอง ร้านขายอะหลั่ย โรงรับจำนำในกรุงเทพฯ
พอร่ำรวยก็มาร่วมก่อตั้งฮั่วเคี๊ยวปอเต็กเซี่ยงตึ้ง
ในยุคแรกในประวัติมูลนิธิปอเต็กตึ้ง
จะเห็นว่ามีกรรมการหลายคนที่แซ่เบ๊
จากคำบอกเล่าว่า ในยุคแรก ๆ ต้องมีคนแซ่เบ๊เป็นกรรมการร่วมประจำหนึ่งคน
แต่ต่อมามีการโยกย้ายสับเปลี่ยนจนตำแหน่งประจำในนี้หายไป
เพราะเงินมีมากก็มีคนบางคนอยากได้ตำแหน่ง
จะได้เลี้ยงช้างก็ค่อยเคี้ยวอ้อยช้างที่ตกหล่น
หรือเหลือบไรเห็บมักจะมีอยู่ตามตัวแม่วัวนมที่ยังเป็น ๆ อยู่
มีช่วงหนึ่งที่เงินทุนปอเต็กตึ้งขาดแคลน
กรรมการมูลนิธิที่มีคนแแซ่เบ๊หลายคน
ต่างบากหน้าไปขอพระราชทานเงินบริจาคจากรัชกาลที่ 6
เป็นเรื่องเสี่ยงต่อการคอขาดบาดตาย
เพราะในยุคนั้นมีการแอนตี้คนจีนพอสมควร
โดยมีวาทกรรมว่า คนจีนคือ คนยิวแห่งบูรพา
ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ในยุคสมัยนั้น
หรือตำราหนังสือสมัยก่อนที่มีการเขียนไว้
ข้าราชบริพารหรือพวกลูกขุนคอยพยัก
มักจะกีดกันหรือกลั่นแกล้งคนจีนในยุคนั้น
รัชกาลที่ 6 ทรงทศพิธราชธรรม
ได้ทรงบริจาคเงินก้อนหนึ่งมาช่วยเหลือมูลนิธิ
ทำให้มูลนิธิรอดตัวจากขาดทุนหมดเนื้อหมดตัวไปได้
และบริหารงานจนมีชื่อเสียงก้าวหน้าในปัจจุบัน
ฮั่วเพ้งเบ๊ ที่เป็นนักเลงหัวไม้หรือมาเฟีย
ที่ดังมากในภาพยนตร์เรื่อง หม่าหย่งเจิน
มีตัวตนจริงมาจากฮั่วเพ้งเบ๊
เป็นคนแต้จิ๋วที่พาสมัครพรรคพวก
ไปทำมาหากินจนกลายเป็นมาเฟียที่ซังไห่(เซี่ยงไฮ้)
เรื่องนี้เคยถามหลานชาย
ลูกพี่ลูกน้องแม่ที่เป็นสตรีมาจากเซี่ยงไฮ้
ฟังพวกแกพูดภาษาจีนกลางสำเนียงฟังยากมาก
แกบอกว่าเป็นสำเนียงของที่นั่นเฉพาะ
และที่นั่นแกไม่อยากพูดภาษาแต้จิ๋วเลย
เพราะซังไห่มักจะดูถูกคนแต้จิ๋วว่า
เป็นพวกบ้านนอกรับจ้างทำทุกอย่างไม่เลือกอาชีพ
ข้อสำคัญชื่อเสียง นักเลงหัวไม้แต่เดิม
ทำให้คนเซี่ยงไฮ้ยังรังเกียจอยู่จนทุกวันนี้
คนแซ่เบ๊ที่เป็นขุนนางกังฉินในพงศาวดารก็มี
แต่จำเรื่องไม่ได้แล้วว่าเป็นเรื่องอะไร
ส่วนคำที่คนแซ่เบ๊ รังเกียจมากสุดถือว่าเป็นคำดูถูกคือ
การออกเสียงว่า เบ้ มีนัยว่าเป็นคนรับใช้หรือทาสรับใช้เหมือนม้า
คำที่โกรธมากคือ เล่าเบ๊ ม้าแก่ ที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว
ในไทยคนแซ่เบ๊มักจะพูดกันว่า
ถ้าทำดีจะเรียกว่า ห่อเบ๊
มีอดีตนายกรัฐมนตรีไทย 2 ท่าน
ถ้าทำเลวจะเรียกว่า เช๊าเบ๊
มีนักการเมืองทุจริตคดีคลองห่านกับเรื่องเลือกตั้ง
บางตำนานแซ่เบ๊สืบเชื้อสายมาจากพวกตะวันตกของจีน
หรือชนเผ่ากลุ่มน้อยเป็นพวกแขก
ดังจะเห็นได้จากรูปร่างหน้าตาว่าไม่เหมือนคนจีนผืนแผ่นดินใหญ่ทีเดียว
มีตาสองชั้น ตาสีน้ำตาล ไม่ใช่สีดำ ผมสีแดง หรือผมหยิกในบางคน
ลูกหลานบางคนจะหน้าตา ไม่ค่อยเหมือนคนจีนทั่ว ๆ ไป
ดูคล้าย ๆ กับคนมุสลิมจีนไปเลยก็มี
คนแซ่เบ๊ จะมีลักษณะเด่นอย่าง คือ
การเปลี่ยนมาใช้นามสกุลแบบไทย ๆ แล้ว
ยังมีการรักษารากศัพท์หรือแซ่เดิมไว้เช่น
อาชา สินธพ มโนมัย อัศวะ อัสสะ มานะ มาก
ส่วนแซ่เบ๊ บางแซ่จะมีตัวสะกดไม่เหมือนกัน
บางคนต้องการแยกจากครอบครัวเดิม
เพื่อไปตั้งรกรากใหม่/สายสกุลใหม่
บางคนต้องหาคดีความหรือเป็นผู้ร้ายแผ่นดิน
ไม่อยากให้ครอบครัวเดิมเดือดร้อนเสียชื่อเสียงหรือแซ่เสียหาย
จึงเปลี่ยนแซ่เสียใหม่โดยรักษารากฐานเดิมไว้
เพราะคนไม่มีรากเง่าหรือประวัติศาสตร์ครอบครัว
มักจะทำอะไรที่ไม่แคร์ใครหรือทำอะไรไม่ต้องห่วงหน้าพะวังหลัง
ข้อมูลเพิ่มเติม
คนแซ่เบ๊ (ไม้จัตวา) ตามคำเรียกคนแต้จิ้ว
หรือ หม่า ตามภาษาจีนกลาง
มีปรากฎคนมีชื่อเสียงในพงศาวดารแรกเริ่มของแซ่นี้
ในยุคสามก๊กในปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823
ตัวเลข 543 คริตศาสนา 1122 ฮิจเราะห์อิสลาม
หักออกจากพุทธศักราช หรือ 622 หักออกจากคริสตศักราช
หรือคศ.220-280 หรือ 359-399 ก่อนฮศ.
ม้าเฉียว หนึ่งในขุนพลยุคสามก๊ก
เกิดที่มณฑลซานซี ทิศตะวันออกของจีน
เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของม้าเท้ง เจ้าเมืองเสเหลียง
ม้าเฉียวนั้นเป็นที่รักใคร่ของชนกลุ่มน้อยทางภาคตะวันตก
ตั้งแต่เผ่าเกี๋ยง เผ่าตี๋ รวมถึงเผ่าซงหนู
จนถูกขนานนานได้ว่าเป็นเทพเจ้าของชนเผ่า
ทำให้หลายต่อหลายคนนิยมใช้แซ่เบ๊
แซ่เบ๊มีมายุคประมาณก่อนคริสตศักราช
เมืองที่นักรบกลุ่มนี้อาศัยอยู่
เป็นย่านตะวันตกของจีนหรือ
เรียกว่าพวกเผ่าอนารยชนหรือพวกนักรบบ้านนอก
นิยมการขี่ม้าทำศึกสงคราม
เรียกง่าย ๆ ว่าพวกนักรบอาชีพหรือนักรบรับจ้าง
แซ่หม่า มีมากในเขตซินเกียงหรือดินแดนนับถือศาสนาอิสลาม
เพราะส่วนหนึ่งนำมาจากพระนามศาสดานบี มะหะหมัด หรือ โมฮัมเหม็ด
มาตั้งเป็นศิริมงคลกับชื่อของพวกตน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/rvw7nO
แซ่ หม่า (สำเนียงจีนกลาง) หรือ แซ่เบ๊ (สำเนียงแต้จิ๋ว)
มีความหมายหรือ แปลว่า (1) ม้า (2) ติ้วนับจำนวน
(3) ใหญ่โต (4) นามสกุล (แซ่)
แซ่นี้เก็บอยู่ใน ทำเนียบร้อยแซ่ กระจายอยู่กว้างขวางอย่างยิ่ง
มีจำนวนคนมากมาย มีที่มา 4 ทาง
1. บรรพชนถือกำเนิดมาแต่สมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อน ค.ศ.)
จ้าวเซอ โอรสจ้าวอ๋อง ได้รับแต่งตั้งให้มีอิสริยยศเป็นหม่าฝูจุน
เจ้าแห่งหม่าฝู หม่าฝูอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองหานตานในมณฑลเหอเป่ย
ลูกหลานใช้ หม่าฝู เป็นแซ่ ภายหลังตัดเหลือแต่ หม่า ตัวเดียว
2. หม่าชิ่งเสียง คนสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234)
เดิมทีเป็นชนชาติทางตะวันตก ต่อมาเข้ามาตั้งภูมิลำเนาในเมืองหลินถาว
(อยู่มณฑลกานสูในปัจจุบัน) ใช้ หม่า เป็นแซ่
3. ย้วยไน่เหอ คนสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234)
บรรพบุรุษเป็นผู้ฝึกม้าให้ราชวงศ์จิน จึงเปลี่ยนแซ่เป็น หม่า
4. ชาวมุสลิมนอกกำแพงเมืองจีนที่นับถือ นบี มะหะหมัด
ตั้งแซ่ว่า หม่า เป็นการนอบน้อมเคารพท่านทางหนึ่ง
มีบุคคลแซ่ หม่า ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ เช่น
หม่าจิน นักประดิษฐ์เครื่องกลไกสมัยสามก๊ก ประดิษฐ์รถเข็มทิศ รถมังกรให้น้ำ
หม่าจื้อหยวน นักเขียนบทละครร้อง แต่งละครเรื่อง ฤดูใบไม้ร่วงในวังฮั่น
มีชื่อเสียงเท่าเทียมกับกวนฮั่นชิง ไป่ฝู่ เจิ้นกวงจู่ รวมเรียกเป็น 4 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งละครร้อง
หม่าจื้อจง นักคิดปฏิรูปชนชั้นนายทุนยุคใกล้ นักภาษาศาสตร์
เคยเสนอความเห็นให้ปฏิรูปการเมือง พัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมทุนนิยม
ค้นคว้าภาษาศาสตร์ของจีนอย่างลึกซึ้ง แต่งหนังสือชื่อ ว่าด้วยอักษรศาสตร์
เป็นข้อเขียนทางวิชาการเกี่ยวกับไวยากรณ์จีนอย่างค่อนข้างเป็นระบบเล่มแรกของจีน
แซ่นี้ มีสมาคมอยู่ในเมืองไทย มีชื่อว่า สมาคมมานะสัมพันธ์
ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ.2509 ตั้งอยู่ที่ 849/22-23 ถนนบรรทัดทอง จุฬาซอย 6
ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ